เมื่อนโยบายสาธารณะและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐและทุนรุกรานเข้าไปในพื้นที่ต่างๆ อย่างขาดความรับผิดชอบต่อสังคมและสอดคล้องกับระบบนิเวศวัฒนธรรม นอกจากเกิดผลกระทบทางลบต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ทุนและรัฐมักเข้าไปเบียดบังและฉกฉวยใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสนองตอบเป้าหมายด้านกำไร และงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างและการสร้างโครงการแล้ว ด้านบวกที่ยังคงพอพบได้แม้ไม่ในทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายสาธารณะก็คือการรวมกลุ่มของผู้คนที่ได้รับผลเลวร้ายจากการพัฒนาเหล่านั้นเพื่อสร้าง ‘ทางเลือกทางการพัฒนา’ ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศวัฒนธรรม
ขบวนการทางสังคม (social movement) ที่เกิดขึ้นในระดับพื้นที่ไม่ว่าจะถูกนิยามเป็นขบวนการทางสังคมแบบใด ใหม่/เก่า (new/old social movement) หรือขบวนการระดับรากหญ้า (grassroot movement) หรืออื่นๆ ล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายหนึ่งซึ่งเหมือนกันคือการต่อต้านความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำทั้งในระดับของปรากฏการณ์เฉพาะหน้าและก้าวหน้าในระดับของการปรับโครงสร้างสังคม
ขบวนการทางสังคมเหล่านี้ไม่เพียงปฏิบัติการในระดับของพื้นที่จริงซึ่งเป็นท้องถิ่นชุมชนเท่านั้น แต่ทว่ายังเชื่อมร้อยตนเองเข้ากับผู้คนและขบวนการที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโดยรัฐและทุนใหญ่ในพื้นที่อื่นๆ ทั้งในประเทศไทย ภูมิภาค และโลกด้วย โดยปฏิบัติการในระดับของการเคลื่อนไหวในพื้นที่ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เคยเก็บกดปิดกั้นไว้ภายใต้แนวทางการพัฒนากระแสหลัก
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเคลื่อนไหวทางสังคมของขบวนการทางสังคมควรเชื่อมร้อยขบวนการตนเองเข้ากับขบวนการระดับโลกด้วยแนวคิดแบบ ‘คิดระดับท้องถิ่นและโลก และลงมือปฏิบัติการทั้งระดับท้องถิ่นและโลก’ (think local and global and to act local and global) ที่จะมาแทนที่แนวคิดแบบ ‘คิดท้องถิ่นทำระดับโลก’ (think global, act local) เพราะจะสอดรับกับทิศทางของขบวนการต่อต้านการแผ่ขยายอาณาจักรของทุนข้ามชาติและนโยบายการจัดสรรทรัพยากรการเมือง ทรัพยากรเศรษฐกิจ ทรัพยากรสังคม และทรัพยากรธรรมชาติ ที่เอื้อประโยชน์เอกชนบนความสูญเสียของประชาชนและรัฐ รวมทั้งยังทำให้เห็นว่าขบวนการทางสังคมของตนเองที่ต่อสู้กับการแปรรูปและการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน (FTA) อยู่ตรงจุดไหนในวาระทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่กำลังบังคับใช้ไปทั่วโลก โดยระเบียบโลกชุดปัจจุบันถูกบรรษัทข้ามชาติ (TNCs) ที่มีอำนาจเหนือรัฐไทยกำลังครอบงำทิศทางการพัฒนาอยู่เกืบจะเบ็ดเสร็จ
ความจงใจบริหารผิดพลาดด้านโนบายสาธารณะเพื่อเอื้อประโยชน์ทุน ทั้งทุนท้องถิ่น ทุนชาติ และโดยเฉพาะทุนข้ามชาติ ควบคู่กับความล้มเหลวในการแก้ไขผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐท่ามกลางการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญแค่พิธีกรรมการเลือกตั้งเพื่อหาตัวแทนประชาชนเข้าไปบริหารชาติบ้านเมืองซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ไม่ได้รับใช้ประชาชนเท่ากับสมยอมทุนใหญ่ได้สร้างความคับแค้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาและนำมาสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านคัดค้านโครงการหรือนโยบายต่างๆ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เหมือนในพื้นที่ภาคใต้และตะวันออก ทั้ง อ.จะนะ จ.สงขลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช และ ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ที่เผชิญภัยคุกคามจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจนเกิดขบวนการทางสังคมมากมายขึ้นมา ซึ่งแต่ละที่ก็มีกิจกรรม ยุทธวิธี และยุทธศาสตร์ต่างกัน แต่ที่มีค่อนข้างเหมือนกันคือการปกป้องคุ้มครองพื้นที่ผลิตอาหารนั่นเอง
