ASTVผู้จัดการรายวัน-“สศอ.”เตรียมเสนอสศช.และ กยอ. ให้รัฐลงทุนศูนย์วิจัยและทดสอบยานยนต์ในไทยมูลค่า 8,000 ล้านบาทคาดใช้ที่รวม 1,000 ไร่เล็งพื้นที่ตะวันออกเช่น อมตะ เหมราช หวังดันไทยฮับยานยนต์ภูมิภาคแบบครบวงจร
นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ภายในม.ค.นี้ สศอ. เตรียมเสนอแผนการสร้างศูนย์วิจัยและทดสอบยานยนต์วงเงิน 8,000 ล้านบาทให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) โดยรูปแบบการลงทุนคาดว่าจะเป็นการลงทุนโดยรัฐเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ และให้สถาบันยานยนต์เป็นผู้บริหารจัดการ
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคแบบครบวงจร ทั้งการพัฒนา การผลิต และการทดสอบ
“ ไทยควรจะมีศูนย์ทดสอบเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์เพราะขณะนี้ที่มีปัญหาคือชิ้นส่วนยานยนต์ที่ต้องส่งไปทดสอบต่างประเทศทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก การที่ไทยมีก็จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนและยังทำให้มีการดึงดูดการลงทุนมายังไทยมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)ได้เห็นชอบในหลักการแล้วแต่ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปจัดทำแผนและรายละเอียดของโครงการให้ชัดเจนอีกครั้ง”นายณัฐพลกล่าว
สำหรับแผนการลงทุนจะแบ่งออกเป็น2 ระยะ(เฟส) โดยเฟสแรกซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วนต้องก่อสร้างให้เสร็จก่อนการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ปี 58 คือการสร้างศูนย์วิจัยและทดสอบยานยนต์ ซึ่งจะเป็นโครงการที่ของบประมาณจาก กยอ. วงเงิน 3,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะใช้พื้นที่ในการก่อสร้าง 200 ไร่
ส่วนเฟสที่2 จะเป็นการก่อสร้างสนามทดสอบยานยนต์ มูลค่าโครงการลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท คาดว่าจะใช้พื้นที่ก่อสร้าง 800 ไร่ โดยในเบื้องต้นคาดว่าการลงทุนทั้ง 2 เฟสจะอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมใกล้เคียงกับพื้นที่ของผู้ผลิต ซึ่งที่สถาบันยานยนต์มองหาที่ในนิคมฯ ภาคตะวันออกอยู่หลายแห่ง เช่น นิคมอมตะ นิคมฯเหมราช เป็นต้น
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในปี 56 ยอดการผลิตรถยนต์จะเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วประมาณ 5% หรือราว 2.5 ล้านคัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งมอบตามโครงการรถคันแรก ซึ่งมียอดจองไม่ได้ส่งมอบอีก 700,000-800,000 คัน ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกก็ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ต่อเนื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์ทำให้ปัจจุบันมีการใช้กำลังผลิตค่อนข้างสูงเกินกว่า 100% ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายมีแผนลงทุนขยายกำลังการผลิต ซึ่งคาดว่ากำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นเกิน 3 ล้านคันต่อปี ในปี 60 จากปัจจุบันที่ผลิตได้อยู่ 2.7 ล้านคันต่อปี
นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ภายในม.ค.นี้ สศอ. เตรียมเสนอแผนการสร้างศูนย์วิจัยและทดสอบยานยนต์วงเงิน 8,000 ล้านบาทให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) โดยรูปแบบการลงทุนคาดว่าจะเป็นการลงทุนโดยรัฐเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ และให้สถาบันยานยนต์เป็นผู้บริหารจัดการ
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคแบบครบวงจร ทั้งการพัฒนา การผลิต และการทดสอบ
“ ไทยควรจะมีศูนย์ทดสอบเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์เพราะขณะนี้ที่มีปัญหาคือชิ้นส่วนยานยนต์ที่ต้องส่งไปทดสอบต่างประเทศทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก การที่ไทยมีก็จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนและยังทำให้มีการดึงดูดการลงทุนมายังไทยมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)ได้เห็นชอบในหลักการแล้วแต่ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปจัดทำแผนและรายละเอียดของโครงการให้ชัดเจนอีกครั้ง”นายณัฐพลกล่าว
สำหรับแผนการลงทุนจะแบ่งออกเป็น2 ระยะ(เฟส) โดยเฟสแรกซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วนต้องก่อสร้างให้เสร็จก่อนการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ปี 58 คือการสร้างศูนย์วิจัยและทดสอบยานยนต์ ซึ่งจะเป็นโครงการที่ของบประมาณจาก กยอ. วงเงิน 3,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะใช้พื้นที่ในการก่อสร้าง 200 ไร่
ส่วนเฟสที่2 จะเป็นการก่อสร้างสนามทดสอบยานยนต์ มูลค่าโครงการลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท คาดว่าจะใช้พื้นที่ก่อสร้าง 800 ไร่ โดยในเบื้องต้นคาดว่าการลงทุนทั้ง 2 เฟสจะอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมใกล้เคียงกับพื้นที่ของผู้ผลิต ซึ่งที่สถาบันยานยนต์มองหาที่ในนิคมฯ ภาคตะวันออกอยู่หลายแห่ง เช่น นิคมอมตะ นิคมฯเหมราช เป็นต้น
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในปี 56 ยอดการผลิตรถยนต์จะเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วประมาณ 5% หรือราว 2.5 ล้านคัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งมอบตามโครงการรถคันแรก ซึ่งมียอดจองไม่ได้ส่งมอบอีก 700,000-800,000 คัน ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกก็ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ต่อเนื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์ทำให้ปัจจุบันมีการใช้กำลังผลิตค่อนข้างสูงเกินกว่า 100% ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายมีแผนลงทุนขยายกำลังการผลิต ซึ่งคาดว่ากำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นเกิน 3 ล้านคันต่อปี ในปี 60 จากปัจจุบันที่ผลิตได้อยู่ 2.7 ล้านคันต่อปี