ASTVผู้จัดการรายวัน - "ธีระชัย" เฟซบุ๊กคาดประชุม กนง. 20 ก.พ. ปรับลดดอกเบี้ย 0.25% เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่าง ธปท.กับกระทรวง แนะเปิดเผยชื่อบอร์ดลงมติดอกเบี้ย ด้าน "กิตติรัตน์" ยังเดินหน้ากดดันดอกเบี้ยอีกรอบ
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala โดยระบุว่า ในกลุ่มเพื่อนของผม เขามีการพนันกันเล็กๆ โดยต่อรองกันว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 20 ก.พ. จะมีการลดดอกเบี้ยหรือไม่ และจะลดเท่าใด โดยเพื่อนๆ เทคะแนนเสียงไปว่า กนง. จะลดดอกเบี้ย 0.25% เนื่องจากดูรายชื่อกรรมการภายนอกแล้ว เห็นว่ามีหลายคนที่จะให้ความสำคัญแก่ประเด็นความสงบ ในสัมพันธภาพระหว่างกระทรวงการคลัง กับแบงค์ชาติ มากกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ จึงอาจจะพยายามหาทางลงให้แก่รัฐมนตรีคลัง แบบที่ดูไม่น่าเกลียด
"ประเด็นที่พนันกัน จึงเน้นไปที่ว่าคะแนนเสียง จะออกมาเป็นเท่าใดเสียมากกว่า ท่านผู้อ่านก็น่าจะลองเก็งดูกันนะครับ จะได้เข้าใจวิธีคิดของกรรมการแต่ละคน ทั้งนี้ ในประเทศอื่นๆ การลงคะแนนของ กนง. จะมีการเปิดเผย ไม่เฉพาะคะแนนเสียงแต่ละด้าน แต่จะเปิดเผยชื่อของกรรมการด้วย ผมเห็นว่าประเทศไทย ควรมีการเปิดเผยเช่นนี้ได้แล้ว เพื่อให้กรรมการแต่ละคน ต้องสามารถยืนหยัดในความเห็นของตนในที่สาธารณะ และมีคำอธิบายสนับสนุนการลงคะแนนของตน เพื่อให้ความกระจ่างแก่ประชาชน เกี่ยวกับจุดยืนของแต่ละคน
ผมจึงขอให้สื่อมวลชนช่วยกันเรียกร้องนะครับ เพราะการลงคะแนนเรื่องที่สำคัญแก่ประเทศเช่นนี้ ควรจะเก็บเป็นความลับเฉพาะในช่วงก่อนลงตะแนน แต่เมื่อการประชุมผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ควรปิดๆ บังๆ กรรมการแต่ละคน ควรมีความกล้าหาญ ที่จะรับข้อเท็จจริงไปเลย"
*** "กิตติรัตน์" โผล่กดดดันซ้ำ
วันเดียวกันนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า การดูแลเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาจำนวนมากจนส่งผลกระทบให้เงินบาทแข็งค่านั้น ทั้งกระทรวงการคลัง และ ธปท. มองในเรื่องหลักการเกี่ยวกับการดูแลในระยะยาวเหมือนกัน เพื่อไม่ให้ปริมาณเงินทุนในสกุลต่างๆ ทั่วโลกไหลเข้ามาในประเทศไทย เพราะดอกเบี้ยตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นบางประเทศที่มีปัญหาภาวะเศรษฐกิจจึงเกิดการขาดดุลการค้า ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จึงต้องมีอัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อดึงเงินทุนเข้าไปฟื้นฟูเศรษฐกิจของตัวเอง
ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจเข้มแข็ง อยู่ในฐานะเกินดุลการค้า และในอนาคตมีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งของรัฐและเอกชน ทำให้ยอดนำเข้าสินค้าทุนสูงจนนำไปสู่การขาดดุลการค้าบ้างเล็กน้อย ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ดังนั้น เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ กระทรวงการคลังได้ส่งสัญญาณในการขอให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งจากนี้ไปเป็นหน้าที่ กนง.พิจารณาเรื่องดังกล่าว ส่วนการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในขณะนี้นั้น นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า เป็นเพียงความผันผวนระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งควรจะพิจารณาทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนตัวเร็วจนเกินไป.
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala โดยระบุว่า ในกลุ่มเพื่อนของผม เขามีการพนันกันเล็กๆ โดยต่อรองกันว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 20 ก.พ. จะมีการลดดอกเบี้ยหรือไม่ และจะลดเท่าใด โดยเพื่อนๆ เทคะแนนเสียงไปว่า กนง. จะลดดอกเบี้ย 0.25% เนื่องจากดูรายชื่อกรรมการภายนอกแล้ว เห็นว่ามีหลายคนที่จะให้ความสำคัญแก่ประเด็นความสงบ ในสัมพันธภาพระหว่างกระทรวงการคลัง กับแบงค์ชาติ มากกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ จึงอาจจะพยายามหาทางลงให้แก่รัฐมนตรีคลัง แบบที่ดูไม่น่าเกลียด
"ประเด็นที่พนันกัน จึงเน้นไปที่ว่าคะแนนเสียง จะออกมาเป็นเท่าใดเสียมากกว่า ท่านผู้อ่านก็น่าจะลองเก็งดูกันนะครับ จะได้เข้าใจวิธีคิดของกรรมการแต่ละคน ทั้งนี้ ในประเทศอื่นๆ การลงคะแนนของ กนง. จะมีการเปิดเผย ไม่เฉพาะคะแนนเสียงแต่ละด้าน แต่จะเปิดเผยชื่อของกรรมการด้วย ผมเห็นว่าประเทศไทย ควรมีการเปิดเผยเช่นนี้ได้แล้ว เพื่อให้กรรมการแต่ละคน ต้องสามารถยืนหยัดในความเห็นของตนในที่สาธารณะ และมีคำอธิบายสนับสนุนการลงคะแนนของตน เพื่อให้ความกระจ่างแก่ประชาชน เกี่ยวกับจุดยืนของแต่ละคน
ผมจึงขอให้สื่อมวลชนช่วยกันเรียกร้องนะครับ เพราะการลงคะแนนเรื่องที่สำคัญแก่ประเทศเช่นนี้ ควรจะเก็บเป็นความลับเฉพาะในช่วงก่อนลงตะแนน แต่เมื่อการประชุมผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ควรปิดๆ บังๆ กรรมการแต่ละคน ควรมีความกล้าหาญ ที่จะรับข้อเท็จจริงไปเลย"
*** "กิตติรัตน์" โผล่กดดดันซ้ำ
วันเดียวกันนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า การดูแลเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาจำนวนมากจนส่งผลกระทบให้เงินบาทแข็งค่านั้น ทั้งกระทรวงการคลัง และ ธปท. มองในเรื่องหลักการเกี่ยวกับการดูแลในระยะยาวเหมือนกัน เพื่อไม่ให้ปริมาณเงินทุนในสกุลต่างๆ ทั่วโลกไหลเข้ามาในประเทศไทย เพราะดอกเบี้ยตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นบางประเทศที่มีปัญหาภาวะเศรษฐกิจจึงเกิดการขาดดุลการค้า ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จึงต้องมีอัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อดึงเงินทุนเข้าไปฟื้นฟูเศรษฐกิจของตัวเอง
ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจเข้มแข็ง อยู่ในฐานะเกินดุลการค้า และในอนาคตมีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งของรัฐและเอกชน ทำให้ยอดนำเข้าสินค้าทุนสูงจนนำไปสู่การขาดดุลการค้าบ้างเล็กน้อย ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ดังนั้น เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ กระทรวงการคลังได้ส่งสัญญาณในการขอให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งจากนี้ไปเป็นหน้าที่ กนง.พิจารณาเรื่องดังกล่าว ส่วนการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในขณะนี้นั้น นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า เป็นเพียงความผันผวนระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งควรจะพิจารณาทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนตัวเร็วจนเกินไป.