การปลูกไผ่เพื่อเอาเนื้อไม้นั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยม ส่วนใหญ่จะปลูกเอาหน่อไปขายซึ่งหากปลูกมากๆ ราคาก็ตก เพราะคนกินหน่อไผ่ในโลกนี้มีน้อยมาก ผมจึงได้เขียนบทความจำนวนมากให้คนไทยเราหันมาปลูกไผ่เพื่อเอาเนื้อไม้ ทั้งที่เอามาทำเฟอร์นิเจอร์ กระดาษ และทำเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ไผ่ที่ผมแนะนำคือไผ่สีสุกยักษ์ ซึ่งผมเคยที่จ.นครราชสีมา ต้นใหญ่สูง สวย และน่าจะเลี้ยงง่าย ทนแล้ง เพราะมันขึ้นได้ในอีสานเป็นอย่างดี แต่ผมหาข้อมูลทางเน็ตของไผ่นี้ไม่ได้เลย
จากการค้นคว้าพบไผ่อีกพันธุ์ที่น่ามีศักยภาพมากคือ ไผ่ซางหม่น ซึ่งน่าจะเป็นไผ่พื้นเมืองลำพูน (อำเภอป่าซาง) เพราะมีสมบัติสามประการคือ ๑. ต้นสูงใหญ่มาก (สูงได้ถึง ๓๐ เมตร ลำต้นใหญ่ได้ถึง ๒๕ ซม. ) ๒. มีเนื้อไม้หนา ๓. ใบเล็ก เรื่องใบเล็กนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะมันจะทำให้เราปลูกแบบถี่ได้มาก เพราะไม่บังแดดกันเอง (ข้อมูลที่หาไม่เจอคือไม่รู้ว่ามันเลี้ยงยากง่ายอย่างไร แต่ไผ่สีสุกยักษ์นี้ผมเชื่อว่าเลี้ยงง่าย ไม่ต้องการน้ำมากไผ่ใหญ่สุดของไทยน่าจะคือ ไผ่หก ต้นสูงได้ถึง ๔๐ ม. ใหญ่ได้ ๓๐ ซม. แต่ว่ากันว่ามันชอบที่สูง เช่นทางน่าน แต่ผมเห็นไผ่หกที่เพชรบูรณ์ และ เชียงใหม่ มาแล้วด้วย น่าจะวิจัยกันต่อว่าเอามาปลูกที่ราบภาคกลาง หรืออีสานได้ไหม จะได้เลิกปลูกข้าวส่งออกแข่งกับเขมรเวียดนามกันเสียที แต่ที่แน่ๆ ปลูกริมเขาป่าต้นน้ำคงได้แน่ รากมันแผ่ยึดหน้าดิน อุ้มน้ำ ก็ได้ประโยชน์หลายต่อมากๆ เช่น ป้องน้ำท่วม ลดอุณหภูมิโลก และสางตัดเอามาทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
เท่าที่ค้นคว้ามา นักวิชาการ และเกษตรกร ต่างบอกตรงกันว่าการปลูกไผ่ต้องปลูกเป็น “กอ” ไผ่ยิ่งใหญ่เช่น ไผ่ซางหม่น ยิ่งต้องทำกอให้ห่าง สำหรับซางหม่นนั้นท่านว่าให้ปลูกห่างกัน ๖ คูณ ๖ เมตร จะดี ไม่ว่าปลูกเอาหน่อหรือเอาเนื้อ
ที่เขาบอกให้ปลูกเป็นกอห่างๆ ผมว่าเป็นเพราะไปติดกับดักทางความคิดของการปลูกไผ่เพื่อกินหน่อ จึงต้องปลูกเป็นกอห่างๆ เพื่อจะได้แตกหน่อได้หลายปี และสามารถเดินเข้าไปเก็บหน่อได้สะดวก แต่เราจะปลูกเอาเนื้อไม้ ไม่สนใจหน่อ แล้วทำไมต้องไปปลูกแบบนั้นด้วยเล่า ซึ่งทำให้เสียเวลามากในการผลิตเนื้อไม้
