วานนี้ ( 13 มี.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 เห็นว่า มาตรา 36, 37 ,38 และ 39 ของ พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการขอความช่วยเหลือในเรื่องข่าวสาร หรือพยานหลักฐานทางคดีกับต่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีอยู่ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 29 และมาตรา 40(2) (3) (4) และ (7) แต่มีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 เห็นว่า มาตรา 41 ของพ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน ที่บัญญัติให้บรรดาพยานหลักฐาน และเอกสารที่ได้มาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นพยานหลักฐาน และเอกสารที่รับฟังได้ตามกฎหมายนั้น ขัดต่อหลักนิติธรรม และเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิของจำเลยในคดีอาญา เพราะเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยไม่มีโอกาสได้ตรวจสอบ หรือรับทราบ และไม่มีโอกาสต่อสู้คดีได้อย่างเป็นธรรม ตลอดจนไม่มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือทางคดีจากทนาย อันเป็นการกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ ที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 29 และมาตรา 40(2) (3) (4) และ (7)
สำหรับการมีคำวินิจฉัยดังกล่าว มาจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องของศาลอาญา ที่ส่งคำโต้แย้งของจำเลยคือ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ จำเลยในคดีอุ้มฆ่านายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี นักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย ที่ขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 มาตรา 36, 37, 38, 39 และ 41 ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 29 และมาตรา 40(2) (3) (4) และ (7) หรือไม่
เนื่องจาก พล.ต.ท.สมคิด เห็นว่า บทบัญญัติตามมาตราดังกล่าวของพ.ร.บ.นี้ ไม่ได้กำหนดวิธีการสืบพยานให้จำเลย สามารถตามประเด็นไปสืบได้ ถือเป็นการขัด หรือแย้งต่อการสืบพยานต่อหน้าจำเลย และตามที่บัญญัติให้พยานหลักฐานที่ได้มา ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว สามารถรับฟังได้ มีผลให้จำเลยเสียเปรียบ และไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.สมคิด กับพวกรวม 5 คน ตกเป็นจำเลยในคดีร่วมกันฆ่า นายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย ซึ่งประกอบธุรกิจจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยเจตนาและปกปิดการกระทำความผิดอื่นของตน เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิดทางอาญา โดยปัจจุบันศาลอาญาได้อนุญาตให้พนักงานอัยการ ส่งประเด็นไปสืบพยานปาก พ.ต.ท.สุวิชชัย แก้วผลึก หรือ นายเกียรติกรณ์ แก้วเพชรศรี ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี ซึ่งพล.ต.ท.สมคิดได้ยื่นร้องคัดค้านโดยอ้างว่าทำให้ฝ่ายจำเลยไม่มีโอกาสที่จะซักค้านพยานปาก พ.ต.ท.สุวิชชัย ได้ และขอให้ส่งตัว พ.ต.ท.สุวิชชัย เป็นผู้ร้ายข้ามแดน มาดำเนินคดีในฐานะจำเลยคดีพยายามฆ่าของศาลจังหวัดมีนบุรี รวมถึงได้ขอให้ศาลอาญา ส่งคำโต้แย้งของตนที่เห็นว่า บทบัญญัติมาตรา 36 ,37 ,38 ,39 และ 41 ของ พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 มาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย
สำหรับการมีคำวินิจฉัยดังกล่าว มาจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องของศาลอาญา ที่ส่งคำโต้แย้งของจำเลยคือ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ จำเลยในคดีอุ้มฆ่านายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี นักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย ที่ขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 มาตรา 36, 37, 38, 39 และ 41 ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 29 และมาตรา 40(2) (3) (4) และ (7) หรือไม่
เนื่องจาก พล.ต.ท.สมคิด เห็นว่า บทบัญญัติตามมาตราดังกล่าวของพ.ร.บ.นี้ ไม่ได้กำหนดวิธีการสืบพยานให้จำเลย สามารถตามประเด็นไปสืบได้ ถือเป็นการขัด หรือแย้งต่อการสืบพยานต่อหน้าจำเลย และตามที่บัญญัติให้พยานหลักฐานที่ได้มา ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว สามารถรับฟังได้ มีผลให้จำเลยเสียเปรียบ และไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.สมคิด กับพวกรวม 5 คน ตกเป็นจำเลยในคดีร่วมกันฆ่า นายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย ซึ่งประกอบธุรกิจจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยเจตนาและปกปิดการกระทำความผิดอื่นของตน เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิดทางอาญา โดยปัจจุบันศาลอาญาได้อนุญาตให้พนักงานอัยการ ส่งประเด็นไปสืบพยานปาก พ.ต.ท.สุวิชชัย แก้วผลึก หรือ นายเกียรติกรณ์ แก้วเพชรศรี ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี ซึ่งพล.ต.ท.สมคิดได้ยื่นร้องคัดค้านโดยอ้างว่าทำให้ฝ่ายจำเลยไม่มีโอกาสที่จะซักค้านพยานปาก พ.ต.ท.สุวิชชัย ได้ และขอให้ส่งตัว พ.ต.ท.สุวิชชัย เป็นผู้ร้ายข้ามแดน มาดำเนินคดีในฐานะจำเลยคดีพยายามฆ่าของศาลจังหวัดมีนบุรี รวมถึงได้ขอให้ศาลอาญา ส่งคำโต้แย้งของตนที่เห็นว่า บทบัญญัติมาตรา 36 ,37 ,38 ,39 และ 41 ของ พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 มาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย