วานนี้ (14มี.ค.) นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 มาตรา 41 ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ประกอบ มาตรา 29 และมาตรา 40 (2) (3) (4) และ (7 ) ว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว พ.ร.บ.ดังกล่าวก็ถือว่าไม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลอาญา ว่าการดำเนินการไปสืบพยานของอัยการที่ไปสืบพยานปาก พล.ต.ท.สุวิชชัย แก้วผลึก หรือ นายเกียรติกร แก้วเพชรศรี ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต หรือ ยูเออี จะนำมาพิจารณาในคดีด้วยหรือไม่ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ศาลอาญาก็ยังมีประมวลกฎหมายวินิจฉัยความทางอาญา ที่สามารถนำมาบังคับใช้ในการพิจารณาคดีได้ การสืบพยานในก่อนหน้าโดยใช้กฎหมายนี้ จะเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลอาญา และการที่ พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศ ไม่สามารถใช้ได้แล้ว จะยังคงประสานขอตัวพยานกลับมาดำเนินการสืบในประเทศไทยได้หรือไม่นั้น เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็นดุลพินิจของศาลอาญาที่จะดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยในพ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ ทางศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการศึกษาข้อมูลของสนธิสัญญาระหว่างประเทศอย่างรอบคอบ เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นทางศาลรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคำร้องนี้ ให้มากที่สุด โดยมีการนำคำร้องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7-8 ครั้ง นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 55 ที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยในที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยในพ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ ทางศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการศึกษาข้อมูลของสนธิสัญญาระหว่างประเทศอย่างรอบคอบ เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นทางศาลรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคำร้องนี้ ให้มากที่สุด โดยมีการนำคำร้องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7-8 ครั้ง นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 55 ที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยในที่สุด