คดีปราสาทเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นเป็นเรื่องที่มีข้อยุติไปแล้วตั้งแต่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 เราไม่มีเรื่องอะไรที่จะเจรจานอกเหนือไปจากการหาหลักเขตตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ถึง 73 ตามพบและพิสูจน์ความถูกต้องตามอนุสัญญาสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ.1904) และพ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) หรือหลังสุดตามอนุสัญญาวอชิงตันพ.ศ. 2486 เท่านั้น
ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้มีคำพิพากษาลงความเห็น 9 : 3 ให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ทำให้ไทยแพ้คดีและต้องยกตัวปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเท่านั้นให้เป็นของกัมพูชา ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มีมติให้เป็นไปตามนั้นเพื่อความเป็นอารยประเทศในสังคมสหประชาชาติ
ความพ่ายแพ้ทางนิตินัยเนื่องจากการกำหนดเขตแดนไม่ชัดเจน เส้นเขตแดนระหว่างไทย - กัมพูชาที่ได้ทำกันไว้ระหว่างสยาม - อินโดจีนฝรั่งเศส โดยตกลงให้แบ่งตามหลักสากลตามแนวสันเขาปันน้ำเทือกเขาดงรัก และใช้แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 กำหนดในอนุสัญญาสยาม -อินโดจีน ฝรั่งเศส พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) ซึ่งการนี้เกิดขึ้นเพราะประเทศสยาม ต้องการให้ฝรั่งเศสคืนจังหวัดตราดให้กับสยาม จึงมีการปักปันเขตแดนอย่างชัดเจน โดยกำหนดแนวสันเขาปันน้ำต่อเนื่องจากอนุสัญญาฉบับปี พ.ศ.2447 (ค.ศ.1904) เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดจันทบุรี ตราด และเกาะทั้งหลายใต้แหลมสิง จังหวัดจันทบุรีจนถึงเกาะกูด และให้เป็นอธิปไตยของไทย
ปัจจัยนอกเหนือจากอนุสัญญาสยาม -ฝรั่งเศส พ.ศ.2447 และ 2450 (ค.ศ.1904 และ ค.ศ.1907) นั้น คณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมตามสนธิสัญญาฉบับ พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) ใช้แผนที่ 1 : 200,000 ซึ่งไทยต้องยอมสภาพนั้น เพราะเทคโนโลยีการทำแผนที่ของไทยยังล้าหลังกว่าฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงใช้ประโยชน์นี้ และรัฐบาลไทยไม่ทักท้วงแต่ประการใด เมื่อฝรั่งเศสขีดเส้นตรงปราสาทพระวิหารให้อยู่ในเขตฝรั่งเศสอินโดจีนหรือกัมพูชาในปัจจุบัน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นผู้ดำเนินการฝ่ายเดียว เพราะสมัยนั้นปราสาทพระวิหารอยู่ห่างไกลจากศูนย์การปกครอง การไปมาลำบาก และความเกรงกลัวต่ออิทธิพลทางการเมืองและทางการทหารของฝรั่งเศสนำสู่กฎหมายปิดปากที่คณะตุลาการได้อ้างถึง
ความชัดเจนคือการตกลงเรื่องเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ฝรั่งเศส สมัย พ.ศ. 2447 (ค.ศ.1904) และ พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) นั้นอินโดจีน ฝรั่งเศสย่อมพอใจมากกว่าฝ่ายสยาม เพราะหากฝรั่งเศสไม่พอใจแล้วคงต้องปรับเปลี่ยนจนพอใจจึงยอมลงนามในอนุสัญญาเหล่านั้น
ส่วนพื้นที่ทางทะเลนั้นไม่มีการพูดถึงในกรณีคดีปราสาทพระวิหาร แต่ตามอนุสัญญาสยาม - อินโดจีน ฝรั่งเศส พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) ในข้อ 2 นั้นได้ระบุไว้แน่นอน โดยฝ่ายไทยคือพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ และมองซิเออร์ วิกเตอร์ เอมิลมารี เยเซฟ ดอลแลง เป็นผู้แทนรีปักลิกฝรั่งเศส ได้ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (ค.ศ.1904) ซึ่งกล่าวไว้ว่า “รัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิง ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตแดนดังว่าไว้ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดนดังกล่าวมาแล้ว” ทำให้ประเด็นพื้นที่ทางทะเลเป็นเรื่องการเจรจากันระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยอาศัยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 เป็นหลักในการเจรจา
ทั้งนี้ ประเทศไทยและกัมพูชามีเขตทะเลทับซ้อนกัน 26,000 กิโลเมตร ได้มีการเจรจาเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2538 และหยุดลงเพราะการเมืองที่ยุ่งเหยิงภายในกัมพูชา และมาเริ่มต้นใหม่ใน พ.ศ. 2545 ซึ่งการเจรจาดำเนินมาจนถึงปัจจุบันรวม 5 ครั้ง และก้าวหน้าไปตามสมควรแก่เหตุ ทำให้พื้นที่ทางทะเลมีตัวแปรอ้างอิงอยู่ 2 ลักษณะ คือ อนุสัญญาสยาม - อินโดจีนฝรั่งเศส 1907 ซึ่งใช้เป็นข้ออ้างทั้งในสนธิสัญญาโตเกียว พ.ศ. 2484 และอนุสัญญาวอชิงตัน พ.ศ. 2486 ซึ่งกำหนดให้ไทยต้องคืนดินแดนที่ยึดได้จากสงครามกรณีพิพาทไทย - อินโดจีนฝรั่งเศส พ.ศ. 2484 เพราะไทยเข้าร่วมวงศ์ไพบูลย์กับญี่ปุ่น และกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ซึ่งรัฐบาลไทยโดยพระราชอำนาจ ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการออกกฎหมายกำหนดพื้นที่ทางทะเลเป็นส่วนๆ ทั้งในอ่าวไทย และทะเลอันดามันซึ่งเป็นไปตามหลักสากลตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (พ.ศ.2525)
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง ไทยต้องคืน 3 จังหวัด เสียมราช พระตะบอง และศรีโสภณ ให้แก่กัมพูชา ภายใต้อนุสัญญาวอชิงตัน พ.ศ. 2496 แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศใดแน่ ซึ่งสับสนยืดเยื้อมาตั้งแต่อนุสัญญาสยาม - อินโดจีน ฝรั่งเศส พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) แล้ว แต่ในปี พ.ศ. 2492 เป็นต้นมานั้น ทางการไทยจึงเข้าครอบครองปราสาทพระวิหาร และฝรั่งเศสในฐานะประเทศปกครองกัมพูชา ซึ่งยังไม่ได้รับเอกราชการอย่างเต็มที่ ได้มีหนังสือประท้วง ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2492) เกี่ยวกับการที่ไทยเข้าครอบครองปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นไปตามตรรกะว่าด้วยเรื่องหลักสันเขาปันน้ำและทางขึ้นอยู่ในประเทศไทย
