วานนี้ ( 6 ก.พ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) เสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่กระทำความผิด เนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 ก.ย. 2549 ถึงวันที่ 10 พ.ค.2554 ว่า ขณะนี้ได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว คงต้องรอให้ส่งกลับมาก่อน ผู้สื่อข่าวถามว่า นายอุกฤษ มีแนวคิดที่จะเสนอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรม นายกฯ ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม และเดินขึ้นตึกไทยคู่ฟ้า ไปทันที
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ประธาน คอ.นธ. เสนอให้รัฐบาลออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยให้สภาพิจารณา 3 วาระรวด ว่า ไม่ทราบว่ามีเหตุผลอะไรที่จะเสนอกฎหมายดังกล่าว ตนได้ย้ำหลายครั้งแล้วว่า หากรัฐบาลยึดเป็นเรื่องเดียวกับการสร้างความปรองดอง ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ทั้งนี้ตนยืนยันว่า รัฐบาลต้องแสวงหาจุดร่วมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความผิดการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เท่านั้น
ทั้งนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลควรรับฟังข้อเสนอของผู้เสียหาย ซึ่งเมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ผ่านมา นางนิชา หิรัญบูรณะ ภรรยา พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม ปี 53 ก็มีข้อเสนอว่า จะนิรโทษกรรมแต่ฝ่ายที่กระทำความผิดยังไม่แสดงออกในลักษณะผลักดันการปรองดองเลยก็จะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งตนคิดว่าหากรัฐบาลจริงใจที่จะปรองดอง น่าจะหาจุดเริ่มต้นในเรื่องเหล่านี้ แต่หากยังยึดแนวทางที่จะนิรโทษกรรมทุกความผิด ก็ไม่เป็นการสร้างความปรองดอง
ส่วนการดำเนินการออกกฎหมายนิรโทษกรรมหลายรูปแบบนั้น เป็นการเคลื่อนไปเป็นกระบวนการเดียวกัน และดูช่องทางไปเรื่อยๆ และทำในลักษณะไปทางไหนได้ ก็ไป เพราะมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ล้างผิดให้พรรคพวก และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
"คณะกรรมการชุดนี้ (คอ.นธ.) ก็เป็นอีกช่องทาง และเครื่องมือหนึ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายล้างผิดให้พรรคพวก และ พ.ต.ท.ทักษิณ ของรัฐบาล ส่วนข้อเสนอลงชื่อไม่ยอมรับการนิรโทษกรรมนั้น ก็เป็นเพียงความพยายามเพื่อลดกระแส และเลี่ยงประเด็นที่จะถูกโจมตี แต่เป้าหมายยังเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งผมอยากเห็นความจริงใจของรัฐบาลที่จะคุยกับฝ่ายอื่นๆ มากกว่าหากลไกมารองรับความต้องการตัวเอง" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า การที่นายอุกฤษ เสนอให้แกนนำที่ไม่ควรได้รับการนิรโทษกรรม ลงชื่อในสัตยาบันไม่ยอมรับการนิรโทษกรรมนั้น ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติไม่ได้ เพราะเวลาที่กฎหมายออกมาแล้วจะบอกว่า ไม่รับเงื่อนไขไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของคนเขียนกฎหมายที่ต้องระบุให้ชัดเจนว่า ใครบ้างที่จะได้รับประโยชน์ ซึ่งความปรองดองจะไม่เกิดขึ้น หากมีการผลักดันกฎหมายที่ไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยตนมองว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เทคนิคทางกฎหมาย แต่อยู่ที่ เป้าหมายคืออะไร ทั้งนี้หากมีการผลักดันกฎหมายฉบับดังกล่าวก็เชื่อว่า จะไม่แตกต่างจากการผลักดันกฎหมายปรองดอง 4 ฉบับในปีที่ผ่านมา และจะทำให้เกิดความขัดแย้งและรุนแรงมากขึ้น ส่วนการที่จะดำเนินการ 3 วาระรวดนั้น เป็นไปได้ยากมาก
