**ถ้ายึดตามที่รับปากเอาไว้เมื่อก่อนเข้ารับตำแหน่งถือว่า“รักษาสัญญา”ไม่ผิดคำพูด สำหรับ “วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์”ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ฝีปากกล้าที่ประกาศจะไขก็อกออกจากตำแหน่ง
แถมยังโชว์บทลูกผู้ชาย ไม่ได้ลุกจากเก้าอี้ประธานศาลรัฐธรรมนูญธรรมดา แล้วกลับมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหมือนกับ นายชัช ชลวร อดีตตประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทุกวันนี้ยังนั่งแช่อยู่ในเก้าอี้ตุลาการ
แต่“วสันต์”สละจากทุกตำแหน่ง ทั้งประธานศาล ทั้งตุลาการศาล ขอเป็นคนธรรมดาไปสอนหนังสือสอนตำรากฎหมาย คิดแล้วสบายใจกว่าเยอะ
สาเหตุที่สละเรือก่อนหมดวาระนั้น ไม่ได้เกิดจากแรงกดดันจากกลุ่มคนเสื้อแดง หรือกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ที่ไปชุมนุมขับไล่ก่อนหน้านี้แต่อย่างใด เพราะคนอย่าง “วสันต์”ไม่สะทกสะท้านกับปรากฏการณ์เห็บเหาเขย่าหลังเสือ
แต่หลักใหญ่ใจความของการไขก็อก เพราะคำมั่นสัญญาที่ประกาศลั่นไว้ตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญว่า จะไม่ขออยู่ครบวาระ แต่จะขอเคลียร์งานขององค์กรให้สำเร็จลุล่วงก่อน ตรงนี้ต่างหากที่ค้ำคอ จ่อลาออกมานานแล้ว
กำหนดการเดิมจะลุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ที่ต้องล่วงเลยมาเดือนสองเดือน เหตุเพราะหากทิ้งเรือกลางคัน จะเท่ากับแสดงอาการ“ปอดแหก”กลัวแค่คำขู่คนเสื้อแดง จึงต้องโชว์ความเป็นผู้นำ เป็นหลักค้ำยันให้ผู้ใต้บังคับบัญชาก่อน พอเสร็จสิ้นลมมรสุมจึงก้าวย่าง แยกตัวออกมาอย่างที่เห็น
อย่างน้อยๆ การจบแบบนี้ ดูดี ดูเท่ห์ มีแต่คนยกย่อง ไม่ต้องมีใครมากดดันให้ออก หรือเรียกร้องให้ออก เหมือนกับกรณี “ตุลาการชัช”ที่ก่อนเข้ารับตำแหน่งสัญญาไว้ว่า จะอยู่แค่ 2 ปี แต่พอครบกำหนด กลับตีบท “จ่าเฉย”จนเกิดเรื่องเกิดราวให้คนนินทา หมาดูถูกกันตอนนั้น
**เอาเป็นว่า งานนี้ฝ่ายกองเชียร์ตุลาการส่งเสียงโห่ร้องกับ “สปิริต”ครั้งนี้กันกึกก้อง
ด้านกองเชียร์ฝั่งตุลาการเองก็คงไม่ไปต้องตกอกตกใจอะไรมากมาย แม้วันนี้จะไร้เงา “ประธานวสันต์”ในฐานะกัปตันทีม เพราะหากหันหลังกลับไปมองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นๆ ที่เหลือ ส่วนใหญ่วันนี้ยังไว้ใจได้ ในเรื่องการปราบคนโกงทรยศฉ้อฉลชาติ
ขมวดใจความง่ายๆ ใครจะวิ่งใครจะกดดัน เลิกคิดให้เมื่อยสมองดีกว่า !!
ในอารมณ์เดียวกันกับกลุ่มกองเชียร์ตุลาการ ในส่วนของฝ่ายตรงข้ามอย่าง “กองแช่ง”กลุ่มคนเสื้อแดง ที่มองศาลรัฐธรรมนูญเป็นปฏิปักษ์มาตลอดก็น่าจะโห่ร้องกับการไขก๊อกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้เช่นเดียวกัน
เพราะเสี้ยนหนามตัวสำคัญ พ้นวงโคจรออกไปอีกหนึ่งคน วสันต์ ถือเป็นหนามยอกอกทิ่มแทงหัวใจมาตลอด !!