อนึ่งถึงแม้การขยายตัวของขบวนการทางสังคมของผู้คนที่คัดค้านโครงการอุตสาหกรรมโดยบรรษัทข้ามชาติที่มีอาณัติอำนาจเหนือรัฐชาติ (nation-state) และอภิมหาโครงการพัฒนาโดยรัฐที่มักกำหนดขึ้นโดยขาดความสมเหตุสมผลด้านเศรษฐศาสตร์และสร้างผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนไม่ครอบคลุมและโปร่งใสในกระบวนรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) โดยเฉพาะจากประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จะพบกับความพ่ายแพ้ (failure) มากกว่าความสำเร็จ (success) ทว่าผลสะเทือน (impact) ของขบวนการสังคมเหล่านี้ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของสังคมไทยได้ โดยขบวนการปฏิรูปประเทศไทยที่เสมือนจะปฏิบัติการในแต่ละด้านอย่างเป็นเอกเทศกันนั้นแท้ที่จริงมีจุดร่วมเดียวกันในการทำงานคือสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยแต่ละขบวนการก็จะเป็นกลไกและเครื่องมือเปลี่ยนผ่านประเทศไทย
ทั้งนี้ที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปประเทศไทยคงเป็นไปในลักษณะของต่างกลุ่มต่างองค์กรต่างขบวนการต่างทำเฉพาะประเด็น (issue based) หรือเน้นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความสนใจ (area based) หรือมุ่งกลุ่มเป้าหมาย (target based) ที่ต้องการทำงานด้วยเป็นสำคัญ แต่เมื่อเกิดกระบวนการสมัชชาปฏิรูประดับชาติที่พยายามผสานประเด็นที่เกี่ยวข้องตลอดจนเชื่อมร้อยกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐ โครงการเอกชน และการพัฒนารูปแบบต่างๆ มาไว้ด้วยกันตั้งแต่ประเด็นด้านการแย่งชิงทรัพยากรที่ดิน ป่าไม้ ทะเล จนถึงการจัดระบบการศึกษาและสร้างระบบสวัสดิการเพื่อสร้างความเท่าเทียมด้านสุขภาพ ก็ทำให้ความเป็นรูปขบวนที่แตกต่างหลากหลายได้หลอมรวมกันในด้านยุทธศาสตร์มากขึ้นคือล้วนมุ่งสู่ถนนเปลี่ยนประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
นอกเหนือจากจุดหมายปลายทางร่วมกันในการสร้างประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมมากขึ้นแล้ว ระหว่างสองข้างถนนปฏิรูปก็จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจนเกิด ‘กัลยาณมิตร’ ซึ่งกันและกันอันเกิดจากเรียนรู้ความทุกข์ยากลำบากจากการต่อสู้ของพี่น้องผู้คนในพื้นที่อื่นๆ และประเด็นอื่นๆ ด้วย
โดยมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติทั้งสามครั้งจะเชื่อมร้อยกันเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมในสังคม โดยประกอบด้วยมติสมัชชาปฏิรูระดับชาติครั้งที่ 1 จำนวน 8 เรื่อง คือ 1) การปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน 2) การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 3) การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร 4) การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม 5) การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและและระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ 6) การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน 7) การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และ 8) ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม
มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 ที่มุ่งสร้างความเป็นธรรมทางสังคมอย่างต่อเนื่องผ่านข้อเสนอ 1) การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้างและการคุ้มครองแรงงาน 2) การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกลางกับชุมชนท้องถิ่น 3) การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : ความมั่นคงเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตเกษตรกร 4) การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย 5) การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และ 6) การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพ เพื่อจะสืบสานสายธารข้อเสนอปีแรกและปีที่สองเป็นแม่น้ำแห่งการปฏิรูปประเทศไทยหนึ่งเดียว