การสูญเสียดินแดนมี 4 ลักษณะ ถูกยึดครองจากการรุกรานจากภายนอก ถูกยึดอำนาจจากกลุ่มขายชาติแล้วยกดินแดนให้ชาติอื่นเข้ามาปกครอง ถูกซื้อไป เช่น อลาสกาและถูกพิพากษาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศให้ตกเป็นของประเทศคู่กรณีเช่นกรณีคดีปราสาทพระวิหารที่ไทยแพ้จึงเสียดินแดนไป ย้อนเส้นทางการเสียเขาพระวิหาร กัมพูชาได้เอกราชจากฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) พระเจ้านโรดมสีหนุ ทรงขึ้นครองราชย์ แต่ต่อมาสละราชสมบัติเพื่อทรงเป็นนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2500 และไทยเริ่มที่จะเปิดการเจรจาเรื่องเขตแดน แต่ไม่สัมฤทธิผลจนในเดือนมีนาคม พ.ศ.2501 เจ้านโรดมสีหนุ กล่าวพาดพิงถึงไทยว่า “ไทยโกงเอาเขาพระวิหารของเขมรไป เขมรควรทวงเอาคืนมา” อันเป็นการเปิดประเด็นสร้างความสนใจของประชาชนกัมพูชา และต่อมาเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำกรุงลอนดอน เขียนบทความเปิดประเด็นว่าไทยได้ออกข่าวว่า “สนธิสัญญาในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) ไม่มีผล เพราะไทยถูกฝรั่งเศสบังคับ” ซึ่งเอกอัครราชทูตกัมพูชาคนนี้กล่าวว่า “ข้ออ้างดังกล่าวของไทยในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ย่อมฟังไม่ได้ และตำหนิไทยว่าเคยแย่งชิงดินแดนกัมพูชาไป และย้ำว่าปราสาททพระวิหารเป็นของกัมพูชา”
บทความนี้สร้างความไม่พอใจให้กับคนไทย จึงเกิดความตึงเครียดขึ้นระหว่างประชาชนสองประเทศ และเริ่มมีการกล่าวโจมตีกันผ่านสื่อมวลชน
ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 เจ้านโรดมสีหนุเสด็จฯ เยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทำทีสร้างสันถวไมตรี และให้มีการนัดหมายคณะกรรมการสองประเทศที่จะมาประชุมเรื่องปราสาทพระวิหาร แต่การเสด็จฯ มาเยือนครั้งนี้มีระยะเวลาสั้นมากเพียงครึ่งวัน
จนวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2501 นาย ซอน ซาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกัมพูชามาเจรจา 3 หมวดสำคัญ คือ ปัญหาเขตแดนไทย - กัมพูชา ทั้งบริเวณเขาพระวิหาร และดอนโตน กระบวนการยุติธรรม การปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่พรมแดนการคมนาคม เศรษฐกิจ และการสาธารณสุข สองเรื่องนั้น มีการตกลงกันด้วยดี แต่เรื่องเขตแดนไทย - กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร และดอนโตน ไม่สามารถตกลงกันได้
เมื่อการเจรจาไม่สำเร็จ ประชาชนชาวไทยเริ่มเคลื่อนไหวและเพิ่มความเข้มข้นขึ้น และในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2501 คนไทยชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ปราศรัยโจมตีรัฐบาลกัมพูชา มีการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงไทยกับตำรวจที่รักษาการณ์หน้าสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย และเหตุการณ์เหล่านี้นำสู่การตัดสัมพันธ์ทางการทูตครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นครั้งแรกเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2501 หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีผล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และรัฐบาลพม่าเป็นผู้เข้ามาดูแลผลประโยชน์ของกัมพูชาในไทยและการตัดสัมพันธ์ทางการทูตครั้งนั้น เลขาธิการ บารอน โจฮัน เมคฟริส ซึ่งเข้ามาสังเกตการณ์และทำการไกล่เกลี่ย ทำให้ทั้งไทยและกัมพูชาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันอีกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
ต่อมากัมพูชายื่นฟ้องไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โดยขอให้ศาลสั่งให้ไทยดำเนินการดังนี้
1. ให้ไทยถอนทหารออกจากปราสาทพระวิหาร
2. วินิจฉัยว่าอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
3. ฝ่ายไทยโต้แย้งอำนาจศาล แต่คำโต้แย้งตกไปศาลมองว่าไม่เหมือนคดีกรณีอิสราเอล และบัลแกเรีย เพราะไทยได้ประกาศรับรองเขตอำนาจศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2493 (ค.ศ.1950) ย่อมเห็นชัดว่าไทยยอมรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใหม่นี้ ทำให้ศาลยกคำคัดค้านของไทย และรับฟ้องของกัมพูชา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2502 (ค.ศ.1959)
การใช้แผนที่ 1: 200,000 ที่ฝรั่งเศส โดย พ.อ.แบร์นาร์ด เป็นหัวหน้าผู้จัดทำ แต่ไทยไม่ทักท้วงความผิดพลาดของแผนที่ และไม่เข้าร่วมไปกับคณะปักปันเขตของอินโดจีน ฝรั่งเศส รวมทั้งเหตุที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไม่ทักท้วงเมื่อฝรั่งเศสชักธงชาติฝรั่งเศสเหนือปราสาทพระวิหาร คราวเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรประชาชนในปี พ.ศ.2472 (ค.ศ. 1929) แต่เป็นเพราะไทยต้องยอมรับอิทธิพลทางทหารของฝรั่งเศสที่มีศักยภาพสูง และเป็นช่วงเข้มข้นที่สุดในยุคล่าอาณานิคม