อย่างไรก็ตาม ในอารมณ์ที่บรรดา “กองแช่ง”ต่างฉลองกับการไขก็อกของศัตรูหมายเลขหนึ่ง ของกลุ่มคนเสื้อแดงอยู่ แต่มันก็ยังมีเรื่องที่น่าหวาดเสียวไม่น้อยอยู่บานตะไท
หากเหลือบไปดูบรรดาคดีสำคัญๆ ที่อยู่ในมือศาลรัฐธรรมนูญขณะนี้ บางทีอาจต้องเปลี่ยนมาเป็นอกสั่นขวัญแขวนแทนก็เป็นได้ เช่น การพิจารณาคดีคำร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไว้พิจารณาแล้วหลายคำร้อง ทั้งของ นายสมชาย แสวงการ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม 2 ส.ว.สรรหา นายบวร ยสินธร นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมถึงนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีการเก็งข้อสอบกันว่า ศาลน่าจะมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในเร็วๆ นี้
ส่วนคำร้องที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยื่นคำร้องต่อประธานสภาฯ ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพการเป็น ส.ส.ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หลังถูกกระทรวงกลาโหมปลดออกจากราชการ จากกรณีใช้เอกสารปลอมขอเข้ารับราชการทหาร ซึ่งที่ผ่านมาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้พิจารณาคำร้องคดีนี้มาแล้วหลายครั้งหลายหน แต่ยังเคาะข้อสรุปไม่ลง
จับจุดแค่สองปมร้อนนี้เบาะๆ หากมีการชี้ขาดออกมาในทางเชิงลบต่อผู้ถูกร้อง สถานการณ์การเมืองจะปรับเข้าสู่โหมดอุณภูมิร้อนๆ ทันทีแบบอัตโนมัติ
**อาจมีการเคลื่อนไหวต่อต้านศาลรัฐธรรมนูญ หรือออกมาปลุกระดมมวลชนลุยกันแตกหักไปเลย จุดเปลี่ยนการเมืองไทยมีแน่ !!
นอกจากสองปมใหญ่ๆ ที่ยังต้องรอลุ้น แต่ที่ฟันธงล่วงหน้าตามเนื้อผ้าได้เลยคือ หลังจากนี้บทบาทของ “ศาลรัฐธรรมนูญ”จะมีส่วนสำคัญต่อการเมืองไทยแบบชี้เป็นชี้ตายได้ เพราะหลายเรื่องหลายราวดูท่าบั้นปลายสุดท้ายหนีไม่พ้นจะต้องไปจบที่องค์กรอิสระแห่งนี้
โดยเฉพาะกฎหมายสำคัญ หรือแทบจะเป็นหัวใจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างร่าง พระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังในการกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นที่ด้านการคมนาคมขนส่ง พ.ศ. … หรือ ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่อย่างไรก็ต้องผลักดันให้คลอดให้ได้ก่อนจะยุบสภา
เพราะถือเป็นกฎหมายที่จะทำให้ “พลพรรคนายห้าง”มีเสบียงกรังสะสมตุนเอาไว้ใช้ทางการเมืองและในการขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ รวมทั้ง “นายใหญ่”พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหลบหนีคดี เองก็มุ่งหวังเอาไว้มากเสียด้วย
แต่จากปฏิกิริยาล่าสุดจากฝ่ายต้าน กฎหมายนี้ผ่านสภาเมื่อไร กระโดดขวางพร้อมประเคนให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแน่ !!