และมติสมัชชาครั้งที่ 3 ที่จะจัดขึ้นกลางปีนี้ที่มีข้อเสนอหลักจากกระบวนฉันทามติ คือ 1) ธรรมนูญภาคประชาชน 2) การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชัน 3) การปฏิรูประบบพลังงานหมุนเวียน : ความเป็นธรรม สิทธิ และการเข้าถึง 4) การปฏิรูปสื่อ 5) การพัฒนาศักยภาพ : กลไกการทำงานขับเคลื่อนให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศในสังคมไทย และ 6) การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบมีส่วนร่วมและบูรณาการ
มติสมัชชาสุขภาพระดับชาติทั้ง 16 มติที่เกิดจากกระบวนการฉันทามติ (consensus process) ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา และอีก 6 มติที่จะเกิดจากกระบวนการเช่นเดียวกันนี้ในปีนี้มีคุณค่ามากกว่าจะเป็นแค่ความพยายามผลักดันเพื่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมายในแต่ละมติที่แต่ละขบวนการให้ความใส่ใจในประเด็นของตนเอง ด้วยแท้ที่จริงแต่ละมติต่างก็เป็นผลมาจากการ ‘ขับเคลื่อนร่วมกันแบบฉันทามติ’ ของกลุ่มคน องค์กร สถาบัน และขบวนการทางสังคมทั้งหมดที่เข้าร่วมในการประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติ นอกเหนือไปจากการเข้าร่วมสมัชชาปฏิรูประดับพื้นที่และสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นที่จัดเป็นประจำ
ขบวนการปฏิรูปประเทศไทยในเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติจึงไม่ได้เป็นรูปแบบของขบวนการทางสังคมที่มีความสัมพันธ์แนวดิ่ง (vertical) แต่เป็นแนวระนาบ (horizontal) ที่ทุกขบวนการในเวทีสมัชชาต่างมีความเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยในฐานะเจ้าของประเทศผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโดยรัฐและทุน ซึ่งเมื่อก่อนต่างองค์กรต่างขบวนการต่างทำ มีการเชื่อมร้อยกันไม่มากนักและส่วนมากไม่ได้ตัดข้ามประเด็นหรือพื้นที่ ยังคงมองแต่เฉพาะประเด็นปัญหาหรือพืนที่ของตนเองจนบางคราขาดการวิเคราะห์อย่างยึดโยงกับสถานการณ์หรือประเด็นเกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ขบวนการทางสังคมอื่นกำลังเคลื่อนไหวอยู่ ดังนั้น การมีเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสุด 3 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับขบวนการทางสังคมต่างๆ ได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กันฉันกัลยาณมิตรซึ่งถึงที่สุดจะเสริมสร้างอำนาจ (empowerment) แก่กันจนสามารถต้านทานความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมที่ถั่งโถมสังคมไทยจากการคุกคามของทุนและรัฐได้
ขบวนการทางสังคม (social movement) ที่เกิดขึ้นในระดับพื้นที่ไม่ว่าจะถูกนิยามเป็นขบวนการทางสังคมแบบใด ใหม่/เก่า (new/old social movement) หรือขบวนการระดับรากหญ้า (grassroot movement) หรืออื่นๆ ล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายหนึ่งซึ่งเหมือนกันคือการต่อต้านความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำทั้งในระดับของปรากฏการณ์เฉพาะหน้าและก้าวหน้าในระดับของการปรับโครงสร้างสังคม
ขบวนการทางสังคมเหล่านี้ไม่เพียงปฏิบัติการในระดับของพื้นที่จริงซึ่งเป็นท้องถิ่นชุมชนเท่านั้น แต่ทว่ายังเชื่อมร้อยตนเองเข้ากับผู้คนและขบวนการที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโดยรัฐและทุนใหญ่ในพื้นที่อื่นๆ ทั้งในประเทศไทย ภูมิภาค และโลกด้วย โดยปฏิบัติการในระดับของการเคลื่อนไหวในพื้นที่ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เคยเก็บกดปิดกั้นไว้ภายใต้แนวทางการพัฒนากระแสหลัก
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเคลื่อนไหวทางสังคมของขบวนการทางสังคมควรเชื่อมร้อยขบวนการตนเองเข้ากับขบวนการระดับโลกด้วยแนวคิดแบบ ‘คิดระดับท้องถิ่นและโลก และลงมือปฏิบัติการทั้งระดับท้องถิ่นและโลก’ (think local and global and to act local and global) ที่จะมาแทนที่แนวคิดแบบ ‘คิดท้องถิ่นทำระดับโลก’ (think global, act local) เพราะจะสอดรับกับทิศทางของขบวนการต่อต้านการแผ่ขยายอาณาจักรของทุนข้ามชาติและนโยบายการจัดสรรทรัพยากรการเมือง ทรัพยากรเศรษฐกิจ ทรัพยากรสังคม และทรัพยากรธรรมชาติ ที่เอื้อประโยชน์เอกชนบนความสูญเสียของประชาชนและรัฐ รวมทั้งยังทำให้เห็นว่าขบวนการทางสังคมของตนเองที่ต่อสู้กับการแปรรูปและการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน (FTA) อยู่ตรงจุดไหนในวาระทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่กำลังบังคับใช้ไปทั่วโลก โดยระเบียบโลกชุดปัจจุบันถูกบรรษัทข้ามชาติ (TNCs) ที่มีอำนาจเหนือรัฐไทยกำลังครอบงำทิศทางการพัฒนาอยู่เกืบจะเบ็ดเสร็จ
