กาญจนบุรี - สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ร่วมกับศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เดินหน้าบูรณาการคดีเยาวชนและครอบครัวกับเครือข่ายสหวิชาชีพ
เวลา 08.30 น.วันนี้ (16 ธ.ค.) นายภุชพงศ์ จรัสทรงกิติ พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะผู้ประสานงานโครงการสัมมนาเชิงรุกแบบบูรณาการเรื่องกระบวนการยุติธรรมกับการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 เปิดเผยเกี่ยวกับการจัดว่า ด้วยศาลยุติธรรมมีโครงการให้หน่วยง่านในสังกัดปฏิบัติราชการเชิงรุกเพื่อประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น ในวันที่ 17-18 ธ.ค.55 นี้ ทางสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ร่วมกับศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ร่วมกันจัดโครงการสัมมนาเชิงรุกแบบบูรณาการการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพอย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพต้องตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว ซึ่งการจัดสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ 85 พรรษา มหาราชา 80 พรรษา บรมราชินีนาถ และ 60 พรรษา สยามกุฎราชกุมาร ในวันที่ 16-18 ธ.ค.55 ที่ศูนย์ประชุมไพลิน โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท อ.เมืองกาญจนบุรี
นายภุชพงศ์ กล่าวต่อว่า โดยเริ่มกิจกรรมสัมมนาในวันที่ 17 ธ.ค.55 เวลา 09.00 น. ศาสตราจารย์พิเศษ ไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษ เรื่องบทบาทของศาลยุติธรรมในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีนายประมวญ รักศิลธรรม อธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษหลายท่าน ซี่งการสัมมานาในครั้งนี้ จะมีบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตพื้นที่ภาค 7 โดยผู้พิพากษา ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลเยาวชนและครอบครัว 90 คน อัยการ จำนวน 70 คน พนักงานสอบสวน 124 คน ผู้พิพากษาสมทบ 44 คน ผู้สังเกตการณ์ 12 คน ร่วมในการสัมมนาเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติแก่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และเครือข่ายสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงเจตนารมณ์ หลักการของกฎหมาย และกลไกในการใช้สิทธิร้องขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพ
รวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีใช้อำนาจในการออกคำสั่งกำหนดมาตรการ หรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวทันต่อสถานการณ์ เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ และเพื่อให้เกิดการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดในการยุติความรุนแรงในครอบครัว และการทารุณกรรมเด็ก ต้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติทั้งสามฉบับ และเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และเครือข่ายสหวิชาชีพเพื่อให้เกิดการบูรณาการกลไกการคุ้มครองสวัสดิภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันและยุติการกระทำความรุนแรงในครอบครัวและการทารุณกรรมเด็กอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ทั้งนี้ การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพจะเป็นการคืนครอบครัวอบอุ่นอ่อนโยนสู่สังคมไทย
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยถึงกิจกรรมภายในงานว่า หลังพิธีเปิดการสัมมนา และการปาฐกถาพิเศษโดยประธานศาลฎีกาแล้ว จะเป็นบรรยายพิเศษ โดยศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องเจตนารมณ์และสาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ และศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ หะวานนท์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง บรรยายพิเศษ เรื่องการคุ้มครองสวัสดิภาพ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว
ต่อจากนั้น เป็นการเสวนาเรื่องกระบวนการแ ละกลไกการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯโดย นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา และโฆษกศาลยุติธรรม นายสาโรช นักเบศร์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ต.อ.สมชาย ว่องไวเมธี ผู้กำกับการ กลุ่มงานตรวจสอบสำนวน 3 กองบังคับการกองคดีอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการเสวนาโดย นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
“ส่วนในวันที่ 18 ธ.ค.55 มีกิจกรรมที่สำคัญเช่นกัน เริ่มจากการเสวนาเรื่องบทบาทของศาลยุติธรรมกับการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ โดยนายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายประคอง เตกฉัตร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง นายสุพจน์ อินทิวร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี นายภุชพงศ์ จรัสทรงกิติ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี และตน โดย นายมนตรี ศิลป์มหาบัณฑิต ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา เป็นผู้ดำเนินการเสวนา จากนั้นเป็นการการเสวนาเพื่อบูรณาการปฏิบัติในหัวข้อเรื่องกระบวนการทำงานของสหวิชาชีพ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ
โดย พ.ต.ท.หญิง ปวีณา เอกฉัตร รองผู้กำกับสถานีตำรวจนครบาลราษฎร์บูรณะ นายสำรวม ไวยวาสา พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว สำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางวรภัทร แสงแก้ว หัวหน้าศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Center หรือ OSCC) โรงพยาบาลปทุมธานี น.ส.ธนวดี ท่าจีน ผอ.มูลนิธิเพื่อนหญิง นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดย ดร.เมทินี พงษ์เวช ผอ.สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา” นายภุชพงศ์กล่าว
เวลา 08.30 น.วันนี้ (16 ธ.ค.) นายภุชพงศ์ จรัสทรงกิติ พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะผู้ประสานงานโครงการสัมมนาเชิงรุกแบบบูรณาการเรื่องกระบวนการยุติธรรมกับการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 เปิดเผยเกี่ยวกับการจัดว่า ด้วยศาลยุติธรรมมีโครงการให้หน่วยง่านในสังกัดปฏิบัติราชการเชิงรุกเพื่อประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น ในวันที่ 17-18 ธ.ค.55 นี้ ทางสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ร่วมกับศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ร่วมกันจัดโครงการสัมมนาเชิงรุกแบบบูรณาการการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพอย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพต้องตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว ซึ่งการจัดสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ 85 พรรษา มหาราชา 80 พรรษา บรมราชินีนาถ และ 60 พรรษา สยามกุฎราชกุมาร ในวันที่ 16-18 ธ.ค.55 ที่ศูนย์ประชุมไพลิน โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท อ.เมืองกาญจนบุรี
นายภุชพงศ์ กล่าวต่อว่า โดยเริ่มกิจกรรมสัมมนาในวันที่ 17 ธ.ค.55 เวลา 09.00 น. ศาสตราจารย์พิเศษ ไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษ เรื่องบทบาทของศาลยุติธรรมในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีนายประมวญ รักศิลธรรม อธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษหลายท่าน ซี่งการสัมมานาในครั้งนี้ จะมีบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตพื้นที่ภาค 7 โดยผู้พิพากษา ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลเยาวชนและครอบครัว 90 คน อัยการ จำนวน 70 คน พนักงานสอบสวน 124 คน ผู้พิพากษาสมทบ 44 คน ผู้สังเกตการณ์ 12 คน ร่วมในการสัมมนาเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติแก่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และเครือข่ายสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงเจตนารมณ์ หลักการของกฎหมาย และกลไกในการใช้สิทธิร้องขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพ
รวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีใช้อำนาจในการออกคำสั่งกำหนดมาตรการ หรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวทันต่อสถานการณ์ เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ และเพื่อให้เกิดการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดในการยุติความรุนแรงในครอบครัว และการทารุณกรรมเด็ก ต้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติทั้งสามฉบับ และเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และเครือข่ายสหวิชาชีพเพื่อให้เกิดการบูรณาการกลไกการคุ้มครองสวัสดิภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันและยุติการกระทำความรุนแรงในครอบครัวและการทารุณกรรมเด็กอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ทั้งนี้ การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพจะเป็นการคืนครอบครัวอบอุ่นอ่อนโยนสู่สังคมไทย
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยถึงกิจกรรมภายในงานว่า หลังพิธีเปิดการสัมมนา และการปาฐกถาพิเศษโดยประธานศาลฎีกาแล้ว จะเป็นบรรยายพิเศษ โดยศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องเจตนารมณ์และสาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ และศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ หะวานนท์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง บรรยายพิเศษ เรื่องการคุ้มครองสวัสดิภาพ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว
ต่อจากนั้น เป็นการเสวนาเรื่องกระบวนการแ ละกลไกการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯโดย นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา และโฆษกศาลยุติธรรม นายสาโรช นักเบศร์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ต.อ.สมชาย ว่องไวเมธี ผู้กำกับการ กลุ่มงานตรวจสอบสำนวน 3 กองบังคับการกองคดีอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการเสวนาโดย นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
“ส่วนในวันที่ 18 ธ.ค.55 มีกิจกรรมที่สำคัญเช่นกัน เริ่มจากการเสวนาเรื่องบทบาทของศาลยุติธรรมกับการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ โดยนายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายประคอง เตกฉัตร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง นายสุพจน์ อินทิวร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี นายภุชพงศ์ จรัสทรงกิติ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี และตน โดย นายมนตรี ศิลป์มหาบัณฑิต ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา เป็นผู้ดำเนินการเสวนา จากนั้นเป็นการการเสวนาเพื่อบูรณาการปฏิบัติในหัวข้อเรื่องกระบวนการทำงานของสหวิชาชีพ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ
โดย พ.ต.ท.หญิง ปวีณา เอกฉัตร รองผู้กำกับสถานีตำรวจนครบาลราษฎร์บูรณะ นายสำรวม ไวยวาสา พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว สำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางวรภัทร แสงแก้ว หัวหน้าศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Center หรือ OSCC) โรงพยาบาลปทุมธานี น.ส.ธนวดี ท่าจีน ผอ.มูลนิธิเพื่อนหญิง นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดย ดร.เมทินี พงษ์เวช ผอ.สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา” นายภุชพงศ์กล่าว