ASTVผู้จัดการรายวัน- โบรกเกอร์ เผย เดือนม.ค.ยอดปล่อยมาร์จิ้นโลนเพิ่มขึ้น แรงหนุนจากดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ดันยอดปล่อยทั้งอุตสาหกรรมแตะ 4 หมื่นล้านบาท นายสมาคมโบรกเกอร์ ยันไม่น่ากังวลเหตุอดีตเคยสูงถึง 1 แสนล้านบาท-บล.มีมาตรการดูแล ด้านบล.กิมเอ็ง เผย ปัจจุบันมูลค่าปล่อยอยู่ที่1 หมื่นล้านบาท
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า ยอดการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (มาร์จินโลน)ของทั้งอุตสาหกรรมขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ไม่อยู่ในระดับที่น่ากังวล เพราะในอดีตเคยขึ้นไปสูงถึงระดับแสนล้านบาท และการทำหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์(TSFC) ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ดังนั้นผู้ให้สินเชื่อหลักจึงมาจากฝั่งของโบรกเกอร์ และอีกส่วนจะมาจากการให้วงเงินของธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีให้อย่างจำกัด
“มาร์จินโลนขณะนี้ไม่ได้ร้อนแรงจนต้องถึงระดับที่น่ากังวล และระหว่างบริษัทสมาชิกมีการแชร์ข้อมูลของการปล่อยสินเชื่อร่วมกันเพื่อจะได้รู้ว่าตัวไหนได้ถูกปล่อยไปมากแล้ว ตัวไหนเพิ่งเริ่มปล่อยทางโบรกเกอร์จะได้มีการระวัง”นางภัทธีรา กล่าว
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์แบงก์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ หรือMBKET เปิดเผยว่า ยอดการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหุ้น(มาร์จินโลน)ของบริษัท ในช่วง 1 เดือนแรกของปีนี้ แตะระดับ 1 หมื่นล้านบาท ทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2543 เนื่องจาก ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และ มูลค่าการซื้อขายหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5 หมื่นล้านบาท ต่อวัน ทำให้นักลงทุนมีความต้องการที่จะกู้เงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์มากขึ้น
ทั้งนี้ยอดขายปล่อยมาร์จิ้นโลนของบริษัทจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ถือว่าไม่น่ากังวล เพราะ บริษัทมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งบริษัทจะปล่อยมาร์จินในหุ้นอยู่ในSET 100 แต่หากนอกSET 100 จะพิจารณาปัจจัยพื้นฐานประกอบด้วย และหากติดเทิร์นโอเวอร์ลิสต์จากสำนักงานก.ล.ต. ก็จะไม่ปล่อยเช่นกัน
สำหรับปัจจุบันยอดการปล่อยมาร์จิ้นโลนทั้งอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่ได้สูง และไม่น่ากังวลเพราะ เมื่อเทียบกับขนาดของมูลค่าตลาดรวม(มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ระดับ 12.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนไม่ได้มาก เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตเมื่อปี 2540 มีการปล่อยมาร์จินโลนในระดับ 1.2 แสนล้านบาท ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ มาร์เก็ตแคปในขณะนั้นอยู่ในระดับเพียง 3.5 ล้านล้านบาทเท่านั้น
นอกจากนี้ การบริหารจัดการความเสี่ยงของโบรกเกอร์ทำได้ดีกว่าในอดีต โดยจะมีการเปิดเผยข้อมูลร่วมกันถึงจำนวนหุ้นที่ได้ปล่อยมาร์จิน หากมีการปล่อยสินเชื่อเกิน 20% ของหุ้นนั้น จะมีการหยุดให้สินเชื่อในหุ้นตัวนั้น ๆ
ม.ล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า มาร์จินโลนของบริษัทในระยะ 1 เดือนแม้ว่าจะมีการเติบโตประมาณ 10% หรือขึ้นมาใกล้ระดับ 1,000 ล้านบาท แต่ถือว่าไม่ได้สูงมากนัก โดยกำหนดเพดานการปล่อยสินเชื่อไว้ไม่ให้เกิน 1,200 ล้านบาท และสามารถขยายวงเงินเพิ่มเป็น 1,800 ล้านบาท แต่ขณะนี้บริษัทเห็นว่ายังไม่ถึงระดับจะต้องพิจารณาขยายวเงินเพิ่ม
ทั้งนี้ส่วนตัวเชื่อว่าสภาวะตลาดหุ้นในปัจจุบันไม่เชื่อว่าเกิดฟองสบู่เหมือน 10 ปีก่อนหน้านี้ เพราะพื้นฐานรองรับ และสภาพคล่องที่เข้ามายังเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่อยากให้ผู้ลงทุนซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ หากเห็นว่าหุ้นตัวใดราคาขึ้นสูงเกินกว่าการเติบโตของกำไร ก็ควรหลีกเลี่ยง อย่าซื้อโดยฟังข่าวลือ โดยบริษัทจะมีหมายเหตุไปยังเจ้าหน้าที่การตลาดเพื่อให้เตือนลูกค้าในหุ้นที่ขึ้นตามข่าวลือ แต่ท้ายที่สุดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทมีแผนจะขยายตัวงานวิจัยครอบคลุมหุ้นขนาดกลางและเล็กมากขึ้น
นายพิเชษฐ์ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง กล่าวว่า ยอดการปล่อยมาร์จินโลนของบริษัทขณะนี้อยู่ในระดับใกล้ 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากก่อนหน้านี้อยู่ที่ระดับ 700 ล้านบาท อาจไม่ได้สูงเมื่อเทียบกับโบรกเกอร์อื่น เนื่องจากฐานลูกค้าของบริษัทคนละกลุ่ม และเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ใช่มาร์จินโลนในการลงทุน
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า ยอดการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (มาร์จินโลน)ของทั้งอุตสาหกรรมขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ไม่อยู่ในระดับที่น่ากังวล เพราะในอดีตเคยขึ้นไปสูงถึงระดับแสนล้านบาท และการทำหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์(TSFC) ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ดังนั้นผู้ให้สินเชื่อหลักจึงมาจากฝั่งของโบรกเกอร์ และอีกส่วนจะมาจากการให้วงเงินของธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีให้อย่างจำกัด
“มาร์จินโลนขณะนี้ไม่ได้ร้อนแรงจนต้องถึงระดับที่น่ากังวล และระหว่างบริษัทสมาชิกมีการแชร์ข้อมูลของการปล่อยสินเชื่อร่วมกันเพื่อจะได้รู้ว่าตัวไหนได้ถูกปล่อยไปมากแล้ว ตัวไหนเพิ่งเริ่มปล่อยทางโบรกเกอร์จะได้มีการระวัง”นางภัทธีรา กล่าว
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์แบงก์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ หรือMBKET เปิดเผยว่า ยอดการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหุ้น(มาร์จินโลน)ของบริษัท ในช่วง 1 เดือนแรกของปีนี้ แตะระดับ 1 หมื่นล้านบาท ทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2543 เนื่องจาก ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และ มูลค่าการซื้อขายหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5 หมื่นล้านบาท ต่อวัน ทำให้นักลงทุนมีความต้องการที่จะกู้เงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์มากขึ้น
ทั้งนี้ยอดขายปล่อยมาร์จิ้นโลนของบริษัทจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ถือว่าไม่น่ากังวล เพราะ บริษัทมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งบริษัทจะปล่อยมาร์จินในหุ้นอยู่ในSET 100 แต่หากนอกSET 100 จะพิจารณาปัจจัยพื้นฐานประกอบด้วย และหากติดเทิร์นโอเวอร์ลิสต์จากสำนักงานก.ล.ต. ก็จะไม่ปล่อยเช่นกัน
สำหรับปัจจุบันยอดการปล่อยมาร์จิ้นโลนทั้งอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่ได้สูง และไม่น่ากังวลเพราะ เมื่อเทียบกับขนาดของมูลค่าตลาดรวม(มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ระดับ 12.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนไม่ได้มาก เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตเมื่อปี 2540 มีการปล่อยมาร์จินโลนในระดับ 1.2 แสนล้านบาท ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ มาร์เก็ตแคปในขณะนั้นอยู่ในระดับเพียง 3.5 ล้านล้านบาทเท่านั้น
นอกจากนี้ การบริหารจัดการความเสี่ยงของโบรกเกอร์ทำได้ดีกว่าในอดีต โดยจะมีการเปิดเผยข้อมูลร่วมกันถึงจำนวนหุ้นที่ได้ปล่อยมาร์จิน หากมีการปล่อยสินเชื่อเกิน 20% ของหุ้นนั้น จะมีการหยุดให้สินเชื่อในหุ้นตัวนั้น ๆ
ม.ล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า มาร์จินโลนของบริษัทในระยะ 1 เดือนแม้ว่าจะมีการเติบโตประมาณ 10% หรือขึ้นมาใกล้ระดับ 1,000 ล้านบาท แต่ถือว่าไม่ได้สูงมากนัก โดยกำหนดเพดานการปล่อยสินเชื่อไว้ไม่ให้เกิน 1,200 ล้านบาท และสามารถขยายวงเงินเพิ่มเป็น 1,800 ล้านบาท แต่ขณะนี้บริษัทเห็นว่ายังไม่ถึงระดับจะต้องพิจารณาขยายวเงินเพิ่ม
ทั้งนี้ส่วนตัวเชื่อว่าสภาวะตลาดหุ้นในปัจจุบันไม่เชื่อว่าเกิดฟองสบู่เหมือน 10 ปีก่อนหน้านี้ เพราะพื้นฐานรองรับ และสภาพคล่องที่เข้ามายังเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่อยากให้ผู้ลงทุนซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ หากเห็นว่าหุ้นตัวใดราคาขึ้นสูงเกินกว่าการเติบโตของกำไร ก็ควรหลีกเลี่ยง อย่าซื้อโดยฟังข่าวลือ โดยบริษัทจะมีหมายเหตุไปยังเจ้าหน้าที่การตลาดเพื่อให้เตือนลูกค้าในหุ้นที่ขึ้นตามข่าวลือ แต่ท้ายที่สุดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทมีแผนจะขยายตัวงานวิจัยครอบคลุมหุ้นขนาดกลางและเล็กมากขึ้น
นายพิเชษฐ์ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง กล่าวว่า ยอดการปล่อยมาร์จินโลนของบริษัทขณะนี้อยู่ในระดับใกล้ 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากก่อนหน้านี้อยู่ที่ระดับ 700 ล้านบาท อาจไม่ได้สูงเมื่อเทียบกับโบรกเกอร์อื่น เนื่องจากฐานลูกค้าของบริษัทคนละกลุ่ม และเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ใช่มาร์จินโลนในการลงทุน