ปตท.สผ.สนใจซื้อหุ้นเพิ่มในแหล่งโรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วัน ที่โมซัมบิก จากเดิมถือหุ้นอยู่ 8.5% หลังพาร์ทเนอร์ 2 รายจ่อขายหุ้น 20% หากราคาเหมาะสม ยันบริษัทฯมีสามารถกู้เงินได้ 3พันล้านเหรียญ
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(PTTEP) เปิดเผยว่า บริษัทฯพิจารณาโอกาสที่จะเข้าไปเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการโมซัมบิก โรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วัน จากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่ 8.5% หลังจากพาร์ทเนอร์ 2 ราย คือ Anadarko และ Videocon ประสงค์ขายหุ้นที่ถืออยู่ฝ่ายละ 10% ให้กับผู้ที่สนใจ
โดยเสนอขายหุ้นในราคาที่ไม่น้อยกว่าราคาที่ปตท.สผ.เคยซื้อหุ้นจาก Cove Energy ที่หุ้นละ 240 เพนซ์ โดยมีบริษัทพลังงานขนาดใหญ่ให้ความสนใจ
บริษัทฯมีสิทธิในการเข้าซื้อหุ้นก่อน (Pre-Emptive Right) เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ ซึ่งบริษัทฯจะตัดสินใจซื้อหุ้นเพิ่ม ต่อเมื่อราคาซื้อขายหุ้นเป็นสำคัญ โดยยอมรับว่าสัดส่วนหุ้นที่เสนอขาย 20%นั้นสูงเกินกว่าที่ปตท .สผ.จะซื้อทั้งหมดได้ และหากราคาซื้อขายหุ้นสูงเกินไป บริษัทฯก็ตัดสินใจไม่ซื้อได้
ทั้งนี้ บริษัทฯมีความสามารถในการกู้เพิ่มเติมได้อีก 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หากพบว่ามีโครงการปิโตรเลียมที่ดีก็พร้อมที่จะเข้าไปลงทุน แต่ยังคงนโยบายที่จะไม่เพิ่มทุนจดทะเบียนใน 3ปีข้างหน้า หลังจากได้บริษัทฯได้เพิ่มทุนเมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อนำเงินไปชำระคืนหนี้เงินกู้ที่ใช้ซื้อ Cove Energy ทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนลดลงเหลือ 0.35 เท่า
ในปีที่ผ่านมา ปตท.สผ.ซื้อหุ้น Cove Energy ที่ระดับราคา 240 เพนซ์ต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดย Cove Energy มีสินทรัพย์หลักคือ การถือครองสัดส่วนร้อยละ 8.5 ในแปลงสัมปทานโรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วัน ที่สาธารณรัฐโมซัมบิก โดยแปลงสัมปทานดังกล่าวเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ (World Class Gas Discovery)ที่จะพัฒนาเป็นก๊าซแอลเอ็นจี และยังถือหุ้นอีกร้อยละ 10-25ในแปลงสัมปทานน้ำลึก 7 แปลงในเคนยาด้วย
ทั้งนี้แหล่งก๊าซฯในโรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วันมีแผนจะพัฒนาและสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)บนบก แล้วส่งออกมาจำหน่ายในต่างประเทศ โดยเฟสแรกจะส่งออกแอลเอ็นจีปริมาณ 10 ล้านตันในปี 2561
นอกจากนี้ บริษัทฯยังศึกษาโอกาสที่จะเข้าไปลงทุนโครงการเชลล์แก๊สและเชลล์ออยล์ในต่างประเทศด้วย ซึ่งพิจารณาอยู่หลายแหล่ง คาดว่ามีความชัดเจนในปีนี้
นายเทวินทร์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าปริมาณการขายที่ระดับ 3.1 แสนบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการเติบโตประมาณ 13% เมื่อเทียบจากปีก่อนที่มีปริมาณการขายระดับ 2.76 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยปีนี้มีปริมาณปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นจากแหล่งมอนทารา ออสเตรเลียที่คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ในปลายมี.ค.นี้ และตั้งเป้าการผลิตแหล่งสิริกิติ์ (เอส1) ในระดับเกิน 3 หมื่นบาร์เรล/วัน
สำหรับแผนการลงทุน5ปีข้างหน้านี้ (2556-2560) จะใช้เงินทุนประมาณ 24,671 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปีนี้ลงทุน 5,809 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้รักษาระดับการผลิตโครงการต่างๆในอ่าวไทย และใช้ในการเพิ่มปริมาณการผลิตจากแหล่งปิโตรเลียมใหม่
ทั้งนี้ ธนาคารญี่ปุ่นในฐานะเจ้าหนี้ปตท.สผ.ยอมยืดหนี้จำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐออกไป 2ปี โดยจะชำระคืนหนี้ในปี 2560 แทน ทำให้การชำระคืนหนี้ไม่กระจุกตัวอยู่ในปีใดปีหนึ่งมากเกินไป
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(PTTEP) เปิดเผยว่า บริษัทฯพิจารณาโอกาสที่จะเข้าไปเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการโมซัมบิก โรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วัน จากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่ 8.5% หลังจากพาร์ทเนอร์ 2 ราย คือ Anadarko และ Videocon ประสงค์ขายหุ้นที่ถืออยู่ฝ่ายละ 10% ให้กับผู้ที่สนใจ
โดยเสนอขายหุ้นในราคาที่ไม่น้อยกว่าราคาที่ปตท.สผ.เคยซื้อหุ้นจาก Cove Energy ที่หุ้นละ 240 เพนซ์ โดยมีบริษัทพลังงานขนาดใหญ่ให้ความสนใจ
บริษัทฯมีสิทธิในการเข้าซื้อหุ้นก่อน (Pre-Emptive Right) เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ ซึ่งบริษัทฯจะตัดสินใจซื้อหุ้นเพิ่ม ต่อเมื่อราคาซื้อขายหุ้นเป็นสำคัญ โดยยอมรับว่าสัดส่วนหุ้นที่เสนอขาย 20%นั้นสูงเกินกว่าที่ปตท .สผ.จะซื้อทั้งหมดได้ และหากราคาซื้อขายหุ้นสูงเกินไป บริษัทฯก็ตัดสินใจไม่ซื้อได้
ทั้งนี้ บริษัทฯมีความสามารถในการกู้เพิ่มเติมได้อีก 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หากพบว่ามีโครงการปิโตรเลียมที่ดีก็พร้อมที่จะเข้าไปลงทุน แต่ยังคงนโยบายที่จะไม่เพิ่มทุนจดทะเบียนใน 3ปีข้างหน้า หลังจากได้บริษัทฯได้เพิ่มทุนเมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อนำเงินไปชำระคืนหนี้เงินกู้ที่ใช้ซื้อ Cove Energy ทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนลดลงเหลือ 0.35 เท่า
ในปีที่ผ่านมา ปตท.สผ.ซื้อหุ้น Cove Energy ที่ระดับราคา 240 เพนซ์ต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดย Cove Energy มีสินทรัพย์หลักคือ การถือครองสัดส่วนร้อยละ 8.5 ในแปลงสัมปทานโรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วัน ที่สาธารณรัฐโมซัมบิก โดยแปลงสัมปทานดังกล่าวเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ (World Class Gas Discovery)ที่จะพัฒนาเป็นก๊าซแอลเอ็นจี และยังถือหุ้นอีกร้อยละ 10-25ในแปลงสัมปทานน้ำลึก 7 แปลงในเคนยาด้วย
ทั้งนี้แหล่งก๊าซฯในโรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วันมีแผนจะพัฒนาและสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)บนบก แล้วส่งออกมาจำหน่ายในต่างประเทศ โดยเฟสแรกจะส่งออกแอลเอ็นจีปริมาณ 10 ล้านตันในปี 2561
นอกจากนี้ บริษัทฯยังศึกษาโอกาสที่จะเข้าไปลงทุนโครงการเชลล์แก๊สและเชลล์ออยล์ในต่างประเทศด้วย ซึ่งพิจารณาอยู่หลายแหล่ง คาดว่ามีความชัดเจนในปีนี้
นายเทวินทร์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าปริมาณการขายที่ระดับ 3.1 แสนบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการเติบโตประมาณ 13% เมื่อเทียบจากปีก่อนที่มีปริมาณการขายระดับ 2.76 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยปีนี้มีปริมาณปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นจากแหล่งมอนทารา ออสเตรเลียที่คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ในปลายมี.ค.นี้ และตั้งเป้าการผลิตแหล่งสิริกิติ์ (เอส1) ในระดับเกิน 3 หมื่นบาร์เรล/วัน
สำหรับแผนการลงทุน5ปีข้างหน้านี้ (2556-2560) จะใช้เงินทุนประมาณ 24,671 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปีนี้ลงทุน 5,809 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้รักษาระดับการผลิตโครงการต่างๆในอ่าวไทย และใช้ในการเพิ่มปริมาณการผลิตจากแหล่งปิโตรเลียมใหม่
ทั้งนี้ ธนาคารญี่ปุ่นในฐานะเจ้าหนี้ปตท.สผ.ยอมยืดหนี้จำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐออกไป 2ปี โดยจะชำระคืนหนี้ในปี 2560 แทน ทำให้การชำระคืนหนี้ไม่กระจุกตัวอยู่ในปีใดปีหนึ่งมากเกินไป