xs
xsm
sm
md
lg

ปรับค่าไฟฐานใหม่ปลายปี เล็งลดค่าบริการหน้าเคาน์เตอร์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้ใช้ไฟมีเฮ “เรกูเลเตอร์” รื้อระบบดูแลใหม่จ่อกดค่าไฟฐานลงปลายปีนี้ ดึงค่าบริการผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสเกือบ 500 ล้านบาทต่อปีแยกออกหวังลดค่าบริการไม่ให้เก็บซ้ำซ้อน เร่งกระตุ้นผู้ใช้ร้องเรียนไฟตก ดับ ค่าไฟแพง ผ่านคพข. 13 แห่งทั่วประเทศ ขณะที่กรมพลังงานทดแทนเข้มคุมปริมาณส่งออกเอทานอล หลังการใช้ในประเทศพุ่งจากนโยบายเลิกเบนซิน 91 คนแห่ใช้อี 20 อี 85 กระฉูดดันใช้เอทานอลทะลุวันละ 2 ล้านลิตร ปตท.เดินหน้าทำปั๊มอี 20 อี 85

นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า ปี 2556 ได้กำหนดให้เป็นปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภคด้านพลังงานโดยจะเร่งสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการทั้งด้านการบริการ ราคา และการแข่งขัน โดยภายในปีนี้จะมีการพิจารณาทบทวนค่าไฟฟ้าฐานใหม่ที่จะเน้นเข้าไปดูแลผู้บริโภค เช่น การลดค่าบริการชำระค่าไฟผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส การดูแลผู้ใช้ไฟครัวเรือนประเภทผู้ใช้ไฟชั่วคราวให้เกิดความเป็นธรรม การกระตุ้นให้ผู้ใช้ไฟรับทราบถึงการร้องเรียน ไฟดับ- ไฟขาด ค่าไฟแพง ผ่านคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.) ที่มี 13 แห่งทั่วประเทศ เป็นต้น

“ เราจะดำเนินการหลายๆ อย่างแต่ทั้งหมดนี้จะเป็นการดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการที่ไม่เพียงแค่ค่าไฟฟ้าแต่ยังรวมถึงพลังงานอืนเช่น ก๊าซธรรมชาติ เช่นกรณีประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมในการเวนคืนที่ดินที่เสาไฟพาดผ่าน หรือ ท่อก๊าซฯผ่าน ก็มาร้องที่เรกูเลเตอร์โดยตรงหรือผ่านคพข.ที่กระจายอยู่ 13แห่งทั่วประเทศได้เพราะคพข.จะทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนผู้ใช้พลังงาน การเก็บค่าบริการไม่เป็นธรรม และกรณีพิพาท ซึ่งขณะนี้ยอมรับว่าประชาชนยังไม่ค่อยทราบว่าเราทำหน้าที่นี้”นายดิเรกกล่าว

นายพิสิษฐ์ สุนทรีรัตน์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้เรกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการปรับปรุงค่าไฟฟ้าฐานใหม่(2556-2558) ที่ขณะนี้อยู่ 3.20 บาทต่อหน่วยคาดว่าจะเสร็จช่วงปลายปีนี้ โดยส่วนนี้กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการแยกเงินการคิดค่าบริการเก็บค่าไฟ(บิล) ของการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ออกจากค่าไฟฐาน ซึ่งขณะนี้เก็บอยู่บิลละ
38บาทอยู่แล้วแต่ยังมีการเรียกเก็บซ้ำจากการไปจ่ายผ่านร้านสะดวกซื้อที่มีบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสอีก 5-10 บาทต่อบิลซึ่งทำให้มีรายได้จากส่วนนี้สูงถึง 450-500 ล้านบาทต่อปี

“ เราหารือกับ 2 การไฟฟ้าครั้งสุดท้ายก็ยังไม่ลงตัวว่าจะปรับอย่างไรเพราะยอมรับว่าชาวบ้านชนบทยังต้องจ่ายค่าไฟผ่านเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าที่เดินไปเก็บอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ขณะที่จำนวนผู้จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสรวมจะมีราวกว่า 5 ล้านราย เลยให้ไปทำต้นทุนค่าพิมพ์บิล