ด้วยแผนที่ตอนเขาดงรัก (ภาคผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของประเทศกัมพูชา) นั้น ได้ถูกจัดทำขึ้น และพิมพ์ขึ้นในนามของคณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม ที่กรุงปารีสตามสนธิสัญญา 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 และไทยยอมรับ ทำให้แผนที่มีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอย่างหนึ่ง เพราะปรากฏที่ตั้งปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนของกัมพูชาตามที่ฝรั่งเศสกำหนดบนแผนที่ ภาคผนวก 1 คณะตุลาการจึงลงความเห็น 9 : 3 ให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาและให้ไทยคืนวัตถุโบราณกับกัมพูชา ด้วยความเห็นตุลาการ 7 : 5
รัฐบาลไทยมีปฏิกิริยาต่อต้านคำพิพากษา แต่ยอมรับคำพิพากษา ในฐานะสมาชิกภาคีสหประชาชาติ ตามพันธกรณีแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ตามพันธกรณีข้อ 94 โดยนายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ยื่นหนังสือต่อนายอู ถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ในวันที่ 13 กรกฎาคม โดยมีเนื้อหาว่า “คำพิพากษาขัดต่อข้อกำหนดอันชัดเจนของบทที่เกี่ยวข้องของสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 ขัดต่อหลักกฎหมายและความยุติธรรม” “รัฐบาลไทยปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนสิทธิ์อันชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิใดๆ ที่ประเทศไทยมี หรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารคืน โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่ หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา” “เป็นการชี้แจงต่อสมาชิกทั้งปวงขององค์การสหประชาชาติ ให้ทราบทั่วกัน โดยผ่านเลขาธิการสหประชาชาติ”
ดังนั้น ความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหารนั้น ควรจะยุติลงตั้งแต่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 แล้วอย่างสิ้นเชิง และการที่ไทยไม่ได้พยายามรื้อฟื้น หรือขอใช้สิทธิใดๆ เพื่อเอาเขาพระวิหารคืนภายใน 10 ปี ของอายุความตามกฎของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมือง และสงครามกลางเมืองในกัมพูชา ระหว่าง ค.ศ. 1954 - 1975 และสงครามกลางเมืองกัมพูชา ค.ศ. 1975 - 1979 และเกิดเหตุการณ์ทุ่งสังหาร มีชาวกัมพูชาลี้ภัยเข้ามาเมืองไทยจำนวนนับหมื่นๆ คน
ทำให้กัมพูชาขาดเสถียรภาพทางการเมือง และการยื่นฟ้องกัมพูชา เพื่อให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีการพิจารณากรณีปราสาทพระวิหารใหม่นั้น จะเป็นเรื่องการเมืองสากลทั้งภูมิภาคและระดับโลก เนื่องจากกัมพูชาเป็นยุทธศาสตร์สงครามหุ่นในสงครามเย็น ซึ่งนานาประเทศทั้งค่ายตะวันตกและค่ายคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะจีนซึ่งสนับสนุนเขมรแดงและต่อต้านเวียดนาม และทำให้ดูว่าไทยซ้ำเติมกัมพูชา
จึงเป็นคำถามสำคัญว่าทำไมไทยไม่เคยหยิบยกข้อสังเกตนี้ขึ้นมาอ้าง เพื่อให้เกิดความชอบธรรมเชิงพฤตินัยตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเราอาจสามารถหยิบยกขึ้นมาอ้างได้ เพื่อสร้างบรรทัดฐานสำหรับอนาคตของนานาประเทศ ซึ่งอาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น
ผลกระทบภาวะความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของกัมพูชาเกิดขึ้นตั้งแต่พ.ศ. 2473 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม สนับสนุนกัมพูชาให้ทำสงครามอิสรภาพกับฝรั่งเศส ซึ่งแพ้กองทัพปลดแอกเวียดนามอย่างหมดรูปที่เดียนเบียนฟู ใน พ.ศ.2494 เกิดพรรคปฏิวัติประชาชนเขมร และพระเจ้านโรดมสีหนุเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศสได้สำเร็จ และประกาศต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ และประกาศไม่รับรองสถานะและกำหนดเขตที่ตั้งของฐานที่มั่นฝ่ายคอมมิวนิสต์เช่นกัน เกิดกลุ่มปัญญาชนปารีส เช่น พอลพต เอียง ซารี และเขียว สัมพันธ์ เป็นต้น ในยุค ค.ศ. 1950 ต้นกำเนิดของเขมรแดงที่หฤโหด
พ.ศ. 2495 พระเจ้าสีหนุก่อรัฐประหาร กลุ่มปัญญาชนปารีสต่อต้านเจ้าสีหนุ เกิดวิกฤติการณ์การเมืองในกัมพูชา
พ.ศ. 2509 พรรคแรงงานแห่งกัมพูชาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯ เปิดสงครามลับกับพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ด้วยการโจมตีทางอากาศ
พ.ศ. 2513 เกิดรัฐประหารยึดอำนาจเจ้าสีหนุ โดยเจ้าสีสุวัตถ์ สิริมาตะ ลูกพี่ลูกน้องเจ้าสีหนุ และนายพลลอนนอล ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ประกาศเป็นสาธารณรัฐเขมร และเริ่มปราบปรามฝ่ายคอมมิวนิสต์ เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลลอนนอนกับเขมรแดง และในปี พ.ศ. 2518 เขมรแดงชนะสงครามกลางเมือง
ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ในช่วงนั้นเกิดจากการรบพุ่งในสงครามกลางเมืองกัมพูชา การรบพุ่งในสงครามเวียดนามกับเขมรแดง การรบพุ่งบริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และยุคสงครามอุดมการณ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลไทยที่มีชายแดนเป็นเขตพักพิง ทำให้มีการวางกับระเบิดมากมายนับแสนลูก
ข้อเท็จจริงแล้ว กองทัพไทยรู้เขตแดนไทย - กัมพูชา ตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 1 - 73 เพราะว่ามีการกำหนดไว้บนแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,0000 ไว้แล้ว เพราะต้องใช้ในการวางแผนยุทธการและการสู้รบอาจจะทำให้หลักเขตแดนบางหลักเสียหายได้ หรืออาจมีการเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อหวังผลทางยุทธศาสตร์เท่านั้น มิได้หวังผลในเชิงเปลี่ยนเขตแดน
รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในปี พ.ศ. 2532 มองเห็นทางออกในการยุติสงครามในอินโดจีนจึงมีการเสนอให้ขออนุญาตรัฐบาลกัมพูชา ให้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมปราสาทพระวิหารและนโยบาย “ทำสนามรบให้เป็นสนามการค้า” ที่ทั้งโลกยอมรับหลักการนี้
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาดีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งรัฐบาลนายชวน หลีกภัยที่ได้มีการทำสัญญาไทย-กัมพูชาหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า MOU43 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. วัตถุประสงค์เพื่อกระชับความผูกพันแห่งมิตรภาพระหว่างสองประเทศ
2. ในข้อ 2 แห่ง MOU43 นั้น ให้มีคณะกรรมาธิการทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย - กัมพูชา ความเสียเปรียบอยู่ที่การรับรองแผนที่ 1 : 200,000 ทั้งๆ ที่แผนที่มาตราส่วนนี้ทำให้ไทยแพ้คดีและเป็นจุดอ่อนของไทยมาตลอด ซึ่งกัมพูชารู้ดีว่าการใช้แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 นั้น ทำให้ฝ่ายกัมพูชาได้เปรียบ เพราะสามารถทำให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1904, ค.ศ. 1907 และ พ.ศ. 2505 การนี้จึงผิดเพราะเป็นการปักปันดินแดนใหม่
จนมาถึงการเจรจา Joint Communique ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับนายฮุนเซน เมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 มีเนื้อหาสำคัญคือ
1. รีบปักปันเขตให้เสร็จโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงทำให้การพิสูจน์และดำเนินการปักปันเขตแดนไร้ประสิทธิภาพ ขาดความรอบคอบและทำให้เห็นวาระซ่อนเร้นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
2. ทั้งสองฝ่ายแสดงความพึงพอใจในความพยายามต่างๆ ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกันมา และให้การรับรองในบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนกัน
การดำเนินการของรัฐบาลไทยในยุคหลังสงครามเย็น และสงครามกลางเมืองกัมพูชาสงบลงนั้น เป็นลักษณะยุทธศาสตร์เชิงรับทั้งสิ้น มิได้แจ้งให้รัฐบาลกัมพูชาตระหนักถึงคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และเน้นเขตแดนที่ได้ครอบครองภายหลังจากอนุสัญญาสยามกับอินโดจีน ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ ค.ศ.1907 โดยใช้หลักสันเขาปันน้ำ และหากใช้เทคนิคการทำแผนที่สมัยใหม่ รวมถึงการใช้แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ซึ่งให้รายละเอียดพื้นที่ได้ดี สอดคล้องกับภาพถ่ายทางอากาศ ก็จะเกิดคุณกับไทยซึ่งกัมพูชารู้ดีจึงชิงริเริ่มรุกเรื่องปราสาทพระวิหารก่อนไทย
ดังนั้น การที่กัมพูชาขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พิจารณาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนปราสาทพระวิหารนั้นจึงเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะว่าก่อนหน้านั้นประเทศไทยเข้ายึดครองปราสาทพระวิหารตามศักยภาพเชิงประจักษ์ เพราะทางขึ้นอยู่บนเขตไทยและตามหลักแบ่งเขตแดน โดยใช้สันเขาปันน้ำนั้น ก็เป็นไปตามตรรกะอยู่แล้ว ที่แพ้คดีเพราะแผนที่ 1 : 200,000 ฉบับที่ฝรั่งเศสทำนั้นโดยไม่รับรู้ ไม่ทักท้วง จึงเข้าหลักกฎหมายปิดปาก
เพื่อให้เป็นไปตามหลักตรรกะแห่งความถูกต้อง ไทยต้องปฏิเสธคำสั่งศาลโลก เพราะคดีปราสาทพระวิหารนั้นเสร็จสิ้นไปแล้ว
การปฏิเสธศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกระทำได้เพราะรัฐเท่านั้นที่จะเป็นผู้มีอำนาจในการปฏิเสธคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลโลก แต่องค์กรทั้งหลายที่ไม่ใช่รัฐ ไม่สามารถจะปฏิเสธคำพิพากษาได้ แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศสามารถรับฟังข้อมูลใหม่ได้จากองค์กรสาธารณะระหว่างประเทศ หรือองค์กรอันเป็นอธิปไตยของปวงชน
กรณีที่มีการปฏิเสธคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เช่นสหรัฐฯ กล่าวหาอิหร่านละเมิดกฎหมายสิทธิทางการทูตระหว่างประเทศในปี ค.ศ.1980 เมื่อฝ่ายหัวรุนแรงยึดและจับคณะทูตของสหรัฐฯ เป็นตัวประกัน และอิหร่านปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษา ในการนี้สหรัฐฯ ส่งกำลังทหารเข้าช่วยเหลือตัวประกัน แต่ภารกิจล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ในยุคประธานาธิบดีคาร์เตอร์ หรือกรณีตูนีเซียกับลิเบียที่พิพาทเรื่องเขตไหล่ทวีป แต่ลิเบียปฏิเสธคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือปัญหาอาณาเขตทางทะเลของแคนาดากับสหรัฐฯ ที่อ้างสิทธิในอ่าวเมน ซึ่งได้ข้อยุติแต่ทั้งสองประเทศไม่ยอมเสียเกาะมาเชียซิล หรือกรณีที่อื้อฉาวเมื่อนิการากัวชนะคดีสหรัฐฯ ซึ่งถูกฟ้องว่าแทรกแซงกิจการภายในของรัฐบาลนิการากัว โดยสนับสนุนกลุ่มขวาจัดคอนทรา ซึ่งต่อต้านรัฐบาลแซนดินิสต้า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและศาสนา แต่เป็นสังคมนิยมและฝักใฝ่คิวบา โดยนางจัน เคิร์กแพตทริก เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ก็ต่อต้านคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่า “มีความยุติธรรมเพียงครึ่งเดียว” ซึ่งไม่แตกต่างกับกรณีไทยต่อต้านคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
การประท้วงรัฐบาลและสำแดงเจตจำนงให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้รับรู้ว่าเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยรวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถแสดงให้เห็นว่าศาลโลกกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือซึ่งเป็นข้อมูลใหม่ให้ศาลโลกได้รับรู้การแสวงประโยชน์ทางธุรกิจที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล
ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้มีคำพิพากษาลงความเห็น 9 : 3 ให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ทำให้ไทยแพ้คดีและต้องยกตัวปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเท่านั้นให้เป็นของกัมพูชา ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มีมติให้เป็นไปตามนั้นเพื่อความเป็นอารยประเทศในสังคมสหประชาชาติ
ความพ่ายแพ้ทางนิตินัยเนื่องจากการกำหนดเขตแดนไม่ชัดเจน เส้นเขตแดนระหว่างไทย - กัมพูชาที่ได้ทำกันไว้ระหว่างสยาม - อินโดจีนฝรั่งเศส โดยตกลงให้แบ่งตามหลักสากลตามแนวสันเขาปันน้ำเทือกเขาดงรัก และใช้แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 กำหนดในอนุสัญญาสยาม -อินโดจีน ฝรั่งเศส พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) ซึ่งการนี้เกิดขึ้นเพราะประเทศสยาม ต้องการให้ฝรั่งเศสคืนจังหวัดตราดให้กับสยาม จึงมีการปักปันเขตแดนอย่างชัดเจน โดยกำหนดแนวสันเขาปันน้ำต่อเนื่องจากอนุสัญญาฉบับปี พ.ศ.2447 (ค.ศ.1904) เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดจันทบุรี ตราด และเกาะทั้งหลายใต้แหลมสิง จังหวัดจันทบุรีจนถึงเกาะกูด และให้เป็นอธิปไตยของไทย
ปัจจัยนอกเหนือจากอนุสัญญาสยาม -ฝรั่งเศส พ.ศ.2447 และ 2450 (ค.ศ.1904 และ ค.ศ.1907) นั้น คณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมตามสนธิสัญญาฉบับ พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) ใช้แผนที่ 1 : 200,000 ซึ่งไทยต้องยอมสภาพนั้น เพราะเทคโนโลยีการทำแผนที่ของไทยยังล้าหลังกว่าฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงใช้ประโยชน์นี้ และรัฐบาลไทยไม่ทักท้วงแต่ประการใด เมื่อฝรั่งเศสขีดเส้นตรงปราสาทพระวิหารให้อยู่ในเขตฝรั่งเศสอินโดจีนหรือกัมพูชาในปัจจุบัน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นผู้ดำเนินการฝ่ายเดียว เพราะสมัยนั้นปราสาทพระวิหารอยู่ห่างไกลจากศูนย์การปกครอง การไปมาลำบาก และความเกรงกลัวต่ออิทธิพลทางการเมืองและทางการทหารของฝรั่งเศสนำสู่กฎหมายปิดปากที่คณะตุลาการได้อ้างถึง
ความชัดเจนคือการตกลงเรื่องเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ฝรั่งเศส สมัย พ.ศ. 2447 (ค.ศ.1904) และ พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) นั้นอินโดจีน ฝรั่งเศสย่อมพอใจมากกว่าฝ่ายสยาม เพราะหากฝรั่งเศสไม่พอใจแล้วคงต้องปรับเปลี่ยนจนพอใจจึงยอมลงนามในอนุสัญญาเหล่านั้น
ส่วนพื้นที่ทางทะเลนั้นไม่มีการพูดถึงในกรณีคดีปราสาทพระวิหาร แต่ตามอนุสัญญาสยาม - อินโดจีน ฝรั่งเศส พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) ในข้อ 2 นั้นได้ระบุไว้แน่นอน โดยฝ่ายไทยคือพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ และมองซิเออร์ วิกเตอร์ เอมิลมารี เยเซฟ ดอลแลง เป็นผู้แทนรีปักลิกฝรั่งเศส ได้ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (ค.ศ.1904) ซึ่งกล่าวไว้ว่า “รัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิง ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตแดนดังว่าไว้ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดนดังกล่าวมาแล้ว” ทำให้ประเด็นพื้นที่ทางทะเลเป็นเรื่องการเจรจากันระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยอาศัยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 เป็นหลักในการเจรจา
ทั้งนี้ ประเทศไทยและกัมพูชามีเขตทะเลทับซ้อนกัน 26,000 กิโลเมตร ได้มีการเจรจาเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2538 และหยุดลงเพราะการเมืองที่ยุ่งเหยิงภายในกัมพูชา และมาเริ่มต้นใหม่ใน พ.ศ. 2545 ซึ่งการเจรจาดำเนินมาจนถึงปัจจุบันรวม 5 ครั้ง และก้าวหน้าไปตามสมควรแก่เหตุ ทำให้พื้นที่ทางทะเลมีตัวแปรอ้างอิงอยู่ 2 ลักษณะ คือ อนุสัญญาสยาม - อินโดจีนฝรั่งเศส 1907 ซึ่งใช้เป็นข้ออ้างทั้งในสนธิสัญญาโตเกียว พ.ศ. 2484 และอนุสัญญาวอชิงตัน พ.ศ. 2486 ซึ่งกำหนดให้ไทยต้องคืนดินแดนที่ยึดได้จากสงครามกรณีพิพาทไทย - อินโดจีนฝรั่งเศส พ.ศ. 2484 เพราะไทยเข้าร่วมวงศ์ไพบูลย์กับญี่ปุ่น และกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ซึ่งรัฐบาลไทยโดยพระราชอำนาจ ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการออกกฎหมายกำหนดพื้นที่ทางทะเลเป็นส่วนๆ ทั้งในอ่าวไทย และทะเลอันดามันซึ่งเป็นไปตามหลักสากลตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (พ.ศ.2525)
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง ไทยต้องคืน 3 จังหวัด เสียมราช พระตะบอง และศรีโสภณ ให้แก่กัมพูชา ภายใต้อนุสัญญาวอชิงตัน พ.ศ. 2496 แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศใดแน่ ซึ่งสับสนยืดเยื้อมาตั้งแต่อนุสัญญาสยาม - อินโดจีน ฝรั่งเศส พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) แล้ว แต่ในปี พ.ศ. 2492 เป็นต้นมานั้น ทางการไทยจึงเข้าครอบครองปราสาทพระวิหาร และฝรั่งเศสในฐานะประเทศปกครองกัมพูชา ซึ่งยังไม่ได้รับเอกราชการอย่างเต็มที่ ได้มีหนังสือประท้วง ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2492) เกี่ยวกับการที่ไทยเข้าครอบครองปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นไปตามตรรกะว่าด้วยเรื่องหลักสันเขาปันน้ำและทางขึ้นอยู่ในประเทศไทย
