นักลงทุนอยู่ในภาวะเริงร่ากันสุดเหวี่ยง เนื่องจากตลาดหุ้นกำลังร้อนแรง ทำลายสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 17 ปีอย่างต่อเนื่อง แต่ดัชนีหุ้นที่พุ่งขึ้นสดใสขัดความรู้สึกของคนจำนวนไม่น้อย เพราะเศรษฐกิจยังดูไม่ดีเท่าไหร่ แต่ทำไมหุ้นจึพุ่งทะยาน
ตลาดหุ้นปี 2555 ปรับตัวขึ้นประมาณ 35% สูงที่สุดในโลก และตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมปีนี้ ก็วิ่งฉิวแทบไม่หยุดพัก จนดัชนีพุ่งทะลุ 1,450 จุด โดยหุ้นขนาดกลางและหุ้นขนาดเล็กเกิดภาวะการเก็งกำไรสูง จนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ต้องออกมาเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวัง
ความคึกคักของตลาดหุ้นไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายในประเทศ แต่เป็นแรงกระตุ้นจากเงินทุนไหลเข้า โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ รวมทั้งญี่ปุ่นซึ่งเพิ่งประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุด ทำให้เงินทะลักเข้าประเทศไทย
แต่เงินทุนส่วนใหญ่ไหลเข้าไปในตลาดเงิน และกระจุกตัวที่ตลาดตราสารหนี้ มีเพียงส่วนหนึ่งที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้น ซึ่งในเดือนมกราคมก็เริ่มชะลอการไหลเข้า โดยมูลค่าการซื้อขายหุ้นที่ขยับขึ้นมาระดับ 5-6 หมื่นล้านบาทต่อวัน เป็นผลพวงจากการเก็งกำไรของนักลงทุนรายย่อยในประเทศที่ซื้อขายหุ้นวันละหลายรอบ
ภาวะการลงทุนโดยรวมยกระดับขึ้นสู่จุดเสี่ยง เนื่องจากราคาหุ้นพุ่งขึ้นมาเร็วมาก จนเกิดความเปราะบาง เพราะถ้ามีข่าวร้ายเข้ามากระทบ หรือนักลงทุนต่างประเทศหันมาขาย ก็อาจทรุดตัวลงครั้งใหญ่
แต่ความหวั่นไหวในการพลิกผันของตลาดหุ้น ไม่ได้อยู่ที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่อยู่ที่หุ้นขนาดเล็กหลายตัว ซึ่งนักลงทุนรายย่อยตามแห่เข้าไปเก็งกำไรอย่างเมามัน จนก.ล.ต. ต้องออกมาส่งสัญญาณเตือนภัย
หุ้นตัวเล็กกลายเป็นหุ้นเก็งกำไรยอดนิยม โดยขยับขึ้นมายกแผงหลายสิบบริษัท คละเคล้าไปด้วยหุ้นที่มีข่าวสนับสนุนและหุ้นที่มีพฤติกรรมสร้างราคาหรือหุ้นปั่น
ราคาหุ้นขนาดเล็กหลายตัวพุ่งขึ้นมาหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา 2 เดือน เช่นหุ้นบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอ็นจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือไออีซี และหุ้นบริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นพาร์ค
ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนปี 55 หุ้นเอ็นพาร์คราคายังอยู่ที่ 2 สตางค์ แต่ถูกลากขึ้นมาที่ 14 สตางค์ เพิ่มขึ้น 600% ขณะที่หุ้นไออีซีต้นเดือนพฤศจิกายนปี 55 ราคาอยู่ที่ 1 สตางค์ แต่ถูกลากขึ้นมาที่ 9 สตางค์ เพิ่มขึ้น 800% ท่ามกลางมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น
โดยเฉพาะหุ้นเอ็นพาร์ค ซึ่งเคยซื้อขายกันวันละระดับ 100 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าไม่กี่ล้านบาท แต่ขยับขึ้นมาซื้อขายระดับหลายพันล้านบาท ซึ่งถ้าคิดเป็นจำนวนหุ้น ซื้อขายเพียงวันเดียวกว่า 16,000 ล้านหุ้น และเป็นหุ้นที่สร้างสถิติการซื้อขายคิดเป็นจำนวนหุ้นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นไทย
ทั้งไออีซีและเอ็นพาร์ค มีประวัติสร้างความขมขื่นให้นักลงทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีพฤติกรรมสร้างราคามานับสิบปี ราคาเคยถูกลากขึ้นไปสูงถึงหลายสิบบาทหรือระดับ 10 บาท ก่อนจะรูดลงมาเหลือ 1 สตางค์ทั้งสองบริษัท
อนาคตกิจการหุ้นทั้งสองบริษัทไม่มีความชัดเจน แต่มีการสร้างข่าวขึ้นมากระตุ้นนักลงทุนที่กำลังหลงระเริงให้ตามแห่เข้ามาเก็งกำไรซึ่งได้ผล เพราะนักลงทุนรายย่อยแห่เข้ามาเหมือนฝูงแมลงเม่าเข้ามาซื้อขายแลกหมัดวัดดวงกับหุ้นทั้งสองบริษัทโดยไม่กลัวตาย
ไออีซีและเอ็นพาร์คเป็นเพียงหุ้นขนาดเล็ก 2 บริษัทที่สะท้อนถึงบรรยากาศการเก็งกำไรอย่างสุดเหวี่ยงในตลาดหุ้น เพราะยังมีหุ้นขนาดกลางขนาดเล็กอีกหลายบริษัทที่มีพฤติกรรมไม่แตกต่าง เพียงแต่อาจไม่ร้อนจัดเท่าหุ้น 2 ตัวนี้เท่านั้น
ไม่มีสิ่งบอกเหตุว่า ตลาดหุ้นจะเกิดการทรุดตัวลงอย่างรุนแรง หรือเกิดการพังทลายเมื่อไหร่ มีแต่ความรู้สึกว่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบันกำลังเข้าสู่ยุคการปั่นฟองสบู่ การปั่นราคาหุ้น การสร้างบรรยากาศเก็งกำไรเพื่อล่อแมลงเม่าให้ “ติดกับ”
ก.ล.ต.คงได้แต่นั่งดูการปั่นฟองสบู่ในตลาดหุ้นตาปริบๆ เพราะทำอะไรไม่ได้ นอกจากเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังและดูแลตัวเอง
ประมาณการของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ตั้งเป้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปีนี้ไว้ที่ระดับ 1,450 จุด ถึง 1,500 จุดเศษ แต่เพียงเดือนมกราคม ดัชนีฯ ก็วิ่งชนเป้าหมายทั้งปีแล้ว จึงถือว่าหุ้นร้อนมาก โดยเป็นความร้อนที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการปั่นฟองสบู่
ความสดใสของตลาดหุ้นสวนทางกับความเป็นไปทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งยังซบเซา ความรู้สึกฮึกเหิมเก็งกำไรของนักลงทุนแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความรู้สึกของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งยังต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบต่อสู้กับภาวะค่าครองชีพที่พุ่งขึ้น
แต่โลกของการลงทุนเป็นเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจยาก เพราะบางช่วงเวลาตลาดหุ้นน่าจะซบเซา แต่กลับร้อนแรงสุดเหวี่ยง เช่นเดียวกับสถานการณ์ขณะนี้ ซึ่งมีเพียงคำอธิบายสั้นๆ เท่านั้นว่า ฝรั่งกำลังขนเงินเข้ามาลุย
และปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่า มีเงินทุนไหลเข้ามาจริง ค่าเงินบาทก็แข็งขึ้นเพระเงินทุนไหลเข้าจริง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่า กำลังเกิดการปั่นฟองสบู่ในตลาดหุ้น
รัฐบาลคงไม่สนใจกับภาวะฟองสบู่เท่าไหร่นัก เพราะความคึกคักของตลาดหุ้น ถือเป็นหน้าเป็นตา ดัชนีที่พุ่งสร้างสถิติสูงสุดใหม่ ถือเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดผลงาน
นักลงทุนที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายในตลาดหุ้นต้องดูแลตัวเองแล้ว เงินใครเงินมัน ตัวใครตัวมัน อย่าหวังว่ารัฐบาล “ปู” จะแก้ปัญหาในตลาดหุ้น ทั้งที่ฟองสบู่ใกล้จะแตกแล้ว
ตลาดหุ้นปี 2555 ปรับตัวขึ้นประมาณ 35% สูงที่สุดในโลก และตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมปีนี้ ก็วิ่งฉิวแทบไม่หยุดพัก จนดัชนีพุ่งทะลุ 1,450 จุด โดยหุ้นขนาดกลางและหุ้นขนาดเล็กเกิดภาวะการเก็งกำไรสูง จนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ต้องออกมาเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวัง
ความคึกคักของตลาดหุ้นไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายในประเทศ แต่เป็นแรงกระตุ้นจากเงินทุนไหลเข้า โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ รวมทั้งญี่ปุ่นซึ่งเพิ่งประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุด ทำให้เงินทะลักเข้าประเทศไทย
แต่เงินทุนส่วนใหญ่ไหลเข้าไปในตลาดเงิน และกระจุกตัวที่ตลาดตราสารหนี้ มีเพียงส่วนหนึ่งที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้น ซึ่งในเดือนมกราคมก็เริ่มชะลอการไหลเข้า โดยมูลค่าการซื้อขายหุ้นที่ขยับขึ้นมาระดับ 5-6 หมื่นล้านบาทต่อวัน เป็นผลพวงจากการเก็งกำไรของนักลงทุนรายย่อยในประเทศที่ซื้อขายหุ้นวันละหลายรอบ
ภาวะการลงทุนโดยรวมยกระดับขึ้นสู่จุดเสี่ยง เนื่องจากราคาหุ้นพุ่งขึ้นมาเร็วมาก จนเกิดความเปราะบาง เพราะถ้ามีข่าวร้ายเข้ามากระทบ หรือนักลงทุนต่างประเทศหันมาขาย ก็อาจทรุดตัวลงครั้งใหญ่
แต่ความหวั่นไหวในการพลิกผันของตลาดหุ้น ไม่ได้อยู่ที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่อยู่ที่หุ้นขนาดเล็กหลายตัว ซึ่งนักลงทุนรายย่อยตามแห่เข้าไปเก็งกำไรอย่างเมามัน จนก.ล.ต. ต้องออกมาส่งสัญญาณเตือนภัย
หุ้นตัวเล็กกลายเป็นหุ้นเก็งกำไรยอดนิยม โดยขยับขึ้นมายกแผงหลายสิบบริษัท คละเคล้าไปด้วยหุ้นที่มีข่าวสนับสนุนและหุ้นที่มีพฤติกรรมสร้างราคาหรือหุ้นปั่น
ราคาหุ้นขนาดเล็กหลายตัวพุ่งขึ้นมาหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา 2 เดือน เช่นหุ้นบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอ็นจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือไออีซี และหุ้นบริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นพาร์ค
ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนปี 55 หุ้นเอ็นพาร์คราคายังอยู่ที่ 2 สตางค์ แต่ถูกลากขึ้นมาที่ 14 สตางค์ เพิ่มขึ้น 600% ขณะที่หุ้นไออีซีต้นเดือนพฤศจิกายนปี 55 ราคาอยู่ที่ 1 สตางค์ แต่ถูกลากขึ้นมาที่ 9 สตางค์ เพิ่มขึ้น 800% ท่ามกลางมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น
โดยเฉพาะหุ้นเอ็นพาร์ค ซึ่งเคยซื้อขายกันวันละระดับ 100 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าไม่กี่ล้านบาท แต่ขยับขึ้นมาซื้อขายระดับหลายพันล้านบาท ซึ่งถ้าคิดเป็นจำนวนหุ้น ซื้อขายเพียงวันเดียวกว่า 16,000 ล้านหุ้น และเป็นหุ้นที่สร้างสถิติการซื้อขายคิดเป็นจำนวนหุ้นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นไทย
ทั้งไออีซีและเอ็นพาร์ค มีประวัติสร้างความขมขื่นให้นักลงทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีพฤติกรรมสร้างราคามานับสิบปี ราคาเคยถูกลากขึ้นไปสูงถึงหลายสิบบาทหรือระดับ 10 บาท ก่อนจะรูดลงมาเหลือ 1 สตางค์ทั้งสองบริษัท
อนาคตกิจการหุ้นทั้งสองบริษัทไม่มีความชัดเจน แต่มีการสร้างข่าวขึ้นมากระตุ้นนักลงทุนที่กำลังหลงระเริงให้ตามแห่เข้ามาเก็งกำไรซึ่งได้ผล เพราะนักลงทุนรายย่อยแห่เข้ามาเหมือนฝูงแมลงเม่าเข้ามาซื้อขายแลกหมัดวัดดวงกับหุ้นทั้งสองบริษัทโดยไม่กลัวตาย
ไออีซีและเอ็นพาร์คเป็นเพียงหุ้นขนาดเล็ก 2 บริษัทที่สะท้อนถึงบรรยากาศการเก็งกำไรอย่างสุดเหวี่ยงในตลาดหุ้น เพราะยังมีหุ้นขนาดกลางขนาดเล็กอีกหลายบริษัทที่มีพฤติกรรมไม่แตกต่าง เพียงแต่อาจไม่ร้อนจัดเท่าหุ้น 2 ตัวนี้เท่านั้น
ไม่มีสิ่งบอกเหตุว่า ตลาดหุ้นจะเกิดการทรุดตัวลงอย่างรุนแรง หรือเกิดการพังทลายเมื่อไหร่ มีแต่ความรู้สึกว่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบันกำลังเข้าสู่ยุคการปั่นฟองสบู่ การปั่นราคาหุ้น การสร้างบรรยากาศเก็งกำไรเพื่อล่อแมลงเม่าให้ “ติดกับ”
ก.ล.ต.คงได้แต่นั่งดูการปั่นฟองสบู่ในตลาดหุ้นตาปริบๆ เพราะทำอะไรไม่ได้ นอกจากเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังและดูแลตัวเอง
ประมาณการของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ตั้งเป้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปีนี้ไว้ที่ระดับ 1,450 จุด ถึง 1,500 จุดเศษ แต่เพียงเดือนมกราคม ดัชนีฯ ก็วิ่งชนเป้าหมายทั้งปีแล้ว จึงถือว่าหุ้นร้อนมาก โดยเป็นความร้อนที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการปั่นฟองสบู่
ความสดใสของตลาดหุ้นสวนทางกับความเป็นไปทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งยังซบเซา ความรู้สึกฮึกเหิมเก็งกำไรของนักลงทุนแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความรู้สึกของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งยังต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบต่อสู้กับภาวะค่าครองชีพที่พุ่งขึ้น
แต่โลกของการลงทุนเป็นเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจยาก เพราะบางช่วงเวลาตลาดหุ้นน่าจะซบเซา แต่กลับร้อนแรงสุดเหวี่ยง เช่นเดียวกับสถานการณ์ขณะนี้ ซึ่งมีเพียงคำอธิบายสั้นๆ เท่านั้นว่า ฝรั่งกำลังขนเงินเข้ามาลุย
และปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่า มีเงินทุนไหลเข้ามาจริง ค่าเงินบาทก็แข็งขึ้นเพระเงินทุนไหลเข้าจริง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่า กำลังเกิดการปั่นฟองสบู่ในตลาดหุ้น
รัฐบาลคงไม่สนใจกับภาวะฟองสบู่เท่าไหร่นัก เพราะความคึกคักของตลาดหุ้น ถือเป็นหน้าเป็นตา ดัชนีที่พุ่งสร้างสถิติสูงสุดใหม่ ถือเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดผลงาน
นักลงทุนที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายในตลาดหุ้นต้องดูแลตัวเองแล้ว เงินใครเงินมัน ตัวใครตัวมัน อย่าหวังว่ารัฐบาล “ปู” จะแก้ปัญหาในตลาดหุ้น ทั้งที่ฟองสบู่ใกล้จะแตกแล้ว