อย่างไรก็ตาม อยากให้รัฐบาลตั้งหลักให้ดีว่า การจะเกิดความปรองดองต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และอยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความชัดเจนในเรื่องนี้ว่า จะช่วยพี่ชาย แต่ไม่แก้ปัญหาพื้นฐาน หรือจะทำให้เกิดความปรองดอง ก็ต้องหารือกันว่าทุกฝ่ายยอมรับเงื่อนไขอะไรกันได้บ้าง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของ คอ.นธ. ที่กำลังจะมีการผลักดันเข้าสู่พิจารณาในสภา ว่า สุดท้ายแล้วทั้งแกนนำเสื้อแดง และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะได้ประโยชน์จากกฎหมายนี้ ทำให้รัฐบาลไม่กล้ารับข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้มีการนิรโทษกรรม เฉพาะผู้กระทำผิดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่รวมคดีอาญา และคดีทุจริต คอร์รัปชัน เพราะมีการใช้ถ้อยคำทางนิติศาสตร์ในร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างคลุมเครือ จึงอยากเห็นท่าทีที่ชัดเจนของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า จะจุดไฟในแผ่นดินขึ้นมาอีกครั้ง หรือเลือกปรองดองรับข้อเสนอพรรคประชาธิปัตย์ นิรโทษกรรมเฉพาะคนเสื้อแดงที่ทำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยไม่รวมคดีอาญา และคดีทุจริต ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นเครื่องวัดภาวะผู้นำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าจะเลือกสร้างปัญหาให้กับประเทศ หรือจะดับปัญหาก่อนที่จะเกิดความวุ่นวาย ตามแนวทางปรองดองของพรรคประชาธิปัตย์
**"นิชา" ยื่น"เงื่อนไข-ข้อเสนอ"หากมีนิรโทษฯ
นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตนายทหาร ที่เสียชีวิตจากการชุมนุมทางการเมือง ได้โพสต์ในเฟซบุ๊คส่วนตัว Nicha Hiranburana Thuvatham แสดงความคิดเห็นถึง "นิรโทษกรรม" ว่า เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย แต่ "คนตาย" ไม่ได้รับมีสิทธิ์นั้น พร้อมทั้งระบุว่า ตามกฎหมายอาญา การฆ่าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ ต้องมีโทษถึงประหารชีวิต แต่ฆาตกรกรเสื้อแดง ยังเดินลอยนวลอยู่ในสังคมอีกมากมาย
นางนิชา ได้โพสต์ ข้อความในหัวข้อ "ประชาชนได้อะไรจากการนิรโทษกรรม….ในวันนี้ ?" ว่า ถ้าทุกคนในบ้านเมืองอยากได้สิ่งนี้ เราก็ต้องฝืนใจยอมรับ และถ้าสิ่งนี้มันดีกับบ้านเมืองจริง เราก็จะยอมรับด้วยความเต็มใจ แต่จนถึงวันนี้ ไม่อาจเข้าใจว่า การนิรโทษกรรมในตอนนี้ มันจะดีกับบ้านเมือง และให้หลักประกันความปลอดภัยแก่ลูกหลานของเราในอนาคตได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่ได้เรียนรู้บทเรียนจากการสูญเสียร่วมกันเลย...
ในเมื่อยังมีคนไม่รู้ตัวว่าทำผิดอีกจำนวนมาก ในเมื่อยังมีคนผิดที่ไม่ยอมรับผิด และไม่หลาบจำในความผิดของตนอีกจำนวนมาก (แถมยังพร้อมจะย้อนกลับมาทำผิดอีก) และในเมื่อยังมีฆาตกรกรที่ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ เดินลอยนวลอยู่ในสังคมอีกมาก การนิรโทษกรรมในวันนี้ จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใด ?
