นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ และแกนนำกลุ่ม นปช. กล่าวถึง ร่าง พ.ร.ก. นิรโทษกรรม ที่จะนำเสนอให้ครม.พิจารณา ว่า เราเชื่อมั่นว่าประชาชนที่ต้องคดีความ ทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลือง และสีเสื้ออื่นๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 ก.ย.49 เป็นต้นมา ไม่ได้มีพื้นฐานชีวิตเป็นอาชญากร เมื่อต้องคดีความ น่าจะได้รับโอกาสจากกระบวนการยุติธรรม เราเห็นว่าการหยิบยื่นโอกาสทางกระบวนการยุติธรรมให้ผู้ต้องคดีทางการเมือง จะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ในการสร้างความปรองดองได้ หากเราตัดในส่วนของแกนนำของทุกกลุ่มออกไปได้ จะลดเงื่อนไขความขัดแย้งได้มาก
ทั้งนี้ การยื่นร่าง พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ได้มีการปรึกษาหารือกับนักกฎหมายหลายคน เห็นว่าสามารถนำเสนอ และนำไปสู่ผลบังคับใช้ได้ ส่วนที่ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในขณะนี้ เป็นเรื่องที่เราสามารถอภิปราย หรือตีความในตัวบทกฎหมายกันได้ ไม่ใช่ความขัดแย้ง
สำหรับกำหนดเวลาที่จะยื่น ร่าง พ.ร.ก.นิรโทษกรรมให้นายกฯนั้น ยังไม่ได้มีการนัดหมายกัน ส่วนมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า การออกพ.ร.ก. อาจนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่นั้น คิดว่าแกนนำของทุกๆกลุ่ม คงไม่มีความเห็นแตกต่าง เพราะตั้งแต่มีการเสนอแนวคิดนี้ ก็ยังไม่ปรากฏท่าทีต่อต้านที่ชัดเจน
ส่วนรัฐบาลจะรับลูกหรือไม่ เพราะอาจสุ่มเสี่ยงที่จะถูกยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น ตนเห็นว่า รัฐบาลนี้อยู่ในสถานการณ์ความเสี่ยงจากฝ่ายที่จ้องโจมตีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เราเสนอ ประกอบด้วยหลักการและเหตุผล เชื่อว่าสังคมนี้ต้องมีบางมุมที่พูดด้วยเหตุด้วยผลกันได้บ้าง เพราะเรามีเป้าหมายที่ประชาชนเป็นสำคัญ
ด้านนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าในส่วนของรัฐบาล ยังไม่มีการหารือกัน แต่การที่ข้อเสนอดังกล่าว จะออกเป็นพ.ร.ก.ได้นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 184 เรื่องหลักการ เงื่อนไข ที่จะออกเป็น พ.ร.ก. กำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะ ความปลอดภัยของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ภัยพิบัติต่างๆ ความเร่งด่วนที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งล้วนเป็นเงื่อนไขสำคัญว่า จะออกเป็น พ.ร.ก.ได้หรือไม่ ทั้งนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ผู้เสนอต้องการให้รัฐบาลพิจารณา ดังนั้น คงต้องดูว่าข้อเสนอเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในภาพรวมของรัฐบาลยังไม่มีแนวคิดที่จะออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมใช่หรือไม่ นายวราเทพ กล่าวว่า ขณะนี้อำนาจในการออก พ.ร.ก.เป็นอำนาจของ ครม. หากจะดำเนินการก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญมาตรา184 ซึ่งเนื้อหาที่จะออกนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขหรือไม่ อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนยังไม่ทราบรายละเอียดข้อมูลจึงไม่มีความเห็น
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่องนี้ ก็เดินผ่าวงสื่อมวลชนไป ทำหน้างง พร้อมกับส่ายหน้า และบอกว่า ไม่รู้เรื่องเลย ยังไม่เคยคุย พ.ร.ก.อะไรหรือ
ทั้งนี้ การยื่นร่าง พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ได้มีการปรึกษาหารือกับนักกฎหมายหลายคน เห็นว่าสามารถนำเสนอ และนำไปสู่ผลบังคับใช้ได้ ส่วนที่ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในขณะนี้ เป็นเรื่องที่เราสามารถอภิปราย หรือตีความในตัวบทกฎหมายกันได้ ไม่ใช่ความขัดแย้ง
สำหรับกำหนดเวลาที่จะยื่น ร่าง พ.ร.ก.นิรโทษกรรมให้นายกฯนั้น ยังไม่ได้มีการนัดหมายกัน ส่วนมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า การออกพ.ร.ก. อาจนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่นั้น คิดว่าแกนนำของทุกๆกลุ่ม คงไม่มีความเห็นแตกต่าง เพราะตั้งแต่มีการเสนอแนวคิดนี้ ก็ยังไม่ปรากฏท่าทีต่อต้านที่ชัดเจน
ส่วนรัฐบาลจะรับลูกหรือไม่ เพราะอาจสุ่มเสี่ยงที่จะถูกยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น ตนเห็นว่า รัฐบาลนี้อยู่ในสถานการณ์ความเสี่ยงจากฝ่ายที่จ้องโจมตีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เราเสนอ ประกอบด้วยหลักการและเหตุผล เชื่อว่าสังคมนี้ต้องมีบางมุมที่พูดด้วยเหตุด้วยผลกันได้บ้าง เพราะเรามีเป้าหมายที่ประชาชนเป็นสำคัญ
ด้านนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าในส่วนของรัฐบาล ยังไม่มีการหารือกัน แต่การที่ข้อเสนอดังกล่าว จะออกเป็นพ.ร.ก.ได้นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 184 เรื่องหลักการ เงื่อนไข ที่จะออกเป็น พ.ร.ก. กำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะ ความปลอดภัยของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ภัยพิบัติต่างๆ ความเร่งด่วนที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งล้วนเป็นเงื่อนไขสำคัญว่า จะออกเป็น พ.ร.ก.ได้หรือไม่ ทั้งนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ผู้เสนอต้องการให้รัฐบาลพิจารณา ดังนั้น คงต้องดูว่าข้อเสนอเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในภาพรวมของรัฐบาลยังไม่มีแนวคิดที่จะออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมใช่หรือไม่ นายวราเทพ กล่าวว่า ขณะนี้อำนาจในการออก พ.ร.ก.เป็นอำนาจของ ครม. หากจะดำเนินการก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญมาตรา184 ซึ่งเนื้อหาที่จะออกนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขหรือไม่ อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนยังไม่ทราบรายละเอียดข้อมูลจึงไม่มีความเห็น
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่องนี้ ก็เดินผ่าวงสื่อมวลชนไป ทำหน้างง พร้อมกับส่ายหน้า และบอกว่า ไม่รู้เรื่องเลย ยังไม่เคยคุย พ.ร.ก.อะไรหรือ