วานนี้ ( 15 ม.ค.56) นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวภายหลังการประชุมกกต.ว่า ที่ประชุมได้รับทราบ 5 ประเด็นที่คณะทำงานศึกษาข้อกฎหมาย และวิธีการออกเสียงประชามติของรัฐบาล ขอความเห็นจากกกต.ตามที่นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการกกต. เสนอ และเห็นว่า เพื่อให้เกิดความรอบคอบจึงมีมติให้นำทั้ง 5 ประเด็นส่งให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของกกต.พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตามเบื้องต้นกกต.เห็นว่าทั้ง 5 ประเด็นที่รัฐบาลขอหารือนั้นน่าจะเป็นเรื่องของรัฐบาล ไม่ใช่กกต. โดยในส่วนของกกต.ที่เห็นว่าน่าหนักใจหากจะมีการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ก็คือกรณีมาตรา 6 ของพ.ร.ป.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่กำหนดให้วันออกเสียงต้องเป็นวันเดียวกันทุกเขตออกเสียง ขณะเดียวกันก็กำหนดให้คนไทยที่ออกนอกราชอาณาจักรสามารถออกเสียงได้ ซึ่งการจะกำหนดให้วันออกเสียงเป็นวันเดียวกันจึงเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้การกำหนดให้กกต.ต้องดำเนินการในเรื่องการจัดทำประชามติให้แล้วเสร็จไม่เกิน 120 วันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง ตามข้อเท็จจริงหากระหว่างกกต.ดำเนินการจัดทำประชามติอยู่แล้วมีการยื่นร้องต่อศาลปกครองว่าการทำประชามติไม่ชอบของให้สั่งเพิกถอนการดำเนินการ และขอว่าระหว่างศาลพิจารณาให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดยการสั่งระงับการจัดทำประชามติไว้ก่อน กกต.ต้องปฏิบัติอย่างไร
“ถามว่า กกต.จะต้องหยุดการจัดทำประชามติตามคำสั่งศาลปกครองไว้ก่อน หรือว่าต้องเดินหน้าต่อเพราะว่ากฎหมายกำหนดให้ต้องแล้วเสร็จใน 120 วัน และถ้าหากศาลปกครองใช้เวลาพิจารณาเกินกว่า 120 วัน จะทำอย่างไร หรือในเรื่องที่กำหนดให้ต้องจัดการออกเสียงในวันเดียวกันทุกเขต ในต่างประเทศจะทำอย่างไร ที่ผ่านมาในกรณีการเลือกตั้ง ในต่างประเทศก็ไม่ได้หย่อนบัตรจริงในวันที่คนไทยหย่อนบัตร แต่ดำเนินการได้เพราะมีกฎหมายรองรับให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าได้ แต่สำหรับการออกเสียงประชามติกฎหมายไม่ได้เขียนรองรับไว้ให้ดำเนินการได้ก่อน ดังนั้นไม่ว่ากกต.จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งก็เสี่ยงกับการถูกเล่นงานตามมาตรา 157 ทั้งสิ้น อย่าลืมว่าในอดีตที่มีปรับเรื่องการหันคูหาเลือกตั้งทำให้คนภายนอกเห็นการลงคะแนน จนทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นถูกร้องให้เป็นโมฆะ ที่สุดก็มีการฟ้องว่ากกต.ชุดที่แล้วต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับค่าเสียหายในจัดการเลือกตั้ง ซึ่งกกต.ชุดนี้ก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย แต่เรื่องนี้มันเหมือนทำให้เราเดินเข้าสู่พงหนาม ทั้งที่พวกเราเหลือเวลาการดำรงตำแหน่งกกต.อีกไม่เท่าไร”
นางสดศรี ยังกล่าวด้วยว่า กกต.จึงเห็นว่าหากรัฐบาลจะทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญจริงก็ควรจะมีการแก้ไขร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการทำประชามติในเรื่องที่เป็นปัญหานี้เสียก่อน โดยใช้ช่วงเวลา 2 เดือนที่รัฐบาลจะให้สถาบันการศึกษาทำการศึกษาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดำเนินการให้แล้วเสร็จ
นายภุชงค์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการนำข้อหารือการจัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ได้มีการหารือกับคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมาย โดยวิธีการออกเสียงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล และพิจารณาและมีมติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในวันที่16 ม.ค. จะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในเวลา 14.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ.
**ไม่ยืมมือกกต.ล้มประชามติแน่นอน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ ในฐานะคณะทำงานพิจารณาแนวทางการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เกรงว่ารัฐบาลจะยืมมือ กกต. เพื่อล้มการทำประชามติว่า ไม่ได้ยืมมือกกต.แน่นอน เราไปขอพบประธานกกต.และคณะกรรมการเพราะกกต.เป็นผู้จัดการเวลาที่มีการออกเสียงประชามติ กฎระเบียบต่างๆ เพราะฉะนั้นหากจะมีการทำประชามติก็ต้องไปถามก่อน การที่กกต.ส่งเลขาธิการฯและคณะมาพบ เพื่อทราบแนวทางในการหารือ ซึ่งเราได้เรียนถึงประเด็นที่จะหารือไปแล้ว ในประเด็นตรงไหนที่กกต.คิดว่าเป็นปัญหาในเรื่องของกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเลขาฯกกต.ก็มีการยกตัวอย่างขึ้นมาว่าทางกกต.ก็มีการถกกันในคณะกรรมการกกต.เอง ว่ากฎหมายบางประเด็นกกต.ก็ยังไม่เห็นว่ามีความชัดเจนเท่าไหร่
ทั้งนี้จากความเห็นของกกต.ในเรื่องกฎหมายบางเรื่องที่ยังมีความเห็นไม่สนิทใจ ตนเชื่อว่าทางกกต.จะหาข้อยุติได้ เพราะมุมมองทางกฎหมายบางอย่าง จากการหารือที่ผ่านมาก็มีการยกขึ้นมา และตนก็ได้ยืนยันความคิดเห็นบางเรื่องกับทางกกต.ไป เช่นเรื่องการทำประชามติในวันเดียวกัน ซึ่งต้องมีการทำทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย ทราบว่าทางกกต.เองก็มีการถกอยู่เหมือนกันว่าในต่างประเทศและประเทศไทยจะทำวันเดียวกันอย่างไร
วันเดียวกันที่กระทรวงศึกษาธิการมีการหารือกับ 3 สถาบันหลัก จากคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ของ ม.ธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยารามคำแหง เพื่อหารือกรณีที่มีการเสนอว่าควรจะให้สถาบันการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นทางด้านยุทธศาสตร์ นิติศาสตร์ เกี่ยวกับประเด็นในการทำประชามติ ทั้งนี้ยังย้ำว่าจะเดินหน้า เมื่อถูกถามว่าถึงทางตันหรือไม่
**ไอ้ตู่ อ้างนัดปูชี้แจงถึงพรก.นิรโทษ
ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ (หลักสี่) กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ นปช. (คนเสื้อแดง) นำโดย นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช. และแกนนำนปช. พร้อมด้วยมวลชนคนเสื้อแดงร่วม 300 คน เดินทางมาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ หลักสี่เพื่อมอบอุปกรณ์ออกกำลังกาย ให้ผู้ต้องโทษทางการเมืองจำนวน 22 คน
ทั้งนี้แกนนำนปช.ได้อ่านแถลงการณ์เพื่อเสนอร่างพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับโทษหรือถูกกล่าวโทษทางอาญา อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2550 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2554 ต่อนายกฯ โดยร่างพ.ร.ก. มีทั้งสิ้น 4 มาตรา
พระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้ร้บโทษจำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุด และผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 31 ธ.ค.2554 มาตรา๑พระราชกำหนดนี้เรียกว่าพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้ร้บโทษ จำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุดและผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ 2550 จนถึง วันที่ 31ธันวาคม พ.ศ. 2554
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 3บรรดาผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ 2550จนถึง วันที่ 31ธันวาคม พ.ศ. 2554ไม่ว่าจะไดรับโทษจำคุกจากคำพิพากษาอันถึงที่สุด หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งยังไม่ถึงที่สุด ให้ถือว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้พ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
ความในวรรคก่อนไม่รวมถึง บรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในห้วงเวลาดังกล่าว และ มาตรา4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
หมายเหตุท้ายพระราชกำหนดฯ ความขัดแย้งทางการเมืองและการแสดงออกเป็นเรื่องที่ รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ.2550 ได้ให้การรับรองไว้ดังนั้น หากประชาชนแสดงออกซึ่ง ความขัดแย้งทางการเมืองจนมีการกระทำอันเป็นความผิดคดีอาญาจึงเห็นสมควรที่จะได้รับการนิรโทษกรรม ยกเว้นผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงเวลาดังกล่าว เพื่อให้ได้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขในประเทศไทยอย่างแท้จริง
นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำนปช. กล่าวว่า ในอดีตผู้ก่อการกบฏยังได้รับการนิรโทษกรรมทั้งสิ้น ทั้งๆที่มีโทษเพียงสถานเดียวคือ การประหารชีวิต เป็นเรื่องที่แตกต่างจากคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขัง ทั้งๆที่มาเพื่อการเรียกร้องประชาธิปไตยและถูกจำคุกยาวนานมานานที่สุดคือ 3 ปี จากคำบอกเล่าของนางธิดาได้ทราบว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เตรียมสร้างสนามฟุตซอลให้ที่เรือนจำพิเศษแห่งนี้ และเชื่อว่าหากคนเสื้อแดงร่วมมือกัน ความยุติธรรมต่างๆจะเกิดขึ้นโดยเร็ว ขอยืนยันว่า หลังจากนี้จะนัดหมายกับนายกฯเพื่อชี้แจงถึงพ.ร.ก.นิรโทษกรรม แล้วจะร้องขอไปยังกลุ่มการเมืองต่างๆเพื่อให้เข้าร่วมด้วย หวังว่าแกนนำทางการเมืองกลุ่มอื่นๆจะไม่เห็นแก่ตัว และทั้งหมดจะเป็นจริงมาได้หรือไม่อยู่ที่การร่วมใจกัน
**เต้นย้ำ แนวทางเดียวกับนิติราษฎร์
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ ในฐานะแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า ข้อเสนอกลุ่มนิติราษฎร์ในเรื่องของการนิรโทษกรรมเป็นการเสนอเป็นร่างรัฐ ธรรมนูญ แต่ของนปช.ออกเป็นร่างพ.ร.ก.นิรโทษกรรม แต่หลักการเดียวกันคือ ผู้ต้องหาที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองควรได้รับโอกาสนิรโทษกรรมคืนสู่ อิสรภาพโดยเร็ว เพราะแม้แต่โจรผู้ร้ายตัวจริงยังได้รับโอกาสจากกระบวนการยุติธรรม ประชาชนต้องคดีจากการเมือง 5-6 ปี ที่ผ่านมา ไม่ว่าเสื้อแดง เสื้อเหลือง คนเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากร เพียงแต่ว่าทุกฝ่ายรู้สึกว่าถูกกระทำทางการเมือง แล้วออกมาเคลื่อนไหวตามอุดมการณ์ที่ตัวเองเชื่อ ก็น่ารับอิสรภาพจากกระบวนการยุติธรรม
**“ส.ว.ประสาร” ซัด ข่มอำนาจศาล
ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา นายประสาร มฤคพิทักษ์ สว.สรรหา หารือว่า ขณะนี้มีความพยายามในการท้าทายกระบวนการยุติรรมโดยการเดินหน้าการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยเรื่องนี้มีความพยายามมาโดยตลอดตั้งแต่ปี54 ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง)ได้มีความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 309 และล่าสุดกลุ่มนิติราษฎร์ได้มีข้อเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชี้ขาดในเรื่องความขัดแย้งและพิจารณาว่าใครบ้างที่มีเหตุจูงใจ หรือได้รับผลกระทบต่อเหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อปี 49 ทั้งนี้ตนเห็นว่าการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวเคยเกิดขึ้นแล้วในปี34 ซึ่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ((รสช.)ได้เคยให้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อมายึดทรัพย์นักการเมือง แต่กระบวนการศาลในขณะนั้นไม่ยอมรับ จึงทำให้ท้ายที่สุดไม่สามรถดำเนินการใดๆกับนักการเมืองได้ ดังนั้นการตั้งคณะกรรมการตามข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์นั้นเป็นการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอยู่เหนือกระบวนการยุติธรรม ตนจึงขอถามว่าถ้าเป็นเช่นนี้จะเหลือความศักดิ์สิทธิ์อะไรในกระบวนการยุติธรรม
**“มาร์ค”จี้รัฐถอนกม.ปรองดอง – รธน.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการนิรโทษกรรม และการขจัดความขัดแย้ง ว่า ตนอยากให้ทุกอย่างมีขอบเขต อย่างกรณีที่คิดว่า จะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่นั้น สุดท้ายก็ต้องพ่วงเรื่องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าไปด้วย
ส่วนที่รัฐบาลพยายามหาทางออกเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คิดว่ารัฐบาลควรถอนกฎหมายปรองดอง และรัฐธรรมนูญออกไป จากนั้นหันมาปรึกษากันว่า ตรงไหนที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันไม่มีข้อขัดแย้งก็ทำร่วมกัน เช่น จะนิรโทษกรรมคนที่ทำผิดพ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน นั้น ตนก็เห็นด้วย ส่วนอย่างอื่นก็ให้กระบวนการยุติธรรมว่ากันต่อไป ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีประเด็นที่ทุกพรรคการเมือง หรือทุกฝ่ายเห็นว่า ควรจะแก้ไข เพื่อให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อให้การทำงานขององค์กรต่างๆ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็ว่ากัน แต่ว่า เรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของตัวบุคคลก็ต้องยกเลิกไป
**วิปฝ่ายค้าน ชี้ หวังปล่อยคนผิดลอยนวล
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) แถลงว่าที่ผ่านมากลุ่มนิติราษฎร์ดำเนินการสอดคล้องกับรัฐบาลมาโดยตลอด โดย1.การเสนอร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง จะเป็นส่วนหนึ่งในการล้างผิดเต็มรูปแบบในอนาคต และ2.ขณะนี้ยังไม่ทราบว่า กฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับคนพิเศษหรือไม่ ถ้าไม่เกี่ยวข้องก็คงมีความพยายามเดินหน้าต่อไป เพราะมีธงหลักอยู่แล้วที่จะล้างผิดให้ใครและถ้าเกี่ยวข้องเรื่องนี้ก็คงไม่จบเช่นกัน เพราะจะมีคนจำนวนมากออกมาต่อต้านกฎหมายดังกล่าว
การดำเนินการของกลุ่มนิติราษฎร์ ในลักษณะนี้เป็นการเพิ่มความขัดแย้งมากกว่าขจัดความขัดแย้ง อยากให้ทุกฝ่ายยอมรับในกระบวนการยุติธรรมใครทำผิดก็ต้องได้รับโทษ คนที่ถูกก็ต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ส่วนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งขึ้นมา ตนเห็นว่าคณะกรรมการฯดังกล่าวจะเป็นคนของรัฐบาลเพราะเป็นไปในลักษณะรัฐบาลตั้ง แม้สภาฯจะเป็นผู้คัดเลือกแต่เสียงข้างมากในสภาฯก็เป็นของรัฐบาล คณะกรรมการฯดังกล่าวจึงเป็นคณะทำงานของรัฐบาล และตนเห็นว่าการที่กำหนดให้คณะกรรมการฯสามารถล้มล้างคดีได้ หรือแม้แต่คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาก็สามารถระงับได้ การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง
“ถามว่า กกต.จะต้องหยุดการจัดทำประชามติตามคำสั่งศาลปกครองไว้ก่อน หรือว่าต้องเดินหน้าต่อเพราะว่ากฎหมายกำหนดให้ต้องแล้วเสร็จใน 120 วัน และถ้าหากศาลปกครองใช้เวลาพิจารณาเกินกว่า 120 วัน จะทำอย่างไร หรือในเรื่องที่กำหนดให้ต้องจัดการออกเสียงในวันเดียวกันทุกเขต ในต่างประเทศจะทำอย่างไร ที่ผ่านมาในกรณีการเลือกตั้ง ในต่างประเทศก็ไม่ได้หย่อนบัตรจริงในวันที่คนไทยหย่อนบัตร แต่ดำเนินการได้เพราะมีกฎหมายรองรับให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าได้ แต่สำหรับการออกเสียงประชามติกฎหมายไม่ได้เขียนรองรับไว้ให้ดำเนินการได้ก่อน ดังนั้นไม่ว่ากกต.จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งก็เสี่ยงกับการถูกเล่นงานตามมาตรา 157 ทั้งสิ้น อย่าลืมว่าในอดีตที่มีปรับเรื่องการหันคูหาเลือกตั้งทำให้คนภายนอกเห็นการลงคะแนน จนทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นถูกร้องให้เป็นโมฆะ ที่สุดก็มีการฟ้องว่ากกต.ชุดที่แล้วต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับค่าเสียหายในจัดการเลือกตั้ง ซึ่งกกต.ชุดนี้ก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย แต่เรื่องนี้มันเหมือนทำให้เราเดินเข้าสู่พงหนาม ทั้งที่พวกเราเหลือเวลาการดำรงตำแหน่งกกต.อีกไม่เท่าไร”
นางสดศรี ยังกล่าวด้วยว่า กกต.จึงเห็นว่าหากรัฐบาลจะทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญจริงก็ควรจะมีการแก้ไขร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการทำประชามติในเรื่องที่เป็นปัญหานี้เสียก่อน โดยใช้ช่วงเวลา 2 เดือนที่รัฐบาลจะให้สถาบันการศึกษาทำการศึกษาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดำเนินการให้แล้วเสร็จ
นายภุชงค์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการนำข้อหารือการจัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ได้มีการหารือกับคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมาย โดยวิธีการออกเสียงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล และพิจารณาและมีมติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในวันที่16 ม.ค. จะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในเวลา 14.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ.
**ไม่ยืมมือกกต.ล้มประชามติแน่นอน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ ในฐานะคณะทำงานพิจารณาแนวทางการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เกรงว่ารัฐบาลจะยืมมือ กกต. เพื่อล้มการทำประชามติว่า ไม่ได้ยืมมือกกต.แน่นอน เราไปขอพบประธานกกต.และคณะกรรมการเพราะกกต.เป็นผู้จัดการเวลาที่มีการออกเสียงประชามติ กฎระเบียบต่างๆ เพราะฉะนั้นหากจะมีการทำประชามติก็ต้องไปถามก่อน การที่กกต.ส่งเลขาธิการฯและคณะมาพบ เพื่อทราบแนวทางในการหารือ ซึ่งเราได้เรียนถึงประเด็นที่จะหารือไปแล้ว ในประเด็นตรงไหนที่กกต.คิดว่าเป็นปัญหาในเรื่องของกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเลขาฯกกต.ก็มีการยกตัวอย่างขึ้นมาว่าทางกกต.ก็มีการถกกันในคณะกรรมการกกต.เอง ว่ากฎหมายบางประเด็นกกต.ก็ยังไม่เห็นว่ามีความชัดเจนเท่าไหร่
ทั้งนี้จากความเห็นของกกต.ในเรื่องกฎหมายบางเรื่องที่ยังมีความเห็นไม่สนิทใจ ตนเชื่อว่าทางกกต.จะหาข้อยุติได้ เพราะมุมมองทางกฎหมายบางอย่าง จากการหารือที่ผ่านมาก็มีการยกขึ้นมา และตนก็ได้ยืนยันความคิดเห็นบางเรื่องกับทางกกต.ไป เช่นเรื่องการทำประชามติในวันเดียวกัน ซึ่งต้องมีการทำทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย ทราบว่าทางกกต.เองก็มีการถกอยู่เหมือนกันว่าในต่างประเทศและประเทศไทยจะทำวันเดียวกันอย่างไร
วันเดียวกันที่กระทรวงศึกษาธิการมีการหารือกับ 3 สถาบันหลัก จากคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ของ ม.ธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยารามคำแหง เพื่อหารือกรณีที่มีการเสนอว่าควรจะให้สถาบันการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นทางด้านยุทธศาสตร์ นิติศาสตร์ เกี่ยวกับประเด็นในการทำประชามติ ทั้งนี้ยังย้ำว่าจะเดินหน้า เมื่อถูกถามว่าถึงทางตันหรือไม่
**ไอ้ตู่ อ้างนัดปูชี้แจงถึงพรก.นิรโทษ
ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ (หลักสี่) กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ นปช. (คนเสื้อแดง) นำโดย นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช. และแกนนำนปช. พร้อมด้วยมวลชนคนเสื้อแดงร่วม 300 คน เดินทางมาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ หลักสี่เพื่อมอบอุปกรณ์ออกกำลังกาย ให้ผู้ต้องโทษทางการเมืองจำนวน 22 คน
ทั้งนี้แกนนำนปช.ได้อ่านแถลงการณ์เพื่อเสนอร่างพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับโทษหรือถูกกล่าวโทษทางอาญา อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2550 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2554 ต่อนายกฯ โดยร่างพ.ร.ก. มีทั้งสิ้น 4 มาตรา
พระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้ร้บโทษจำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุด และผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 31 ธ.ค.2554 มาตรา๑พระราชกำหนดนี้เรียกว่าพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้ร้บโทษ จำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุดและผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ 2550 จนถึง วันที่ 31ธันวาคม พ.ศ. 2554
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 3บรรดาผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ 2550จนถึง วันที่ 31ธันวาคม พ.ศ. 2554ไม่ว่าจะไดรับโทษจำคุกจากคำพิพากษาอันถึงที่สุด หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งยังไม่ถึงที่สุด ให้ถือว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้พ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
ความในวรรคก่อนไม่รวมถึง บรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในห้วงเวลาดังกล่าว และ มาตรา4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
หมายเหตุท้ายพระราชกำหนดฯ ความขัดแย้งทางการเมืองและการแสดงออกเป็นเรื่องที่ รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ.2550 ได้ให้การรับรองไว้ดังนั้น หากประชาชนแสดงออกซึ่ง ความขัดแย้งทางการเมืองจนมีการกระทำอันเป็นความผิดคดีอาญาจึงเห็นสมควรที่จะได้รับการนิรโทษกรรม ยกเว้นผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงเวลาดังกล่าว เพื่อให้ได้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขในประเทศไทยอย่างแท้จริง
นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำนปช. กล่าวว่า ในอดีตผู้ก่อการกบฏยังได้รับการนิรโทษกรรมทั้งสิ้น ทั้งๆที่มีโทษเพียงสถานเดียวคือ การประหารชีวิต เป็นเรื่องที่แตกต่างจากคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขัง ทั้งๆที่มาเพื่อการเรียกร้องประชาธิปไตยและถูกจำคุกยาวนานมานานที่สุดคือ 3 ปี จากคำบอกเล่าของนางธิดาได้ทราบว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เตรียมสร้างสนามฟุตซอลให้ที่เรือนจำพิเศษแห่งนี้ และเชื่อว่าหากคนเสื้อแดงร่วมมือกัน ความยุติธรรมต่างๆจะเกิดขึ้นโดยเร็ว ขอยืนยันว่า หลังจากนี้จะนัดหมายกับนายกฯเพื่อชี้แจงถึงพ.ร.ก.นิรโทษกรรม แล้วจะร้องขอไปยังกลุ่มการเมืองต่างๆเพื่อให้เข้าร่วมด้วย หวังว่าแกนนำทางการเมืองกลุ่มอื่นๆจะไม่เห็นแก่ตัว และทั้งหมดจะเป็นจริงมาได้หรือไม่อยู่ที่การร่วมใจกัน
**เต้นย้ำ แนวทางเดียวกับนิติราษฎร์
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ ในฐานะแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า ข้อเสนอกลุ่มนิติราษฎร์ในเรื่องของการนิรโทษกรรมเป็นการเสนอเป็นร่างรัฐ ธรรมนูญ แต่ของนปช.ออกเป็นร่างพ.ร.ก.นิรโทษกรรม แต่หลักการเดียวกันคือ ผู้ต้องหาที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองควรได้รับโอกาสนิรโทษกรรมคืนสู่ อิสรภาพโดยเร็ว เพราะแม้แต่โจรผู้ร้ายตัวจริงยังได้รับโอกาสจากกระบวนการยุติธรรม ประชาชนต้องคดีจากการเมือง 5-6 ปี ที่ผ่านมา ไม่ว่าเสื้อแดง เสื้อเหลือง คนเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากร เพียงแต่ว่าทุกฝ่ายรู้สึกว่าถูกกระทำทางการเมือง แล้วออกมาเคลื่อนไหวตามอุดมการณ์ที่ตัวเองเชื่อ ก็น่ารับอิสรภาพจากกระบวนการยุติธรรม
**“ส.ว.ประสาร” ซัด ข่มอำนาจศาล
ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา นายประสาร มฤคพิทักษ์ สว.สรรหา หารือว่า ขณะนี้มีความพยายามในการท้าทายกระบวนการยุติรรมโดยการเดินหน้าการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยเรื่องนี้มีความพยายามมาโดยตลอดตั้งแต่ปี54 ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง)ได้มีความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 309 และล่าสุดกลุ่มนิติราษฎร์ได้มีข้อเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชี้ขาดในเรื่องความขัดแย้งและพิจารณาว่าใครบ้างที่มีเหตุจูงใจ หรือได้รับผลกระทบต่อเหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อปี 49 ทั้งนี้ตนเห็นว่าการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวเคยเกิดขึ้นแล้วในปี34 ซึ่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ((รสช.)ได้เคยให้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อมายึดทรัพย์นักการเมือง แต่กระบวนการศาลในขณะนั้นไม่ยอมรับ จึงทำให้ท้ายที่สุดไม่สามรถดำเนินการใดๆกับนักการเมืองได้ ดังนั้นการตั้งคณะกรรมการตามข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์นั้นเป็นการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอยู่เหนือกระบวนการยุติธรรม ตนจึงขอถามว่าถ้าเป็นเช่นนี้จะเหลือความศักดิ์สิทธิ์อะไรในกระบวนการยุติธรรม
**“มาร์ค”จี้รัฐถอนกม.ปรองดอง – รธน.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการนิรโทษกรรม และการขจัดความขัดแย้ง ว่า ตนอยากให้ทุกอย่างมีขอบเขต อย่างกรณีที่คิดว่า จะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่นั้น สุดท้ายก็ต้องพ่วงเรื่องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าไปด้วย
ส่วนที่รัฐบาลพยายามหาทางออกเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คิดว่ารัฐบาลควรถอนกฎหมายปรองดอง และรัฐธรรมนูญออกไป จากนั้นหันมาปรึกษากันว่า ตรงไหนที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันไม่มีข้อขัดแย้งก็ทำร่วมกัน เช่น จะนิรโทษกรรมคนที่ทำผิดพ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน นั้น ตนก็เห็นด้วย ส่วนอย่างอื่นก็ให้กระบวนการยุติธรรมว่ากันต่อไป ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีประเด็นที่ทุกพรรคการเมือง หรือทุกฝ่ายเห็นว่า ควรจะแก้ไข เพื่อให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อให้การทำงานขององค์กรต่างๆ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็ว่ากัน แต่ว่า เรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของตัวบุคคลก็ต้องยกเลิกไป
**วิปฝ่ายค้าน ชี้ หวังปล่อยคนผิดลอยนวล
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) แถลงว่าที่ผ่านมากลุ่มนิติราษฎร์ดำเนินการสอดคล้องกับรัฐบาลมาโดยตลอด โดย1.การเสนอร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง จะเป็นส่วนหนึ่งในการล้างผิดเต็มรูปแบบในอนาคต และ2.ขณะนี้ยังไม่ทราบว่า กฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับคนพิเศษหรือไม่ ถ้าไม่เกี่ยวข้องก็คงมีความพยายามเดินหน้าต่อไป เพราะมีธงหลักอยู่แล้วที่จะล้างผิดให้ใครและถ้าเกี่ยวข้องเรื่องนี้ก็คงไม่จบเช่นกัน เพราะจะมีคนจำนวนมากออกมาต่อต้านกฎหมายดังกล่าว
การดำเนินการของกลุ่มนิติราษฎร์ ในลักษณะนี้เป็นการเพิ่มความขัดแย้งมากกว่าขจัดความขัดแย้ง อยากให้ทุกฝ่ายยอมรับในกระบวนการยุติธรรมใครทำผิดก็ต้องได้รับโทษ คนที่ถูกก็ต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ส่วนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งขึ้นมา ตนเห็นว่าคณะกรรมการฯดังกล่าวจะเป็นคนของรัฐบาลเพราะเป็นไปในลักษณะรัฐบาลตั้ง แม้สภาฯจะเป็นผู้คัดเลือกแต่เสียงข้างมากในสภาฯก็เป็นของรัฐบาล คณะกรรมการฯดังกล่าวจึงเป็นคณะทำงานของรัฐบาล และตนเห็นว่าการที่กำหนดให้คณะกรรมการฯสามารถล้มล้างคดีได้ หรือแม้แต่คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาก็สามารถระงับได้ การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง