การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครใกล้ถึงโค้งสุดท้ายแล้ว จึงถือว่าช่วงเวลานี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะแม้ผลโพลบางสำนักในวันนี้ก็ยังมีค่ายมีสีและมีผลประโยชน์กับรัฐบาล ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ แต่ในเวลานี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์มีแนวโน้มที่จะได้คะแนนในการเลือกตั้งครั้งนี้น้อยลงกว่าเดิมเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว
สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ได้มีมติในการสนับสนุนหรือคัดค้านใคร เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเห็นว่าการปฏิรูปทางการเมืองและการปฏิรูปประเทศไทยมีความสำคัญเสียยิ่งกว่าการมาให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุผลนี้จึงปล่อยให้ประชาชน “ฟรีโหวต”
นั่นคือเหตุผลที่ ประพันธ์ คูณมี ต้องลาออกจากตำแหน่งแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรุ่นที่ 2 และต้องงดจัดรายการใน ASTV เพราะตัดสินใจเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งให้กับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้สมัครหมายเลข 11
ส่วนแกนนำคนอื่นๆ ผู้เคยขึ้นเวทีปราศรัย หรือพิธีกรใน ASTV ก็อาจจะสนับสนุนหรือมีการแสดงออกในความเห็นที่หลากหลายตามสิทธิเสรีภาพของแต่ละบุคคลได้ และถือว่าไม่ได้เกี่ยวกับมติของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแต่ประการใด
ความจริงที่ผ่านมาในตอนแรก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีคะแนนนำผู้สมัครคนอื่นๆ อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะกลยุทธ์การหาเสียง ก็เน้นนโยบาย สิ่งที่ทำ และสิ่งที่จะทำต่อไปตามปกติของผู้สมัครที่ต้องการรักษาแชมป์ แต่ดูเหมือนว่าช่วงหลังๆ คะแนนนิยมของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะลดลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ อันมาจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้
ประการแรก พรรคประชาธิปัตย์ถูกผลกระทบอย่างหนักจากการเมืองระดับชาติ ทั้งเรื่องปัญหาการถูกกล่าวหาเรื่องการทุจริต ไปจนถึงเรื่องการกลับมาของ “น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์” จากคุกกัมพูชาที่ตอกย้ำรอยแผลแห่งความผิดพลาดอันใหญ่หลวงของพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยที่ยังมีอำนาจ
ประการที่สอง “กองเชียร์” พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะในกลุ่มโซเชียล เน็ตเวิร์ค มีพฤติกรรมทำให้คนไม่อยากเลือกประชาธิปัตย์เพิ่มมากขึ้น
ประการที่สาม กลุ่มผู้สมัครอิสระอื่นๆ เริ่มหาจุดแข็งของตัวเองได้มากขึ้น หลังจากเกิดปรากฏการณ์ 2 ประการแรก
ที่น่าสนใจคือเมื่อคะแนนมีความก้ำกึ่งสูสี (ตามที่โพลจัดให้มา) ก็ดูเหมือนว่า “กองเชียร์” โซเชียล เน็ตเวิร์ค ของพรรคประชาธิปัตย์มีความร้อนรนมากขึ้น และเริ่มหาคะแนนด้วยการ ด่าทอ ใส่ร้าย ข่มขู่ ดูถูกเหยียดยามคนที่เห็นต่างจากตัวเอง จนหลงลืมไปว่าวิธีการตลาดแบบนี้ไม่มีทางที่คะแนนเพิ่มขึ้นได้ มีแต่คะแนนที่จะลดลงหดหายไปเรื่อยๆ
ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่ทฤษฎี “Butterfly Effect” หรือผีเสื้อรวมกันกระพือปีกแล้วจะเกิดพายุตามมา
แต่ปรากฏการณ์นี้น่าจะเรียกว่า Cockroaches Effect หรือ “แมลงสาบกระพือปีก สะท้านทั้งกรุงเทพฯ” ที่สร้างกระแสติดลบของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ลงเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ไม่ได้ทำอะไรเลย!!!
ที่เรียกว่าปรากฏการณ์ที่เปรียบเหมือน “แมลงสาบกระพือปีก” นั้น ก็น่าจะไม่ผิด เพราะเป็นการยอมรับของ นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้สัมภาษณ์เอาไว้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ความตอนหนึ่งว่า:
“สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อถึงวันที่ไม่มีนายอภิสิทธิ์ ก็ยังมีคนอื่นมาสานต่อ ฆ่าไม่ตาย เขาเรียกว่าแมลงสาบ”
ในกระแสโซเชียล มีเดีย ที่ถือว่าเป็นสื่อที่มีการแสดงออกทางปฏิกิริยาเร็วที่สุด และทำให้การแสดงอารมณ์ของผู้คนออกมาได้มากที่สุด ทำให้วิวาทะของการต่อสู้ทางความคิดรุนแรงที่สุด ยิ่งฟาดฟันต่อสู้กับคนอื่น ก็ยิ่งเหมือนไล่แขกที่ตัวเองจะหาเสียงเหลือไว้แต่ความพ่ายแพ้ของคะแนนนิยมที่ลดลงตามลำดับ
แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าแม้แต่กลุ่มประชาชนหลายคนที่เป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เดิมเห็นว่าแกนนำไม่ได้มีมติใดๆ จึงจะไปลงคะแนนให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ก็กลับกลายไปลงให้คนอื่นๆ แทน (โดยเฉพาะผู้สมัครอิสระ) ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาอะไรกันที่ทำให้คะแนนนิยมของ ม.ร.ว.สุขมพันธุ์ บริพัตร ลดลงจาก ปรากฏการณ์ “แมลงสาบกระพือปีก?”
เรื่องแรก กรณีที่ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้เข้าพบนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และแกนนำเสื้อแดง ทั้งๆ ที่การไปครั้งนั้นเพื่อยืนหยัดจุดยืนของพันธมิตรฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมและยื่นข้อเสนอการยกเว้นความผิดเฉพาะการกระทำความผิดเฉพาะ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามเงื่อนไขของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม (พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม) แต่กลับถูกนำไป “กระพือปีก” บิดเบือนใส่ร้ายว่าจับมือกันแล้ว จูบปากกันแล้ว ทั้งๆ ที่ในเวลาต่อมา นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เข้าพบนายเจริญ จรรย์โกมล ในเรื่องเดียวกัน เหล่าแมลงสาบก็พากัน “หุบปีก”ไปเสียทั้งหมด แนวคิดนี้ถูกจับได้ว่าเป้าหมายก็มีเพียงเพื่อทำให้ชนะการเลือกตั้งโดยเชื่อว่าทำลายความน่าเชื่อถือของพันธมิตรฯ เสีย คนจะหันมาเลือกประชาธิปัตย์มากขึ้นแทน
เรื่องที่สอง กรณี น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ กลับมาประเทศไทย แม้จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์เสียคะแนนลง แต่คงไม่มากเท่ากับเหตุการณ์ ที่ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ถูก “แมลงสาบกระพือปีก” วิพากษ์วิจารณ์ด่าทอ น.ส.ราตรี ด้วยคำหยาบคาย โดยเน้นแต่เปลือกที่ น.ส.ราตรี เข้าพบและจับมือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยไม่สนใจเหตุผลการเข้าพบเพื่อยืนหยัดในเรื่องการที่เธอถูกจับขณะอยู่ในผืนแผ่นดินไทย เรียกร้องให้ช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด ตลอดจนให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปกป้องอธิปไตยของชาติ “แมลงสาบกระพือปีก” รอบนี้ทำให้คนเอือมระอามากขึ้น เพราะ น.ส.ราตรี ถูกจำคุกจริงถึง 2 ปีกว่า และเสียสละเพื่อชาติ และยืนหยัดในอธิปไตยขนาดนี้ ยังโดนขย้ำได้ในสังคมแมลงสาบกระพือปีก
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น กรณีนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ที่พูดกับประชาชนว่านายอภิสิทธิ์ ไม่รู้เรื่องการเดินทางไปของตัวเอง แต่ต่อมาถูกจับโกหกโดยวิดีโอย้อนหลังว่าเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นความเท็จ อันนี้ก็ยิ่งสร้างความเสื่อมลงไปอีก
จึงถูกจับได้ว่า “แมลงสาบกระพือปีก” ทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของ น.ส.ราตรี และเรื่องอธิปไตยของชาติ แล้วคิดว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะมีคะแนนเพิ่มขึ้น จริงหรือไม่?
เรื่องที่สาม การกล่าวหา ใส่ร้าย ข่มขู่ ด่าทอ สำหรับคนที่ไม่เลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ไม่สามารถช่วงชิงคะแนนจากประชาชนที่เป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เลย
หลายครั้งเราเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวาทกรรมของ “แมลงสาบกระพือปีก” คือการโกหกเอาหน้าด้านๆ เช่น กล่าวหาว่า ASTV หรือ สนธิ ลิ้มทองกุล ด่าแต่ประชาธิปัตย์ ไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่ด่าว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือรัฐบาล ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงคนดู ASTV ทั้งหมดต่างรู้ว่า ทุกรายการแม้แต่ “สนธิ ลิ้มทองกุล“ วิพากษ์วิจารณ์ทั้งประชาธิปัตย์และเพื่อไทยมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
รวมถึงการแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นข้ามปีข้ามชาติ กล่าวหาว่า โหวตโนทำให้ประชาธิปัตย์พ่ายแพ้กับพรรคเพื่อไทย และทำให้พรรคเพื่อไทยป็นรัฐบาล ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงต่อให้คะแนนโหวตโนรวมกับประชาธิปัตย์ก็พ่ายแพ้พรรคเพื่อไทยตามที่พันธมิตรฯ คาดการณ์เอาไว้อยู่ดี ตรงกันข้ามหากมีคนโหวตโนชนะได้แค่ 26 เขต โอกาสทางการเมืองอาจไม่เป็นอย่างที่เป็นอยู่แบบนี้ และยิ่งไปกว่านั้นเท่ากับว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีความคิดที่จะยอมรับความผิดพลาดตัวเองว่าทำไมประชาชนถึงไม่เลือกมากพอ แต่กลับไปด่าประชาชนที่ไม่เลือกตัวเองแทนเสียนั่น แล้วคะแนนมันจะไม่ตกลงได้อย่างไร?
เมื่อ“สนธิ ลิ้มทองกุล” บอกว่า “อย่าเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพเพราะความกลัว” ให้เลือกอย่างมีอิสรภาพในการเลือก “คนดี คนกล้า คนเก่ง คนเสียสละ” แมลงสาบก็กระพือปีก อีกเริ่มต้นใส่ร้ายแบบไร้หลักฐานข้อหาเดิมๆ ว่า “สนธิ ลิ้มทองกุล และ ASTV รับเงินทักษิณและพรรคเพื่อไทยมาตัดคะแนนประชาธิปัตย์” ทั้งๆ ที่ ASTV ไส้แห้งเงินเดือนพนักงานไม่ก็ตรงเวลามาหลายปีติดต่อกัน แต่เหล่าแมลงสาบกระพือปีกก็สนใจแต่การขายความกลัวเสื้อแดง มากกว่าการขายคุณสมบัติ ขายความดี ขายความกล้า ขายความเก่ง จนลืมไปว่า กลุ่มประชาชนที่เป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีพัฒนาการมายาวนานขนาดนี้ไม่สามารถขายด้วยความหวาดกลัวได้ แล้วการมุ่งเน้นขายความกลัวก็ทำให้เกิดข้อสงสัยจุดขายคุณสมบัติของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เอง ว่าเหล่าแมลงสาบไม่มั่นใจหรือว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะสู้คนอื่นได้ด้วยคุณสมบัติและนโยบาย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็ยิ่งสงสัยใหญ่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำไมถึงดูถูกคนกรุงเทพมหานครเลือกคนดีไม่ที่สุดมาลงสมัคร หรือเห็นว่าอย่างไรเสียคนกรุงเทพฯ ก็ต้องเลือกเพราะว่ากลัวพรรคเพื่อไทยจะมา?
ความจริงแล้ว วาทกรรมที่ว่าไม่เลือกเราคนเผาเมืองมาแน่ ไม่สามารถจะใช้ได้ตั้งนานแล้ว นับตั้งแต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจใช้อำนาจรัฐโอบอุ้มปล่อยและให้ประกันตัวคนเสื้อแดงและชายชุดดำ จริงหรือไม่?
คนกรุงเทพมหานครควรจะก้าวข้ามเรื่อง “ความกลัว” ได้แล้ว เพราะความกลัวนั้นไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ความกลัวทำให้คนที่ข่มขู่ไม่เห็นปัญหาของตัวเองจึงไม่มีความจำเป็นต้องพัฒนาหรือปฏิรูปตัวเอง และความกลัวเท่ากับเป็นทาสและเป็นเหยื่ออันโอชะของนักการเมืองที่ย่ามใจจะโกงกินหรือทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจเพียงเพราะความกลัวอีกฝ่ายหนึ่ง
การเลือกคนดี คนเก่ง คนกล้า คนเสียสละ ฯลฯ หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่เราเห็นว่าดี เห็นว่าชอบนั้น เป็นการเลือกที่มีอิสรภาพปลดแอกจากความเป็นทาสทางการเมือง สร้างความภาคภูมิใจให้คนที่เลือกและคนถูกเลือกว่าเราเลือกคนที่เชื่อว่าดีที่สุดแล้ว ถ้าทุกคนช่วยกันคิดเช่นนี้พร้อมๆ กันให้มากเราก็อาจจะได้คนดีที่สุดชนะได้ ไม่ใช่ไปเดาเอาเองว่าเลือกไปก็แพ้ เพราะถ้าคนคิดอย่างนั้นกันมากๆ คนดีที่สุดก็จะเป็นคนแพ้จริงๆ และไม่มีทางมีที่ยืนและมีโอกาสทางการเมืองได้เลยไม่ว่าจะอีกกี่ปีก็ตาม
และถึงแม้คนดีที่เราเลือกจะไม่ชนะอย่างน้อยเราก็ยังภูมิใจได้ว่าได้สนับสนุนให้กำลังใจคนที่เราควรให้กำลังใจให้ก้าวเดินต่อไปในอนาคตแล้ว
และสำหรับความหวาดกลัวความชั่วช้าของนักการเมืองที่เดาเอาว่าอาจจะชนะเลือกตั้งนั้น ก็ขอแจ้งให้ทราบว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้พิสูจน์มาหลายปีในการต่อสู้กับนักการเมืองที่มีพฤติกรรมเช่นนั้นมาทุกขั้วแล้ว ดังนั้นไม่ว่าคนชั่วคนไหนสลับกันเข้ามาสู่อำนาจก็ต้องพบกับการตรวจสอบและการต่อสู้ของภาคประชาชนอยู่ดี ไม่มีอะไรต้องน่าหวาดกลัวเลย
เพราะความกลัวจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจะต้องเริ่มต้นจากความกล้าที่จะเปลี่ยนเท่านั้น!!!
ดังนั้นก็ขอย้ำอีกทีว่าแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ได้มีมติสนับสนุนหรือคัดค้านใคร แต่ใครจะเลือกใครไม่ว่าจะเป็น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์, พล.ต.อ.พงศพัศ, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์, นายสุหฤท ก็ขออย่าเลือกเพราะความกลัว ขอให้เลือกเขาด้วยข้อมูลและไตร่ตรองแล้วว่าเราจะเลือกเพราะเชื่อว่าเขาเป็นคนดี คนเก่ง คนกล้า คนเสียสละ ถ้าไม่มีใครดีพอก็ไม่ต้องเลือกใคร ส่วนใครจะเลือกใคร จะเชื่อหรือเชื่อไม่ก็เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนและวิจารณญาณของแต่ละบุคคล ไม่มีใครมาบังคับหรือชี้นำได้อยู่แล้ว
และพอจบบทความนี้ก็เชื่อได้ว่า “แมลงสาบก็จะกระพือปีก” อีกเช่นเคย!!!
สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ได้มีมติในการสนับสนุนหรือคัดค้านใคร เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเห็นว่าการปฏิรูปทางการเมืองและการปฏิรูปประเทศไทยมีความสำคัญเสียยิ่งกว่าการมาให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุผลนี้จึงปล่อยให้ประชาชน “ฟรีโหวต”
นั่นคือเหตุผลที่ ประพันธ์ คูณมี ต้องลาออกจากตำแหน่งแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรุ่นที่ 2 และต้องงดจัดรายการใน ASTV เพราะตัดสินใจเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งให้กับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้สมัครหมายเลข 11
ส่วนแกนนำคนอื่นๆ ผู้เคยขึ้นเวทีปราศรัย หรือพิธีกรใน ASTV ก็อาจจะสนับสนุนหรือมีการแสดงออกในความเห็นที่หลากหลายตามสิทธิเสรีภาพของแต่ละบุคคลได้ และถือว่าไม่ได้เกี่ยวกับมติของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแต่ประการใด
ความจริงที่ผ่านมาในตอนแรก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีคะแนนนำผู้สมัครคนอื่นๆ อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะกลยุทธ์การหาเสียง ก็เน้นนโยบาย สิ่งที่ทำ และสิ่งที่จะทำต่อไปตามปกติของผู้สมัครที่ต้องการรักษาแชมป์ แต่ดูเหมือนว่าช่วงหลังๆ คะแนนนิยมของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะลดลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ อันมาจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้
ประการแรก พรรคประชาธิปัตย์ถูกผลกระทบอย่างหนักจากการเมืองระดับชาติ ทั้งเรื่องปัญหาการถูกกล่าวหาเรื่องการทุจริต ไปจนถึงเรื่องการกลับมาของ “น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์” จากคุกกัมพูชาที่ตอกย้ำรอยแผลแห่งความผิดพลาดอันใหญ่หลวงของพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยที่ยังมีอำนาจ
ประการที่สอง “กองเชียร์” พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะในกลุ่มโซเชียล เน็ตเวิร์ค มีพฤติกรรมทำให้คนไม่อยากเลือกประชาธิปัตย์เพิ่มมากขึ้น
ประการที่สาม กลุ่มผู้สมัครอิสระอื่นๆ เริ่มหาจุดแข็งของตัวเองได้มากขึ้น หลังจากเกิดปรากฏการณ์ 2 ประการแรก
ที่น่าสนใจคือเมื่อคะแนนมีความก้ำกึ่งสูสี (ตามที่โพลจัดให้มา) ก็ดูเหมือนว่า “กองเชียร์” โซเชียล เน็ตเวิร์ค ของพรรคประชาธิปัตย์มีความร้อนรนมากขึ้น และเริ่มหาคะแนนด้วยการ ด่าทอ ใส่ร้าย ข่มขู่ ดูถูกเหยียดยามคนที่เห็นต่างจากตัวเอง จนหลงลืมไปว่าวิธีการตลาดแบบนี้ไม่มีทางที่คะแนนเพิ่มขึ้นได้ มีแต่คะแนนที่จะลดลงหดหายไปเรื่อยๆ
ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่ทฤษฎี “Butterfly Effect” หรือผีเสื้อรวมกันกระพือปีกแล้วจะเกิดพายุตามมา
แต่ปรากฏการณ์นี้น่าจะเรียกว่า Cockroaches Effect หรือ “แมลงสาบกระพือปีก สะท้านทั้งกรุงเทพฯ” ที่สร้างกระแสติดลบของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ลงเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ไม่ได้ทำอะไรเลย!!!
ที่เรียกว่าปรากฏการณ์ที่เปรียบเหมือน “แมลงสาบกระพือปีก” นั้น ก็น่าจะไม่ผิด เพราะเป็นการยอมรับของ นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้สัมภาษณ์เอาไว้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ความตอนหนึ่งว่า:
“สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อถึงวันที่ไม่มีนายอภิสิทธิ์ ก็ยังมีคนอื่นมาสานต่อ ฆ่าไม่ตาย เขาเรียกว่าแมลงสาบ”
ในกระแสโซเชียล มีเดีย ที่ถือว่าเป็นสื่อที่มีการแสดงออกทางปฏิกิริยาเร็วที่สุด และทำให้การแสดงอารมณ์ของผู้คนออกมาได้มากที่สุด ทำให้วิวาทะของการต่อสู้ทางความคิดรุนแรงที่สุด ยิ่งฟาดฟันต่อสู้กับคนอื่น ก็ยิ่งเหมือนไล่แขกที่ตัวเองจะหาเสียงเหลือไว้แต่ความพ่ายแพ้ของคะแนนนิยมที่ลดลงตามลำดับ
แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าแม้แต่กลุ่มประชาชนหลายคนที่เป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เดิมเห็นว่าแกนนำไม่ได้มีมติใดๆ จึงจะไปลงคะแนนให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ก็กลับกลายไปลงให้คนอื่นๆ แทน (โดยเฉพาะผู้สมัครอิสระ) ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาอะไรกันที่ทำให้คะแนนนิยมของ ม.ร.ว.สุขมพันธุ์ บริพัตร ลดลงจาก ปรากฏการณ์ “แมลงสาบกระพือปีก?”
เรื่องแรก กรณีที่ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้เข้าพบนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และแกนนำเสื้อแดง ทั้งๆ ที่การไปครั้งนั้นเพื่อยืนหยัดจุดยืนของพันธมิตรฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมและยื่นข้อเสนอการยกเว้นความผิดเฉพาะการกระทำความผิดเฉพาะ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามเงื่อนไขของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม (พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม) แต่กลับถูกนำไป “กระพือปีก” บิดเบือนใส่ร้ายว่าจับมือกันแล้ว จูบปากกันแล้ว ทั้งๆ ที่ในเวลาต่อมา นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เข้าพบนายเจริญ จรรย์โกมล ในเรื่องเดียวกัน เหล่าแมลงสาบก็พากัน “หุบปีก”ไปเสียทั้งหมด แนวคิดนี้ถูกจับได้ว่าเป้าหมายก็มีเพียงเพื่อทำให้ชนะการเลือกตั้งโดยเชื่อว่าทำลายความน่าเชื่อถือของพันธมิตรฯ เสีย คนจะหันมาเลือกประชาธิปัตย์มากขึ้นแทน
เรื่องที่สอง กรณี น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ กลับมาประเทศไทย แม้จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์เสียคะแนนลง แต่คงไม่มากเท่ากับเหตุการณ์ ที่ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ถูก “แมลงสาบกระพือปีก” วิพากษ์วิจารณ์ด่าทอ น.ส.ราตรี ด้วยคำหยาบคาย โดยเน้นแต่เปลือกที่ น.ส.ราตรี เข้าพบและจับมือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยไม่สนใจเหตุผลการเข้าพบเพื่อยืนหยัดในเรื่องการที่เธอถูกจับขณะอยู่ในผืนแผ่นดินไทย เรียกร้องให้ช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด ตลอดจนให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปกป้องอธิปไตยของชาติ “แมลงสาบกระพือปีก” รอบนี้ทำให้คนเอือมระอามากขึ้น เพราะ น.ส.ราตรี ถูกจำคุกจริงถึง 2 ปีกว่า และเสียสละเพื่อชาติ และยืนหยัดในอธิปไตยขนาดนี้ ยังโดนขย้ำได้ในสังคมแมลงสาบกระพือปีก
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น กรณีนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ที่พูดกับประชาชนว่านายอภิสิทธิ์ ไม่รู้เรื่องการเดินทางไปของตัวเอง แต่ต่อมาถูกจับโกหกโดยวิดีโอย้อนหลังว่าเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นความเท็จ อันนี้ก็ยิ่งสร้างความเสื่อมลงไปอีก
จึงถูกจับได้ว่า “แมลงสาบกระพือปีก” ทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของ น.ส.ราตรี และเรื่องอธิปไตยของชาติ แล้วคิดว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะมีคะแนนเพิ่มขึ้น จริงหรือไม่?
เรื่องที่สาม การกล่าวหา ใส่ร้าย ข่มขู่ ด่าทอ สำหรับคนที่ไม่เลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ไม่สามารถช่วงชิงคะแนนจากประชาชนที่เป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เลย
หลายครั้งเราเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวาทกรรมของ “แมลงสาบกระพือปีก” คือการโกหกเอาหน้าด้านๆ เช่น กล่าวหาว่า ASTV หรือ สนธิ ลิ้มทองกุล ด่าแต่ประชาธิปัตย์ ไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่ด่าว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือรัฐบาล ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงคนดู ASTV ทั้งหมดต่างรู้ว่า ทุกรายการแม้แต่ “สนธิ ลิ้มทองกุล“ วิพากษ์วิจารณ์ทั้งประชาธิปัตย์และเพื่อไทยมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
รวมถึงการแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นข้ามปีข้ามชาติ กล่าวหาว่า โหวตโนทำให้ประชาธิปัตย์พ่ายแพ้กับพรรคเพื่อไทย และทำให้พรรคเพื่อไทยป็นรัฐบาล ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงต่อให้คะแนนโหวตโนรวมกับประชาธิปัตย์ก็พ่ายแพ้พรรคเพื่อไทยตามที่พันธมิตรฯ คาดการณ์เอาไว้อยู่ดี ตรงกันข้ามหากมีคนโหวตโนชนะได้แค่ 26 เขต โอกาสทางการเมืองอาจไม่เป็นอย่างที่เป็นอยู่แบบนี้ และยิ่งไปกว่านั้นเท่ากับว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีความคิดที่จะยอมรับความผิดพลาดตัวเองว่าทำไมประชาชนถึงไม่เลือกมากพอ แต่กลับไปด่าประชาชนที่ไม่เลือกตัวเองแทนเสียนั่น แล้วคะแนนมันจะไม่ตกลงได้อย่างไร?
เมื่อ“สนธิ ลิ้มทองกุล” บอกว่า “อย่าเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพเพราะความกลัว” ให้เลือกอย่างมีอิสรภาพในการเลือก “คนดี คนกล้า คนเก่ง คนเสียสละ” แมลงสาบก็กระพือปีก อีกเริ่มต้นใส่ร้ายแบบไร้หลักฐานข้อหาเดิมๆ ว่า “สนธิ ลิ้มทองกุล และ ASTV รับเงินทักษิณและพรรคเพื่อไทยมาตัดคะแนนประชาธิปัตย์” ทั้งๆ ที่ ASTV ไส้แห้งเงินเดือนพนักงานไม่ก็ตรงเวลามาหลายปีติดต่อกัน แต่เหล่าแมลงสาบกระพือปีกก็สนใจแต่การขายความกลัวเสื้อแดง มากกว่าการขายคุณสมบัติ ขายความดี ขายความกล้า ขายความเก่ง จนลืมไปว่า กลุ่มประชาชนที่เป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีพัฒนาการมายาวนานขนาดนี้ไม่สามารถขายด้วยความหวาดกลัวได้ แล้วการมุ่งเน้นขายความกลัวก็ทำให้เกิดข้อสงสัยจุดขายคุณสมบัติของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เอง ว่าเหล่าแมลงสาบไม่มั่นใจหรือว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะสู้คนอื่นได้ด้วยคุณสมบัติและนโยบาย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็ยิ่งสงสัยใหญ่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำไมถึงดูถูกคนกรุงเทพมหานครเลือกคนดีไม่ที่สุดมาลงสมัคร หรือเห็นว่าอย่างไรเสียคนกรุงเทพฯ ก็ต้องเลือกเพราะว่ากลัวพรรคเพื่อไทยจะมา?
ความจริงแล้ว วาทกรรมที่ว่าไม่เลือกเราคนเผาเมืองมาแน่ ไม่สามารถจะใช้ได้ตั้งนานแล้ว นับตั้งแต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจใช้อำนาจรัฐโอบอุ้มปล่อยและให้ประกันตัวคนเสื้อแดงและชายชุดดำ จริงหรือไม่?
คนกรุงเทพมหานครควรจะก้าวข้ามเรื่อง “ความกลัว” ได้แล้ว เพราะความกลัวนั้นไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ความกลัวทำให้คนที่ข่มขู่ไม่เห็นปัญหาของตัวเองจึงไม่มีความจำเป็นต้องพัฒนาหรือปฏิรูปตัวเอง และความกลัวเท่ากับเป็นทาสและเป็นเหยื่ออันโอชะของนักการเมืองที่ย่ามใจจะโกงกินหรือทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจเพียงเพราะความกลัวอีกฝ่ายหนึ่ง
การเลือกคนดี คนเก่ง คนกล้า คนเสียสละ ฯลฯ หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่เราเห็นว่าดี เห็นว่าชอบนั้น เป็นการเลือกที่มีอิสรภาพปลดแอกจากความเป็นทาสทางการเมือง สร้างความภาคภูมิใจให้คนที่เลือกและคนถูกเลือกว่าเราเลือกคนที่เชื่อว่าดีที่สุดแล้ว ถ้าทุกคนช่วยกันคิดเช่นนี้พร้อมๆ กันให้มากเราก็อาจจะได้คนดีที่สุดชนะได้ ไม่ใช่ไปเดาเอาเองว่าเลือกไปก็แพ้ เพราะถ้าคนคิดอย่างนั้นกันมากๆ คนดีที่สุดก็จะเป็นคนแพ้จริงๆ และไม่มีทางมีที่ยืนและมีโอกาสทางการเมืองได้เลยไม่ว่าจะอีกกี่ปีก็ตาม
และถึงแม้คนดีที่เราเลือกจะไม่ชนะอย่างน้อยเราก็ยังภูมิใจได้ว่าได้สนับสนุนให้กำลังใจคนที่เราควรให้กำลังใจให้ก้าวเดินต่อไปในอนาคตแล้ว
และสำหรับความหวาดกลัวความชั่วช้าของนักการเมืองที่เดาเอาว่าอาจจะชนะเลือกตั้งนั้น ก็ขอแจ้งให้ทราบว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้พิสูจน์มาหลายปีในการต่อสู้กับนักการเมืองที่มีพฤติกรรมเช่นนั้นมาทุกขั้วแล้ว ดังนั้นไม่ว่าคนชั่วคนไหนสลับกันเข้ามาสู่อำนาจก็ต้องพบกับการตรวจสอบและการต่อสู้ของภาคประชาชนอยู่ดี ไม่มีอะไรต้องน่าหวาดกลัวเลย
เพราะความกลัวจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจะต้องเริ่มต้นจากความกล้าที่จะเปลี่ยนเท่านั้น!!!
ดังนั้นก็ขอย้ำอีกทีว่าแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ได้มีมติสนับสนุนหรือคัดค้านใคร แต่ใครจะเลือกใครไม่ว่าจะเป็น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์, พล.ต.อ.พงศพัศ, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์, นายสุหฤท ก็ขออย่าเลือกเพราะความกลัว ขอให้เลือกเขาด้วยข้อมูลและไตร่ตรองแล้วว่าเราจะเลือกเพราะเชื่อว่าเขาเป็นคนดี คนเก่ง คนกล้า คนเสียสละ ถ้าไม่มีใครดีพอก็ไม่ต้องเลือกใคร ส่วนใครจะเลือกใคร จะเชื่อหรือเชื่อไม่ก็เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนและวิจารณญาณของแต่ละบุคคล ไม่มีใครมาบังคับหรือชี้นำได้อยู่แล้ว
และพอจบบทความนี้ก็เชื่อได้ว่า “แมลงสาบก็จะกระพือปีก” อีกเช่นเคย!!!