ความจงใจบริหารผิดพลาดด้านโนบายสาธารณะเพื่อเอื้อประโยชน์ทุน ทั้งทุนท้องถิ่น ทุนชาติ และโดยเฉพาะทุนข้ามชาติ ควบคู่กับความล้มเหลวในการแก้ไขผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐท่ามกลางการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญแค่พิธีกรรมการเลือกตั้งเพื่อหาตัวแทนประชาชนเข้าไปบริหารชาติบ้านเมืองซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ไม่ได้รับใช้ประชาชนเท่ากับสมยอมทุนใหญ่ได้สร้างความคับแค้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาและนำมาสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านคัดค้านโครงการหรือนโยบายต่างๆ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เหมือนในพื้นที่ภาคใต้และตะวันออก ทั้ง อ.จะนะ จ.สงขลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช และ ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ที่เผชิญภัยคุกคามจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจนเกิดขบวนการทางสังคมมากมายขึ้นมา ซึ่งแต่ละที่ก็มีกิจกรรม ยุทธวิธี และยุทธศาสตร์ต่างกัน แต่ที่มีค่อนข้างเหมือนกันคือการปกป้องคุ้มครองพื้นที่ผลิตอาหารนั่นเอง
อนึ่งถึงแม้การขยายตัวของขบวนการทางสังคมของผู้คนที่คัดค้านโครงการอุตสาหกรรมโดยบรรษัทข้ามชาติที่มีอาณัติอำนาจเหนือรัฐชาติ (nation-state) และอภิมหาโครงการพัฒนาโดยรัฐที่มักกำหนดขึ้นโดยขาดความสมเหตุสมผลด้านเศรษฐศาสตร์และสร้างผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนไม่ครอบคลุมและโปร่งใสในกระบวนรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) โดยเฉพาะจากประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จะพบกับความพ่ายแพ้ (failure) มากกว่าความสำเร็จ (success) ทว่าผลสะเทือน (impact) ของขบวนการสังคมเหล่านี้ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของสังคมไทยได้ โดยขบวนการปฏิรูปประเทศไทยที่เสมือนจะปฏิบัติการในแต่ละด้านอย่างเป็นเอกเทศกันนั้นแท้ที่จริงมีจุดร่วมเดียวกันในการทำงานคือสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยแต่ละขบวนการก็จะเป็นกลไกและเครื่องมือเปลี่ยนผ่านประเทศไทย
ทั้งนี้ที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปประเทศไทยคงเป็นไปในลักษณะของต่างกลุ่มต่างองค์กรต่างขบวนการต่างทำเฉพาะประเด็น (issue based) หรือเน้นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความสนใจ (area based) หรือมุ่งกลุ่มเป้าหมาย (target based) ที่ต้องการทำงานด้วยเป็นสำคัญ แต่เมื่อเกิดกระบวนการสมัชชาปฏิรูประดับชาติที่พยายามผสานประเด็นที่เกี่ยวข้องตลอดจนเชื่อมร้อยกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐ โครงการเอกชน และการพัฒนารูปแบบต่างๆ มาไว้ด้วยกันตั้งแต่ประเด็นด้านการแย่งชิงทรัพยากรที่ดิน ป่าไม้ ทะเล จนถึงการจัดระบบการศึกษาและสร้างระบบสวัสดิการเพื่อสร้างความเท่าเทียมด้านสุขภาพ ก็ทำให้ความเป็นรูปขบวนที่แตกต่างหลากหลายได้หลอมรวมกันในด้านยุทธศาสตร์มากขึ้นคือล้วนมุ่งสู่ถนนเปลี่ยนประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
นอกเหนือจากจุดหมายปลายทางร่วมกันในการสร้างประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมมากขึ้นแล้ว ระหว่างสองข้างถนนปฏิรูปก็จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจนเกิด ‘กัลยาณมิตร’ ซึ่งกันและกันอันเกิดจากเรียนรู้ความทุกข์ยากลำบากจากการต่อสู้ของพี่น้องผู้คนในพื้นที่อื่นๆ และประเด็นอื่นๆ ด้วย
โดยมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติทั้งสามครั้งจะเชื่อมร้อยกันเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมในสังคม โดยประกอบด้วยมติสมัชชาปฏิรูระดับชาติครั้งที่ 1 จำนวน 8 เรื่อง คือ 1) การปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน 2) การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 3) การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร 4) การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม 5) การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและและระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ 6) การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน 7) การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และ 8) ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม
มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 ที่มุ่งสร้างความเป็นธรรมทางสังคมอย่างต่อเนื่องผ่านข้อเสนอ 1) การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้างและการคุ้มครองแรงงาน 2) การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกลางกับชุมชนท้องถิ่น 3) การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : ความมั่นคงเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตเกษตรกร 4) การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย 5) การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และ 6) การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพ เพื่อจะสืบสานสายธารข้อเสนอปีแรกและปีที่สองเป็นแม่น้ำแห่งการปฏิรูปประเทศไทยหนึ่งเดียว
และมติสมัชชาครั้งที่ 3 ที่จะจัดขึ้นกลางปีนี้ที่มีข้อเสนอหลักจากกระบวนฉันทามติ คือ 1) ธรรมนูญภาคประชาชน 2) การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชัน 3) การปฏิรูประบบพลังงานหมุนเวียน : ความเป็นธรรม สิทธิ และการเข้าถึง 4) การปฏิรูปสื่อ 5) การพัฒนาศักยภาพ : กลไกการทำงานขับเคลื่อนให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศในสังคมไทย และ 6) การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบมีส่วนร่วมและบูรณาการ
มติสมัชชาสุขภาพระดับชาติทั้ง 16 มติที่เกิดจากกระบวนการฉันทามติ (consensus process) ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา และอีก 6 มติที่จะเกิดจากกระบวนการเช่นเดียวกันนี้ในปีนี้มีคุณค่ามากกว่าจะเป็นแค่ความพยายามผลักดันเพื่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมายในแต่ละมติที่แต่ละขบวนการให้ความใส่ใจในประเด็นของตนเอง ด้วยแท้ที่จริงแต่ละมติต่างก็เป็นผลมาจากการ ‘ขับเคลื่อนร่วมกันแบบฉันทามติ’ ของกลุ่มคน องค์กร สถาบัน และขบวนการทางสังคมทั้งหมดที่เข้าร่วมในการประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติ นอกเหนือไปจากการเข้าร่วมสมัชชาปฏิรูประดับพื้นที่และสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นที่จัดเป็นประจำ
ขบวนการปฏิรูปประเทศไทยในเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติจึงไม่ได้เป็นรูปแบบของขบวนการทางสังคมที่มีความสัมพันธ์แนวดิ่ง (vertical) แต่เป็นแนวระนาบ (horizontal) ที่ทุกขบวนการในเวทีสมัชชาต่างมีความเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยในฐานะเจ้าของประเทศผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโดยรัฐและทุน ซึ่งเมื่อก่อนต่างองค์กรต่างขบวนการต่างทำ มีการเชื่อมร้อยกันไม่มากนักและส่วนมากไม่ได้ตัดข้ามประเด็นหรือพื้นที่ ยังคงมองแต่เฉพาะประเด็นปัญหาหรือพืนที่ของตนเองจนบางคราขาดการวิเคราะห์อย่างยึดโยงกับสถานการณ์หรือประเด็นเกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ขบวนการทางสังคมอื่นกำลังเคลื่อนไหวอยู่ ดังนั้น การมีเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสุด 3 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับขบวนการทางสังคมต่างๆ ได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กันฉันกัลยาณมิตรซึ่งถึงที่สุดจะเสริมสร้างอำนาจ (empowerment) แก่กันจนสามารถต้านทานความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมที่ถั่งโถมสังคมไทยจากการคุกคามของทุนและรัฐได้