การสูญเสียดินแดนมี 4 ลักษณะ ถูกยึดครองจากการรุกรานจากภายนอก ถูกยึดอำนาจจากกลุ่มขายชาติแล้วยกดินแดนให้ชาติอื่นเข้ามาปกครอง ถูกซื้อไป เช่น อลาสกาและถูกพิพากษาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศให้ตกเป็นของประเทศคู่กรณีเช่นกรณีคดีปราสาทพระวิหารที่ไทยแพ้จึงเสียดินแดนไป ย้อนเส้นทางการเสียเขาพระวิหาร กัมพูชาได้เอกราชจากฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) พระเจ้านโรดมสีหนุ ทรงขึ้นครองราชย์ แต่ต่อมาสละราชสมบัติเพื่อทรงเป็นนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2500 และไทยเริ่มที่จะเปิดการเจรจาเรื่องเขตแดน แต่ไม่สัมฤทธิผลจนในเดือนมีนาคม พ.ศ.2501 เจ้านโรดมสีหนุ กล่าวพาดพิงถึงไทยว่า “ไทยโกงเอาเขาพระวิหารของเขมรไป เขมรควรทวงเอาคืนมา” อันเป็นการเปิดประเด็นสร้างความสนใจของประชาชนกัมพูชา และต่อมาเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำกรุงลอนดอน เขียนบทความเปิดประเด็นว่าไทยได้ออกข่าวว่า “สนธิสัญญาในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) ไม่มีผล เพราะไทยถูกฝรั่งเศสบังคับ” ซึ่งเอกอัครราชทูตกัมพูชาคนนี้กล่าวว่า “ข้ออ้างดังกล่าวของไทยในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ย่อมฟังไม่ได้ และตำหนิไทยว่าเคยแย่งชิงดินแดนกัมพูชาไป และย้ำว่าปราสาททพระวิหารเป็นของกัมพูชา”
บทความนี้สร้างความไม่พอใจให้กับคนไทย จึงเกิดความตึงเครียดขึ้นระหว่างประชาชนสองประเทศ และเริ่มมีการกล่าวโจมตีกันผ่านสื่อมวลชน
ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 เจ้านโรดมสีหนุเสด็จฯ เยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทำทีสร้างสันถวไมตรี และให้มีการนัดหมายคณะกรรมการสองประเทศที่จะมาประชุมเรื่องปราสาทพระวิหาร แต่การเสด็จฯ มาเยือนครั้งนี้มีระยะเวลาสั้นมากเพียงครึ่งวัน
จนวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2501 นาย ซอน ซาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกัมพูชามาเจรจา 3 หมวดสำคัญ คือ ปัญหาเขตแดนไทย - กัมพูชา ทั้งบริเวณเขาพระวิหาร และดอนโตน กระบวนการยุติธรรม การปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่พรมแดนการคมนาคม เศรษฐกิจ และการสาธารณสุข สองเรื่องนั้น มีการตกลงกันด้วยดี แต่เรื่องเขตแดนไทย - กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร และดอนโตน ไม่สามารถตกลงกันได้
เมื่อการเจรจาไม่สำเร็จ ประชาชนชาวไทยเริ่มเคลื่อนไหวและเพิ่มความเข้มข้นขึ้น และในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2501 คนไทยชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ปราศรัยโจมตีรัฐบาลกัมพูชา มีการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงไทยกับตำรวจที่รักษาการณ์หน้าสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย และเหตุการณ์เหล่านี้นำสู่การตัดสัมพันธ์ทางการทูตครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นครั้งแรกเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2501 หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีผล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และรัฐบาลพม่าเป็นผู้เข้ามาดูแลผลประโยชน์ของกัมพูชาในไทยและการตัดสัมพันธ์ทางการทูตครั้งนั้น เลขาธิการ บารอน โจฮัน เมคฟริส ซึ่งเข้ามาสังเกตการณ์และทำการไกล่เกลี่ย ทำให้ทั้งไทยและกัมพูชาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันอีกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
ต่อมากัมพูชายื่นฟ้องไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โดยขอให้ศาลสั่งให้ไทยดำเนินการดังนี้
1. ให้ไทยถอนทหารออกจากปราสาทพระวิหาร
2. วินิจฉัยว่าอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
3. ฝ่ายไทยโต้แย้งอำนาจศาล แต่คำโต้แย้งตกไปศาลมองว่าไม่เหมือนคดีกรณีอิสราเอล และบัลแกเรีย เพราะไทยได้ประกาศรับรองเขตอำนาจศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2493 (ค.ศ.1950) ย่อมเห็นชัดว่าไทยยอมรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใหม่นี้ ทำให้ศาลยกคำคัดค้านของไทย และรับฟ้องของกัมพูชา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2502 (ค.ศ.1959)
การใช้แผนที่ 1: 200,000 ที่ฝรั่งเศส โดย พ.อ.แบร์นาร์ด เป็นหัวหน้าผู้จัดทำ แต่ไทยไม่ทักท้วงความผิดพลาดของแผนที่ และไม่เข้าร่วมไปกับคณะปักปันเขตของอินโดจีน ฝรั่งเศส รวมทั้งเหตุที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไม่ทักท้วงเมื่อฝรั่งเศสชักธงชาติฝรั่งเศสเหนือปราสาทพระวิหาร คราวเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรประชาชนในปี พ.ศ.2472 (ค.ศ. 1929) แต่เป็นเพราะไทยต้องยอมรับอิทธิพลทางทหารของฝรั่งเศสที่มีศักยภาพสูง และเป็นช่วงเข้มข้นที่สุดในยุคล่าอาณานิคม
ด้วยแผนที่ตอนเขาดงรัก (ภาคผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของประเทศกัมพูชา) นั้น ได้ถูกจัดทำขึ้น และพิมพ์ขึ้นในนามของคณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม ที่กรุงปารีสตามสนธิสัญญา 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 และไทยยอมรับ ทำให้แผนที่มีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอย่างหนึ่ง เพราะปรากฏที่ตั้งปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนของกัมพูชาตามที่ฝรั่งเศสกำหนดบนแผนที่ ภาคผนวก 1 คณะตุลาการจึงลงความเห็น 9 : 3 ให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาและให้ไทยคืนวัตถุโบราณกับกัมพูชา ด้วยความเห็นตุลาการ 7 : 5