ดิฉันเข้าใจความทุกข์ยากของพี่น้องเสื้อแดงว่า มีชีวิตที่ยากลำบากอยู่ในคุก แต่ท่านรู้ไหมว่า พวกท่านโชคดีกว่าสามีของดิฉันที่ไม่มีโอกาสเรียกร้องอะไร เพราะว่าเขา “ตาย” เจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตเดินเข้าสู่สมรภูมิด้วยหน้าที่ แต่ผู้ชุมนุมเดินเข้าสู่พื้นที่ประกาศห้ามด้วยความสมัครใจ-ด้วยความเต็มใจที่จะฝ่าฝืน ท้าทายกฎหมายของบ้านเมือง แต่วันนี้นับว่าพวกท่านโชคดีนักที่ยังมีสิทธิได้รับการประกันตัว ยังมีโอกาสเรียกร้องขอ “อิสระภาพ” ในขณะที่ดิฉันก็อยากเรียกร้องขอ “ชีวิต” ของสามีคืนเป็นข้อแลกเปลี่ยน ถ้าท่านให้คืนได้ ดิฉันยินดียอมรับการนิรโทษกรรมโดยไม่มีเงื่อนไขข้อแม้ แต่ถ้าท่านให้ชีวิตของสามีดิฉันคืนไม่ได้ ก็ขอแลกด้วยเงื่อนไข-คำมั่นสัญญา ของความเป็นคนว่า ท่านจะไม่ทำผิดฝ่าฝืนกฎหมายทำร้ายบ้านเมืองอีก และถ้าทำผิดอีก จะไม่มีโอกาสซ้ำสอง แค่นี้เอง...ความจริงแล้วมันไม่ยุติธรรมกับความตายของเจ้าหน้าที่รัฐเลย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 การฆ่าพนักงาน ซึ่งกระทำตามหน้าที่ ต้องมีโทษถึงประหารชีวิต
ทั้งนี้ นางนิชา ได้ร้องขอเงื่อนไข หากมีการนิรโทษกรรม ดังนี้
1. หากมีการเร่งนิรโทษกรรมผู้ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องไม่ครอบคลุมถึงผู้ทำผิดคดีอาญา คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นอกจากนี้ กระบวนการยุติธรรมเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดคดีอาญาและคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพดังกล่าวจะต้องดำเนินอยู่ต่อไป
2. หากจะมีการนิรโทษกรรมให้แก่ประชาชนผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เข้าร่วมชุมนุม โดยมิได้ใช้ความรุนแรงหรือมีส่วนในการทำความผิดคดีอาญา/คดีหมิ่นฯ ต้องนิรโทษกรรมอย่างมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
2.1 ผู้ที่จะได้รับนิรโทษกรรมต้องยอมรับว่า ตนได้ละเมิดกฎหมาย ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และมีการทำทัณฑ์บนว่าจะไม่เข้าร่วมการชุมนุมที่ละเมิดฝ่าฝืนกฎหมายอีก
2.2 ผู้ที่จะได้รับนิรโทษกรรม ต้องเปิดเผยข้อมูล-ความจริงของเหตุการณ์ใช้ความรุนแรง แก่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง หรือ คณะกรรมการชุดอื่นที่มีความเป็นกลาง ปราศจากการแทรกแซง ซึ่งมีการแต่งตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ให้สมบูรณ์เติมเต็มจากรายงานข้อเท็จจริงของ คอป.
3. รัฐบาลและหน่วยงานรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำความเข้าใจกับประชาชน ต้องไม่พยายามทำให้สังคมหลงประเด็นว่า การนิรโทษกรรม หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือการปรองดอง เพราะการนิรโทษกรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปรองดองเท่านั้น และพึงทำเมื่อบริบทสังคมมีความพร้อม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย แต่ในกรณีของไทย ยังมีขั้นตอนกระบวนการปรองดองอีกมาก ซึ่งสังคมไทยยังไม่ผ่านขั้นตอนเหล่านั้น ยังไม่เกิดการเรียนรู้บทเรียนร่วมกัน สังคมไทยไม่มีวันปรองดองกันได้ ตราบใดที่ผู้ชนะยังใช้อำนาจความได้เปรียบที่ตนมีอยู่ในมือ กดขี่-ข่มเหง-รังแกฝ่ายตรงข้าม หรือใช้หลัก “ความยุติธรรมของผู้ชนะ” เฉกเช่นที่เรารู้สึกกันอยู่ทุกวันนี้
**ถาม"ปู"เสื้อแดงสงบสันติหรือฝ่าฝืนกม.
4. ขอให้นายกรัฐมนตรี ประกาศแผนการสร้างความปรองดองของคนในชาติให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะชี้แจงขั้นตอนการปรองดองที่จำเป็น ดังนี้
4.1 การค้นหาข้อเท็จจริง – รัฐบาลมีผลสรุปว่าอย่างไร จะทำอย่างไรกับความจริงของเหตุการณ์ที่ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ จะทิ้งไว้ให้เป็นข้อกังขาเช่นนี้หรือ นายกรัฐมนตรี ตอบสักคำได้หรือไม่ว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงเป็นไปอย่างสงบสันติหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ? แล้วจะทำอย่างไรกับข้อเสนอแนะ เพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงในอนาคต ตามมาตรการต่างๆ ที่ คอป.ได้เสนอไว้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 สิ่งนี้จำเป็นต้องใช้ political will ไม่ใช่มอบหมายให้ข้าราชการประจำรับไปทำ และจนบัดนี้ก็ยังไม่มีมาตรการป้องกันใดๆ เลย
เรื่องนี้ต้องขอพูดซ้ำๆ เพราะเชื่อว่าถ้าพรุ่งนี้มีม็อบอีก ก็คงต้องล้มตายกันอีก (โดยเฉพาะถ้าเป็นการชุมนุมของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เช่นม็อบเสธ.อ้าย เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 55 ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า สถานที่เดียวกัน ทำไมจึงได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากม็อบของคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 29 ม.ค.56 ราวฟ้ากับดิน)
4.2 กระบวนการยุติธรรม – ขอหลักประกันจากนายกรัฐมนตรีว่า หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม คดีของพล.อ.ร่มเกล้า ไม่เคยได้รับคำอธิบายใดๆ จากดีเอสไอ ยกเว้นครั้งเดียวที่ รมว.ยุติธรรม ส่งเอกสารมาให้ระบุว่า “ยังไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำความผิดได้” ดิฉันตะโกนถามผ่านสื่อไปหลายครั้ง แต่ไม่เคยมีคำตอบจาก DSI เลยสักครั้ง
4.3 การเยียวยา – หากภายหลังการสอบสวนพบว่าผู้ได้รับเงินเยียวยาเป็นผู้กระทำความผิด จะมีมาตรการอย่างใด เพราะโดยหลักการผู้ได้รับเงินเยียวยาต้องไม่ใช่ผู้กระทำความผิด
4.4 การสานเสวนา ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการอยู่ในขณะนี้ รัฐบาลต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรต่อไป จะรอนำผลสรุปของการสานเสวนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน มาประกอบการพิจารณาเรื่องการนิรโทษกรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฯลฯ รวมถึงเรื่องต่างๆ ที่โยงกับการปรองดองอย่างไร
มิฉะนั้นแล้วจะเสียงบประมาณเกือบร้อยล้านบาททำไปเพื่ออะไร และหากให้เกียรติเสียงประชาชน กลไกฝ่ายต่างๆ ของพรรครัฐบาลก็ต้องหยุดรอฟังเสียงประชาชนก่อนที่จะไปดำเนินการใดๆ รวมถึงการเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภา
4.5 เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้มีการชุมนุมเกินขอบเขตในอนาคต ขอให้มีการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการชุมนุม เพื่อควบคุมการชุมนุมให้เป็นไปอย่างสงบสันติ ตามแบบอย่างนานาประเทศ
นายนิชา ระบุว่า หากรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี มีความจริงใจที่จะปรองดองจริง ก็ต้องตอบคำถามเหล่านี้แก่ประชาชนของท่านได้ มิฉะนั้นเราก็ก้าวผ่านขั้นตอนปรองดองของคนในชาติกันไม่ได้ ที่ผ่านมารัฐบาลทำเสมือนว่าแตะทุกขั้นตอน แต่ทำสลับขั้นตอน และก็สักแต่ว่าทำเพื่อให้ครบกระบวนการเท่านั้นเอง เช่นค้นหาข้อเท็จจริงแล้ว แต่ได้ข้อเท็จจริงมาก็ไม่สนใจเนื้อหา โยนรายงานทิ้ง เดินหน้าตามเกมต่อไป เป็นต้น
ดิฉันไม่ได้ใจแคบปฏิเสธการนิรโทษกรรม หากเป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม (แม้มันจะแลกด้วยชีวิตของสามีที่ไม่มีวันเรียกคืนมาได้) แต่อยากย้ำว่าการนิรโทษกรรมง่ายๆ ในตอนนี้ มันไม่ได้ช่วยป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับลูกหลานของเราในอนาคต มีเพื่อนผู้พิพากษาท่านหนึ่ง พูดได้โดนใจว่า ทุกฝ่ายได้ประโยชน์จากการนิรโทษกรรมครั้งนี้ ยกเว้นสองฝ่ายคือ (1) คนตาย และ (2)ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่ไม่ได้ทำความผิดอะไร...
เราคือผู้ที่ต้องแบกรับกรรมนี้ไว้ และก็ไม่มีใครเขาสนใจความรู้สึกของเรา
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ประธาน คอ.นธ. เสนอให้รัฐบาลออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยให้สภาพิจารณา 3 วาระรวด ว่า ไม่ทราบว่ามีเหตุผลอะไรที่จะเสนอกฎหมายดังกล่าว ตนได้ย้ำหลายครั้งแล้วว่า หากรัฐบาลยึดเป็นเรื่องเดียวกับการสร้างความปรองดอง ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ทั้งนี้ตนยืนยันว่า รัฐบาลต้องแสวงหาจุดร่วมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความผิดการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เท่านั้น
ทั้งนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลควรรับฟังข้อเสนอของผู้เสียหาย ซึ่งเมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ผ่านมา นางนิชา หิรัญบูรณะ ภรรยา พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม ปี 53 ก็มีข้อเสนอว่า จะนิรโทษกรรมแต่ฝ่ายที่กระทำความผิดยังไม่แสดงออกในลักษณะผลักดันการปรองดองเลยก็จะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งตนคิดว่าหากรัฐบาลจริงใจที่จะปรองดอง น่าจะหาจุดเริ่มต้นในเรื่องเหล่านี้ แต่หากยังยึดแนวทางที่จะนิรโทษกรรมทุกความผิด ก็ไม่เป็นการสร้างความปรองดอง
ส่วนการดำเนินการออกกฎหมายนิรโทษกรรมหลายรูปแบบนั้น เป็นการเคลื่อนไปเป็นกระบวนการเดียวกัน และดูช่องทางไปเรื่อยๆ และทำในลักษณะไปทางไหนได้ ก็ไป เพราะมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ล้างผิดให้พรรคพวก และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
"คณะกรรมการชุดนี้ (คอ.นธ.) ก็เป็นอีกช่องทาง และเครื่องมือหนึ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายล้างผิดให้พรรคพวก และ พ.ต.ท.ทักษิณ ของรัฐบาล ส่วนข้อเสนอลงชื่อไม่ยอมรับการนิรโทษกรรมนั้น ก็เป็นเพียงความพยายามเพื่อลดกระแส และเลี่ยงประเด็นที่จะถูกโจมตี แต่เป้าหมายยังเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งผมอยากเห็นความจริงใจของรัฐบาลที่จะคุยกับฝ่ายอื่นๆ มากกว่าหากลไกมารองรับความต้องการตัวเอง" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า การที่นายอุกฤษ เสนอให้แกนนำที่ไม่ควรได้รับการนิรโทษกรรม ลงชื่อในสัตยาบันไม่ยอมรับการนิรโทษกรรมนั้น ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติไม่ได้ เพราะเวลาที่กฎหมายออกมาแล้วจะบอกว่า ไม่รับเงื่อนไขไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของคนเขียนกฎหมายที่ต้องระบุให้ชัดเจนว่า ใครบ้างที่จะได้รับประโยชน์ ซึ่งความปรองดองจะไม่เกิดขึ้น หากมีการผลักดันกฎหมายที่ไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยตนมองว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เทคนิคทางกฎหมาย แต่อยู่ที่ เป้าหมายคืออะไร ทั้งนี้หากมีการผลักดันกฎหมายฉบับดังกล่าวก็เชื่อว่า จะไม่แตกต่างจากการผลักดันกฎหมายปรองดอง 4 ฉบับในปีที่ผ่านมา และจะทำให้เกิดความขัดแย้งและรุนแรงมากขึ้น ส่วนการที่จะดำเนินการ 3 วาระรวดนั้น เป็นไปได้ยากมาก
อย่างไรก็ตาม อยากให้รัฐบาลตั้งหลักให้ดีว่า การจะเกิดความปรองดองต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และอยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความชัดเจนในเรื่องนี้ว่า จะช่วยพี่ชาย แต่ไม่แก้ปัญหาพื้นฐาน หรือจะทำให้เกิดความปรองดอง ก็ต้องหารือกันว่าทุกฝ่ายยอมรับเงื่อนไขอะไรกันได้บ้าง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของ คอ.นธ. ที่กำลังจะมีการผลักดันเข้าสู่พิจารณาในสภา ว่า สุดท้ายแล้วทั้งแกนนำเสื้อแดง และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะได้ประโยชน์จากกฎหมายนี้ ทำให้รัฐบาลไม่กล้ารับข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้มีการนิรโทษกรรม เฉพาะผู้กระทำผิดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่รวมคดีอาญา และคดีทุจริต คอร์รัปชัน เพราะมีการใช้ถ้อยคำทางนิติศาสตร์ในร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างคลุมเครือ จึงอยากเห็นท่าทีที่ชัดเจนของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า จะจุดไฟในแผ่นดินขึ้นมาอีกครั้ง หรือเลือกปรองดองรับข้อเสนอพรรคประชาธิปัตย์ นิรโทษกรรมเฉพาะคนเสื้อแดงที่ทำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยไม่รวมคดีอาญา และคดีทุจริต ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นเครื่องวัดภาวะผู้นำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าจะเลือกสร้างปัญหาให้กับประเทศ หรือจะดับปัญหาก่อนที่จะเกิดความวุ่นวาย ตามแนวทางปรองดองของพรรคประชาธิปัตย์
**"นิชา" ยื่น"เงื่อนไข-ข้อเสนอ"หากมีนิรโทษฯ
นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตนายทหาร ที่เสียชีวิตจากการชุมนุมทางการเมือง ได้โพสต์ในเฟซบุ๊คส่วนตัว Nicha Hiranburana Thuvatham แสดงความคิดเห็นถึง "นิรโทษกรรม" ว่า เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย แต่ "คนตาย" ไม่ได้รับมีสิทธิ์นั้น พร้อมทั้งระบุว่า ตามกฎหมายอาญา การฆ่าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ ต้องมีโทษถึงประหารชีวิต แต่ฆาตกรกรเสื้อแดง ยังเดินลอยนวลอยู่ในสังคมอีกมากมาย
นางนิชา ได้โพสต์ ข้อความในหัวข้อ "ประชาชนได้อะไรจากการนิรโทษกรรม….ในวันนี้ ?" ว่า ถ้าทุกคนในบ้านเมืองอยากได้สิ่งนี้ เราก็ต้องฝืนใจยอมรับ และถ้าสิ่งนี้มันดีกับบ้านเมืองจริง เราก็จะยอมรับด้วยความเต็มใจ แต่จนถึงวันนี้ ไม่อาจเข้าใจว่า การนิรโทษกรรมในตอนนี้ มันจะดีกับบ้านเมือง และให้หลักประกันความปลอดภัยแก่ลูกหลานของเราในอนาคตได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่ได้เรียนรู้บทเรียนจากการสูญเสียร่วมกันเลย...
ในเมื่อยังมีคนไม่รู้ตัวว่าทำผิดอีกจำนวนมาก ในเมื่อยังมีคนผิดที่ไม่ยอมรับผิด และไม่หลาบจำในความผิดของตนอีกจำนวนมาก (แถมยังพร้อมจะย้อนกลับมาทำผิดอีก) และในเมื่อยังมีฆาตกรกรที่ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ เดินลอยนวลอยู่ในสังคมอีกมาก การนิรโทษกรรมในวันนี้ จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใด ?
ดิฉันเข้าใจความทุกข์ยากของพี่น้องเสื้อแดงว่า มีชีวิตที่ยากลำบากอยู่ในคุก แต่ท่านรู้ไหมว่า พวกท่านโชคดีกว่าสามีของดิฉันที่ไม่มีโอกาสเรียกร้องอะไร เพราะว่าเขา “ตาย” เจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตเดินเข้าสู่สมรภูมิด้วยหน้าที่ แต่ผู้ชุมนุมเดินเข้าสู่พื้นที่ประกาศห้ามด้วยความสมัครใจ-ด้วยความเต็มใจที่จะฝ่าฝืน ท้าทายกฎหมายของบ้านเมือง แต่วันนี้นับว่าพวกท่านโชคดีนักที่ยังมีสิทธิได้รับการประกันตัว ยังมีโอกาสเรียกร้องขอ “อิสระภาพ” ในขณะที่ดิฉันก็อยากเรียกร้องขอ “ชีวิต” ของสามีคืนเป็นข้อแลกเปลี่ยน ถ้าท่านให้คืนได้ ดิฉันยินดียอมรับการนิรโทษกรรมโดยไม่มีเงื่อนไขข้อแม้ แต่ถ้าท่านให้ชีวิตของสามีดิฉันคืนไม่ได้ ก็ขอแลกด้วยเงื่อนไข-คำมั่นสัญญา ของความเป็นคนว่า ท่านจะไม่ทำผิดฝ่าฝืนกฎหมายทำร้ายบ้านเมืองอีก และถ้าทำผิดอีก จะไม่มีโอกาสซ้ำสอง แค่นี้เอง...ความจริงแล้วมันไม่ยุติธรรมกับความตายของเจ้าหน้าที่รัฐเลย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 การฆ่าพนักงาน ซึ่งกระทำตามหน้าที่ ต้องมีโทษถึงประหารชีวิต
ทั้งนี้ นางนิชา ได้ร้องขอเงื่อนไข หากมีการนิรโทษกรรม ดังนี้
1. หากมีการเร่งนิรโทษกรรมผู้ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องไม่ครอบคลุมถึงผู้ทำผิดคดีอาญา คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นอกจากนี้ กระบวนการยุติธรรมเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดคดีอาญาและคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพดังกล่าวจะต้องดำเนินอยู่ต่อไป
2. หากจะมีการนิรโทษกรรมให้แก่ประชาชนผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เข้าร่วมชุมนุม โดยมิได้ใช้ความรุนแรงหรือมีส่วนในการทำความผิดคดีอาญา/คดีหมิ่นฯ ต้องนิรโทษกรรมอย่างมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
2.1 ผู้ที่จะได้รับนิรโทษกรรมต้องยอมรับว่า ตนได้ละเมิดกฎหมาย ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และมีการทำทัณฑ์บนว่าจะไม่เข้าร่วมการชุมนุมที่ละเมิดฝ่าฝืนกฎหมายอีก
2.2 ผู้ที่จะได้รับนิรโทษกรรม ต้องเปิดเผยข้อมูล-ความจริงของเหตุการณ์ใช้ความรุนแรง แก่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง หรือ คณะกรรมการชุดอื่นที่มีความเป็นกลาง ปราศจากการแทรกแซง ซึ่งมีการแต่งตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ให้สมบูรณ์เติมเต็มจากรายงานข้อเท็จจริงของ คอป.
3. รัฐบาลและหน่วยงานรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำความเข้าใจกับประชาชน ต้องไม่พยายามทำให้สังคมหลงประเด็นว่า การนิรโทษกรรม หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือการปรองดอง เพราะการนิรโทษกรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปรองดองเท่านั้น และพึงทำเมื่อบริบทสังคมมีความพร้อม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย แต่ในกรณีของไทย ยังมีขั้นตอนกระบวนการปรองดองอีกมาก ซึ่งสังคมไทยยังไม่ผ่านขั้นตอนเหล่านั้น ยังไม่เกิดการเรียนรู้บทเรียนร่วมกัน สังคมไทยไม่มีวันปรองดองกันได้ ตราบใดที่ผู้ชนะยังใช้อำนาจความได้เปรียบที่ตนมีอยู่ในมือ กดขี่-ข่มเหง-รังแกฝ่ายตรงข้าม หรือใช้หลัก “ความยุติธรรมของผู้ชนะ” เฉกเช่นที่เรารู้สึกกันอยู่ทุกวันนี้
**ถาม"ปู"เสื้อแดงสงบสันติหรือฝ่าฝืนกม.
4. ขอให้นายกรัฐมนตรี ประกาศแผนการสร้างความปรองดองของคนในชาติให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะชี้แจงขั้นตอนการปรองดองที่จำเป็น ดังนี้
4.1 การค้นหาข้อเท็จจริง – รัฐบาลมีผลสรุปว่าอย่างไร จะทำอย่างไรกับความจริงของเหตุการณ์ที่ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ จะทิ้งไว้ให้เป็นข้อกังขาเช่นนี้หรือ นายกรัฐมนตรี ตอบสักคำได้หรือไม่ว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงเป็นไปอย่างสงบสันติหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ? แล้วจะทำอย่างไรกับข้อเสนอแนะ เพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงในอนาคต ตามมาตรการต่างๆ ที่ คอป.ได้เสนอไว้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 สิ่งนี้จำเป็นต้องใช้ political will ไม่ใช่มอบหมายให้ข้าราชการประจำรับไปทำ และจนบัดนี้ก็ยังไม่มีมาตรการป้องกันใดๆ เลย
เรื่องนี้ต้องขอพูดซ้ำๆ เพราะเชื่อว่าถ้าพรุ่งนี้มีม็อบอีก ก็คงต้องล้มตายกันอีก (โดยเฉพาะถ้าเป็นการชุมนุมของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เช่นม็อบเสธ.อ้าย เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 55 ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า สถานที่เดียวกัน ทำไมจึงได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากม็อบของคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 29 ม.ค.56 ราวฟ้ากับดิน)
4.2 กระบวนการยุติธรรม – ขอหลักประกันจากนายกรัฐมนตรีว่า หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม คดีของพล.อ.ร่มเกล้า ไม่เคยได้รับคำอธิบายใดๆ จากดีเอสไอ ยกเว้นครั้งเดียวที่ รมว.ยุติธรรม ส่งเอกสารมาให้ระบุว่า “ยังไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำความผิดได้” ดิฉันตะโกนถามผ่านสื่อไปหลายครั้ง แต่ไม่เคยมีคำตอบจาก DSI เลยสักครั้ง
4.3 การเยียวยา – หากภายหลังการสอบสวนพบว่าผู้ได้รับเงินเยียวยาเป็นผู้กระทำความผิด จะมีมาตรการอย่างใด เพราะโดยหลักการผู้ได้รับเงินเยียวยาต้องไม่ใช่ผู้กระทำความผิด
4.4 การสานเสวนา ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการอยู่ในขณะนี้ รัฐบาลต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรต่อไป จะรอนำผลสรุปของการสานเสวนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน มาประกอบการพิจารณาเรื่องการนิรโทษกรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฯลฯ รวมถึงเรื่องต่างๆ ที่โยงกับการปรองดองอย่างไร
มิฉะนั้นแล้วจะเสียงบประมาณเกือบร้อยล้านบาททำไปเพื่ออะไร และหากให้เกียรติเสียงประชาชน กลไกฝ่ายต่างๆ ของพรรครัฐบาลก็ต้องหยุดรอฟังเสียงประชาชนก่อนที่จะไปดำเนินการใดๆ รวมถึงการเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภา
4.5 เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้มีการชุมนุมเกินขอบเขตในอนาคต ขอให้มีการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการชุมนุม เพื่อควบคุมการชุมนุมให้เป็นไปอย่างสงบสันติ ตามแบบอย่างนานาประเทศ
นายนิชา ระบุว่า หากรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี มีความจริงใจที่จะปรองดองจริง ก็ต้องตอบคำถามเหล่านี้แก่ประชาชนของท่านได้ มิฉะนั้นเราก็ก้าวผ่านขั้นตอนปรองดองของคนในชาติกันไม่ได้ ที่ผ่านมารัฐบาลทำเสมือนว่าแตะทุกขั้นตอน แต่ทำสลับขั้นตอน และก็สักแต่ว่าทำเพื่อให้ครบกระบวนการเท่านั้นเอง เช่นค้นหาข้อเท็จจริงแล้ว แต่ได้ข้อเท็จจริงมาก็ไม่สนใจเนื้อหา โยนรายงานทิ้ง เดินหน้าตามเกมต่อไป เป็นต้น
ดิฉันไม่ได้ใจแคบปฏิเสธการนิรโทษกรรม หากเป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม (แม้มันจะแลกด้วยชีวิตของสามีที่ไม่มีวันเรียกคืนมาได้) แต่อยากย้ำว่าการนิรโทษกรรมง่ายๆ ในตอนนี้ มันไม่ได้ช่วยป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับลูกหลานของเราในอนาคต มีเพื่อนผู้พิพากษาท่านหนึ่ง พูดได้โดนใจว่า ทุกฝ่ายได้ประโยชน์จากการนิรโทษกรรมครั้งนี้ ยกเว้นสองฝ่ายคือ (1) คนตาย และ (2)ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่ไม่ได้ทำความผิดอะไร...
เราคือผู้ที่ต้องแบกรับกรรมนี้ไว้ และก็ไม่มีใครเขาสนใจความรู้สึกของเรา