ตามคิวที่นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ออกมาเรียกน้ำย่อยแต่หัววัน กฎหมายนี้ยังมีช่องโหว่โบ๋อยู่หลายจุด หากยังดันทุรัง โอกาสจะจบที่องค์กรอิสระแห่งนี้สูงเหลือเกิน
อย่างไรก็ดี ในจังหวะที่คิวร้อนต่อแถวรอเสียบให้คอการเมืองลุ้นกันอีกเฮือกใหญ่ ในส่วนของหัวเรือใหญ่คนใหม่ของ “ศาลรัฐธรรมนูญ”ก็น่าจับตาไม่น้อย เพราะมีผลต่อทิศต่อทางองค์กรแห่งนี้เหมือนกัน
วันนี้หากวัดกันตามลำดับอาวุโส “จรูญ อินทจาร”ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมาเป็นลำดับหนึ่ง ซึ่งยังต้องรอลุ้นวันสุดท้ายว่าหวยจะพลิกหรือไม่ ?
แต่ที่น่าสนใจที่สุดมากกว่าตัวประธานศาลรัฐธรรมนูญคือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ที่จะมาแทนนายวสันต์ เพราะแน่นอนว่าตำแหน่งดังกล่าวมีผู้หมายปองจำนวนมาก
**โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองที่ต่างก็อยากให้คนของตัวเองเข้าไปนั่งชูคอ!!
และทุกครั้งที่มีการเลือกบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ มักจะเกิดปรากฏการณ์ฝุ่นตลบขึ้นอยู่เสมอ มีการล็อบบี้กันอุตลุด ถึงขั้นว่ากันว่า บางคนอัดฉีดเม็ดเงินหลายหลักเพื่อผลักดันตัวเอง หรือคนของตัวเองเพื่อให้เข้าวินในบั้นปลาย
แน่นอนครั้งนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์การเมืองของทั้งสองฝั่งพยายามคานอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา และมีคดีความสำคัญๆ เกี่ยวพันกับความอยู่รอดของพรรคการเมืองด้วยแล้ว
**สำหรับ 1 เสียงในองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในทางการเมืองนั้น ถือว่าสำคัญ และเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งที่มีอิทธิพลมาก
**ช่วงสรรหาจึงต้องจับตาให้ดี บางทีดูแค่แคนดิเดตคร่าวๆ ก็รู้แล้วว่าฝั่งไหน จับตาไปที่บรรดาส.ว.ช่วงนี้อาจอู้ฟู่กันแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว !!
แถมยังโชว์บทลูกผู้ชาย ไม่ได้ลุกจากเก้าอี้ประธานศาลรัฐธรรมนูญธรรมดา แล้วกลับมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหมือนกับ นายชัช ชลวร อดีตตประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทุกวันนี้ยังนั่งแช่อยู่ในเก้าอี้ตุลาการ
แต่“วสันต์”สละจากทุกตำแหน่ง ทั้งประธานศาล ทั้งตุลาการศาล ขอเป็นคนธรรมดาไปสอนหนังสือสอนตำรากฎหมาย คิดแล้วสบายใจกว่าเยอะ
สาเหตุที่สละเรือก่อนหมดวาระนั้น ไม่ได้เกิดจากแรงกดดันจากกลุ่มคนเสื้อแดง หรือกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ที่ไปชุมนุมขับไล่ก่อนหน้านี้แต่อย่างใด เพราะคนอย่าง “วสันต์”ไม่สะทกสะท้านกับปรากฏการณ์เห็บเหาเขย่าหลังเสือ
แต่หลักใหญ่ใจความของการไขก็อก เพราะคำมั่นสัญญาที่ประกาศลั่นไว้ตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญว่า จะไม่ขออยู่ครบวาระ แต่จะขอเคลียร์งานขององค์กรให้สำเร็จลุล่วงก่อน ตรงนี้ต่างหากที่ค้ำคอ จ่อลาออกมานานแล้ว
กำหนดการเดิมจะลุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ที่ต้องล่วงเลยมาเดือนสองเดือน เหตุเพราะหากทิ้งเรือกลางคัน จะเท่ากับแสดงอาการ“ปอดแหก”กลัวแค่คำขู่คนเสื้อแดง จึงต้องโชว์ความเป็นผู้นำ เป็นหลักค้ำยันให้ผู้ใต้บังคับบัญชาก่อน พอเสร็จสิ้นลมมรสุมจึงก้าวย่าง แยกตัวออกมาอย่างที่เห็น
อย่างน้อยๆ การจบแบบนี้ ดูดี ดูเท่ห์ มีแต่คนยกย่อง ไม่ต้องมีใครมากดดันให้ออก หรือเรียกร้องให้ออก เหมือนกับกรณี “ตุลาการชัช”ที่ก่อนเข้ารับตำแหน่งสัญญาไว้ว่า จะอยู่แค่ 2 ปี แต่พอครบกำหนด กลับตีบท “จ่าเฉย”จนเกิดเรื่องเกิดราวให้คนนินทา หมาดูถูกกันตอนนั้น
**เอาเป็นว่า งานนี้ฝ่ายกองเชียร์ตุลาการส่งเสียงโห่ร้องกับ “สปิริต”ครั้งนี้กันกึกก้อง
ด้านกองเชียร์ฝั่งตุลาการเองก็คงไม่ไปต้องตกอกตกใจอะไรมากมาย แม้วันนี้จะไร้เงา “ประธานวสันต์”ในฐานะกัปตันทีม เพราะหากหันหลังกลับไปมองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นๆ ที่เหลือ ส่วนใหญ่วันนี้ยังไว้ใจได้ ในเรื่องการปราบคนโกงทรยศฉ้อฉลชาติ
ขมวดใจความง่ายๆ ใครจะวิ่งใครจะกดดัน เลิกคิดให้เมื่อยสมองดีกว่า !!
ในอารมณ์เดียวกันกับกลุ่มกองเชียร์ตุลาการ ในส่วนของฝ่ายตรงข้ามอย่าง “กองแช่ง”กลุ่มคนเสื้อแดง ที่มองศาลรัฐธรรมนูญเป็นปฏิปักษ์มาตลอดก็น่าจะโห่ร้องกับการไขก๊อกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้เช่นเดียวกัน
เพราะเสี้ยนหนามตัวสำคัญ พ้นวงโคจรออกไปอีกหนึ่งคน วสันต์ ถือเป็นหนามยอกอกทิ่มแทงหัวใจมาตลอด !!
อย่างไรก็ตาม ในอารมณ์ที่บรรดา “กองแช่ง”ต่างฉลองกับการไขก็อกของศัตรูหมายเลขหนึ่ง ของกลุ่มคนเสื้อแดงอยู่ แต่มันก็ยังมีเรื่องที่น่าหวาดเสียวไม่น้อยอยู่บานตะไท
หากเหลือบไปดูบรรดาคดีสำคัญๆ ที่อยู่ในมือศาลรัฐธรรมนูญขณะนี้ บางทีอาจต้องเปลี่ยนมาเป็นอกสั่นขวัญแขวนแทนก็เป็นได้ เช่น การพิจารณาคดีคำร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไว้พิจารณาแล้วหลายคำร้อง ทั้งของ นายสมชาย แสวงการ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม 2 ส.ว.สรรหา นายบวร ยสินธร นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมถึงนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีการเก็งข้อสอบกันว่า ศาลน่าจะมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในเร็วๆ นี้
ส่วนคำร้องที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยื่นคำร้องต่อประธานสภาฯ ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพการเป็น ส.ส.ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หลังถูกกระทรวงกลาโหมปลดออกจากราชการ จากกรณีใช้เอกสารปลอมขอเข้ารับราชการทหาร ซึ่งที่ผ่านมาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้พิจารณาคำร้องคดีนี้มาแล้วหลายครั้งหลายหน แต่ยังเคาะข้อสรุปไม่ลง
จับจุดแค่สองปมร้อนนี้เบาะๆ หากมีการชี้ขาดออกมาในทางเชิงลบต่อผู้ถูกร้อง สถานการณ์การเมืองจะปรับเข้าสู่โหมดอุณภูมิร้อนๆ ทันทีแบบอัตโนมัติ
**อาจมีการเคลื่อนไหวต่อต้านศาลรัฐธรรมนูญ หรือออกมาปลุกระดมมวลชนลุยกันแตกหักไปเลย จุดเปลี่ยนการเมืองไทยมีแน่ !!
นอกจากสองปมใหญ่ๆ ที่ยังต้องรอลุ้น แต่ที่ฟันธงล่วงหน้าตามเนื้อผ้าได้เลยคือ หลังจากนี้บทบาทของ “ศาลรัฐธรรมนูญ”จะมีส่วนสำคัญต่อการเมืองไทยแบบชี้เป็นชี้ตายได้ เพราะหลายเรื่องหลายราวดูท่าบั้นปลายสุดท้ายหนีไม่พ้นจะต้องไปจบที่องค์กรอิสระแห่งนี้
โดยเฉพาะกฎหมายสำคัญ หรือแทบจะเป็นหัวใจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างร่าง พระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังในการกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นที่ด้านการคมนาคมขนส่ง พ.ศ. … หรือ ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่อย่างไรก็ต้องผลักดันให้คลอดให้ได้ก่อนจะยุบสภา
เพราะถือเป็นกฎหมายที่จะทำให้ “พลพรรคนายห้าง”มีเสบียงกรังสะสมตุนเอาไว้ใช้ทางการเมืองและในการขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ รวมทั้ง “นายใหญ่”พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหลบหนีคดี เองก็มุ่งหวังเอาไว้มากเสียด้วย
แต่จากปฏิกิริยาล่าสุดจากฝ่ายต้าน กฎหมายนี้ผ่านสภาเมื่อไร กระโดดขวางพร้อมประเคนให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแน่ !!
ตามคิวที่นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ออกมาเรียกน้ำย่อยแต่หัววัน กฎหมายนี้ยังมีช่องโหว่โบ๋อยู่หลายจุด หากยังดันทุรัง โอกาสจะจบที่องค์กรอิสระแห่งนี้สูงเหลือเกิน
อย่างไรก็ดี ในจังหวะที่คิวร้อนต่อแถวรอเสียบให้คอการเมืองลุ้นกันอีกเฮือกใหญ่ ในส่วนของหัวเรือใหญ่คนใหม่ของ “ศาลรัฐธรรมนูญ”ก็น่าจับตาไม่น้อย เพราะมีผลต่อทิศต่อทางองค์กรแห่งนี้เหมือนกัน
วันนี้หากวัดกันตามลำดับอาวุโส “จรูญ อินทจาร”ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมาเป็นลำดับหนึ่ง ซึ่งยังต้องรอลุ้นวันสุดท้ายว่าหวยจะพลิกหรือไม่ ?
แต่ที่น่าสนใจที่สุดมากกว่าตัวประธานศาลรัฐธรรมนูญคือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ที่จะมาแทนนายวสันต์ เพราะแน่นอนว่าตำแหน่งดังกล่าวมีผู้หมายปองจำนวนมาก
**โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองที่ต่างก็อยากให้คนของตัวเองเข้าไปนั่งชูคอ!!
และทุกครั้งที่มีการเลือกบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ มักจะเกิดปรากฏการณ์ฝุ่นตลบขึ้นอยู่เสมอ มีการล็อบบี้กันอุตลุด ถึงขั้นว่ากันว่า บางคนอัดฉีดเม็ดเงินหลายหลักเพื่อผลักดันตัวเอง หรือคนของตัวเองเพื่อให้เข้าวินในบั้นปลาย
แน่นอนครั้งนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์การเมืองของทั้งสองฝั่งพยายามคานอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา และมีคดีความสำคัญๆ เกี่ยวพันกับความอยู่รอดของพรรคการเมืองด้วยแล้ว
**สำหรับ 1 เสียงในองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในทางการเมืองนั้น ถือว่าสำคัญ และเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งที่มีอิทธิพลมาก
**ช่วงสรรหาจึงต้องจับตาให้ดี บางทีดูแค่แคนดิเดตคร่าวๆ ก็รู้แล้วว่าฝั่งไหน จับตาไปที่บรรดาส.ว.ช่วงนี้อาจอู้ฟู่กันแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว !!