ASTVผู้จัดการรายวัน-“พงษ์ศักดิ์”เผยสำรองไฟพุ่ง 1,674 เมกะวัตต์ หลังโรงงาน 127 แห่ง พร้อมใจกันหยุดผลิตและลดใช้ไฟ ส่งผลให้วันที่ 5 เม.ย. โอกาสไฟดับไม่มีแล้ว แถมโชคดีซ้ำสอง ไม่มีผลกระทบต่อค่าไฟงวดหน้าเดือนพ.ค.-ส.ค.
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือพม่าหยุดจ่ายก๊าซจากการซ่อมแท่นผลิตระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย.2556 ว่า จากการประเมินการจัดหาไฟฟ้าเพิ่มเติมจากฝ่ายผลิต และเมื่อรวมกับฝ่ายใช้ไฟฟ้าที่จะประหยัดจากภาคอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า และประชาชน ล่าสุดสำรองไฟฟ้าในวันที่ 5 เม.ย.2556 ซึ่งเดิมมีเพียง 767 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ จะขึ้นไปอยู่ที่ 1,674 เมกะวัตต์ จึงมั่นใจว่าไฟจะไม่ขาด และผลดังกล่าวยังทำให้มีโอกาสที่จะไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft ที่เดิมจะกระทบ 0.48 สตางค์ต่อหน่วยในงวดหน้า(พ.ค.-ส.ค.2556)
"เราทำสำรองได้มากเช่นนี้ด้วยการร่วมมือของทุกภาคส่วน เราคงไม่จำเป็นจะต้องไปซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียเพิ่มเติมในส่วนที่เตรียมไว้ 200 เมกะวัตต์ และการใช้ดีเซลและน้ำมันเดินเครื่องผลิตไฟแทน ก็จะลดต่ำลง ส่วนค่าไฟที่จะมีผลกระทบ ก็อาจจะไม่เกิดขึ้น จึงขอขอบคุณทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเห็นว่าการประหยัดควรจะเป็นการดำเนินงานระยะยาว”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
สำหรับสำรองที่เพิ่มขึ้นแยกเป็นดังนี้ ด้านการผลิต (Supply Side) ซื้อจากผู้ผลิตเอกชนรายเล็กหรือ SPP เพิ่ม 110 เมกะวัตต์ ด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side) การตัดไฟจากผู้ประกอบการที่ใช้อัตราแบบพร้อมงดจ่ายทันที (Interruptible Rate) 56 เมกะวัตต์ จากส.อ.ท.ที่แจ้งการประหยัดจากภาคการผลิต 408 เมกะวัตต์ จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) 83 เมกะวัตต์ รวมฟากของผู้ใช้ 547 เมกะวัตต์กับผู้ผลิต SPP 110 เมกะวัตต์เป็น567 เมกะวัตต์ เมื่อรวมกับสำรองไฟที่มีอยู่วันที่ 5 เม.ย.2556 อีก 767 เมกะวัตต์ จึงเป็น 1,424 เมกะวัตต์ แต่คาดว่าห้างสรรพสินค้าและประชาชนจะช่วยกันประหยัดได้อีก 250 เมกะวัตต์ รวมสำรองจะเป็น 1,674 เมกะวัตต์เป็นอย่างต่ำ
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า หากทุกฝ่ายร่วมมือ โดยเฉพาะการรับซื้อไฟจาก SPP ที่เพิ่ม ทำให้การใช้น้ำมันเตาและดีเซลที่จะส่งผลกระทบต่อค่าไฟในงวดหน้าอาจไม่มีเลยก็เป็นไปได้
นายจักรรัฐ เลิศโอภาส. รองผู้ว่า กนอ. กล่าวว่า มีโรงงานแจ้งร่วมปรับแผนผลิตประหยัดไฟใน19นิคมฯ รวม 65 โรงงาน ใน15จังหวัดประหยัดไฟได้ 83เมกะวัตต์
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคการผลิตจะร่วมมือกันปรับแผนการผลิต โดยส่วนใหญ่จะหยุดการผลิตและลดใช้ไฟช่วงวันที่ 5 เม.ย.2556 รวม 62 บริษัทใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ รวมการประหยัดได้ 408 เมกะวัตต์ และอาจจะยังมีเพิ่มเติมเข้ามาอีก โดยกลุ่มที่ประหยัดไฟมากสุด คือ 1.กลุ่มเหล็ก 137.14 เมกะวัตต์ 2.กลุ่มปูนซีเมนต์ 126 เมกะวัตต์ 3.ปิโตรเคมี 68 เมกะวัตต์ 4.อาหาร 20.9 เมกะวัตต์ 5.ยา 10.9 เมกะวัตต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมเหล็ก ที่ให้ความร่วมมือ เช่น บริษัท สยามยูไนเต็ดสตีล บริษัท เหล็กสยาม บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ได้แก่ เครือเอสซีจี ปูนซีเมนต์นครหลวง บมจ.ปูนซีเมนต์เอเชีย บมจ.ทีพีไอ โพลีน ภูมิใจซีเมนต์ นอกจากนี้ยังมี บมจ.ไออาร์พีซี ที่ไม่สามารถหยุดกำลังผลิต แต่ได้จ่ายไฟให้รัฐเพิ่ม 12 เมกะวัตต์ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โรงงานเภสัชกรรมแอตแลนติค เครือสยามเภสัช บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟร์เซ่น โปรดักส์ บมจ.ไออาร์พีซี บมจ.คาร์เปท อินเตอร์ฯ และบริษัท สยามไฟเบอร์กลาส เป็นต้น
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือพม่าหยุดจ่ายก๊าซจากการซ่อมแท่นผลิตระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย.2556 ว่า จากการประเมินการจัดหาไฟฟ้าเพิ่มเติมจากฝ่ายผลิต และเมื่อรวมกับฝ่ายใช้ไฟฟ้าที่จะประหยัดจากภาคอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า และประชาชน ล่าสุดสำรองไฟฟ้าในวันที่ 5 เม.ย.2556 ซึ่งเดิมมีเพียง 767 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ จะขึ้นไปอยู่ที่ 1,674 เมกะวัตต์ จึงมั่นใจว่าไฟจะไม่ขาด และผลดังกล่าวยังทำให้มีโอกาสที่จะไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft ที่เดิมจะกระทบ 0.48 สตางค์ต่อหน่วยในงวดหน้า(พ.ค.-ส.ค.2556)
"เราทำสำรองได้มากเช่นนี้ด้วยการร่วมมือของทุกภาคส่วน เราคงไม่จำเป็นจะต้องไปซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียเพิ่มเติมในส่วนที่เตรียมไว้ 200 เมกะวัตต์ และการใช้ดีเซลและน้ำมันเดินเครื่องผลิตไฟแทน ก็จะลดต่ำลง ส่วนค่าไฟที่จะมีผลกระทบ ก็อาจจะไม่เกิดขึ้น จึงขอขอบคุณทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเห็นว่าการประหยัดควรจะเป็นการดำเนินงานระยะยาว”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
สำหรับสำรองที่เพิ่มขึ้นแยกเป็นดังนี้ ด้านการผลิต (Supply Side) ซื้อจากผู้ผลิตเอกชนรายเล็กหรือ SPP เพิ่ม 110 เมกะวัตต์ ด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side) การตัดไฟจากผู้ประกอบการที่ใช้อัตราแบบพร้อมงดจ่ายทันที (Interruptible Rate) 56 เมกะวัตต์ จากส.อ.ท.ที่แจ้งการประหยัดจากภาคการผลิต 408 เมกะวัตต์ จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) 83 เมกะวัตต์ รวมฟากของผู้ใช้ 547 เมกะวัตต์กับผู้ผลิต SPP 110 เมกะวัตต์เป็น567 เมกะวัตต์ เมื่อรวมกับสำรองไฟที่มีอยู่วันที่ 5 เม.ย.2556 อีก 767 เมกะวัตต์ จึงเป็น 1,424 เมกะวัตต์ แต่คาดว่าห้างสรรพสินค้าและประชาชนจะช่วยกันประหยัดได้อีก 250 เมกะวัตต์ รวมสำรองจะเป็น 1,674 เมกะวัตต์เป็นอย่างต่ำ
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า หากทุกฝ่ายร่วมมือ โดยเฉพาะการรับซื้อไฟจาก SPP ที่เพิ่ม ทำให้การใช้น้ำมันเตาและดีเซลที่จะส่งผลกระทบต่อค่าไฟในงวดหน้าอาจไม่มีเลยก็เป็นไปได้
นายจักรรัฐ เลิศโอภาส. รองผู้ว่า กนอ. กล่าวว่า มีโรงงานแจ้งร่วมปรับแผนผลิตประหยัดไฟใน19นิคมฯ รวม 65 โรงงาน ใน15จังหวัดประหยัดไฟได้ 83เมกะวัตต์
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคการผลิตจะร่วมมือกันปรับแผนการผลิต โดยส่วนใหญ่จะหยุดการผลิตและลดใช้ไฟช่วงวันที่ 5 เม.ย.2556 รวม 62 บริษัทใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ รวมการประหยัดได้ 408 เมกะวัตต์ และอาจจะยังมีเพิ่มเติมเข้ามาอีก โดยกลุ่มที่ประหยัดไฟมากสุด คือ 1.กลุ่มเหล็ก 137.14 เมกะวัตต์ 2.กลุ่มปูนซีเมนต์ 126 เมกะวัตต์ 3.ปิโตรเคมี 68 เมกะวัตต์ 4.อาหาร 20.9 เมกะวัตต์ 5.ยา 10.9 เมกะวัตต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมเหล็ก ที่ให้ความร่วมมือ เช่น บริษัท สยามยูไนเต็ดสตีล บริษัท เหล็กสยาม บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ได้แก่ เครือเอสซีจี ปูนซีเมนต์นครหลวง บมจ.ปูนซีเมนต์เอเชีย บมจ.ทีพีไอ โพลีน ภูมิใจซีเมนต์ นอกจากนี้ยังมี บมจ.ไออาร์พีซี ที่ไม่สามารถหยุดกำลังผลิต แต่ได้จ่ายไฟให้รัฐเพิ่ม 12 เมกะวัตต์ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โรงงานเภสัชกรรมแอตแลนติค เครือสยามเภสัช บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟร์เซ่น โปรดักส์ บมจ.ไออาร์พีซี บมจ.คาร์เปท อินเตอร์ฯ และบริษัท สยามไฟเบอร์กลาส เป็นต้น