ผลการเลือกตั้งออกมาแล้วขอแสดงความยินดีกับม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ได้กลับมาเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกสมัย และดีใจกับคนกรุงเทพฯ ที่รอดพ้นจากเงื้อมมือของทักษิณ
แต่ผมก็เห็นด้วยนะครับที่อาจารย์เสรี วงษ์มณฑา ออกมาเตือนประชาธิปัตย์อย่าได้ผยองกับชัยชนะครั้งนี้เด็ดขาด เพราะคะแนนที่ได้ 1 ล้าน 2 แสนนั้น ไม่ใช่ Vote For คุณชายทั้งหมด แต่เป็นคะแนน Vote Against พงศพัศ ที่เป็นคนของทักษิณ คะแนนที่ได้มาคือ คนรักประชาธิปัตย์+คนรักคุณชาย+คนเกลียด กลัว สยอง ทักษิณ ขอให้ประชาธิปัตย์เปลี่ยนแนวในการทำงาน
ผมคิดว่า ปชป.น่าจะฟังอาจารย์เสรีนะครับ เพราะเป็นคนหนึ่งที่เอาตัวเข้าแลกเพื่อให้ ปชป.ชนะ และผมก็เชื่อว่า พันธมิตรฯ จำนวนไม่น้อยก็ “กัดฟัน”เลือกแบบที่อาจารย์เสรีว่า
ต้องยอมรับความจริงว่า ความหวาดกลัวในตัวทักษิณยังอยู่ในหมู่คนกรุงเทพฯ จำนวนมาก วาทกรรมไม่เลือกเราเขามาแน่ วาทกรรมเผาเมือง ป้องกันทักษิณยึดเมือง โดยเฉพาะที่ ปชป.ปล่อยข่าวในโค้งสุดท้ายว่า ถ้าพงศพัศ พงษ์เจริญ เป็นผู้ว่าฯ กทม.จะมีตู่จตุพรมาเป็นรองนายกฯ นั้นเขย่าขวัญคนกรุงเทพฯ จนหัวโกร๋น ปลุกจิตวิทยาหมู่ให้คนกรุงรวมพลังกันออกมาต้านทักษิณ
ในระยะสุดท้ายคนดังๆ ในสังคมจึงออกมาหมดเพื่อเชิญชวนให้คนกรุงเทพฯ เลือกพรรคประชาธิปัตย์เพื่อรักษาเมือง แต่คงไม่ถึงขนาดที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวหาอย่างเลอะเทอะว่า เป็นพวกนิยมเจ้าไร้สติหน้ามืดตามัว เพราะการแสดงออกชอบไม่ชอบทักษิณไม่ได้เกี่ยวกับนิยมเจ้าหรือไม่นิยมเจ้า นอกเสียจากนิธิจะเชื่อแล้วว่าทักษิณเป็นพวกไม่เอาเจ้า
ใครอ่านบทความ “เลือกชีวิตดีกว่าเลือกผู้ว่าฯ” ของนิธิในมติชน สื่อของคนเสื้อแดงแล้ว จะเห็นว่า นิธิต่างหากที่ไร้สติและหน้ามืดตามัว
กระแสที่ปั่นกันในช่วงสุดท้ายและความหวาดกลัวว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะทำให้คนส่วนหนึ่งจำใจออกมาเลือกประชาธิปัตย์ หลายคนมาตัดสินเอาหน้าคูหาไม่กล้าเลือกผู้สมัครอิสระเพราะกลัวเสียงแตก แม้จะรับไม่ได้ในตัวม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ที่มีผลงานย่ำแย่ในการเป็นผู้ว่าฯ กทม.สมัยแรก จนผลเลือกตั้งฉีกหน้าโพลทุกสำนักขาดเป็นริ้วๆ
ดังนั้น การกลับมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้งของหม่อมสุขุมพันธุ์จึงแบกแรงกดดันไว้สูง เพราะโอกาสที่คนกรุงเทพฯ หยิบยื่นให้เพื่อป้องกันเมืองหลวงนั้นเป็นภาระอันหนักอึ้ง 4 ปีนับจากนี้หม่อมสุขุมพันธุ์จึงต้องทำงานหนักสร้างผลงานตามนโยบายที่ประกาศไว้ให้ปรากฏ และลดภาพลักษณ์ศาลาว่าการ กทม.ที่กลายเป็นสโมสรสำราญเสพเมรัยอย่างที่คู่แข่งเอามาโจมตีลงให้ได้ ไม่นั้นก็คงไม่มีโอกาสแบบนี้อีกแล้ว
ปชป.และหม่อมสุขุมพันธุ์ต้องตระหนักให้มากว่า คน กทม.ส่วนหนึ่งออกมาเลือกไม่ใช่เพราะเขานิยมในอุดมการณ์ของพรรคหรือชื่นชมในตัวหม่อมสุขุมพันธุ์ แต่เขาเลือกเพราะ “กลัว” ทักษิณ
ขณะเดียวกัน ผมคิดว่า คะแนนหนึ่งล้านขึ้นของพงศพัศ ก็ไม่ใช่เสื้อแดงเสียทั้งหมดอาจเป็นคะแนนของคนที่ชื่นชมและหลงติดกับภาพมายาที่พงศพัศสร้างผ่านสื่อมาเป็นเวลานาน และสังคมไทยชอบคนแบบนี้ ถ้าพงศพัศไม่สวมสีเสื้อทักษิณ วาทกรรมต่างๆ ที่ ปชป.เอามาใช้ในโค้งสุดท้ายก็ใช้ไม่ได้ คนที่ไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอันอย่างคุณชายหมูอาจจะพ่ายแพ้ก็ได้
และผลคะแนนที่ออกมาสะท้อนว่า คนกรุงเทพฯ ตอนนี้แบ่งเป็นขั้วการเมืองสองขั้วที่ชัดเจนเพราะการเลือกตั้งครั้งนี้แม้จะเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นแต่ก็มีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มาก คะแนนล้านกว่าของทั้งสองพรรคเป็นคะแนนที่มาจากปาร์ตี้ลิสต์ในการเลือกตั้งใหญ่ครั้งที่แล้ว เพียงแต่ ปชป.ได้คะแนนลดลงเล็กน้อยในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ส่วนเพื่อไทยได้คะแนนลดลงมาก
คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ กทม.ของ ปชป.ในการเลือกตั้งใหญ่ได้ 1,277,669 คะแนน ส่วนเพื่อไทยได้ 1,209,508 คะแนน คะแนนห่างกัน 68,161 คะแนน
คะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ 1,256,349 คะแนน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ได้ 1,077,899 คะแนน ส่วนต่างคะแนนห่างกัน 178,450 คะแนน
จากเดิมที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.พรรคประชาธิปัตย์จะมีคะแนนที่ห่างจากคู่แข่ง 3-4 แสนคะแนน
สะท้อนว่า การเลือกตั้งใน กทม.นับจากนี้ไปไม่ใช่เรื่องง่ายอีกแล้วสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการทำงาน
จริงๆ แล้วแม้ว่าโพลต่างๆ จะออกมาว่า พงศพัศมีคะแนนนำหน้าหม่อมสุขุมพันธุ์มาโดยตลอดและมีระยะห่างมากขึ้นเมื่อใกล้ถึงวันเลือกตั้ง แต่เชื่อไหมครับว่า พวกเราพูดกันมาตลอดว่าอย่างไรเสียหม่อมสุขุมพันธุ์ก็ชนะ แม้หลายคนบอกจะไม่เลือกทั้งสองพรรคซึ่งเป็นสิทธิของแต่ละคนก็ตาม
แต่ที่ผมแปลกใจก็คือ บรรดาแมลงสาบมาบินว่อนในเฟซบุ๊กผมด่าพันธมิตรฯ ด่าสนธิ ลิ้มทองกุล เอเอสทีวี ที่วิทยากรหลายคนมีน้ำเสียงไปทางเชียร์อิสระคือปฏิเสธทั้งสองพรรค (จริงในเอเอสทีวีที่เชียร์คุณชายก็มี) พวกนี้ถืออภิสิทธิ์อะไรเหรอครับที่จะมาบังคับคนโน้นคนนี้ให้เลือกพรรคที่ตัวเองชื่นชอบ หรือถืออาณัติอะไรว่า ถ้าไม่เอาทักษิณต้องเลือก ปชป.แล้วมีอะไรที่พิสูจน์ล่ะครับว่า ปชป.ดีกว่าทักษิณ แต่ถึงดีกว่าหรือเลวน้อยกว่า สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการเชียร์ใครมันไม่ใช่ความแตกต่างที่สวยงามในระบอบประชาธิปไตยเหรอครับ
ทำไมคนเราจะมีจุดยืนทางการเมืองของตัวเองไม่ได้ ผมว่านี่เป็นปัญหาของกองเชียร์ประชาธิปัตย์ที่ไม่เคารพสิทธิคนอื่นและไม่เข้าใจเรื่องพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย
คุณสนธิประกาศไว้ตั้งแต่แรกๆ ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ใครจะเลือกผู้สมัครคนไหนก็เลือก แต่โดยส่วนตัวแล้วจะไม่เลือกทั้งสองพรรค และชี้แจงเหตุผลของตัวเองว่าทำไมไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ต้องพูดถึงพรรคเพื่อไทยของทักษิณซึ่งเป็นศัตรูถาวรอยู่แล้ว
บางคนกระแหนะกระแหนพันธมิตรฯ เหลือน้อยลงแล้วบ้าง ซึ่งคนมากคนน้อยไม่ใช่ประเด็นหรอกครับ ถ้าเราสู้ในความถูกต้องไม่ใช่สู้เพื่อผลประโยชน์และอำนาจทางการเมือง จุดยืนต่างหากที่สำคัญไม่ใช่ปริมาณ ต่างกับที่นักการเมืองสู้เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เพราะรู้อยู่แล้วว่า ปชป.แห่แหนมาร่วมกับพันธมิตรฯ ขับไล่ทักษิณก็เพราะต้องการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเท่านั้นเอง
มากล่าวหาว่าคนที่ไม่เลือก ปชป.แต่เลือกอิสระคิดไม่เป็นบ้าง เลิกต่อต้านทักษิณ แอบไปเชียร์ฝ่ายทักษิณบ้าง ถูกทักษิณซื้อบ้าง จริงๆ แล้วตอบง่ายๆ ว่ามันเป็น “สิทธิของกู” แต่ถ้าเป็นคนที่เข้าใจเรื่องประชาธิปไตยและเคารพสิทธิของคนอื่นจะไม่มีคำถามแบบนี้เลย ไม่งั้นก็เขียนเป็นกฎหมายให้สิ้นเรื่องสิ้นราวเสียเลยว่า ให้ลงแข่งกัน 2 พรรค คือ เพื่อไทย กับ ปชป.บังคับให้เลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง ห้ามโหวตโน เอาแบบนี้เลยดีไหม
แต่ถ้าบอกไม่เอาแบบนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตย ก็ควรจะเริ่มเรียนรู้ที่จะเคารพสิทธิของคนอื่นด้วย แล้วเอาคำติติงของอาจารย์เสรีไปปฏิบัติเถอะครับ
หวังนะครับว่า ชัยชนะแบบทุ่มกันทั้งพรรคเพื่อรักษาฐานที่มั่นครั้งนี้จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์และกองเชียร์ทบทวนตัวเอง ถ้าอยากได้ชัยชนะจากแรงศรัทธาของประชาชนที่แท้จริง ไม่ใช่ชัยชนะเพราะความกลัว
แต่ผมก็เห็นด้วยนะครับที่อาจารย์เสรี วงษ์มณฑา ออกมาเตือนประชาธิปัตย์อย่าได้ผยองกับชัยชนะครั้งนี้เด็ดขาด เพราะคะแนนที่ได้ 1 ล้าน 2 แสนนั้น ไม่ใช่ Vote For คุณชายทั้งหมด แต่เป็นคะแนน Vote Against พงศพัศ ที่เป็นคนของทักษิณ คะแนนที่ได้มาคือ คนรักประชาธิปัตย์+คนรักคุณชาย+คนเกลียด กลัว สยอง ทักษิณ ขอให้ประชาธิปัตย์เปลี่ยนแนวในการทำงาน
ผมคิดว่า ปชป.น่าจะฟังอาจารย์เสรีนะครับ เพราะเป็นคนหนึ่งที่เอาตัวเข้าแลกเพื่อให้ ปชป.ชนะ และผมก็เชื่อว่า พันธมิตรฯ จำนวนไม่น้อยก็ “กัดฟัน”เลือกแบบที่อาจารย์เสรีว่า
ต้องยอมรับความจริงว่า ความหวาดกลัวในตัวทักษิณยังอยู่ในหมู่คนกรุงเทพฯ จำนวนมาก วาทกรรมไม่เลือกเราเขามาแน่ วาทกรรมเผาเมือง ป้องกันทักษิณยึดเมือง โดยเฉพาะที่ ปชป.ปล่อยข่าวในโค้งสุดท้ายว่า ถ้าพงศพัศ พงษ์เจริญ เป็นผู้ว่าฯ กทม.จะมีตู่จตุพรมาเป็นรองนายกฯ นั้นเขย่าขวัญคนกรุงเทพฯ จนหัวโกร๋น ปลุกจิตวิทยาหมู่ให้คนกรุงรวมพลังกันออกมาต้านทักษิณ
ในระยะสุดท้ายคนดังๆ ในสังคมจึงออกมาหมดเพื่อเชิญชวนให้คนกรุงเทพฯ เลือกพรรคประชาธิปัตย์เพื่อรักษาเมือง แต่คงไม่ถึงขนาดที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวหาอย่างเลอะเทอะว่า เป็นพวกนิยมเจ้าไร้สติหน้ามืดตามัว เพราะการแสดงออกชอบไม่ชอบทักษิณไม่ได้เกี่ยวกับนิยมเจ้าหรือไม่นิยมเจ้า นอกเสียจากนิธิจะเชื่อแล้วว่าทักษิณเป็นพวกไม่เอาเจ้า
ใครอ่านบทความ “เลือกชีวิตดีกว่าเลือกผู้ว่าฯ” ของนิธิในมติชน สื่อของคนเสื้อแดงแล้ว จะเห็นว่า นิธิต่างหากที่ไร้สติและหน้ามืดตามัว
กระแสที่ปั่นกันในช่วงสุดท้ายและความหวาดกลัวว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะทำให้คนส่วนหนึ่งจำใจออกมาเลือกประชาธิปัตย์ หลายคนมาตัดสินเอาหน้าคูหาไม่กล้าเลือกผู้สมัครอิสระเพราะกลัวเสียงแตก แม้จะรับไม่ได้ในตัวม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ที่มีผลงานย่ำแย่ในการเป็นผู้ว่าฯ กทม.สมัยแรก จนผลเลือกตั้งฉีกหน้าโพลทุกสำนักขาดเป็นริ้วๆ
ดังนั้น การกลับมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้งของหม่อมสุขุมพันธุ์จึงแบกแรงกดดันไว้สูง เพราะโอกาสที่คนกรุงเทพฯ หยิบยื่นให้เพื่อป้องกันเมืองหลวงนั้นเป็นภาระอันหนักอึ้ง 4 ปีนับจากนี้หม่อมสุขุมพันธุ์จึงต้องทำงานหนักสร้างผลงานตามนโยบายที่ประกาศไว้ให้ปรากฏ และลดภาพลักษณ์ศาลาว่าการ กทม.ที่กลายเป็นสโมสรสำราญเสพเมรัยอย่างที่คู่แข่งเอามาโจมตีลงให้ได้ ไม่นั้นก็คงไม่มีโอกาสแบบนี้อีกแล้ว
ปชป.และหม่อมสุขุมพันธุ์ต้องตระหนักให้มากว่า คน กทม.ส่วนหนึ่งออกมาเลือกไม่ใช่เพราะเขานิยมในอุดมการณ์ของพรรคหรือชื่นชมในตัวหม่อมสุขุมพันธุ์ แต่เขาเลือกเพราะ “กลัว” ทักษิณ
ขณะเดียวกัน ผมคิดว่า คะแนนหนึ่งล้านขึ้นของพงศพัศ ก็ไม่ใช่เสื้อแดงเสียทั้งหมดอาจเป็นคะแนนของคนที่ชื่นชมและหลงติดกับภาพมายาที่พงศพัศสร้างผ่านสื่อมาเป็นเวลานาน และสังคมไทยชอบคนแบบนี้ ถ้าพงศพัศไม่สวมสีเสื้อทักษิณ วาทกรรมต่างๆ ที่ ปชป.เอามาใช้ในโค้งสุดท้ายก็ใช้ไม่ได้ คนที่ไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอันอย่างคุณชายหมูอาจจะพ่ายแพ้ก็ได้
และผลคะแนนที่ออกมาสะท้อนว่า คนกรุงเทพฯ ตอนนี้แบ่งเป็นขั้วการเมืองสองขั้วที่ชัดเจนเพราะการเลือกตั้งครั้งนี้แม้จะเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นแต่ก็มีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มาก คะแนนล้านกว่าของทั้งสองพรรคเป็นคะแนนที่มาจากปาร์ตี้ลิสต์ในการเลือกตั้งใหญ่ครั้งที่แล้ว เพียงแต่ ปชป.ได้คะแนนลดลงเล็กน้อยในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ส่วนเพื่อไทยได้คะแนนลดลงมาก
คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ กทม.ของ ปชป.ในการเลือกตั้งใหญ่ได้ 1,277,669 คะแนน ส่วนเพื่อไทยได้ 1,209,508 คะแนน คะแนนห่างกัน 68,161 คะแนน
คะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ 1,256,349 คะแนน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ได้ 1,077,899 คะแนน ส่วนต่างคะแนนห่างกัน 178,450 คะแนน
จากเดิมที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.พรรคประชาธิปัตย์จะมีคะแนนที่ห่างจากคู่แข่ง 3-4 แสนคะแนน
สะท้อนว่า การเลือกตั้งใน กทม.นับจากนี้ไปไม่ใช่เรื่องง่ายอีกแล้วสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการทำงาน
จริงๆ แล้วแม้ว่าโพลต่างๆ จะออกมาว่า พงศพัศมีคะแนนนำหน้าหม่อมสุขุมพันธุ์มาโดยตลอดและมีระยะห่างมากขึ้นเมื่อใกล้ถึงวันเลือกตั้ง แต่เชื่อไหมครับว่า พวกเราพูดกันมาตลอดว่าอย่างไรเสียหม่อมสุขุมพันธุ์ก็ชนะ แม้หลายคนบอกจะไม่เลือกทั้งสองพรรคซึ่งเป็นสิทธิของแต่ละคนก็ตาม
แต่ที่ผมแปลกใจก็คือ บรรดาแมลงสาบมาบินว่อนในเฟซบุ๊กผมด่าพันธมิตรฯ ด่าสนธิ ลิ้มทองกุล เอเอสทีวี ที่วิทยากรหลายคนมีน้ำเสียงไปทางเชียร์อิสระคือปฏิเสธทั้งสองพรรค (จริงในเอเอสทีวีที่เชียร์คุณชายก็มี) พวกนี้ถืออภิสิทธิ์อะไรเหรอครับที่จะมาบังคับคนโน้นคนนี้ให้เลือกพรรคที่ตัวเองชื่นชอบ หรือถืออาณัติอะไรว่า ถ้าไม่เอาทักษิณต้องเลือก ปชป.แล้วมีอะไรที่พิสูจน์ล่ะครับว่า ปชป.ดีกว่าทักษิณ แต่ถึงดีกว่าหรือเลวน้อยกว่า สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการเชียร์ใครมันไม่ใช่ความแตกต่างที่สวยงามในระบอบประชาธิปไตยเหรอครับ
ทำไมคนเราจะมีจุดยืนทางการเมืองของตัวเองไม่ได้ ผมว่านี่เป็นปัญหาของกองเชียร์ประชาธิปัตย์ที่ไม่เคารพสิทธิคนอื่นและไม่เข้าใจเรื่องพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย
คุณสนธิประกาศไว้ตั้งแต่แรกๆ ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ใครจะเลือกผู้สมัครคนไหนก็เลือก แต่โดยส่วนตัวแล้วจะไม่เลือกทั้งสองพรรค และชี้แจงเหตุผลของตัวเองว่าทำไมไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ต้องพูดถึงพรรคเพื่อไทยของทักษิณซึ่งเป็นศัตรูถาวรอยู่แล้ว
บางคนกระแหนะกระแหนพันธมิตรฯ เหลือน้อยลงแล้วบ้าง ซึ่งคนมากคนน้อยไม่ใช่ประเด็นหรอกครับ ถ้าเราสู้ในความถูกต้องไม่ใช่สู้เพื่อผลประโยชน์และอำนาจทางการเมือง จุดยืนต่างหากที่สำคัญไม่ใช่ปริมาณ ต่างกับที่นักการเมืองสู้เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เพราะรู้อยู่แล้วว่า ปชป.แห่แหนมาร่วมกับพันธมิตรฯ ขับไล่ทักษิณก็เพราะต้องการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเท่านั้นเอง
มากล่าวหาว่าคนที่ไม่เลือก ปชป.แต่เลือกอิสระคิดไม่เป็นบ้าง เลิกต่อต้านทักษิณ แอบไปเชียร์ฝ่ายทักษิณบ้าง ถูกทักษิณซื้อบ้าง จริงๆ แล้วตอบง่ายๆ ว่ามันเป็น “สิทธิของกู” แต่ถ้าเป็นคนที่เข้าใจเรื่องประชาธิปไตยและเคารพสิทธิของคนอื่นจะไม่มีคำถามแบบนี้เลย ไม่งั้นก็เขียนเป็นกฎหมายให้สิ้นเรื่องสิ้นราวเสียเลยว่า ให้ลงแข่งกัน 2 พรรค คือ เพื่อไทย กับ ปชป.บังคับให้เลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง ห้ามโหวตโน เอาแบบนี้เลยดีไหม
แต่ถ้าบอกไม่เอาแบบนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตย ก็ควรจะเริ่มเรียนรู้ที่จะเคารพสิทธิของคนอื่นด้วย แล้วเอาคำติติงของอาจารย์เสรีไปปฏิบัติเถอะครับ
หวังนะครับว่า ชัยชนะแบบทุ่มกันทั้งพรรคเพื่อรักษาฐานที่มั่นครั้งนี้จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์และกองเชียร์ทบทวนตัวเอง ถ้าอยากได้ชัยชนะจากแรงศรัทธาของประชาชนที่แท้จริง ไม่ใช่ชัยชนะเพราะความกลัว