ASTVผู้จัดการรายวัน-6 ส.ว.สรรหา ถอนชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ แฉ ส.ส.เพื่อไทย ผิดข้อตกลง แอบยัดไส้เพิ่มมาตรา 68 ปิดช่องทางประชาชนตรวจสอบ "ดิเรก"ชี้แก้ประเด็นยุบพรรคการเมือง บ้านเลขที่ 109 ได้อานิสงค์จริง "นิคม"อัด ส.ว. ถ้าหัวหงอกแล้ว ยังให้ถูกหลอกได้ ก็สมควรตาย "มาร์ค"ห่วงสภาทาสรีเทิร์น "ขุนค้อน"เตรียมบรรจุวาระประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า หลังจากที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล และส.ว.ได้ร่วมกันลงชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่. ...) พ.ศ. ... ต่อประธานรัฐสภาจำนวน 3 ร่าง เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า เมื่อวานนี้ (21 มี.ค.) ได้มี ส.ว.ที่ได้ร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้ทำหนังสือถึงประธานรัฐสภา เพื่อขอถอนชื่อออกจากการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจำนวน 3 คน ประกอบด้วย นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ และนายจารุพงศ์ จีนาพันธ์ ส.ว.สรรหา โดยให้เหตุผลว่าไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของตนเอง
นายนิรันดร์กล่าวว่า เท่าที่ทราบมี ส.ว. จำนวน 6 คน ได้มาถอนชื่อออกจากการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว โดยมีชื่อเพิ่มเติมอีก 3 คน คือ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ และพล.ต.ต.ขจร สัยวัตร์ ส.ว.หนองคาย โดยเหตุผลที่ถอนชื่อออก เพราะการพูดคุยของ ส.ว.เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขอชื่อสนับสนุนในการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทราบว่าจะมีการแก้ไขเพียง 3 มาตรา คือ มาตรา 190 , มาตรา 117 และมาตรา 237 ไม่มีการระบุว่าจะมีการแก้ไขมาตรา 68 แต่เมื่อมีการเขียนและยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของหลายกลุ่ม กลับมีการเขียนแก้ไขมาตรา 68 โดยอ้างว่าเกี่ยวข้องกับมาตรา 237 ตนจึงไม่เห็นด้วย เพราะการที่จะแก้ไขมาตรา 68 ให้ประชาชนยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดช่องทางเดียว ถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากอัยการสูงสุดมีแค่คนเดียว ต้องกลั่นกรองเรื่องที่มีจำนวนมาก ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมีทั้งหมด 9 คน ดังนั้น จึงเห็นว่ากระบวนการดังกล่าวดีอยู่แล้ว
ด้านนพ.วิรัติ กล่าวว่า หลังทราบจากข่าวว่ามีรายชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนก็ได้ขอถอนชื่อออก แต่ยอมรับว่าที่ผ่านมาเคยเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 68 เพราะเห็นว่าควรจะให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น จึงได้ลงชื่อในหนังสือเพื่อสนับสนุนการแก้ไขไว้ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว แต่หลังจากได้รับทราบข้อมูล เห็นว่าควรเปิดให้มีช่องทางประชาชนยื่นด้วย ดังนั้น วันนี้ตนจึงไม่เห็นด้วย และปรากฏว่าในการยื่นครั้งนี้ ได้มีการนำเอกสารเก่ามาใช้อีก จึงถือว่าผิดวัตถุประสงค์ จึงได้ถอนชื่อไป
**ดิเรก"ชี้ไม่ใช่การนิรโทษกรรม
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่. ...) พ.ศ. ... ในส่วนของมาตรา 237 มาตรา 5 ที่ให้การเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพราะเหตุมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองมาตรา 68 หรือมาตรา 237 วรรคสอง เป็นอันสิ้นสุดและให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ว่า ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรมหรือปลดล็อคให้กับผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง อย่างกลุ่มบ้านเลขที่ 109 ที่จะพ้นโทษในเดือนธ.ค.นี้ แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะไม่ได้กระทำผิด แต่ต้องได้รับโทษ จึงเป็นการคืนสิทธิ์ทางการเมืองให้ ก็เป็นสิ่งที่ชอบธรรม
อย่างไรก็ตาม ในรัฐบาลที่ผ่านมาก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของ ส.ส.จากระบบแบ่งเขตเรียงเบอร์มาเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว และให้แก้ไขจากส.ส.แบบสัดส่วนมาเป็นแบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อมาเป็น 125 คน ตามแนวทางของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องนี้หากจะมีคนตีความก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ แต่ทำไมไม่มีคนร้อง
** "นิคม"เผยส.ว.สรรหากลัวลงเลือกตั้ง
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการเสนอแก้ไขในมาตราที่มีปัญหาต่อการทำงานของประเทศ เช่น มาตรา 190 ที่จะทำให้ประเทศไปแข่งขันในเวทีโลกได้ มาตรา 237 เรื่องการยุบพรรค เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาพรรคการเมือง และการแก้ไขที่มาของส.ว. ก็เป็นการเปิดให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งส.ว. ยืนยันว่า ไม่ได้ทำเพื่อพรรคการเมืองหรือทำตามคำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ส่วนกรณีที่กลุ่ม 40 ส.ว. ขู่ยื่นตีความการแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา เป็นสิทธิที่ทำได้ แต่อยากบอกว่า ส.ว.กลุ่มนี้เคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และเป็นส.ว.สรรหา รวมแล้ว 11 ปี พอจะให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้ง ส.ว.กลับเกิดอาการร้อนตัว ส่วนที่มีข่าวว่า มีส.ว.สรรหาบางคนจะไปถอนชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยอ้างว่าถูกหลอกนั้น ขณะนี้ยังไม่มีใครมาถอนชื่อ แต่อาจมีคนมายื่นเรื่องภายหลัง แต่ส.ว.มีอายุปูนนี้แล้ว มีวุฒิภาวะขนาดนี้ ถ้าถูกหลอก ก็สมควรตาย และแม้ส.ว.จะถอนชื่อก็ไม่กระทบกับเสียงที่เข้าชื่อเสนอแก้กฎหมาย
**40 ส.ว.เล็งยื่นตีความหลังผ่าน 2 สภา
ที่รัฐสภา นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ในฐานะแกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า จากการพูดคุยของกลุ่ม 40 ส.ว. ยืนยันว่าไม่เห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะประเด็นที่จะมีการแก้ไขเป็นเรื่องผลประโยชน์ของตัวเอง และเห็นว่าการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นยุทธการยึดครองทุกมิติของประเทศไทย ที่ยึดสภาล่างได้แล้ว ก็จะยึดสภาสูงอีก หากทำได้ องค์กรอิสระก็จะถูกยึดครองด้วย ดังนั้น กลุ่ม 40 ส.ว.จะคัดค้านอย่างเต็มที่ และเมื่อไรที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว ก็จะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ที่ระบุ ว่า ส.ส.และส.ว. ต้องไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์
**"มาร์ค" หวั่นสภาทาสรีเทิร์น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สัปดาห์หน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะมีการประชุมส.ส.เพื่อพิจารณาจุดยืนในเรื่องนี้ โดยต้องถามไปยังรัฐบาล และผู้ที่เสนอร่างแก้ไขว่าเป็นประโยชน์กับส่วนรวมอย่างไร เพราะไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ ทั้งการริดรอนสิทธิประชาชนในการปกป้องตนเอง การแก้ไขมาตรา 190 ที่ลดทอนอำนาจของรัฐสภา การตัดโทษยุบพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นความพยายามรุกคืบของคนที่มีอำนาจรัฐ และลืมบทเรียนจากการใช้อำนาจเกินขอบเขต ที่เป็นที่มาของการรัฐประหาร ถือเป็นเรื่องอันตรายที่ทุกคนต้องตระหนัก
ส่วนการเสนอให้เลือกตั้งส.ว.โดยตรง ต้องยอมรับว่า ในทางปฏิบัติจะแยกออกจากพรรคการเมืองไม่ได้ ส่วนที่จะทำให้สภาสูง กลายไปเป็นสภาทาสเหมือนเดิมหรือไม่นั้น ตนอยากให้ทุกคนเก็บเกี่ยวบทเรียนมาแก้ไข เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยอีก โดยรัฐบาลควรคิดว่า กติกาของบ้านเมืองต้องมีความสมดุล ถ้าคิดว่าอยากมีอำนาจเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องอันตราย เพราะเป็นการรุกคืบอำนาจตัวเอง และลดอำนาจการตรวจสอบ
**"ปู" อ้างเป็นทางออกประเทศ
ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงท่าทีของรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เป็นส่วนหนึ่งที่แถลงต่อรัฐสภา เป็นนโยบายเร่งด่วน ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ทางสภาฯ และวุฒิสภาจะมีการหารือกัน ในส่วนของรัฐบาล ได้ยื่นร่างของเราไปแล้ว ส่วนการจะแก้ไขเป็นรายมาตรา ก็เป็นทางออกหนึ่ง ที่จะได้มีการพูดคุยรายละเอียดกัน รวมทั้งข้อกังวลใจหลายๆ อย่าง จะได้ชัดเจน ส่วนวิธีการแก้ไขจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นเรื่องที่ทางสภาฯ จะหารือกันว่าจะแก้ไขอย่างไร ร่างอย่างไร
เมื่อถามว่า นายกฯ คิดว่าส.ส.ใจร้อนยื่นเร็วเกินไปหรือไม่ เพราะรัฐบาลกำลังจะเปิดเวทีเสวนา นายกฯ กล่าวว่า คงแล้วแต่ เพราะถือว่าทางฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ดูในเรื่องข้อกฎหมายต่างๆ ส่วนรัฐบาลจะเดินหน้าในเรื่องการทำประชาเสวนาเพื่อให้ประชาชนแต่ละพื้นที่ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ก็คงจะเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะหาทางออก
เมื่อถามว่า เรื่องนี้จะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ เพราะส.ส.ที่เสนอก็เป็นส.ส.ของพรรคเพื่อไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องเสถียรภาพจริงๆ เรามองว่าทุกอย่างเป็นกลไกของประชาธิปไตย วันนี้ถ้าบรรยากาศต่างๆ เป็นบรรยากาศการหารือกัน ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ยังอยากขอความร่วมมือว่าเราไม่อยากให้การหารือนั้นนำไปสู่บรรยากาศของความขัดแย้งรุนแรง แต่น่าจะเป็นบรรยากาศหารือและหาทางออกร่วมกัน ถ้าไม่เช่นนั้นเราก็ไม่มีทางออกกับประเทศว่าจะเดินไปทางไหน เพราะวันนี้เราก็เห็นว่าภาคประชาชนก็เรียกร้องอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น หน้าที่ของส.ส. ก็ต้องนำข้อเรียกร้องไปหารือกัน
**“เฉลิม”เชื่อไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กลุ่ม 40 ส.ว. เตรียมจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า ตนไม่ห่วงว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสร้างความขัดแย้ง เพราะเป็นของดี ตนพูดมาเป็นปีไม่ฟังตนว่าให้แก้รายมาตรา ศาลรัฐธรรมนูญเองระบุให้แก้ไขแบบรายมาตรา พวกส.ว.ก็ปัญญาเฟื่องบอกจะไปยื่นตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็บอกแล้วว่าหากจะลงมติในวาระ 3 ให้ไปทำประชามติหรือแก้ไขเป็นรายมาตรา แล้วไปร้องศาลทำไม เชื่อตนเถอะ การเมืองไม่มีอะไร แก้ไข 4 รายมาตราเรียบร้อย
เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าการแก้ไขมาตรา 68 เพราะต้องการไปลดทอนอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ไม่ใช่ลดทอนอำนาจ เพราะในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเขียนไว้แล้ว หากศาลจะรับเรื่องต้องผ่านอัยการสูงสุด ไม่ใช่ว่ารับไม่ได้ แต่ต้องเป็นขั้นตอน ถ้าใครสงสัยตนจะอภิปรายเอง
**“ขุนค้อน”เตรียมบรรจุวาระประชุม
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า อีก1-2 สัปดาห์น่าจะสามารถบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมร่วมรัฐสภาได้ ส่วนกรอบระยะเวลาที่จะใช้ในการอภิปรายนั้น เป็นเรื่องของวิปทั้ง 3 ฝ่ายจะต้องไปพูดคุยกัน ส่วนกรณีที่ทางกลุ่ม 40สว.จะมีการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาในเรื่องนี้ ตนยังไม่ทราบเรื่อง แต่ก็ถือเป็นสิทธิที่สามารถดำเนินการได้ และกรณีที่ขณะนี้มีสว.ขอถอนชื่อออกจากการร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนเชื่อว่าไม่มีปัญหา หากมีจำนวนผู้ร่วมลงชื่อตามที่กฎหมายกำหนด
"ที่มีการวิพากษ์จิจารณ์ว่าการดำเนินการครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างส.ส.และสว. รวมทั้งมีเรื่องการเมืองแอบแฝงนั้น มองว่า เป็นการมองต่างมุม และมีการตั้งข้อสังเกต เพราะท้ายที่สุดแล้วสมาชิกจะเป็นผู้พิจารณาในเรื่องนี้เอง คงไปตอบแทนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า หากมีการนำร่างรัฐธรรมนูญมาพิจารณาก็จะไม่เกิดความวุ่นวายเหมือนที่ผ่านมา เพราะการแก้ไขในครั้งนี้ก็ไม่ได้มีอะไร"
**"เด็จพี่"เย้ย แค่ส.ว.สรรหาใกล้ตายค้าน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีที่ส.ว.สรรหาบางคนออกมาคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการแก้เพื่อให้เป็นประชาธิปไตย เป็นที่ยอมรับของสากล และเท่าที่ทราบประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย อีกทั้งการแก้รายมาตรายังเป็นการเดินตามคำแนะนำของศาลรัฐธรรรมนูญ ตนสงสัยว่าสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยแก้ไขใน 2 มาตรา ทำไมวันนั้นส.ว.กลุ่มนี้จึงไม่ออกมาค้าน ไปมุดหัวอยู่ที่ไหน แต่พอเป็นรัฐบาลชุดนี้ก็ค้านทุกเรื่อง ทำตัวเป็นส.ว.ฝ่ายค้าน
"ส.ว.สรรหาบางคนยังตกยุค เสพติดในอำนาจ และน่าจะเป็นทายาทของเผด็จการ คนเหล่านี้คือพวกที่ขัดขวางประชาธิปไตย ขอให้ประชาชนใช้มาตรการทางสังคมตรวจสอบคนพวกนี้ด้วย ผมเห็นว่าสาเหตุที่ส.ว.สรรหาออกมาคัดค้านน่าจะเป็นเพราะกำลังจะจมน้ำตาย จะไม่มีส.ว.สรรหาอีกแล้วมากกว่า รู้ตัวว่าถ้าไปลงเลือกตั้งแล้วประชาชนจะไม่เลือกใช่หรือไม่ ขอร้องให้คิดถึงหัวอกประชาชนและระบอบประชาธิปไตยบ้าง อย่าคิดถึงแต่เรื่องตัวเอง"นายพร้อมพงศ์กล่าว
**จีบ ปชป.ร่วมแก้ไขประเด็นยุบพรรค
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า สำหรับการแก้ไขในมาตรา 68 และ 237 ที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรค ตัดสิทธิ์นักการเมืองนั้น เห็นว่าเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้พรรคการเมือง และนักการเมืองอ่อนแอ ไม่มีประเทศไหนในโลกที่คนเดียวทำผิด แต่ยุบทั้งพรรค อยากเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์มาร่วมแก้ไขในเรื่องนี้ แม้ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยถูกยุบ แต่ก็เคยถูกร้องมาแล้ว อย่ามองว่าพรรคตัวเองมีภูมิคุ้มกัน หรือพกพระรอดไว้ตลอด ควรเห็นแก่หลักประชาธิปไตยที่เป็นหลักสากลบ้าง
ส่วนกรณีสมาชิกบ้านเลขที่ 109 จะพ้นโทษถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเร็วกว่าเดิม หากแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วเกิดประโยชน์กับใครโดยไม่เลือกปฏิบัติ ถือเป็นเรื่องปกติ สมาชิกบ้านเลขที่ 109 ก็ไม่ได้มีแค่พรรคเพื่อไทยพรรคเดียว และเหลือเวลาไม่กี่เดือนก็จะพ้นโทษอยู่แล้ว การหลุดออกมาเร็วขึ้นไม่กี่เดือน ไม่ได้มีนัยทางการเมืองอะไร อย่าไปมองการเมืองด้วยจิตใจคับแคบ ตนคิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้น่าจะผ่านไปด้วยดี ไม่มีการเผชิญหน้าใดๆ เพราะชัดเจนว่าเป็นการแก้เพื่อประชาธิปไตย ไม่มีมาตราไหนที่โยงว่าช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ดังนั้น ขอให้ฝ่ายที่มีวาระซ่อนเร้นอย่าพยายามออกมาบิดเบือน ว่าแก้เพื่อใครคนใดคนหนึ่งอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า หลังจากที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล และส.ว.ได้ร่วมกันลงชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่. ...) พ.ศ. ... ต่อประธานรัฐสภาจำนวน 3 ร่าง เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า เมื่อวานนี้ (21 มี.ค.) ได้มี ส.ว.ที่ได้ร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้ทำหนังสือถึงประธานรัฐสภา เพื่อขอถอนชื่อออกจากการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจำนวน 3 คน ประกอบด้วย นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ และนายจารุพงศ์ จีนาพันธ์ ส.ว.สรรหา โดยให้เหตุผลว่าไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของตนเอง
นายนิรันดร์กล่าวว่า เท่าที่ทราบมี ส.ว. จำนวน 6 คน ได้มาถอนชื่อออกจากการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว โดยมีชื่อเพิ่มเติมอีก 3 คน คือ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ และพล.ต.ต.ขจร สัยวัตร์ ส.ว.หนองคาย โดยเหตุผลที่ถอนชื่อออก เพราะการพูดคุยของ ส.ว.เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขอชื่อสนับสนุนในการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทราบว่าจะมีการแก้ไขเพียง 3 มาตรา คือ มาตรา 190 , มาตรา 117 และมาตรา 237 ไม่มีการระบุว่าจะมีการแก้ไขมาตรา 68 แต่เมื่อมีการเขียนและยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของหลายกลุ่ม กลับมีการเขียนแก้ไขมาตรา 68 โดยอ้างว่าเกี่ยวข้องกับมาตรา 237 ตนจึงไม่เห็นด้วย เพราะการที่จะแก้ไขมาตรา 68 ให้ประชาชนยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดช่องทางเดียว ถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากอัยการสูงสุดมีแค่คนเดียว ต้องกลั่นกรองเรื่องที่มีจำนวนมาก ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมีทั้งหมด 9 คน ดังนั้น จึงเห็นว่ากระบวนการดังกล่าวดีอยู่แล้ว
ด้านนพ.วิรัติ กล่าวว่า หลังทราบจากข่าวว่ามีรายชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนก็ได้ขอถอนชื่อออก แต่ยอมรับว่าที่ผ่านมาเคยเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 68 เพราะเห็นว่าควรจะให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น จึงได้ลงชื่อในหนังสือเพื่อสนับสนุนการแก้ไขไว้ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว แต่หลังจากได้รับทราบข้อมูล เห็นว่าควรเปิดให้มีช่องทางประชาชนยื่นด้วย ดังนั้น วันนี้ตนจึงไม่เห็นด้วย และปรากฏว่าในการยื่นครั้งนี้ ได้มีการนำเอกสารเก่ามาใช้อีก จึงถือว่าผิดวัตถุประสงค์ จึงได้ถอนชื่อไป
**ดิเรก"ชี้ไม่ใช่การนิรโทษกรรม
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่. ...) พ.ศ. ... ในส่วนของมาตรา 237 มาตรา 5 ที่ให้การเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพราะเหตุมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองมาตรา 68 หรือมาตรา 237 วรรคสอง เป็นอันสิ้นสุดและให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ว่า ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรมหรือปลดล็อคให้กับผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง อย่างกลุ่มบ้านเลขที่ 109 ที่จะพ้นโทษในเดือนธ.ค.นี้ แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะไม่ได้กระทำผิด แต่ต้องได้รับโทษ จึงเป็นการคืนสิทธิ์ทางการเมืองให้ ก็เป็นสิ่งที่ชอบธรรม
อย่างไรก็ตาม ในรัฐบาลที่ผ่านมาก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของ ส.ส.จากระบบแบ่งเขตเรียงเบอร์มาเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว และให้แก้ไขจากส.ส.แบบสัดส่วนมาเป็นแบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อมาเป็น 125 คน ตามแนวทางของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องนี้หากจะมีคนตีความก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ แต่ทำไมไม่มีคนร้อง
** "นิคม"เผยส.ว.สรรหากลัวลงเลือกตั้ง
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการเสนอแก้ไขในมาตราที่มีปัญหาต่อการทำงานของประเทศ เช่น มาตรา 190 ที่จะทำให้ประเทศไปแข่งขันในเวทีโลกได้ มาตรา 237 เรื่องการยุบพรรค เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาพรรคการเมือง และการแก้ไขที่มาของส.ว. ก็เป็นการเปิดให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งส.ว. ยืนยันว่า ไม่ได้ทำเพื่อพรรคการเมืองหรือทำตามคำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ส่วนกรณีที่กลุ่ม 40 ส.ว. ขู่ยื่นตีความการแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา เป็นสิทธิที่ทำได้ แต่อยากบอกว่า ส.ว.กลุ่มนี้เคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และเป็นส.ว.สรรหา รวมแล้ว 11 ปี พอจะให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้ง ส.ว.กลับเกิดอาการร้อนตัว ส่วนที่มีข่าวว่า มีส.ว.สรรหาบางคนจะไปถอนชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยอ้างว่าถูกหลอกนั้น ขณะนี้ยังไม่มีใครมาถอนชื่อ แต่อาจมีคนมายื่นเรื่องภายหลัง แต่ส.ว.มีอายุปูนนี้แล้ว มีวุฒิภาวะขนาดนี้ ถ้าถูกหลอก ก็สมควรตาย และแม้ส.ว.จะถอนชื่อก็ไม่กระทบกับเสียงที่เข้าชื่อเสนอแก้กฎหมาย
**40 ส.ว.เล็งยื่นตีความหลังผ่าน 2 สภา
ที่รัฐสภา นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ในฐานะแกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า จากการพูดคุยของกลุ่ม 40 ส.ว. ยืนยันว่าไม่เห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะประเด็นที่จะมีการแก้ไขเป็นเรื่องผลประโยชน์ของตัวเอง และเห็นว่าการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นยุทธการยึดครองทุกมิติของประเทศไทย ที่ยึดสภาล่างได้แล้ว ก็จะยึดสภาสูงอีก หากทำได้ องค์กรอิสระก็จะถูกยึดครองด้วย ดังนั้น กลุ่ม 40 ส.ว.จะคัดค้านอย่างเต็มที่ และเมื่อไรที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว ก็จะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ที่ระบุ ว่า ส.ส.และส.ว. ต้องไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์
**"มาร์ค" หวั่นสภาทาสรีเทิร์น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สัปดาห์หน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะมีการประชุมส.ส.เพื่อพิจารณาจุดยืนในเรื่องนี้ โดยต้องถามไปยังรัฐบาล และผู้ที่เสนอร่างแก้ไขว่าเป็นประโยชน์กับส่วนรวมอย่างไร เพราะไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ ทั้งการริดรอนสิทธิประชาชนในการปกป้องตนเอง การแก้ไขมาตรา 190 ที่ลดทอนอำนาจของรัฐสภา การตัดโทษยุบพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นความพยายามรุกคืบของคนที่มีอำนาจรัฐ และลืมบทเรียนจากการใช้อำนาจเกินขอบเขต ที่เป็นที่มาของการรัฐประหาร ถือเป็นเรื่องอันตรายที่ทุกคนต้องตระหนัก
ส่วนการเสนอให้เลือกตั้งส.ว.โดยตรง ต้องยอมรับว่า ในทางปฏิบัติจะแยกออกจากพรรคการเมืองไม่ได้ ส่วนที่จะทำให้สภาสูง กลายไปเป็นสภาทาสเหมือนเดิมหรือไม่นั้น ตนอยากให้ทุกคนเก็บเกี่ยวบทเรียนมาแก้ไข เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยอีก โดยรัฐบาลควรคิดว่า กติกาของบ้านเมืองต้องมีความสมดุล ถ้าคิดว่าอยากมีอำนาจเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องอันตราย เพราะเป็นการรุกคืบอำนาจตัวเอง และลดอำนาจการตรวจสอบ
**"ปู" อ้างเป็นทางออกประเทศ
ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงท่าทีของรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เป็นส่วนหนึ่งที่แถลงต่อรัฐสภา เป็นนโยบายเร่งด่วน ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ทางสภาฯ และวุฒิสภาจะมีการหารือกัน ในส่วนของรัฐบาล ได้ยื่นร่างของเราไปแล้ว ส่วนการจะแก้ไขเป็นรายมาตรา ก็เป็นทางออกหนึ่ง ที่จะได้มีการพูดคุยรายละเอียดกัน รวมทั้งข้อกังวลใจหลายๆ อย่าง จะได้ชัดเจน ส่วนวิธีการแก้ไขจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นเรื่องที่ทางสภาฯ จะหารือกันว่าจะแก้ไขอย่างไร ร่างอย่างไร
เมื่อถามว่า นายกฯ คิดว่าส.ส.ใจร้อนยื่นเร็วเกินไปหรือไม่ เพราะรัฐบาลกำลังจะเปิดเวทีเสวนา นายกฯ กล่าวว่า คงแล้วแต่ เพราะถือว่าทางฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ดูในเรื่องข้อกฎหมายต่างๆ ส่วนรัฐบาลจะเดินหน้าในเรื่องการทำประชาเสวนาเพื่อให้ประชาชนแต่ละพื้นที่ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ก็คงจะเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะหาทางออก
เมื่อถามว่า เรื่องนี้จะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ เพราะส.ส.ที่เสนอก็เป็นส.ส.ของพรรคเพื่อไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องเสถียรภาพจริงๆ เรามองว่าทุกอย่างเป็นกลไกของประชาธิปไตย วันนี้ถ้าบรรยากาศต่างๆ เป็นบรรยากาศการหารือกัน ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ยังอยากขอความร่วมมือว่าเราไม่อยากให้การหารือนั้นนำไปสู่บรรยากาศของความขัดแย้งรุนแรง แต่น่าจะเป็นบรรยากาศหารือและหาทางออกร่วมกัน ถ้าไม่เช่นนั้นเราก็ไม่มีทางออกกับประเทศว่าจะเดินไปทางไหน เพราะวันนี้เราก็เห็นว่าภาคประชาชนก็เรียกร้องอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น หน้าที่ของส.ส. ก็ต้องนำข้อเรียกร้องไปหารือกัน
**“เฉลิม”เชื่อไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กลุ่ม 40 ส.ว. เตรียมจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า ตนไม่ห่วงว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสร้างความขัดแย้ง เพราะเป็นของดี ตนพูดมาเป็นปีไม่ฟังตนว่าให้แก้รายมาตรา ศาลรัฐธรรมนูญเองระบุให้แก้ไขแบบรายมาตรา พวกส.ว.ก็ปัญญาเฟื่องบอกจะไปยื่นตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็บอกแล้วว่าหากจะลงมติในวาระ 3 ให้ไปทำประชามติหรือแก้ไขเป็นรายมาตรา แล้วไปร้องศาลทำไม เชื่อตนเถอะ การเมืองไม่มีอะไร แก้ไข 4 รายมาตราเรียบร้อย
เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าการแก้ไขมาตรา 68 เพราะต้องการไปลดทอนอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ไม่ใช่ลดทอนอำนาจ เพราะในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเขียนไว้แล้ว หากศาลจะรับเรื่องต้องผ่านอัยการสูงสุด ไม่ใช่ว่ารับไม่ได้ แต่ต้องเป็นขั้นตอน ถ้าใครสงสัยตนจะอภิปรายเอง
**“ขุนค้อน”เตรียมบรรจุวาระประชุม
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า อีก1-2 สัปดาห์น่าจะสามารถบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมร่วมรัฐสภาได้ ส่วนกรอบระยะเวลาที่จะใช้ในการอภิปรายนั้น เป็นเรื่องของวิปทั้ง 3 ฝ่ายจะต้องไปพูดคุยกัน ส่วนกรณีที่ทางกลุ่ม 40สว.จะมีการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาในเรื่องนี้ ตนยังไม่ทราบเรื่อง แต่ก็ถือเป็นสิทธิที่สามารถดำเนินการได้ และกรณีที่ขณะนี้มีสว.ขอถอนชื่อออกจากการร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนเชื่อว่าไม่มีปัญหา หากมีจำนวนผู้ร่วมลงชื่อตามที่กฎหมายกำหนด
"ที่มีการวิพากษ์จิจารณ์ว่าการดำเนินการครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างส.ส.และสว. รวมทั้งมีเรื่องการเมืองแอบแฝงนั้น มองว่า เป็นการมองต่างมุม และมีการตั้งข้อสังเกต เพราะท้ายที่สุดแล้วสมาชิกจะเป็นผู้พิจารณาในเรื่องนี้เอง คงไปตอบแทนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า หากมีการนำร่างรัฐธรรมนูญมาพิจารณาก็จะไม่เกิดความวุ่นวายเหมือนที่ผ่านมา เพราะการแก้ไขในครั้งนี้ก็ไม่ได้มีอะไร"
**"เด็จพี่"เย้ย แค่ส.ว.สรรหาใกล้ตายค้าน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีที่ส.ว.สรรหาบางคนออกมาคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการแก้เพื่อให้เป็นประชาธิปไตย เป็นที่ยอมรับของสากล และเท่าที่ทราบประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย อีกทั้งการแก้รายมาตรายังเป็นการเดินตามคำแนะนำของศาลรัฐธรรรมนูญ ตนสงสัยว่าสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยแก้ไขใน 2 มาตรา ทำไมวันนั้นส.ว.กลุ่มนี้จึงไม่ออกมาค้าน ไปมุดหัวอยู่ที่ไหน แต่พอเป็นรัฐบาลชุดนี้ก็ค้านทุกเรื่อง ทำตัวเป็นส.ว.ฝ่ายค้าน
"ส.ว.สรรหาบางคนยังตกยุค เสพติดในอำนาจ และน่าจะเป็นทายาทของเผด็จการ คนเหล่านี้คือพวกที่ขัดขวางประชาธิปไตย ขอให้ประชาชนใช้มาตรการทางสังคมตรวจสอบคนพวกนี้ด้วย ผมเห็นว่าสาเหตุที่ส.ว.สรรหาออกมาคัดค้านน่าจะเป็นเพราะกำลังจะจมน้ำตาย จะไม่มีส.ว.สรรหาอีกแล้วมากกว่า รู้ตัวว่าถ้าไปลงเลือกตั้งแล้วประชาชนจะไม่เลือกใช่หรือไม่ ขอร้องให้คิดถึงหัวอกประชาชนและระบอบประชาธิปไตยบ้าง อย่าคิดถึงแต่เรื่องตัวเอง"นายพร้อมพงศ์กล่าว
**จีบ ปชป.ร่วมแก้ไขประเด็นยุบพรรค
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า สำหรับการแก้ไขในมาตรา 68 และ 237 ที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรค ตัดสิทธิ์นักการเมืองนั้น เห็นว่าเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้พรรคการเมือง และนักการเมืองอ่อนแอ ไม่มีประเทศไหนในโลกที่คนเดียวทำผิด แต่ยุบทั้งพรรค อยากเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์มาร่วมแก้ไขในเรื่องนี้ แม้ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยถูกยุบ แต่ก็เคยถูกร้องมาแล้ว อย่ามองว่าพรรคตัวเองมีภูมิคุ้มกัน หรือพกพระรอดไว้ตลอด ควรเห็นแก่หลักประชาธิปไตยที่เป็นหลักสากลบ้าง
ส่วนกรณีสมาชิกบ้านเลขที่ 109 จะพ้นโทษถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเร็วกว่าเดิม หากแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วเกิดประโยชน์กับใครโดยไม่เลือกปฏิบัติ ถือเป็นเรื่องปกติ สมาชิกบ้านเลขที่ 109 ก็ไม่ได้มีแค่พรรคเพื่อไทยพรรคเดียว และเหลือเวลาไม่กี่เดือนก็จะพ้นโทษอยู่แล้ว การหลุดออกมาเร็วขึ้นไม่กี่เดือน ไม่ได้มีนัยทางการเมืองอะไร อย่าไปมองการเมืองด้วยจิตใจคับแคบ ตนคิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้น่าจะผ่านไปด้วยดี ไม่มีการเผชิญหน้าใดๆ เพราะชัดเจนว่าเป็นการแก้เพื่อประชาธิปไตย ไม่มีมาตราไหนที่โยงว่าช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ดังนั้น ขอให้ฝ่ายที่มีวาระซ่อนเร้นอย่าพยายามออกมาบิดเบือน ว่าแก้เพื่อใครคนใดคนหนึ่งอีก