ASTVผู้จัดการรายวัน - " จีสตีล"เล็งจ้างบริษัทรับบริหารจัดการฝรั่งเพื่อพลิกฟื้นกิจการให้มีกำไรอีกครั้ง หลังถูกแบงก์ต่างชาติบีบต้องTurnaround ก่อนปล่อยเครดิตวัตถุดิบให้ 8-9 พันล้านบาท และสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน-ซัปพลายเออร์ มั่นใจกลับมาผลิตได้เต็มที่ในไตรมาส 2 นี้ หลังแปลงหนี้เป็นทุนให้เจ้าหนี้เพิ่มเติมแล้วเสร็จ แย้มเตรียมควบรวมกับจี เจ สตีล(GJS)ในครึ่งปีหลังนี้ ลดต้นทุนและสร้างความเข้มแข็ง มั่นใจปีนี้มีกำไรอย่างแน่นอน
นายสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล รองประธานกรรมการ บริษัท จีสตีล จำกัด (มหาชน)(GSTEEL) เปิดเผยภายหลังการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2556 ว่า ที่ประชุมฯเห็นชอบแต่งตั้งบริษัทรับบริหารจัดการเพื่อพลิกฟื้นกิจการ(Turnaround)ให้มีผลประกอบการกลับมาดีขึ้นโดยเร็ว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนการผลิต 5-10%และทำตลาด ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันการเงินแห่งหนึ่งในการปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทฯและสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและซัปพลายเออร์วัตถุดิบด้วย
ขณะนี้บริษัทฯได้ดำเนินการคัดเลือกบริษัทรับบริหารจัดการฯเหลือเพียง 1 รายจากเดิม 3 ราย และอยู่ในขั้นตอนเจรจารายละเอียด คาดว่าจะว่าจ้างบริษัทฯดังกล่าวได้ทันทีหลังจากจีสตีลดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2556 ส่งผลให้จีสตีลกลับมาผลิตเหล็กแผ่นฯได้เต็มที่ 100%ในไตรมาส 2/2556 สูงกว่าปีก่อนที่ผลิตเหล็กรีดร้อนเฉลี่ย 20-30%ของกำลังการผลิต
เพราะในปีที่แล้วโรงงานเได้หยุดผลิต นื่องจากขาดสภาพคล่อง
ดังนั้นในปีนี้บริษัทฯจะพลิกฟื้นมามีกำไรได้อย่างแน่นอน หลังจากเดินเครื่องจักรเต็มที่ในไตรมาส 2 นี้ กอปรกับแนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กปีนี้ดีขึ้น เนื่องจากมีงานโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการภายใต้บริหารการจัดการน้ำทำให้มีความต้องการใช้เหล็กในประเทศเพิ่มขึ้น และกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กรีดร้อนเจือโบรอนจากจีนเมื่อเดือนธ.ค. 2555 ทำให้เหล็กรีดร้อนเจอโบรอนนำเข้าจากจีนต้องเสียภาษีนำเข้า 14. 47% หลังจากครึ่งแรกของปี 2555 ไทยนำเข้าเหล็กฯจากจีนถึง 5.8 แสนตัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการเหล็กในประเทศประสบปัญหาการขาดทุน
" บริษัทต้องว่าจ้างTurnaround เข้ามาช่วยพลิกฟื้นบริษัทให้กลับมาดีขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะไม่ปกป้อง บริษัทฯก็ต้องอยู่ได้ โดยจะมีสัญญาว่าจ้างแบบปีต่อปี โดยบริษัทนี้จะมีการตั้งผู้บริหารมืออาชีพมานั่งตำแหน่ง CEO CFO และอื่นๆเข้ามาช่วยบริหารงาน เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยกรรมการเดิมของบริษัทฯก็ยอมออกไปครึ่งหนึ่ง การตั้งTurnaround ไปตามเงื่อนไขที่แบงก์ที่อุดหนุนซัพพลายเออร์วัตถุดิบจะให้เครดิตวัตถุดิบ 8-9 พันล้านบาท ซึ่งเพียงพอป้อนทั้งโรงงานของจีสตีลและบมจ.จี เจ สตีล (GJS)โดยก่อนหน้านี้ได้ติดต่อบริษัทผลิตรถยนต์และบริษัทเหล็กรายใหญ่จากญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุน ทางญี่ปุ่นก็ต้องการเห็นบริษัท Turnaround และโปร่งใสก่อนตัดสินใจ "
นอกจากนี้ บริษัทฯจะจัดสรรหุ้นสามัญไม่เกิน 5,321 พันล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1บาทให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทฯเพิ่มเติมอีก 11 รายคิดเป็นมูลหนี้ 2.65 พันล้านบาท ตามโครงการแปลงหนี้เป็นทุน ในราคาหุ้นละ 0.50 บาท โดยเจ้าหนี้กว่าครึ่งเห็นขอบด้วย แต่ยังมีเจ้าหนี้รายใหญ่ 3 ราย คือ Cargill International Trading , Duferco Asia และ Intergate AGที่อยู่ระหว่างการเจรจาว่าจะแปลงหนี้เป็นทุนหรือยืดการชำระหนี้ออกไป 5-7 ปี คาดว่าภายใน 2 เดือนข้างหน้าจะมีความชัดเจนขึ้น ภายหลังจากการแปลงหนี้เป็นทุนสำเร็จแล้วจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ลดลงมาเหลือประมาณ 0.5-0.6 เท่า หรือจำนวนหนี้ลดลงเหลือประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่มี D/E กว่า 3 เท่า หรือมีหนี้สินรวม 950 ล้านเหรียญสหรัฐ และปัจจุบันบริษัทฯมีหนี้สินลดลงมาที่ 550 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการขอลดหนี้และแปลงหนี้เป็นทุนในครั้งก่อนหน้า
