เอกชนหนุนบีโอไอวางยุทธศาสตร์ลงทุนใหม่ 5 ปี(56-60) ซึ่งคาดจะประกาศใช้กลางปีนี้ “หอการค้าต่างประเทศ”ติงต้องระวังหลังค่าแรง 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ การเลิกส่งเสริมฯรายเขตยิ่งทำให้การลงทุนเมินไปต่างจังหวัด
นายนันดอร์ วอน เดอร์ ลู ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศ ประจำประเทศไทย เปิดเผยระหว่างการอภิปราย”วิพากษ์ทิศทางยุทธศาสตร์การส่งเสริมลงทุนใหม่”ในการสัมมนารับฟังความคิดเห็น”ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่:เพื่ออุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืน” เมื่อ 14 ม.ค. 56 ว่า ร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนระยะ 5 ปี(พ.ศ.2556-2560 ) ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)จัดทำขึ้นภาพรวมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีที่กำหนดเป้าหมายส่งเสริมฯอุตสาหกรรมชัดเจนขึ้นและจะเน้นเป็นรายคลัสเตอร์โดยจะยกเลิกให้สิทธิประโยชน์ตามเขตส่งเสริมฯ 1 2 และ 3 แต่วิธีนี้บีโอไอจะต้องพิจารณาให้ดีเนื่องจากรัฐมีนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศก็จะยิ่งลดแรงจูงใจให้การลงทุนไปต่างจังหวัดยิ่งน้อยลงตามไปด้วย
นอกจากนี้การส่งเสริมกิจการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาหรือ R& D นั้นข้อจำกัดที่แท้จริงของไทยอยู่ที่การพัฒนาคนโดยจะต้องเน้นนโยบายการศึกษาให้มากขึ้น ส่วนการยกเลิกประเภทกิจการบางประเภทเช่น ธุรกิจดาวเทียม โทรคมนาคม เห็นว่าน่าจะทบทวนเพราะกิจการดังกล่าวมีความสำคัญที่เป็นพื้นฐานของประเทศ อย่างไรก็ตามเหนือสิ่งอื่นใดการทำงานแบบบูรณาของแต่ละส่วนจะเอื้อต่อการลงทุนที่ดีด้วย
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับมาตรการที่บีโอไอเสนอมาแต่ต้องการให้ภาครัฐทุกหน่วยงานทำงานแบบบูรณาการในการส่งเสริมการลงทุนเพราะต่อไปจะต้องมองในระดับภูมิภาคเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรการทั้งหมดถือว่ามาถูกทางแต่ต้องการให้มองการลงทุนคลัสเตอร์ที่เป็นระดับภูมิภาคที่ไทยจะเข้าสู่ AEC ด้วยเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและลงทุน
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการบีโอไอกล่าวว่า นโยบายใหม่ดังกล่าวคาดว่าจะประกาศใช้ภายในกลางปีนี้เพื่อที่จะเป็นปรับโฉมโครงสร้างเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศเพราะจะปรับให้การส่งเสริมฯการลงทุนมีเป้าหมายชัดเจนเน้น 10 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญเช่น อาหารแปรรูปเกษตร พลังงานทดแทน อุตฯพื้นฐาน ยานยนต์และขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มเทคโนโลยีพื้นฐานขั้นสูง เป็นต้นซึ่งจะครอบคลุม 130 ประเภทกิจการ จากปัจจุบันจะส่งเสริมฯ 240 กว่ากิจการโดยจะยกเลิกส่งเสริม 80 กิจการ และจะยกเลิกให้การส่งเสริมฯเป็นรายเขต
“ที่ผ่านมาการส่งเสริมฯรายเขตชัดเจนว่าการลงทุนยังคงกระจุกตัวในเมืองอยู่ดี ระเบียบใหม่จึงยกเลิกแลจะมีผลสำหรับกิจการที่ยื่นขอส่งเสริมฯใหม่ ส่วน 80 กิจการที่ยกเลิกระหว่างยังไม่ประกาศก็ยังสามารถทยอยยื่นขอลงทุนได้ในขณะนี้”นายอุดมกล่าว
นายนันดอร์ วอน เดอร์ ลู ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศ ประจำประเทศไทย เปิดเผยระหว่างการอภิปราย”วิพากษ์ทิศทางยุทธศาสตร์การส่งเสริมลงทุนใหม่”ในการสัมมนารับฟังความคิดเห็น”ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่:เพื่ออุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืน” เมื่อ 14 ม.ค. 56 ว่า ร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนระยะ 5 ปี(พ.ศ.2556-2560 ) ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)จัดทำขึ้นภาพรวมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีที่กำหนดเป้าหมายส่งเสริมฯอุตสาหกรรมชัดเจนขึ้นและจะเน้นเป็นรายคลัสเตอร์โดยจะยกเลิกให้สิทธิประโยชน์ตามเขตส่งเสริมฯ 1 2 และ 3 แต่วิธีนี้บีโอไอจะต้องพิจารณาให้ดีเนื่องจากรัฐมีนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศก็จะยิ่งลดแรงจูงใจให้การลงทุนไปต่างจังหวัดยิ่งน้อยลงตามไปด้วย
นอกจากนี้การส่งเสริมกิจการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาหรือ R& D นั้นข้อจำกัดที่แท้จริงของไทยอยู่ที่การพัฒนาคนโดยจะต้องเน้นนโยบายการศึกษาให้มากขึ้น ส่วนการยกเลิกประเภทกิจการบางประเภทเช่น ธุรกิจดาวเทียม โทรคมนาคม เห็นว่าน่าจะทบทวนเพราะกิจการดังกล่าวมีความสำคัญที่เป็นพื้นฐานของประเทศ อย่างไรก็ตามเหนือสิ่งอื่นใดการทำงานแบบบูรณาของแต่ละส่วนจะเอื้อต่อการลงทุนที่ดีด้วย
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับมาตรการที่บีโอไอเสนอมาแต่ต้องการให้ภาครัฐทุกหน่วยงานทำงานแบบบูรณาการในการส่งเสริมการลงทุนเพราะต่อไปจะต้องมองในระดับภูมิภาคเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรการทั้งหมดถือว่ามาถูกทางแต่ต้องการให้มองการลงทุนคลัสเตอร์ที่เป็นระดับภูมิภาคที่ไทยจะเข้าสู่ AEC ด้วยเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและลงทุน
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการบีโอไอกล่าวว่า นโยบายใหม่ดังกล่าวคาดว่าจะประกาศใช้ภายในกลางปีนี้เพื่อที่จะเป็นปรับโฉมโครงสร้างเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศเพราะจะปรับให้การส่งเสริมฯการลงทุนมีเป้าหมายชัดเจนเน้น 10 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญเช่น อาหารแปรรูปเกษตร พลังงานทดแทน อุตฯพื้นฐาน ยานยนต์และขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มเทคโนโลยีพื้นฐานขั้นสูง เป็นต้นซึ่งจะครอบคลุม 130 ประเภทกิจการ จากปัจจุบันจะส่งเสริมฯ 240 กว่ากิจการโดยจะยกเลิกส่งเสริม 80 กิจการ และจะยกเลิกให้การส่งเสริมฯเป็นรายเขต
“ที่ผ่านมาการส่งเสริมฯรายเขตชัดเจนว่าการลงทุนยังคงกระจุกตัวในเมืองอยู่ดี ระเบียบใหม่จึงยกเลิกแลจะมีผลสำหรับกิจการที่ยื่นขอส่งเสริมฯใหม่ ส่วน 80 กิจการที่ยกเลิกระหว่างยังไม่ประกาศก็ยังสามารถทยอยยื่นขอลงทุนได้ในขณะนี้”นายอุดมกล่าว