ผมจึงขอเสนอให้ปลูก ๑ คูณ ๑ ไปเลย ดังนั้น วิธีนี้จะได้ไร่ละ ๑,๖๐๐ ต้น ถ้าปลูกต้นฤดูฝน อีก ๔ เดือนก็แตกหน่อสัก ๕ หน่อแล้ว ปลายปีก็ได้ต้นไผ่ขนาดใหญ่ ๖ ต้นต่อหนึ่งตารางเมตร (จากหน่อเป็นต้นใหญ่เต็มที่ใช้เวลาเพียง ๑ เดือน จึงมักกล่าวกันว่า ไผ่เป็นพืชโตเร็วที่สุดในโลก) ลำต้นไผ่น่าจะตรง เพราะเบียดเสียดแย่งกันขึ้นไปหาฟ้าด้านบนในพื้นที่แคบเพียง ๑ ตร.เมตร
เพียงแต่ว่าจะตัดเอาไม้มาใช้ยังไม่ได้ เพราะเนื้อไม้มันยังไม่แข็ง ถ้าจะเอามาทำเฟอร์นิเจอร์ต้องรอ ๓ ปีเป็นอย่างน้อย แต่ของเราจะตัดเลย (อายุเพียง ๘ เดือน) เพราะเราไม่ได้เอามาทำเฟอร์นิเจอร์ แต่จะเอามาทำเชื้อเพลิง เผาไหม้ เนื้อไม้ยิ่งอ่อนอาจจะยิ่งดีด้วยซ้ำไป เพราะในการเผาไหม้นั้นเราต้องบดละเอียดอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเสียแรงและพลังงานในการบดให้มากเกินจำเป็น
ถ้าผมสมมติว่าไผ่ซางหม่นแต่ละต้นมีความสูง ๓๐ เมตร ใหญ่ ๒๐ ซม. เนื้อหนา ๒ ซม. (จริงๆ อาจหนากว่านี้เสียอีก ว่ากันว่าปลวกไม่กินเนื้อไผ่ซางหม่นเพราะมันทั้งแข็งและหนา) กอละ ๖ ต้น ไร่ละ ๑,๖๐๐ กอ จะได้เนื้อไม้สด ถึงปีละ ๓,๖๑๙ ลูกบาศก์เมตร ถ้าตีเสียว่ามีน้ำปนอยู่ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ก็จะได้เนื้อไม้แห้งถึง ๒,๑๗๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งหนึ่งลูกบาศก์เมตร ก็หนักประมาณ ๑ ตัน ขายได้ตันละ ๑,๐๐๐ บาท ก็จะเป็นเงิน ๒ ล้านกว่าบาทต่อไร่ปี ซึ่งเป็นกำไรล้วนๆ ในขณะที่ทำนาอีสานได้กำไร ๓,๐๐๐ บาทต่อไร่ปีเท่านั้นเอง (เลยต้องไปรับจ้างเดินขบวน)
หญ้าเนเปียร์ที่ว่าดีๆ ได้เพียง ๑๐๐ ตันสด แต่มันเป็นน้ำเสีย ๘๐ จึงได้เพียง ๒๐ ตันแห้งต่อไร่ปีเท่านั้นเอง (ยูคาได้ ๕ ตัน) เท่ากับว่าไผ่ซางหม่นให้ผลผลิตมากกว่าเนเปียร์ประมาณ ๑๑๐ เท่า ดังนั้น ผมขอวิงวอนรัฐบาลผ่านบทความนี้ให้ช่วยกันทบทวนนโยบายหญ้าพลังงานจากหญ้าเนเปียร์ให้รอบคอบก่อนถลำลงทุนเป็นหมื่นๆ ล้านดังที่ได้โฆษณาไว้แล้ว
แล้วถ้าเราปล่อยไว้สามปีให้เนื้อไม้แข็ง แล้วเอามาทำเฟอร์นิเจอร์กิโลละพันบาท เราจะได้เงิน ๒ พันล้านบาทต่อสามปี หารสามก็ได้ประมาณปี ๗๐๐ ล้านบาทต่อปี (เฟอร์นิเจอร์กิโลละพันบาทไม่ใช่เรื่องเว่อร์ ทำได้ เช่น ของง่ายๆอย่างกรอบรูปหนัก ๑ ขีดฝีมือดีๆ ขายได้ ๒๐๐ บาทในตลาดโลก ก็ปาเข้าไป กก.ละ ๒,๐๐๐ แล้ว)
ไผ่ไทยเรานี้ปลูกดีๆ มันปฏิวัติประเทศและโลกได้เลย ทั้งด้านพลังงาน ที่อยู่อาศัย (เอามาสร้างบ้าน) อาหาร (หน่อไม้) รวมทั้งสร้างรายได้มหาศาล