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้บรุ๊คเคอร์ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ที่จีสตีลจะควบรวมกิจการ (M&A)กับบมจ.จี เจ สตีล (GJS) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยเข้ามา ทำให้บริษัทฯมีกำลังการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นเป็น 3.3 ล้านตัน/ปี มั่นใจว่าไม่ติดข้อกฎหมายการผูกขาดตลาดแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบัน
บมจ.สหวิริยาสตีลฯเป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนรายใหญ่ของไทยอยู่แล้วและไทยก็มีการนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากต่างประเทศด้วย ซึ่งการควบรวมกิจการนี้จะทำให้บริษัทฯมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ช่วยลดต้นทุนการจัดซื้อวัตถุดิบหรือเศษเหล็ก และลดการแข่งขันการขาย หลังจากบริษัทฯมีความเข้มแข็งขึ้น จึงค่อยดำเนินการหาพันธมิตรร่วมทุนต่อไป
นายชาญ บูลกุล ประธานคณะกรรมการบริหารและกรรมการอำนวยการ บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของจีสตีล กล่าวว่า การควบรวมกิจการจีสตีล กับจีเจ สตีล คาดว่าดำเนินการแล้วเสร็จใน 7-8 เดือนข้างหน้า หลังจากจีสตีลได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และเพิ่มทุนเรียบร้อยแล้ว
ส่วนการเพิ่มทุนจดทะเบียนของGJS คาดว่าจะประสบความสำเร็จตามแผนฯ เพราะราคาเสนอขายอยู่ที่หุ้นละ 0.08 บาท ต่ำกว่าราคากระดานที่อยู่ 0.09 บาท โดยผู้ถือหุ้นเดิมยังได้ใบสำคัญแสดงสิทธิจะซื้อหุ้นสามัของบริษัทฟรีในสัดส่วน 1 หุ้นต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ ทำให้GJS ได้เงินจากการเพิ่มทุน 2.7 พันล้านบาท เพื่อมาใช้ซื้อวัตถุดิบในการเดินเครื่องจักร 1.2-1.3 พันล้านบาทและชำระคืนหนี้จีสตีลอีก 1 พันล้านบาท ทำให้บริษัทฯมีเงินใช้ในการเดินเครื่องจักรอีกครั้ง
นายสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล รองประธานกรรมการ บริษัท จีสตีล จำกัด (มหาชน)(GSTEEL) เปิดเผยภายหลังการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2556 ว่า ที่ประชุมฯเห็นชอบแต่งตั้งบริษัทรับบริหารจัดการเพื่อพลิกฟื้นกิจการ(Turnaround)ให้มีผลประกอบการกลับมาดีขึ้นโดยเร็ว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนการผลิต 5-10%และทำตลาด ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันการเงินแห่งหนึ่งในการปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทฯและสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและซัปพลายเออร์วัตถุดิบด้วย
ขณะนี้บริษัทฯได้ดำเนินการคัดเลือกบริษัทรับบริหารจัดการฯเหลือเพียง 1 รายจากเดิม 3 ราย และอยู่ในขั้นตอนเจรจารายละเอียด คาดว่าจะว่าจ้างบริษัทฯดังกล่าวได้ทันทีหลังจากจีสตีลดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2556 ส่งผลให้จีสตีลกลับมาผลิตเหล็กแผ่นฯได้เต็มที่ 100%ในไตรมาส 2/2556 สูงกว่าปีก่อนที่ผลิตเหล็กรีดร้อนเฉลี่ย 20-30%ของกำลังการผลิต
เพราะในปีที่แล้วโรงงานเได้หยุดผลิต นื่องจากขาดสภาพคล่อง
ดังนั้นในปีนี้บริษัทฯจะพลิกฟื้นมามีกำไรได้อย่างแน่นอน หลังจากเดินเครื่องจักรเต็มที่ในไตรมาส 2 นี้ กอปรกับแนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กปีนี้ดีขึ้น เนื่องจากมีงานโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการภายใต้บริหารการจัดการน้ำทำให้มีความต้องการใช้เหล็กในประเทศเพิ่มขึ้น และกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กรีดร้อนเจือโบรอนจากจีนเมื่อเดือนธ.ค. 2555 ทำให้เหล็กรีดร้อนเจอโบรอนนำเข้าจากจีนต้องเสียภาษีนำเข้า 14. 47% หลังจากครึ่งแรกของปี 2555 ไทยนำเข้าเหล็กฯจากจีนถึง 5.8 แสนตัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการเหล็กในประเทศประสบปัญหาการขาดทุน
