จากกรณีที่มีความผิดพลาดในการทำโพลก่อนวันเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ที่ผ่านมานั้น ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ระบุว่า สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ได้เริ่มทำการสำรวจข้อมูลความคิดเห็น พฤติกรรม และข้อเท็จจริงทางสังคมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน เพราะเห็นว่า เป็นการฝึกงานภาคสนามของนักศึกษาจากทุกสถาบันด้านการวิจัย โดยมีจุดยืนทางการเมืองคือ "ไม่ฝักใฝ่รับใช้นักการเมือง" แต่ต้องการทำให้เสียงสะท้อนของประชาชนทุกชนชั้น มีความสำคัญ
ส่วนวันเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา ประชาชนคนกรุงเทพฯ ไม่ได้รับรู้ข้อมูลที่เอแบคโพลล์ ได้นำเสนอทันทีหลังปิดหีบเลือกตั้ง วันนั้นเวลาบ่าย 3 โมง ซึ่งเอแบคโพลล์บอกว่า จะมีคนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 66 % มีคนไปใช้สิทธิจริง 64% และระบุว่าผู้สมัคร 2 คน มีโอกาสได้เกินล้านคะแนนทั้งคู่ โดยมีความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 5 และทุกครั้งเอแบคโพลล์บอกว่า คลาดเคลื่อนร้อยละ 7 ซึ่งก็มีโอกาสพลิกได้ เพราะเก็บตัวอย่างมาเพียงห้าพันกว่าคน จาก 4.3 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ยังให้ข้อมูลที่เป็นจริงอยู่ แต่มีบ้างบางคนที่อาจจะไม่ได้ให้ข้อมูล เพราะเอแบคโพลล์ เชื่อว่า ผู้ใหญ่ในสังคมไทย ยังให้ความเมตตาต่อการฝึกงานของนักศึกษา และเอแบคโพลล์เชื่อว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ไม่ยอมทำตามขบวนการทางการเมือง ที่สอนหรือบอกให้ "ทำผิดศีล" ในเรื่องการโกหกกับนักศึกษาที่ลงเก็บข้อมูล เพราะถ้าผิด นักศึกษาเหล่านั้นก็จะรู้สึกไม่ดีต่อผู้ใหญ่ในสังคมด้วย
การทำสำรวจโพลล์เลือกตั้ง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานด้านการศึกษา มีถูกบ้าง มีผิดบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา
"ถ้าทำถูก ก็เอาไว้สอนศิษย์ ถ้าผิดก็ถือว่าเป็นครู จะได้นำมาปรับปรุงแก้ไข"
ดร.นพดล กล่าวด้วยว่า เอแบคโพลล์จะหันกลับมาทำ Exit Poll ในการเลือกตั้งให้บ่อยขึ้น และจะทำการบันทึกให้สาธารณชนรับทราบว่า ถูกกี่ครั้ง ผิดกี่ครั้ง เหมือนกับปี พ.ศ. 2554 เอแบคโพลล์ ทำนายทั้งประเทศจำนวน 500 ที่นั่ง ผิด 17 ที่นั่ง ในกรุงเทพฯ แต่กลับเป็นเรื่องใหญ่ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ผิดมากอย่างไม่น่าให้อภัย และมาครั้งที่สอง เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในปี พ.ศ. 2556 มีถูกบ้างผิดบ้าง ก็ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง
ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เอแบคโพลล์ จึงจะหันกลับมาทำ Exit Poll ใหม่ ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปอย่างแน่นอน และจะทำให้บ่อยขึ้น เพราะเชื่อมั่นในความเมตตาของประชาชนคนกรุงเทพฯ ว่า จะช่วยสนับสนุนงานด้านการศึกษาของเอแบคโพลล์ต่อไป
**สวนดุสิตแถลงขอโทษประชาชน
นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล ออกแถลงการณ์ ขอโทษประชาชน สื่อมวลชน และผู้ได้รับผลกระทบจากการสำรวจ "เอ็นทรี่โพล" ที่ทำนายผลการเลือกตั้งผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยคณะทำงานได้ประเมินกระบวนการจัดทำที่ผ่านมา และสรุปว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นความผิดพลาดของผู้จัดทำโพล ที่ไม่สามารถสะท้อนความคิดเห็นที่แท้จริงของคนกรุงเทพฯ ได้ เพราะมีจุดบกพร่องในกระบวนการจัดทำ ทั้งการวางแผน การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินผล
ทั้งนี้สวนดุสิตโพล จะปรับโครงสร้างหน่วนงาน และบุคลากร เพื่อไม่ให้เกิดจุดบกพร่องอีก พร้อมกำหนดแนวทางการปฎิบัติงานให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมเร่งสร้างความเชื่อมั่นกลับมา โดยสำรวจเชิงลึกในรูปแบบการประเมินตนเอง แล้วนำมากำหนดแนวทางปฎิบัติที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ส่วนวันเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา ประชาชนคนกรุงเทพฯ ไม่ได้รับรู้ข้อมูลที่เอแบคโพลล์ ได้นำเสนอทันทีหลังปิดหีบเลือกตั้ง วันนั้นเวลาบ่าย 3 โมง ซึ่งเอแบคโพลล์บอกว่า จะมีคนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 66 % มีคนไปใช้สิทธิจริง 64% และระบุว่าผู้สมัคร 2 คน มีโอกาสได้เกินล้านคะแนนทั้งคู่ โดยมีความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 5 และทุกครั้งเอแบคโพลล์บอกว่า คลาดเคลื่อนร้อยละ 7 ซึ่งก็มีโอกาสพลิกได้ เพราะเก็บตัวอย่างมาเพียงห้าพันกว่าคน จาก 4.3 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ยังให้ข้อมูลที่เป็นจริงอยู่ แต่มีบ้างบางคนที่อาจจะไม่ได้ให้ข้อมูล เพราะเอแบคโพลล์ เชื่อว่า ผู้ใหญ่ในสังคมไทย ยังให้ความเมตตาต่อการฝึกงานของนักศึกษา และเอแบคโพลล์เชื่อว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ไม่ยอมทำตามขบวนการทางการเมือง ที่สอนหรือบอกให้ "ทำผิดศีล" ในเรื่องการโกหกกับนักศึกษาที่ลงเก็บข้อมูล เพราะถ้าผิด นักศึกษาเหล่านั้นก็จะรู้สึกไม่ดีต่อผู้ใหญ่ในสังคมด้วย
การทำสำรวจโพลล์เลือกตั้ง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานด้านการศึกษา มีถูกบ้าง มีผิดบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา
"ถ้าทำถูก ก็เอาไว้สอนศิษย์ ถ้าผิดก็ถือว่าเป็นครู จะได้นำมาปรับปรุงแก้ไข"
ดร.นพดล กล่าวด้วยว่า เอแบคโพลล์จะหันกลับมาทำ Exit Poll ในการเลือกตั้งให้บ่อยขึ้น และจะทำการบันทึกให้สาธารณชนรับทราบว่า ถูกกี่ครั้ง ผิดกี่ครั้ง เหมือนกับปี พ.ศ. 2554 เอแบคโพลล์ ทำนายทั้งประเทศจำนวน 500 ที่นั่ง ผิด 17 ที่นั่ง ในกรุงเทพฯ แต่กลับเป็นเรื่องใหญ่ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ผิดมากอย่างไม่น่าให้อภัย และมาครั้งที่สอง เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในปี พ.ศ. 2556 มีถูกบ้างผิดบ้าง ก็ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง
ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เอแบคโพลล์ จึงจะหันกลับมาทำ Exit Poll ใหม่ ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปอย่างแน่นอน และจะทำให้บ่อยขึ้น เพราะเชื่อมั่นในความเมตตาของประชาชนคนกรุงเทพฯ ว่า จะช่วยสนับสนุนงานด้านการศึกษาของเอแบคโพลล์ต่อไป
**สวนดุสิตแถลงขอโทษประชาชน
นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล ออกแถลงการณ์ ขอโทษประชาชน สื่อมวลชน และผู้ได้รับผลกระทบจากการสำรวจ "เอ็นทรี่โพล" ที่ทำนายผลการเลือกตั้งผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยคณะทำงานได้ประเมินกระบวนการจัดทำที่ผ่านมา และสรุปว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นความผิดพลาดของผู้จัดทำโพล ที่ไม่สามารถสะท้อนความคิดเห็นที่แท้จริงของคนกรุงเทพฯ ได้ เพราะมีจุดบกพร่องในกระบวนการจัดทำ ทั้งการวางแผน การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินผล
ทั้งนี้สวนดุสิตโพล จะปรับโครงสร้างหน่วนงาน และบุคลากร เพื่อไม่ให้เกิดจุดบกพร่องอีก พร้อมกำหนดแนวทางการปฎิบัติงานให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมเร่งสร้างความเชื่อมั่นกลับมา โดยสำรวจเชิงลึกในรูปแบบการประเมินตนเอง แล้วนำมากำหนดแนวทางปฎิบัติที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น