กระทรวงพลังงานเผย ปี 2556 การใช้พลังงานรวมทะลุ2ล้านบาร์เรลต่อวันหรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.4% แต่ยังเป็นอัตราที่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเหตุรัฐจะเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาโดยเฉพาะแอลพีจี ขณะที่นโยบายรถคันแรกร่วมแจมดันใช้เบนซินปีนี้พุ่ง 5% ขณะที่กฟผ.เผยค่าไฟปีนี้ทิศทางไม่หวือหวาเหมือนปีที่แล้ว
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คาดการณ์การใช้พลังงานโดยรวมของปี 2556 อยู่ที่ระดับ 2.086 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบหรือ เพิ่มขึ้น 5.4% จากปีที่ผ่านมาตามทิศทางตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีที่จะเติบโต 4.5-5.5% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่หากเทียบกับปี 2555 แล้วจะต่ำกว่าซึ่งในปี 2555 มีการเติบโตการใช้ 6.7%
ทั้งนี้สาเหตุมาจากได้คำนึงถึงแนวทางการปรับโครงสร้างราคาพลังงานในปี 2556 ที่จะส่งผลให้การใช้ลดต่ำลงโดยเฉพาะส่วนของแอลพีจี สำหรับการใช้น้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีก่อน หรืออยู่ที่ 21.9 ล้านลิตรต่อวันซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายรถยนต์คันแรกที่จะเข้าสู่ระบบประมาณ 1 ล้านคันซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์เบนซิน ส่วนดีเซลคาดว่าจะอยู่ที่ 57.4 ล้านลิตรต่อวันหรือเพิ่มขึ้น 2.6% ตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการใช้แอลพีจีปี 2556 คาดว่าจะอยู่ที่ 7.7 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.8% ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มที่ลดลงและแม้ว่ารัฐจะมีการปรับโครงสร้างราคาคาดว่าการใช้แอลพีจีครัวเรือนก็จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.4%
“แม้ว่าไม่มีรถคันแรกประชาชนก็ยังคงซื้อรถยนต์อยู่ดีแถมจะมีเครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่าที่จะสิ้นเปลืองน้ำมันกว่าขณะที่รถยนต์คันแรกเป็นรถประหยัด และการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นก็จะสะท้อนตามตัวเลขเศรษฐกิจที่เติบโตจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ รวมถึงการลงทุนรัฐและเอกชนที่เพิ่มขึ้น”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึงแนวโน้มอัตราค่าไฟในปี 2556 ว่า ค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มจะไม่ปรับขึ้นเมื่อเทียบจากปี 2555 เพราะเมื่อพิจารณาจากต้นทุนเชื้อเพลิง ที่ราคาน้ำมันคาดว่าจะทรงตัวในระดับ 110 เหรียญต่อบาเรล ก็จะส่งผลให้ราคาก๊าซที่เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม กฟผ.ยังมีภาระที่ต้องเข้าไปอุดหนุนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ให้กับประชาชนดังนั้นจะต้องเจรจากับกระทรวงเพื่อขอลดภาระดังกล่าวเนื่องจากในปี 2556-2557 กฟผ.มีแผนที่ต้องลงทุนอีกกว่า 1.1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กฟผ.มองว่า ในปี 2556 ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อความมั่นคงการจัดหาไฟฟ้า เฉพาะการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศพม่า ที่คิดเป็นกว่า 30% ของการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลน ซึ่งทางออกหนึ่งคือขึ้นอยู่กับกระทรวงว่าจะปรับปรุงแผนการจัดหาไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี) ว่าจะมีการปรับปรุงในส่วนอัตราการการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ที่ 15% ของปริมาณการใช้ไฟโดยรวม
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คาดการณ์การใช้พลังงานโดยรวมของปี 2556 อยู่ที่ระดับ 2.086 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบหรือ เพิ่มขึ้น 5.4% จากปีที่ผ่านมาตามทิศทางตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีที่จะเติบโต 4.5-5.5% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่หากเทียบกับปี 2555 แล้วจะต่ำกว่าซึ่งในปี 2555 มีการเติบโตการใช้ 6.7%
ทั้งนี้สาเหตุมาจากได้คำนึงถึงแนวทางการปรับโครงสร้างราคาพลังงานในปี 2556 ที่จะส่งผลให้การใช้ลดต่ำลงโดยเฉพาะส่วนของแอลพีจี สำหรับการใช้น้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีก่อน หรืออยู่ที่ 21.9 ล้านลิตรต่อวันซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายรถยนต์คันแรกที่จะเข้าสู่ระบบประมาณ 1 ล้านคันซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์เบนซิน ส่วนดีเซลคาดว่าจะอยู่ที่ 57.4 ล้านลิตรต่อวันหรือเพิ่มขึ้น 2.6% ตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการใช้แอลพีจีปี 2556 คาดว่าจะอยู่ที่ 7.7 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.8% ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มที่ลดลงและแม้ว่ารัฐจะมีการปรับโครงสร้างราคาคาดว่าการใช้แอลพีจีครัวเรือนก็จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.4%
“แม้ว่าไม่มีรถคันแรกประชาชนก็ยังคงซื้อรถยนต์อยู่ดีแถมจะมีเครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่าที่จะสิ้นเปลืองน้ำมันกว่าขณะที่รถยนต์คันแรกเป็นรถประหยัด และการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นก็จะสะท้อนตามตัวเลขเศรษฐกิจที่เติบโตจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ รวมถึงการลงทุนรัฐและเอกชนที่เพิ่มขึ้น”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึงแนวโน้มอัตราค่าไฟในปี 2556 ว่า ค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มจะไม่ปรับขึ้นเมื่อเทียบจากปี 2555 เพราะเมื่อพิจารณาจากต้นทุนเชื้อเพลิง ที่ราคาน้ำมันคาดว่าจะทรงตัวในระดับ 110 เหรียญต่อบาเรล ก็จะส่งผลให้ราคาก๊าซที่เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม กฟผ.ยังมีภาระที่ต้องเข้าไปอุดหนุนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ให้กับประชาชนดังนั้นจะต้องเจรจากับกระทรวงเพื่อขอลดภาระดังกล่าวเนื่องจากในปี 2556-2557 กฟผ.มีแผนที่ต้องลงทุนอีกกว่า 1.1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กฟผ.มองว่า ในปี 2556 ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อความมั่นคงการจัดหาไฟฟ้า เฉพาะการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศพม่า ที่คิดเป็นกว่า 30% ของการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลน ซึ่งทางออกหนึ่งคือขึ้นอยู่กับกระทรวงว่าจะปรับปรุงแผนการจัดหาไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี) ว่าจะมีการปรับปรุงในส่วนอัตราการการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ที่ 15% ของปริมาณการใช้ไฟโดยรวม