" บริษัทต้องว่าจ้างTurnaround เข้ามาช่วยพลิกฟื้นบริษัทให้กลับมาดีขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะไม่ปกป้อง บริษัทฯก็ต้องอยู่ได้ โดยจะมีสัญญาว่าจ้างแบบปีต่อปี โดยบริษัทนี้จะมีการตั้งผู้บริหารมืออาชีพมานั่งตำแหน่ง CEO CFO และอื่นๆเข้ามาช่วยบริหารงาน เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยกรรมการเดิมของบริษัทฯก็ยอมออกไปครึ่งหนึ่ง การตั้งTurnaround ไปตามเงื่อนไขที่แบงก์ที่อุดหนุนซัพพลายเออร์วัตถุดิบจะให้เครดิตวัตถุดิบ 8-9 พันล้านบาท ซึ่งเพียงพอป้อนทั้งโรงงานของจีสตีลและบมจ.จี เจ สตีล (GJS)โดยก่อนหน้านี้ได้ติดต่อบริษัทผลิตรถยนต์และบริษัทเหล็กรายใหญ่จากญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุน ทางญี่ปุ่นก็ต้องการเห็นบริษัท Turnaround และโปร่งใสก่อนตัดสินใจ "
นอกจากนี้ บริษัทฯจะจัดสรรหุ้นสามัญไม่เกิน 5,321 พันล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1บาทให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทฯเพิ่มเติมอีก 11 รายคิดเป็นมูลหนี้ 2.65 พันล้านบาท ตามโครงการแปลงหนี้เป็นทุน ในราคาหุ้นละ 0.50 บาท โดยเจ้าหนี้กว่าครึ่งเห็นขอบด้วย แต่ยังมีเจ้าหนี้รายใหญ่ 3 ราย คือ Cargill International Trading , Duferco Asia และ Intergate AGที่อยู่ระหว่างการเจรจาว่าจะแปลงหนี้เป็นทุนหรือยืดการชำระหนี้ออกไป 5-7 ปี คาดว่าภายใน 2 เดือนข้างหน้าจะมีความชัดเจนขึ้น ภายหลังจากการแปลงหนี้เป็นทุนสำเร็จแล้วจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ลดลงมาเหลือประมาณ 0.5-0.6 เท่า หรือจำนวนหนี้ลดลงเหลือประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่มี D/E กว่า 3 เท่า หรือมีหนี้สินรวม 950 ล้านเหรียญสหรัฐ และปัจจุบันบริษัทฯมีหนี้สินลดลงมาที่ 550 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการขอลดหนี้และแปลงหนี้เป็นทุนในครั้งก่อนหน้า
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้บรุ๊คเคอร์ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ที่จีสตีลจะควบรวมกิจการ (M&A)กับบมจ.จี เจ สตีล (GJS) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยเข้ามา ทำให้บริษัทฯมีกำลังการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นเป็น 3.3 ล้านตัน/ปี มั่นใจว่าไม่ติดข้อกฎหมายการผูกขาดตลาดแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบัน
บมจ.สหวิริยาสตีลฯเป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนรายใหญ่ของไทยอยู่แล้วและไทยก็มีการนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากต่างประเทศด้วย ซึ่งการควบรวมกิจการนี้จะทำให้บริษัทฯมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ช่วยลดต้นทุนการจัดซื้อวัตถุดิบหรือเศษเหล็ก และลดการแข่งขันการขาย หลังจากบริษัทฯมีความเข้มแข็งขึ้น จึงค่อยดำเนินการหาพันธมิตรร่วมทุนต่อไป
นายชาญ บูลกุล ประธานคณะกรรมการบริหารและกรรมการอำนวยการ บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของจีสตีล กล่าวว่า การควบรวมกิจการจีสตีล กับจีเจ สตีล คาดว่าดำเนินการแล้วเสร็จใน 7-8 เดือนข้างหน้า หลังจากจีสตีลได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และเพิ่มทุนเรียบร้อยแล้ว
ส่วนการเพิ่มทุนจดทะเบียนของGJS คาดว่าจะประสบความสำเร็จตามแผนฯ เพราะราคาเสนอขายอยู่ที่หุ้นละ 0.08 บาท ต่ำกว่าราคากระดานที่อยู่ 0.09 บาท โดยผู้ถือหุ้นเดิมยังได้ใบสำคัญแสดงสิทธิจะซื้อหุ้นสามัของบริษัทฟรีในสัดส่วน 1 หุ้นต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ ทำให้GJS ได้เงินจากการเพิ่มทุน 2.7 พันล้านบาท เพื่อมาใช้ซื้อวัตถุดิบในการเดินเครื่องจักร 1.2-1.3 พันล้านบาทและชำระคืนหนี้จีสตีลอีก 1 พันล้านบาท ทำให้บริษัทฯมีเงินใช้ในการเดินเครื่องจักรอีกครั้ง