ค่าพนักงานมาแต่เรายืนยันว่าจะไม่นำไปผูกติดกับค่าไฟและต้องไม่มีการเรียกเก็บซ้ำซ้อนหลังจากนั้นจะมาดูรายละเอียดซึ่งอาจจะแยกต้นทุนส่วนนี้มาคิดและที่เหลือจะต้องไม่ไปเรียกเก็บซ้ำ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ค่าไฟฟ้าฐานลดลง”นายพิสิษฐ์กล่าว

นอกจากนี้จะมีการพิจารณาค่าไฟของผู้ใช้ไฟประเภทชั่วคราวเช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้จัดงานประจำปี ที่จะมีการคิดค่าไฟในอัตราสูงเฉลี่ย 5-6บาทต่อหน่วยซึ่งพบว่ายังมีการตีความกรณีนี้รวมการคิดกับชุมชนแออัดไปด้วยซึ่งเห็นว่าไม่ยุติธรรมเพราะถือว่าเป็นไฟบ้านแม้ว่าจะไม่มีทะเบียนชัดเจนก็ตามโดยเรกูเลเตอร์จะดึงส่วนนี้มาคิดค่าไฟปกติแทนโดยเบื้องต้นในเขตความรับผิดชอบกฟน.ได้ข้อสรุปแล้วยกเว้นส่วนกฟภ.ที่จะต้องไปดูว่ายังมีอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีชุมชนนี้หรือไม่และมากน้อยเพียงใดเพื่อที่จะนำมาจัดทำเป็นภาพรวมอีกครั้ง

***เอทานอลเริ่มตึงตัวหลังเลิกเบนซิน91

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ประสานไปยังกรมสรรพสามิตขอเพิ่มขั้นตอนการพิจารณาส่งออกเอทานอลไปต่างประเทศ โดยขอให้ผู้ผลิตเอทานอลจะต้องรายงานปริมาณการส่งออกเอทานอลมายัง พพ.รับทราบ ก่อนที่จะอนุมัติการส่งออกอย่างเป็นทางการ เนื่องจากต้องการติดตามสถานการณ์ส่งออกเอทานอลให้สอดคล้องกับปริมาณการใช้ในประเทศให้มีอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการขาดแคลนหลังการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นมากจากการยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 91

นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ. ปตท. กล่าวว่าหลังยกเลิกจำหน่ายเบนซิน91พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่หันไปเติมแก๊สโซฮอล์อี 20 และอี 85 มากขึ้น ขณะที่การใช้เบนซิน 95 พบว่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ด้วยซ้ำ ดังนั้น ปตท.คงจะไม่ขยายปั๊ม 95 เพิ่มมากแต่จะเน้นขยายปั๊ม อี20 อี 85 เพิ่ม

แหล่งข่าวจากวงการผู้ผลิตเอทานอล แจ้งว่า เอทานอลมีการตึงตัวเป็นบางช่วงเพราะระเบียบการซื้อของรัฐที่กำหนดสัดส่วนจากโมลาสและมัน เพราะการผลิตส่วนใหญ่อยู่ที่โมลาสเมื่อส่งในประเทศแล้วที่เหลือก็ส่งออก พอมันมีปัญหาผลิตไม่พอจะมาดึงจากส่วนโมลาสที่มีสัญญาส่งออกไปแล้วก็ไม่ได้รัฐเลยออกกฏคุมการส่งออกขณะนี้ทำให้การส่งออกมีความล่าช้าลงไปแม้รัฐจะไม่บังคับเชิงนโยบายแต่การปฏิบัติก็คือการบังคับห้ามส่งออก

นายวีระพล จิรประดิกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวถึง โครงสร้างการใช้น้ำมันหลังยกเลิกจำหน่ายเบนซิน91 ว่า ผู้ใช้รถยนต์ที่เคยเติมเบนซิน 91ส่วนใหญ่หันไปใช้น้ำมันในกลุ่มแก๊สโซฮอล์มากขึ้น โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์อี20มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่วันละ 2 ล้านลิตร จากเดิมก่อนหน้านี้เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 7-8 แสนลิตร/วัน เท่านั้น ส่วนเบนซิน 95.
กำลังโหลดความคิดเห็น