เสียแต่ว่ารัฐบาลไทยมัวแต่ไปคิดส่งเสริมธุรกิจต่างชาติ ผ่าน BOI (บ๋อย) จนลืมคิดถึงการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้แก่ผืนแผ่นดินไทยด้วยกันเอง ดีแต่ไปส่งเสริมการทำนาราคาถูก แล้วยังล่อให้เป็นชาวนาจนๆ ต่อไปด้วยการจำนำข้าวหรือประกันราคากันอยู่นั่นแหละ
ไผ่ที่ผมแนะนำคือไผ่สีสุกยักษ์ ซึ่งผมเคยที่จ.นครราชสีมา ต้นใหญ่สูง สวย และน่าจะเลี้ยงง่าย ทนแล้ง เพราะมันขึ้นได้ในอีสานเป็นอย่างดี แต่ผมหาข้อมูลทางเน็ตของไผ่นี้ไม่ได้เลย
จากการค้นคว้าพบไผ่อีกพันธุ์ที่น่ามีศักยภาพมากคือ ไผ่ซางหม่น ซึ่งน่าจะเป็นไผ่พื้นเมืองลำพูน (อำเภอป่าซาง) เพราะมีสมบัติสามประการคือ ๑. ต้นสูงใหญ่มาก (สูงได้ถึง ๓๐ เมตร ลำต้นใหญ่ได้ถึง ๒๕ ซม. ) ๒. มีเนื้อไม้หนา ๓. ใบเล็ก เรื่องใบเล็กนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะมันจะทำให้เราปลูกแบบถี่ได้มาก เพราะไม่บังแดดกันเอง (ข้อมูลที่หาไม่เจอคือไม่รู้ว่ามันเลี้ยงยากง่ายอย่างไร แต่ไผ่สีสุกยักษ์นี้ผมเชื่อว่าเลี้ยงง่าย ไม่ต้องการน้ำมากไผ่ใหญ่สุดของไทยน่าจะคือ ไผ่หก ต้นสูงได้ถึง ๔๐ ม. ใหญ่ได้ ๓๐ ซม. แต่ว่ากันว่ามันชอบที่สูง เช่นทางน่าน แต่ผมเห็นไผ่หกที่เพชรบูรณ์ และ เชียงใหม่ มาแล้วด้วย น่าจะวิจัยกันต่อว่าเอามาปลูกที่ราบภาคกลาง หรืออีสานได้ไหม จะได้เลิกปลูกข้าวส่งออกแข่งกับเขมรเวียดนามกันเสียที แต่ที่แน่ๆ ปลูกริมเขาป่าต้นน้ำคงได้แน่ รากมันแผ่ยึดหน้าดิน อุ้มน้ำ ก็ได้ประโยชน์หลายต่อมากๆ เช่น ป้องน้ำท่วม ลดอุณหภูมิโลก และสางตัดเอามาทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
เท่าที่ค้นคว้ามา นักวิชาการ และเกษตรกร ต่างบอกตรงกันว่าการปลูกไผ่ต้องปลูกเป็น “กอ” ไผ่ยิ่งใหญ่เช่น ไผ่ซางหม่น ยิ่งต้องทำกอให้ห่าง สำหรับซางหม่นนั้นท่านว่าให้ปลูกห่างกัน ๖ คูณ ๖ เมตร จะดี ไม่ว่าปลูกเอาหน่อหรือเอาเนื้อ
ที่เขาบอกให้ปลูกเป็นกอห่างๆ ผมว่าเป็นเพราะไปติดกับดักทางความคิดของการปลูกไผ่เพื่อกินหน่อ จึงต้องปลูกเป็นกอห่างๆ เพื่อจะได้แตกหน่อได้หลายปี และสามารถเดินเข้าไปเก็บหน่อได้สะดวก แต่เราจะปลูกเอาเนื้อไม้ ไม่สนใจหน่อ แล้วทำไมต้องไปปลูกแบบนั้นด้วยเล่า ซึ่งทำให้เสียเวลามากในการผลิตเนื้อไม้
ผมจึงขอเสนอให้ปลูก ๑ คูณ ๑ ไปเลย ดังนั้น วิธีนี้จะได้ไร่ละ ๑,๖๐๐ ต้น ถ้าปลูกต้นฤดูฝน อีก ๔ เดือนก็แตกหน่อสัก ๕ หน่อแล้ว ปลายปีก็ได้ต้นไผ่ขนาดใหญ่ ๖ ต้นต่อหนึ่งตารางเมตร (จากหน่อเป็นต้นใหญ่เต็มที่ใช้เวลาเพียง ๑ เดือน จึงมักกล่าวกันว่า ไผ่เป็นพืชโตเร็วที่สุดในโลก) ลำต้นไผ่น่าจะตรง เพราะเบียดเสียดแย่งกันขึ้นไปหาฟ้าด้านบนในพื้นที่แคบเพียง ๑ ตร.เมตร
เพียงแต่ว่าจะตัดเอาไม้มาใช้ยังไม่ได้ เพราะเนื้อไม้มันยังไม่แข็ง ถ้าจะเอามาทำเฟอร์นิเจอร์ต้องรอ ๓ ปีเป็นอย่างน้อย แต่ของเราจะตัดเลย (อายุเพียง ๘ เดือน) เพราะเราไม่ได้เอามาทำเฟอร์นิเจอร์ แต่จะเอามาทำเชื้อเพลิง เผาไหม้ เนื้อไม้ยิ่งอ่อนอาจจะยิ่งดีด้วยซ้ำไป เพราะในการเผาไหม้นั้นเราต้องบดละเอียดอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเสียแรงและพลังงานในการบดให้มากเกินจำเป็น
ถ้าผมสมมติว่าไผ่ซางหม่นแต่ละต้นมีความสูง ๓๐ เมตร ใหญ่ ๒๐ ซม. เนื้อหนา ๒ ซม. (จริงๆ อาจหนากว่านี้เสียอีก ว่ากันว่าปลวกไม่กินเนื้อไผ่ซางหม่นเพราะมันทั้งแข็งและหนา) กอละ ๖ ต้น ไร่ละ ๑,๖๐๐ กอ จะได้เนื้อไม้สด ถึงปีละ ๓,๖๑๙ ลูกบาศก์เมตร ถ้าตีเสียว่ามีน้ำปนอยู่ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ก็จะได้เนื้อไม้แห้งถึง ๒,๑๗๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งหนึ่งลูกบาศก์เมตร ก็หนักประมาณ ๑ ตัน ขายได้ตันละ ๑,๐๐๐ บาท ก็จะเป็นเงิน ๒ ล้านกว่าบาทต่อไร่ปี ซึ่งเป็นกำไรล้วนๆ ในขณะที่ทำนาอีสานได้กำไร ๓,๐๐๐ บาทต่อไร่ปีเท่านั้นเอง (เลยต้องไปรับจ้างเดินขบวน)
หญ้าเนเปียร์ที่ว่าดีๆ ได้เพียง ๑๐๐ ตันสด แต่มันเป็นน้ำเสีย ๘๐ จึงได้เพียง ๒๐ ตันแห้งต่อไร่ปีเท่านั้นเอง (ยูคาได้ ๕ ตัน) เท่ากับว่าไผ่ซางหม่นให้ผลผลิตมากกว่าเนเปียร์ประมาณ ๑๑๐ เท่า ดังนั้น ผมขอวิงวอนรัฐบาลผ่านบทความนี้ให้ช่วยกันทบทวนนโยบายหญ้าพลังงานจากหญ้าเนเปียร์ให้รอบคอบก่อนถลำลงทุนเป็นหมื่นๆ ล้านดังที่ได้โฆษณาไว้แล้ว
แล้วถ้าเราปล่อยไว้สามปีให้เนื้อไม้แข็ง แล้วเอามาทำเฟอร์นิเจอร์กิโลละพันบาท เราจะได้เงิน ๒ พันล้านบาทต่อสามปี หารสามก็ได้ประมาณปี ๗๐๐ ล้านบาทต่อปี (เฟอร์นิเจอร์กิโลละพันบาทไม่ใช่เรื่องเว่อร์ ทำได้ เช่น ของง่ายๆอย่างกรอบรูปหนัก ๑ ขีดฝีมือดีๆ ขายได้ ๒๐๐ บาทในตลาดโลก ก็ปาเข้าไป กก.ละ ๒,๐๐๐ แล้ว)
ไผ่ไทยเรานี้ปลูกดีๆ มันปฏิวัติประเทศและโลกได้เลย ทั้งด้านพลังงาน ที่อยู่อาศัย (เอามาสร้างบ้าน) อาหาร (หน่อไม้) รวมทั้งสร้างรายได้มหาศาล
เสียแต่ว่ารัฐบาลไทยมัวแต่ไปคิดส่งเสริมธุรกิจต่างชาติ ผ่าน BOI (บ๋อย) จนลืมคิดถึงการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้แก่ผืนแผ่นดินไทยด้วยกันเอง ดีแต่ไปส่งเสริมการทำนาราคาถูก แล้วยังล่อให้เป็นชาวนาจนๆ ต่อไปด้วยการจำนำข้าวหรือประกันราคากันอยู่นั่นแหละ