รัฐบาลไทยมีปฏิกิริยาต่อต้านคำพิพากษา แต่ยอมรับคำพิพากษา ในฐานะสมาชิกภาคีสหประชาชาติ ตามพันธกรณีแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ตามพันธกรณีข้อ 94 โดยนายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ยื่นหนังสือต่อนายอู ถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ในวันที่ 13 กรกฎาคม โดยมีเนื้อหาว่า “คำพิพากษาขัดต่อข้อกำหนดอันชัดเจนของบทที่เกี่ยวข้องของสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 ขัดต่อหลักกฎหมายและความยุติธรรม” “รัฐบาลไทยปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนสิทธิ์อันชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิใดๆ ที่ประเทศไทยมี หรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารคืน โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่ หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา” “เป็นการชี้แจงต่อสมาชิกทั้งปวงขององค์การสหประชาชาติ ให้ทราบทั่วกัน โดยผ่านเลขาธิการสหประชาชาติ”
ดังนั้น ความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหารนั้น ควรจะยุติลงตั้งแต่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 แล้วอย่างสิ้นเชิง และการที่ไทยไม่ได้พยายามรื้อฟื้น หรือขอใช้สิทธิใดๆ เพื่อเอาเขาพระวิหารคืนภายใน 10 ปี ของอายุความตามกฎของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมือง และสงครามกลางเมืองในกัมพูชา ระหว่าง ค.ศ. 1954 - 1975 และสงครามกลางเมืองกัมพูชา ค.ศ. 1975 - 1979 และเกิดเหตุการณ์ทุ่งสังหาร มีชาวกัมพูชาลี้ภัยเข้ามาเมืองไทยจำนวนนับหมื่นๆ คน
ทำให้กัมพูชาขาดเสถียรภาพทางการเมือง และการยื่นฟ้องกัมพูชา เพื่อให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีการพิจารณากรณีปราสาทพระวิหารใหม่นั้น จะเป็นเรื่องการเมืองสากลทั้งภูมิภาคและระดับโลก เนื่องจากกัมพูชาเป็นยุทธศาสตร์สงครามหุ่นในสงครามเย็น ซึ่งนานาประเทศทั้งค่ายตะวันตกและค่ายคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะจีนซึ่งสนับสนุนเขมรแดงและต่อต้านเวียดนาม และทำให้ดูว่าไทยซ้ำเติมกัมพูชา
จึงเป็นคำถามสำคัญว่าทำไมไทยไม่เคยหยิบยกข้อสังเกตนี้ขึ้นมาอ้าง เพื่อให้เกิดความชอบธรรมเชิงพฤตินัยตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเราอาจสามารถหยิบยกขึ้นมาอ้างได้ เพื่อสร้างบรรทัดฐานสำหรับอนาคตของนานาประเทศ ซึ่งอาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น
ผลกระทบภาวะความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของกัมพูชาเกิดขึ้นตั้งแต่พ.ศ. 2473 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม สนับสนุนกัมพูชาให้ทำสงครามอิสรภาพกับฝรั่งเศส ซึ่งแพ้กองทัพปลดแอกเวียดนามอย่างหมดรูปที่เดียนเบียนฟู ใน พ.ศ.2494 เกิดพรรคปฏิวัติประชาชนเขมร และพระเจ้านโรดมสีหนุเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศสได้สำเร็จ และประกาศต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ และประกาศไม่รับรองสถานะและกำหนดเขตที่ตั้งของฐานที่มั่นฝ่ายคอมมิวนิสต์เช่นกัน เกิดกลุ่มปัญญาชนปารีส เช่น พอลพต เอียง ซารี และเขียว สัมพันธ์ เป็นต้น ในยุค ค.ศ. 1950 ต้นกำเนิดของเขมรแดงที่หฤโหด
พ.ศ. 2495 พระเจ้าสีหนุก่อรัฐประหาร กลุ่มปัญญาชนปารีสต่อต้านเจ้าสีหนุ เกิดวิกฤติการณ์การเมืองในกัมพูชา
พ.ศ. 2509 พรรคแรงงานแห่งกัมพูชาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯ เปิดสงครามลับกับพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ด้วยการโจมตีทางอากาศ
พ.ศ. 2513 เกิดรัฐประหารยึดอำนาจเจ้าสีหนุ โดยเจ้าสีสุวัตถ์ สิริมาตะ ลูกพี่ลูกน้องเจ้าสีหนุ และนายพลลอนนอล ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ประกาศเป็นสาธารณรัฐเขมร และเริ่มปราบปรามฝ่ายคอมมิวนิสต์ เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลลอนนอนกับเขมรแดง และในปี พ.ศ. 2518 เขมรแดงชนะสงครามกลางเมือง
ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ในช่วงนั้นเกิดจากการรบพุ่งในสงครามกลางเมืองกัมพูชา การรบพุ่งในสงครามเวียดนามกับเขมรแดง การรบพุ่งบริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และยุคสงครามอุดมการณ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลไทยที่มีชายแดนเป็นเขตพักพิง ทำให้มีการวางกับระเบิดมากมายนับแสนลูก
ข้อเท็จจริงแล้ว กองทัพไทยรู้เขตแดนไทย - กัมพูชา ตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 1 - 73 เพราะว่ามีการกำหนดไว้บนแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,0000 ไว้แล้ว เพราะต้องใช้ในการวางแผนยุทธการและการสู้รบอาจจะทำให้หลักเขตแดนบางหลักเสียหายได้ หรืออาจมีการเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อหวังผลทางยุทธศาสตร์เท่านั้น มิได้หวังผลในเชิงเปลี่ยนเขตแดน
รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในปี พ.ศ. 2532 มองเห็นทางออกในการยุติสงครามในอินโดจีนจึงมีการเสนอให้ขออนุญาตรัฐบาลกัมพูชา ให้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมปราสาทพระวิหารและนโยบาย “ทำสนามรบให้เป็นสนามการค้า” ที่ทั้งโลกยอมรับหลักการนี้
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาดีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งรัฐบาลนายชวน หลีกภัยที่ได้มีการทำสัญญาไทย-กัมพูชาหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า MOU43 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. วัตถุประสงค์เพื่อกระชับความผูกพันแห่งมิตรภาพระหว่างสองประเทศ
2. ในข้อ 2 แห่ง MOU43 นั้น ให้มีคณะกรรมาธิการทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย - กัมพูชา ความเสียเปรียบอยู่ที่การรับรองแผนที่ 1 : 200,000 ทั้งๆ ที่แผนที่มาตราส่วนนี้ทำให้ไทยแพ้คดีและเป็นจุดอ่อนของไทยมาตลอด ซึ่งกัมพูชารู้ดีว่าการใช้แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 นั้น ทำให้ฝ่ายกัมพูชาได้เปรียบ เพราะสามารถทำให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1904, ค.ศ. 1907 และ พ.ศ. 2505 การนี้จึงผิดเพราะเป็นการปักปันดินแดนใหม่
จนมาถึงการเจรจา Joint Communique ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับนายฮุนเซน เมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 มีเนื้อหาสำคัญคือ
1. รีบปักปันเขตให้เสร็จโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงทำให้การพิสูจน์และดำเนินการปักปันเขตแดนไร้ประสิทธิภาพ ขาดความรอบคอบและทำให้เห็นวาระซ่อนเร้นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
2. ทั้งสองฝ่ายแสดงความพึงพอใจในความพยายามต่างๆ ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกันมา และให้การรับรองในบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนกัน
การดำเนินการของรัฐบาลไทยในยุคหลังสงครามเย็น และสงครามกลางเมืองกัมพูชาสงบลงนั้น เป็นลักษณะยุทธศาสตร์เชิงรับทั้งสิ้น มิได้แจ้งให้รัฐบาลกัมพูชาตระหนักถึงคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และเน้นเขตแดนที่ได้ครอบครองภายหลังจากอนุสัญญาสยามกับอินโดจีน ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ ค.ศ.1907 โดยใช้หลักสันเขาปันน้ำ และหากใช้เทคนิคการทำแผนที่สมัยใหม่ รวมถึงการใช้แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ซึ่งให้รายละเอียดพื้นที่ได้ดี สอดคล้องกับภาพถ่ายทางอากาศ ก็จะเกิดคุณกับไทยซึ่งกัมพูชารู้ดีจึงชิงริเริ่มรุกเรื่องปราสาทพระวิหารก่อนไทย
ดังนั้น การที่กัมพูชาขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พิจารณาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนปราสาทพระวิหารนั้นจึงเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะว่าก่อนหน้านั้นประเทศไทยเข้ายึดครองปราสาทพระวิหารตามศักยภาพเชิงประจักษ์ เพราะทางขึ้นอยู่บนเขตไทยและตามหลักแบ่งเขตแดน โดยใช้สันเขาปันน้ำนั้น ก็เป็นไปตามตรรกะอยู่แล้ว ที่แพ้คดีเพราะแผนที่ 1 : 200,000 ฉบับที่ฝรั่งเศสทำนั้นโดยไม่รับรู้ ไม่ทักท้วง จึงเข้าหลักกฎหมายปิดปาก
เพื่อให้เป็นไปตามหลักตรรกะแห่งความถูกต้อง ไทยต้องปฏิเสธคำสั่งศาลโลก เพราะคดีปราสาทพระวิหารนั้นเสร็จสิ้นไปแล้ว
การปฏิเสธศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกระทำได้เพราะรัฐเท่านั้นที่จะเป็นผู้มีอำนาจในการปฏิเสธคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลโลก แต่องค์กรทั้งหลายที่ไม่ใช่รัฐ ไม่สามารถจะปฏิเสธคำพิพากษาได้ แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศสามารถรับฟังข้อมูลใหม่ได้จากองค์กรสาธารณะระหว่างประเทศ หรือองค์กรอันเป็นอธิปไตยของปวงชน
กรณีที่มีการปฏิเสธคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เช่นสหรัฐฯ กล่าวหาอิหร่านละเมิดกฎหมายสิทธิทางการทูตระหว่างประเทศในปี ค.ศ.1980 เมื่อฝ่ายหัวรุนแรงยึดและจับคณะทูตของสหรัฐฯ เป็นตัวประกัน และอิหร่านปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษา ในการนี้สหรัฐฯ ส่งกำลังทหารเข้าช่วยเหลือตัวประกัน แต่ภารกิจล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ในยุคประธานาธิบดีคาร์เตอร์ หรือกรณีตูนีเซียกับลิเบียที่พิพาทเรื่องเขตไหล่ทวีป แต่ลิเบียปฏิเสธคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือปัญหาอาณาเขตทางทะเลของแคนาดากับสหรัฐฯ ที่อ้างสิทธิในอ่าวเมน ซึ่งได้ข้อยุติแต่ทั้งสองประเทศไม่ยอมเสียเกาะมาเชียซิล หรือกรณีที่อื้อฉาวเมื่อนิการากัวชนะคดีสหรัฐฯ ซึ่งถูกฟ้องว่าแทรกแซงกิจการภายในของรัฐบาลนิการากัว โดยสนับสนุนกลุ่มขวาจัดคอนทรา ซึ่งต่อต้านรัฐบาลแซนดินิสต้า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและศาสนา แต่เป็นสังคมนิยมและฝักใฝ่คิวบา โดยนางจัน เคิร์กแพตทริก เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ก็ต่อต้านคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่า “มีความยุติธรรมเพียงครึ่งเดียว” ซึ่งไม่แตกต่างกับกรณีไทยต่อต้านคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
การประท้วงรัฐบาลและสำแดงเจตจำนงให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้รับรู้ว่าเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยรวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถแสดงให้เห็นว่าศาลโลกกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือซึ่งเป็นข้อมูลใหม่ให้ศาลโลกได้รับรู้การแสวงประโยชน์ทางธุรกิจที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล