ASTVผู้จัดการรายวัน- ส.อ.ท.ตบเท้าหารือ”พงษ์ศักดิ์” ลดวิกฤตไฟฟ้า ทำหนังสือให้สมาชิก 42 กลุ่มหยุดโรงงานวันที่ 5 เม.ย. ด้าน”อลงกรณ์” จับตา รบ. ประกาศภาวะฉุกเฉินพลังงาน หวั่นสร้างกระแสขึ้นค่าพลังงาน ส่วน”ปิยสวัสดิ์" อัด "พงษ์ศักดิ์" ชี้ก.พลังงานรู้ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีก่อน
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการหารือร่วมกับตัวแทนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เมื่อวันที่ 21 ก.พ.ถึงกรณีก๊าซพม่าหยุดจ่ายช่วง 5-13 เม.ย.56 ซึ่งจะทำให้ก๊าซฯหายจากระบบ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า 4,100 เมกะวัตต์ ว่า จากการหารือกับเอกชนได้แจ้งให้เอกชนทราบว่า วันที่ 5 เม.ย. 56 จะเป็นวันที่มีความเสี่ยงมากสุดเพราะกำลังสำรองพร้อมจ่ายเหลือต่ำสุดเพียง 600 เมกะวัตต์อาจทำให้กระแสไฟตกได้ในบางพื้นที่ในเขตกทม.และภาคใต้ ซึ่งเอกชนพร้อมลดกำลังการผลิตหรือหยุดการผลิตลงทั้งหมดในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ดำเนินการได้
“ โดยเบื้องต้นเห็นด้วยที่จะหยุดการผลิตในวันที่ 5 เม.ย.แล้วสลับไปทำงานในวันที่ 7 เม.ย. หรือไปชดเชยวันอื่นๆ แทน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยได้มากเพราะภาคอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มที่ใช้ไฟสูงสุดคิดเป็น 46% ของการใช้ไฟรวมหรือมีการใช้เฉลี่ย 67,800 ล้านหน่วยต่อปี สำหรับภาคอื่นๆ ก็ต้องการขอความร่วมมือที่จะช่วยกันประหยัดพลังงาน”
ลังจากนี้ส.อ.ท.จะทำหนังสือเวียนไปยังสมาชิกส.อ.ท. 42 กลุ่มเพื่อขอความร่วมมือในการพิจารณาหยุดงานหรือปิดโรงงานในวันที่ 5 เม.ย.แล้วสลับไปทำงานในวันอื่นๆ เช่น 7 เม.ย. หรือ 11-12 -16 เม.ย.แทน คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์จะทราบถึงการดำเนินงานแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมที่ชัดเจน
***ขู่ 5 เม.ย. ไทยมีไฟฟ้าสำรอง2%
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในวันที่ 5 เม.ย.นี้ถือเป็นวันที่ร้อนที่สุด ซึ่งในวันดังกล่าวประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศเพียง 750 เมกกะวัตต์ หรือร้อยละ 2 ของกำลังสำรองไฟฟ้า จากปกติกำลังไฟฟ้าสำรองของประเทศจะอยู่ที่ร้อยละ 15 ซึ่งหากเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้นจะมีผลให้กำลังสำรองไฟฟ้าไม่เพียงพอ
โดยการประหยัดพลังจะเริ่มจากการปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในห้อง จาก 23-24 องศาเซลเซียส เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส จะช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างน้อยร้อยละ 10 การปิดไฟฟ้าดวงที่ไม่ได้ใช้งาน ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงพักกลางวัน จะช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างน้อยร้อยละ 5 ของการใช้ไฟฟ้่า
**”อลงกรณ์” หวั่นหมกเม็ดขึ้นราคา
นายอลงกรณ์ พลบุตร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กระทู้ถามสด เรื่องปัญหาวิกฤตไฟฟ้า ต่อประเด็นการเตรียมประกาศภาวะฉุกเฉิน ว่า การเตรียมประกาศภาวะฉุกเฉิน พลังงาน สร้างความกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ เพราะไม่เคยเกิดเรื่องแบบนี้มาก่อน หรือจะเป็นการสร้างกระแสเหตุผลขึ้นค่าไฟ ขึ้นค่าแก๊สหรือเจรจาต่อรองอะไรหรือไม่ เพราะการปิดซ่อมของบริษัท โททาล มีการแจ้งล่วงหน้าตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทำไมไม่เจรจาแต่ต้น
"แม้รัฐบาลจะเจรจาขยับเลื่อนวันซ่อมจากวันที่ 4 เม.ย. ไปเป็นวันที่ 5 เม.ย. ขยับไปอีก 1 วันครึ่ง แต่ก็เพิ่มจาก 8 วันเป็น 8 วันครึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีการเตรียมความพร้อม ทำให้คนรู้สึกว่าไทยบริหารจัดการด้านพลังงานล้มเหลว ใครจะ คิดลงทุนค้าขาย และการใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ามากถึง 70 % ถือเป็นความเสี่ยงในการแก้ปัญหา ซึ่งในระยะกลางหรือระยะยาวคือการต้องลดการผลิตจากการใช้ก๊าซลงมา แต่รมต.กำลังเปิดประมูลโรงไฟฟ้าใหม่ 5,400 เมกะวัตต์กลางปีนี้ โดยกำหนดเสป็คว่าต้องใช้ก๊าซธรรมชาติเท่านั้น ทั้งที่ก๊าซเป็นความเสี่ยงของประเทศ นี่เป็นการแก้ปัญหาหรือการสร้างปัญหาให้ประเทศในอนาคต"
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ทำไมรัฐบาลไม่ให้น้ำหนัก กับทิศทางพลังงานทดแทนอื่น ๆทั้ง แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ทำไมไทยไม่สนับสนุนพลังงานทางเลือกหรือจะเป็น อย่างอดีต รมว.พลังงาน บอกว่าการทำเรื่องนี้ มีสองด่านสำคัญ คือ กระทรวงพลังงาน และ อุตสาหกรรม อีกทั้ง ในวงการโซล่าเซลยังมีคนออกมาเร่ขายโครงการ หาก ใครต้องการตั้งโรงงานพลังงานแสดงอาทิตย์ในไทย จะต้องจ่ายเมกะวัตต์ละ 12-15 ล้านบาท
***”พงษ์ศักดิ์”แจงเลื่อนวันครึ่ง
ด้านนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รมว.พลังงาน กล่าวว่า ปัญาหาเกิดจากซ่อมแซมแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งยานาดา จนไม่สามารถส่งก๊าซมาเมืองไทยได้ 1,100 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน จนกระทบต่อโรงไฟฟ้า 6 โรง ทำให้กำลังผลิต 6,400 เมกวัตต์หายไป ซึ่งแหล่งยานาดาเป็นพื้นที่อ่อนจะทรุดตัว 30 ซม. ทุกปี บริษัทโททาล ซึ่งได้รับสัมปทานระบุว่าจะซ่อมจึงย้ายแท่นขุดเจาะโดยใช้เวลา 8 วัน คือวันที่ 4-12 เม.ย. แต่ต่อมาเจรจาขยับเป็นวันที่ 5 เม.ย. เพราะการใช้ไฟ ในวันที่ 4 เม.ย. สูงถึง 26,500 เมกะวัตต์ จะเหลือไฟสำรองเพียงแค่ 500 เมกะวัต ต่ำกว่าจุดสูงสุดที่รับได้คือ 700 เมกะวัตต์ และถือเป็นอันตราย
ดังนั้นจึงได้เจรจา เลื่อนการซ่อมไป 1 สัปดาห์ คือไปช่วงเทศกาลสงกรานต์ 10-12 เม.ย. ซึ่งปริมาณการใช้ไฟเหลือแค่ 1.1 หมื่นเมกะวัตต์ เท่านั้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็ไม่ต้องประกาศเรียกร้องให้คนประหยัดไฟ ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน แต่ ทางเทคนิคแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยง หากเลื่อนไปช่วงดังกล่าวแล้วเกิดปัญหาอาจทำให้ต้องปิดซ่อมนานนับเดือน จึงยอมให้เลื่อนไปแค่วันครึ่ง คือวันที่ 5 เม.ย. ซึ่ง ยอมรับได้ เพราะการใช้ไฟลดลงเหลือ 26,300 เมกะวัตต์ ไฟสำรองจะเหลือ 700 เมกะวัตต์ ดังนั้นจึงขอร้องให้ประหยัดพลังงานโดยให้รัฐบาลเป็นตัวนำและจะทำต่อเนื่องไม่ใช่ชั่วครว ซึ่งจะอันตรายแค่วันที่ 5 เม.ย. วันเดียว หลังจากเปิดทำการหลังวันหยุดยาวในช่วงวันที่9-11 เม.ย. ประเมินว่าการใช้ไฟจะอยู่ที่ 25,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีไฟสำรองเกินกว่าระดับที่ปลอดภัย
**"ปิยสวัสดิ์" แฉรัฐบาลหมกเม็ด
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ อดีตรมว.พลังงาน กล่าวในรายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยเเลนด์ ทางสปริงนิวส์กรณีที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ระบุว่า ต้นเดือนเม.ย.จะเกิดวิกฤตไฟฟ้าเพราะพม่าจะหยุดซ่อมท่อส่งก๊าซชั่วคราวในช่วงเวลานั้นว่า เหตุการณ์นี้รู้มานานว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวอยู่ในเเผนซ่อมที่รู้ล่วงหน้ามานานเเละเรกกูเรเตอร์ก็รู้เรื่องนี้ล่วงหน้าในเอกสารเดือนธ.ค.2555 เเละเก็บค่าเอฟทีล่วงหน้าในเดือนม.ค.ปีนี้เเล้ว ตนไม่เข้าใจว่า ทำไมเพิ่งมาพูดเรื่องนี้ในตอนนี้เเละทำให้ทุกคนตกใจกัน
“ตอนนี้พลังงานหมุนเวียนใช้เเก๊สร้อยละ 70 ในการผลิตไฟฟ้า เเละภาพรวมพลังงานทั้งประเทศนั้นร้อยละ 45 เป็นพลังงานเเก๊สที่มีการใช้มากกว่าพลังงานน้ำมันที่ใช้ร้อยละ 35 ขอเรียนว่าพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ผลิตไฟฟ้าของไทยนั้นเคยดำเนินการได้การตั้งเเต่ 5 ปีที่เเล้ว เเต่ตอนนี้มีการสร้างอุปสรรคขึ้นมาเเม้ว่าจะมีผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรวม 2000 เมกะวัตต์ เเต่ 1 ปีครึ่งของรัฐบาลนี้หากไม่มีการตั้งด่านสกัดในการออกใบอนุญาตการผลิตเเละซื้อขายไฟฟ้าจะเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก 1000 เมกะวัตต์ เเละตอนนี้มีการตั้งโควตาเเละมีกรรมการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนเเละกรรมการการขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน ตรงนี้เป็นด่านสำคัญที่ทำให้โครงการต่างๆล่าช้าเเละวิกฤตนี้เกิดจากการบริหารจัดการของภาครัฐ
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการหารือร่วมกับตัวแทนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เมื่อวันที่ 21 ก.พ.ถึงกรณีก๊าซพม่าหยุดจ่ายช่วง 5-13 เม.ย.56 ซึ่งจะทำให้ก๊าซฯหายจากระบบ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า 4,100 เมกะวัตต์ ว่า จากการหารือกับเอกชนได้แจ้งให้เอกชนทราบว่า วันที่ 5 เม.ย. 56 จะเป็นวันที่มีความเสี่ยงมากสุดเพราะกำลังสำรองพร้อมจ่ายเหลือต่ำสุดเพียง 600 เมกะวัตต์อาจทำให้กระแสไฟตกได้ในบางพื้นที่ในเขตกทม.และภาคใต้ ซึ่งเอกชนพร้อมลดกำลังการผลิตหรือหยุดการผลิตลงทั้งหมดในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ดำเนินการได้
“ โดยเบื้องต้นเห็นด้วยที่จะหยุดการผลิตในวันที่ 5 เม.ย.แล้วสลับไปทำงานในวันที่ 7 เม.ย. หรือไปชดเชยวันอื่นๆ แทน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยได้มากเพราะภาคอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มที่ใช้ไฟสูงสุดคิดเป็น 46% ของการใช้ไฟรวมหรือมีการใช้เฉลี่ย 67,800 ล้านหน่วยต่อปี สำหรับภาคอื่นๆ ก็ต้องการขอความร่วมมือที่จะช่วยกันประหยัดพลังงาน”
ลังจากนี้ส.อ.ท.จะทำหนังสือเวียนไปยังสมาชิกส.อ.ท. 42 กลุ่มเพื่อขอความร่วมมือในการพิจารณาหยุดงานหรือปิดโรงงานในวันที่ 5 เม.ย.แล้วสลับไปทำงานในวันอื่นๆ เช่น 7 เม.ย. หรือ 11-12 -16 เม.ย.แทน คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์จะทราบถึงการดำเนินงานแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมที่ชัดเจน
***ขู่ 5 เม.ย. ไทยมีไฟฟ้าสำรอง2%
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในวันที่ 5 เม.ย.นี้ถือเป็นวันที่ร้อนที่สุด ซึ่งในวันดังกล่าวประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศเพียง 750 เมกกะวัตต์ หรือร้อยละ 2 ของกำลังสำรองไฟฟ้า จากปกติกำลังไฟฟ้าสำรองของประเทศจะอยู่ที่ร้อยละ 15 ซึ่งหากเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้นจะมีผลให้กำลังสำรองไฟฟ้าไม่เพียงพอ
โดยการประหยัดพลังจะเริ่มจากการปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในห้อง จาก 23-24 องศาเซลเซียส เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส จะช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างน้อยร้อยละ 10 การปิดไฟฟ้าดวงที่ไม่ได้ใช้งาน ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงพักกลางวัน จะช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างน้อยร้อยละ 5 ของการใช้ไฟฟ้่า
**”อลงกรณ์” หวั่นหมกเม็ดขึ้นราคา
นายอลงกรณ์ พลบุตร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กระทู้ถามสด เรื่องปัญหาวิกฤตไฟฟ้า ต่อประเด็นการเตรียมประกาศภาวะฉุกเฉิน ว่า การเตรียมประกาศภาวะฉุกเฉิน พลังงาน สร้างความกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ เพราะไม่เคยเกิดเรื่องแบบนี้มาก่อน หรือจะเป็นการสร้างกระแสเหตุผลขึ้นค่าไฟ ขึ้นค่าแก๊สหรือเจรจาต่อรองอะไรหรือไม่ เพราะการปิดซ่อมของบริษัท โททาล มีการแจ้งล่วงหน้าตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทำไมไม่เจรจาแต่ต้น
"แม้รัฐบาลจะเจรจาขยับเลื่อนวันซ่อมจากวันที่ 4 เม.ย. ไปเป็นวันที่ 5 เม.ย. ขยับไปอีก 1 วันครึ่ง แต่ก็เพิ่มจาก 8 วันเป็น 8 วันครึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีการเตรียมความพร้อม ทำให้คนรู้สึกว่าไทยบริหารจัดการด้านพลังงานล้มเหลว ใครจะ คิดลงทุนค้าขาย และการใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ามากถึง 70 % ถือเป็นความเสี่ยงในการแก้ปัญหา ซึ่งในระยะกลางหรือระยะยาวคือการต้องลดการผลิตจากการใช้ก๊าซลงมา แต่รมต.กำลังเปิดประมูลโรงไฟฟ้าใหม่ 5,400 เมกะวัตต์กลางปีนี้ โดยกำหนดเสป็คว่าต้องใช้ก๊าซธรรมชาติเท่านั้น ทั้งที่ก๊าซเป็นความเสี่ยงของประเทศ นี่เป็นการแก้ปัญหาหรือการสร้างปัญหาให้ประเทศในอนาคต"
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ทำไมรัฐบาลไม่ให้น้ำหนัก กับทิศทางพลังงานทดแทนอื่น ๆทั้ง แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ทำไมไทยไม่สนับสนุนพลังงานทางเลือกหรือจะเป็น อย่างอดีต รมว.พลังงาน บอกว่าการทำเรื่องนี้ มีสองด่านสำคัญ คือ กระทรวงพลังงาน และ อุตสาหกรรม อีกทั้ง ในวงการโซล่าเซลยังมีคนออกมาเร่ขายโครงการ หาก ใครต้องการตั้งโรงงานพลังงานแสดงอาทิตย์ในไทย จะต้องจ่ายเมกะวัตต์ละ 12-15 ล้านบาท
***”พงษ์ศักดิ์”แจงเลื่อนวันครึ่ง
ด้านนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รมว.พลังงาน กล่าวว่า ปัญาหาเกิดจากซ่อมแซมแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งยานาดา จนไม่สามารถส่งก๊าซมาเมืองไทยได้ 1,100 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน จนกระทบต่อโรงไฟฟ้า 6 โรง ทำให้กำลังผลิต 6,400 เมกวัตต์หายไป ซึ่งแหล่งยานาดาเป็นพื้นที่อ่อนจะทรุดตัว 30 ซม. ทุกปี บริษัทโททาล ซึ่งได้รับสัมปทานระบุว่าจะซ่อมจึงย้ายแท่นขุดเจาะโดยใช้เวลา 8 วัน คือวันที่ 4-12 เม.ย. แต่ต่อมาเจรจาขยับเป็นวันที่ 5 เม.ย. เพราะการใช้ไฟ ในวันที่ 4 เม.ย. สูงถึง 26,500 เมกะวัตต์ จะเหลือไฟสำรองเพียงแค่ 500 เมกะวัต ต่ำกว่าจุดสูงสุดที่รับได้คือ 700 เมกะวัตต์ และถือเป็นอันตราย
ดังนั้นจึงได้เจรจา เลื่อนการซ่อมไป 1 สัปดาห์ คือไปช่วงเทศกาลสงกรานต์ 10-12 เม.ย. ซึ่งปริมาณการใช้ไฟเหลือแค่ 1.1 หมื่นเมกะวัตต์ เท่านั้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็ไม่ต้องประกาศเรียกร้องให้คนประหยัดไฟ ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน แต่ ทางเทคนิคแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยง หากเลื่อนไปช่วงดังกล่าวแล้วเกิดปัญหาอาจทำให้ต้องปิดซ่อมนานนับเดือน จึงยอมให้เลื่อนไปแค่วันครึ่ง คือวันที่ 5 เม.ย. ซึ่ง ยอมรับได้ เพราะการใช้ไฟลดลงเหลือ 26,300 เมกะวัตต์ ไฟสำรองจะเหลือ 700 เมกะวัตต์ ดังนั้นจึงขอร้องให้ประหยัดพลังงานโดยให้รัฐบาลเป็นตัวนำและจะทำต่อเนื่องไม่ใช่ชั่วครว ซึ่งจะอันตรายแค่วันที่ 5 เม.ย. วันเดียว หลังจากเปิดทำการหลังวันหยุดยาวในช่วงวันที่9-11 เม.ย. ประเมินว่าการใช้ไฟจะอยู่ที่ 25,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีไฟสำรองเกินกว่าระดับที่ปลอดภัย
**"ปิยสวัสดิ์" แฉรัฐบาลหมกเม็ด
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ อดีตรมว.พลังงาน กล่าวในรายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยเเลนด์ ทางสปริงนิวส์กรณีที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ระบุว่า ต้นเดือนเม.ย.จะเกิดวิกฤตไฟฟ้าเพราะพม่าจะหยุดซ่อมท่อส่งก๊าซชั่วคราวในช่วงเวลานั้นว่า เหตุการณ์นี้รู้มานานว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวอยู่ในเเผนซ่อมที่รู้ล่วงหน้ามานานเเละเรกกูเรเตอร์ก็รู้เรื่องนี้ล่วงหน้าในเอกสารเดือนธ.ค.2555 เเละเก็บค่าเอฟทีล่วงหน้าในเดือนม.ค.ปีนี้เเล้ว ตนไม่เข้าใจว่า ทำไมเพิ่งมาพูดเรื่องนี้ในตอนนี้เเละทำให้ทุกคนตกใจกัน
“ตอนนี้พลังงานหมุนเวียนใช้เเก๊สร้อยละ 70 ในการผลิตไฟฟ้า เเละภาพรวมพลังงานทั้งประเทศนั้นร้อยละ 45 เป็นพลังงานเเก๊สที่มีการใช้มากกว่าพลังงานน้ำมันที่ใช้ร้อยละ 35 ขอเรียนว่าพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ผลิตไฟฟ้าของไทยนั้นเคยดำเนินการได้การตั้งเเต่ 5 ปีที่เเล้ว เเต่ตอนนี้มีการสร้างอุปสรรคขึ้นมาเเม้ว่าจะมีผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรวม 2000 เมกะวัตต์ เเต่ 1 ปีครึ่งของรัฐบาลนี้หากไม่มีการตั้งด่านสกัดในการออกใบอนุญาตการผลิตเเละซื้อขายไฟฟ้าจะเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก 1000 เมกะวัตต์ เเละตอนนี้มีการตั้งโควตาเเละมีกรรมการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนเเละกรรมการการขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน ตรงนี้เป็นด่านสำคัญที่ทำให้โครงการต่างๆล่าช้าเเละวิกฤตนี้เกิดจากการบริหารจัดการของภาครัฐ