นับเป็นฤกษ์งามยามดีช่วงวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งจัดมาเป็นเทศกาลสำคัญในวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมในทุกปี ที่ผู้ใหญ่จะได้ใช้โอกาสนี้ในการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี หรือจะเรียกว่าเป็นวันทำดีให้เด็กดูเป็นตัวอย่างก็ได้ ถึงกระนั้นธรรมเนียมปฏิบัตินิยมของสังคมไทย ในวันเด็กแห่งชาตินั้น เด็กๆ จะได้รับพรและคำขวัญจากฝ่ายปกครองบ้านเมืองและประมุขสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักสำคัญ ในการปฏิบัติตนอยู่ในกรอบคุณงามความดี ซึ่งจะเป็นสิ่งคุ้มครองจิตใจไม่ให้ตกต่ำไปในอำนาจฝ่ายชั่ว
หากพิจารณาพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ผู้เขียนเห็นว่า ภาพเด็กไทย ได้ถูกแสดงไว้ในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวแล้ว ขอคัดมาบางส่วนจากมาตรา 4 เช่นว่า
“เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
ทั้งนี้ยังมีคำจำกัดความเกี่ยวกับ “เด็กเร่ร่อน” “เด็กกำพร้า” “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” “เด็กพิการ” และ “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด”
ส่วน คำว่าเด็ก ยังครอบคลุมไปถึง คำว่า “นักเรียน” หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน และ คำว่า “นักศึกษา” หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
สาระสำคัญจากนิยามศัพท์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าเด็ก หมายถึงเด็ก นักเรียน และนักศึกษา ผู้มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ทั้งนี้จากคำจำกัดความอื่นๆ เกี่ยวกับเด็ก ซึ่งพบในสังคมไทย เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กพิการ เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก และเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ซึ่งควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างเท่าเทียมในสังคมประชาธิปไตย โดยทุกภาคส่วน รวมทั้งเจ้าภาพหลักอย่างรัฐสวัสดิการที่ควรพยายามกระทำอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ดี หากเหลียวมองสาระสำคัญในหมวด 2 การปฏิบัติต่อเด็กว่า มาตรา 22 การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และโดยเฉพาะในมาตรา 25 ผู้ปกครองต้องไม่กระทำการต่างๆ เช่น ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานที่ใดโดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก หรือปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ รวมทั้งมาตรา 26 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ เป็นต้นว่า กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือรักษาพยาบาลแก่เด็ก จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด และ จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์
ผู้เขียน เชื่อมั่นว่า สาระสำคัญของกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อช่วยเหลือ คุ้มครอง ดูแล และจัดสวัสดิการแก่เด็ก ตามศักยภาพและความพร้อมที่มีเกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ยังมีข้อบกพร่องในการปฏิบัติและบังคับกฎหมายใช้อย่างทั่วถึงและเข้มข้นได้มาตรฐาน เพราะกรณีพฤติการณ์กระทำต่อเด็กอย่างรุนแรงและความไม่เหมาะสม ในภาพข่าวรายวันยังคงเกิดขึ้นกับเด็ก เช่น การค้าเด็ก การประเวณีในเด็ก และการทารุณกรรมเด็ก เป็นต้น
ดังกล่าวแล้วในข้างต้นว่า วันเด็กแห่งชาติ จึงมิใช่แต่เป็นวันสำคัญของเด็กเท่านั้น หากจะยังเป็นวันของผู้ใหญ่ ที่จะต้องครองตนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ตัวอย่างแก่เด็ก อย่างน้อยก็สะท้อนพฤติกรรมในคำขวัญวันเด็กที่มีอยู่ทุกปี ซึ่งมีคำขวัญวันเด็กที่ผู้เขียนประทับใจอยู่ 2 ปี คือ พ.ศ. 2550 ที่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มอบให้ว่า มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข และ พ.ศ. 2553 ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มอบให้ว่า คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม เพราะนั่นเป็นสื่อแห่งความดีงามในแบบอย่างที่ดี ทั้งนี้ยังทำให้ผู้เขียนคิดถึง คำกล่าวของครูสมพร คนสอนลิง (ผลงานถอดบทเรียนกรณีโรงเรียนสอนลิง หนังสือของ ดร.รุ่ง แก้วแดง) ที่กล่าวถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมให้เลิกสูบบุหรี่ ว่า “เยาวชนจะเลิกสูบบุหรี่ ถ้าผู้ใหญ่ไม่ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง” (ครูสมพร: คนสอนลิง หน้า 69)
เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2556 นี้ ผู้เขียน ขอเสนอแนวทางให้ผู้ใหญ่ได้แสดงความรักต่อเด็กอย่างบริสุทธิ์ใจ ในลักษณะรู้สึกอย่างไร บอกเขาไปอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นลูก หลาน หรือเหลน ซึ่งล้วนเป็นอนาคตของประเทศ พร้อมกับระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า เราเป็นผู้ใหญ่กว่าเด็ก เป็นผู้ใหญ่ด้วยคุณธรรมมิใช่ผู้ใหญ่กว่าทางร่างกาย พร้อมทั้งร่วมกันหยุด ยับยั้งการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความรุนแรง กระทบกระเทือนต่อชีวิตและจิตใจของเด็ก เพราะนั่นอาจเป็นฐานรากของความรุนแรง ที่อาจก่อตัวในอนาคต ซึ่งผู้ใหญ่บางคนอาจเผลอปลูกฝังให้เขาไปโดยไม่รู้ตัว และไม่ได้อาจลืม จะฝากเด็กๆ ว่า ปี 2556 นี้ อย่าลืมคำขวัญวันเด็ก ที่ว่า รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบให้เป็นของขวัญด้วย
หากพิจารณาพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ผู้เขียนเห็นว่า ภาพเด็กไทย ได้ถูกแสดงไว้ในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวแล้ว ขอคัดมาบางส่วนจากมาตรา 4 เช่นว่า
“เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
ทั้งนี้ยังมีคำจำกัดความเกี่ยวกับ “เด็กเร่ร่อน” “เด็กกำพร้า” “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” “เด็กพิการ” และ “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด”
ส่วน คำว่าเด็ก ยังครอบคลุมไปถึง คำว่า “นักเรียน” หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน และ คำว่า “นักศึกษา” หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
สาระสำคัญจากนิยามศัพท์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าเด็ก หมายถึงเด็ก นักเรียน และนักศึกษา ผู้มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ทั้งนี้จากคำจำกัดความอื่นๆ เกี่ยวกับเด็ก ซึ่งพบในสังคมไทย เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กพิการ เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก และเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ซึ่งควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างเท่าเทียมในสังคมประชาธิปไตย โดยทุกภาคส่วน รวมทั้งเจ้าภาพหลักอย่างรัฐสวัสดิการที่ควรพยายามกระทำอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ดี หากเหลียวมองสาระสำคัญในหมวด 2 การปฏิบัติต่อเด็กว่า มาตรา 22 การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และโดยเฉพาะในมาตรา 25 ผู้ปกครองต้องไม่กระทำการต่างๆ เช่น ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานที่ใดโดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก หรือปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ รวมทั้งมาตรา 26 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ เป็นต้นว่า กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือรักษาพยาบาลแก่เด็ก จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด และ จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์
ผู้เขียน เชื่อมั่นว่า สาระสำคัญของกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อช่วยเหลือ คุ้มครอง ดูแล และจัดสวัสดิการแก่เด็ก ตามศักยภาพและความพร้อมที่มีเกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ยังมีข้อบกพร่องในการปฏิบัติและบังคับกฎหมายใช้อย่างทั่วถึงและเข้มข้นได้มาตรฐาน เพราะกรณีพฤติการณ์กระทำต่อเด็กอย่างรุนแรงและความไม่เหมาะสม ในภาพข่าวรายวันยังคงเกิดขึ้นกับเด็ก เช่น การค้าเด็ก การประเวณีในเด็ก และการทารุณกรรมเด็ก เป็นต้น
ดังกล่าวแล้วในข้างต้นว่า วันเด็กแห่งชาติ จึงมิใช่แต่เป็นวันสำคัญของเด็กเท่านั้น หากจะยังเป็นวันของผู้ใหญ่ ที่จะต้องครองตนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ตัวอย่างแก่เด็ก อย่างน้อยก็สะท้อนพฤติกรรมในคำขวัญวันเด็กที่มีอยู่ทุกปี ซึ่งมีคำขวัญวันเด็กที่ผู้เขียนประทับใจอยู่ 2 ปี คือ พ.ศ. 2550 ที่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มอบให้ว่า มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข และ พ.ศ. 2553 ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มอบให้ว่า คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม เพราะนั่นเป็นสื่อแห่งความดีงามในแบบอย่างที่ดี ทั้งนี้ยังทำให้ผู้เขียนคิดถึง คำกล่าวของครูสมพร คนสอนลิง (ผลงานถอดบทเรียนกรณีโรงเรียนสอนลิง หนังสือของ ดร.รุ่ง แก้วแดง) ที่กล่าวถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมให้เลิกสูบบุหรี่ ว่า “เยาวชนจะเลิกสูบบุหรี่ ถ้าผู้ใหญ่ไม่ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง” (ครูสมพร: คนสอนลิง หน้า 69)
เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2556 นี้ ผู้เขียน ขอเสนอแนวทางให้ผู้ใหญ่ได้แสดงความรักต่อเด็กอย่างบริสุทธิ์ใจ ในลักษณะรู้สึกอย่างไร บอกเขาไปอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นลูก หลาน หรือเหลน ซึ่งล้วนเป็นอนาคตของประเทศ พร้อมกับระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า เราเป็นผู้ใหญ่กว่าเด็ก เป็นผู้ใหญ่ด้วยคุณธรรมมิใช่ผู้ใหญ่กว่าทางร่างกาย พร้อมทั้งร่วมกันหยุด ยับยั้งการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความรุนแรง กระทบกระเทือนต่อชีวิตและจิตใจของเด็ก เพราะนั่นอาจเป็นฐานรากของความรุนแรง ที่อาจก่อตัวในอนาคต ซึ่งผู้ใหญ่บางคนอาจเผลอปลูกฝังให้เขาไปโดยไม่รู้ตัว และไม่ได้อาจลืม จะฝากเด็กๆ ว่า ปี 2556 นี้ อย่าลืมคำขวัญวันเด็ก ที่ว่า รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบให้เป็นของขวัญด้วย