ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเป็นอยู่ในปัจจุบันของประชาชนในสังคมเมืองและสังคมชนบท ถูกแขวนไว้ให้เกี่ยวเนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเสมือนจะกลายเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่โลกวัตถุนิยมเบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะนโยบายรัฐ เช่น นโยบาย 300 บาท ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน
300 บาท เป็นนโยบายเพิ่มค่าจ้าง เพื่อจูงใจให้ประชาชนตัดสินใจเลือกพรรค จะกล่าวว่าเป็นนโยบายวัตถุนิยมคงไม่ผิดแต่อย่างใด หากมีข้อสังเกตเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ที่ปักธงไว้ เช่น ค่าแรง 300 บาท แท็บเล็ตเพื่อเด็ก ป. 1 และรถคันแรก เป็นต้น เป็นนโยบายกระตุ้นแค่เปลือกนอกของเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตภายนอก โดยเฉพาะนโยบายค่าแรง 300 บาท ที่กำลังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจขนาดย่อม กิจการรายย่อย ลูกจ้างแรงงานทั้งมีฝีมือและไร้ฝีมือ
ผู้เขียนได้รับฟังคนงานชั้นกรรมาชีพในโรงงาน การก่อสร้าง และแรงงานพม่า ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ตัดพ้อว่า เมื่อรัฐประกาศค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน ทำให้พวกเขาตกงาน เพราะนายจ้างและผู้ประกอบกิจการขนาดย่อม ไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งยังไม่ได้รวมถึงราคาสินค้าทั่วไป เช่น ผักปลา อาหารสด ราคาข้าวแกง เป็นต้น ที่มีราคาสูงขึ้นตามสืบเนื่องมา แม้จะได้ติดตามฟังข่าวว่า ผู้รับผิดชอบดูแลระบบเศรษฐกิจอย่างกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงที่เกี่ยวข้องด้านมนุษย์และสังคมจะออกมาแสดงความเห็นใจ ว่า จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว เหล่านี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า รัฐวางนโยบายโดยขาดความรอบคอบ และไม่มีวิสัยทัศน์ เพราะไม่ได้คาดการณ์ผลกระทบอันเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อภาคประชาชน นั่นเท่ากับว่า มิได้มีการคิดวิเคราะห์และการกลั่นกรองนโยบายอย่างรอบด้าน รวมทั้งขาดการวางแผนรองรับความเสียหาย เป็นไปแล้วว่า กลุ่มแรงงานและภาคประชาชนต้องแบกรับภาระ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งการเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ ซึ่งพวกเขาสะท้อนแล้วว่า แท้จริงแล้ว ไม่ได้ต้องการค่าแรง 300 บาท อันทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง เพราะต้องตกงาน ซื้อสินค้าและข้าวของที่ราคาแพงขึ้นมาก
ผู้เขียนคิดเห็นว่า รัฐในฐานะผู้บริหารประเทศซึ่งไม่ใช่บริหารบริษัท ควรทบทวนนโยบายและวิธีปฏิบัติ มิใช่ดึงดันเดินหน้ากระทำสิ่งคิดว่า “คิดดีแล้ว” โดยไม่ฟังเสียงใครเลย เพราะลำพังเพียงรัฐ ย่อมไม่สามารถบริหารและขับเคลื่อนพลวัตต่างๆ ในประเทศได้ หากไร้ความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชนที่ถูกรัฐปักธงให้เป็นมดงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ
300 บาท เป็นนโยบายเพิ่มค่าจ้าง เพื่อจูงใจให้ประชาชนตัดสินใจเลือกพรรค จะกล่าวว่าเป็นนโยบายวัตถุนิยมคงไม่ผิดแต่อย่างใด หากมีข้อสังเกตเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ที่ปักธงไว้ เช่น ค่าแรง 300 บาท แท็บเล็ตเพื่อเด็ก ป. 1 และรถคันแรก เป็นต้น เป็นนโยบายกระตุ้นแค่เปลือกนอกของเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตภายนอก โดยเฉพาะนโยบายค่าแรง 300 บาท ที่กำลังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจขนาดย่อม กิจการรายย่อย ลูกจ้างแรงงานทั้งมีฝีมือและไร้ฝีมือ
ผู้เขียนได้รับฟังคนงานชั้นกรรมาชีพในโรงงาน การก่อสร้าง และแรงงานพม่า ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ตัดพ้อว่า เมื่อรัฐประกาศค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน ทำให้พวกเขาตกงาน เพราะนายจ้างและผู้ประกอบกิจการขนาดย่อม ไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งยังไม่ได้รวมถึงราคาสินค้าทั่วไป เช่น ผักปลา อาหารสด ราคาข้าวแกง เป็นต้น ที่มีราคาสูงขึ้นตามสืบเนื่องมา แม้จะได้ติดตามฟังข่าวว่า ผู้รับผิดชอบดูแลระบบเศรษฐกิจอย่างกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงที่เกี่ยวข้องด้านมนุษย์และสังคมจะออกมาแสดงความเห็นใจ ว่า จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว เหล่านี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า รัฐวางนโยบายโดยขาดความรอบคอบ และไม่มีวิสัยทัศน์ เพราะไม่ได้คาดการณ์ผลกระทบอันเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อภาคประชาชน นั่นเท่ากับว่า มิได้มีการคิดวิเคราะห์และการกลั่นกรองนโยบายอย่างรอบด้าน รวมทั้งขาดการวางแผนรองรับความเสียหาย เป็นไปแล้วว่า กลุ่มแรงงานและภาคประชาชนต้องแบกรับภาระ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งการเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ ซึ่งพวกเขาสะท้อนแล้วว่า แท้จริงแล้ว ไม่ได้ต้องการค่าแรง 300 บาท อันทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง เพราะต้องตกงาน ซื้อสินค้าและข้าวของที่ราคาแพงขึ้นมาก
ผู้เขียนคิดเห็นว่า รัฐในฐานะผู้บริหารประเทศซึ่งไม่ใช่บริหารบริษัท ควรทบทวนนโยบายและวิธีปฏิบัติ มิใช่ดึงดันเดินหน้ากระทำสิ่งคิดว่า “คิดดีแล้ว” โดยไม่ฟังเสียงใครเลย เพราะลำพังเพียงรัฐ ย่อมไม่สามารถบริหารและขับเคลื่อนพลวัตต่างๆ ในประเทศได้ หากไร้ความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชนที่ถูกรัฐปักธงให้เป็นมดงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