ผอ.สถาบันพลาสติกเผยผู้ประกอบการกลุ่มพลาสติกมีแผนจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC หลังจากได้รับโจทย์จากกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาขีดความสามารถ เชื่อถ้ารวมกลุ่มกันได้ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ อุตสาหกรรมพลาสติกไทยจะแข็งแรง และแข่งขันได้
ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก เปิดเผยว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยปีนี้คาดว่าน่าจะขยายตัวประมาณ 3% จากปีก่อนมีการนำเข้าเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกประมาณ 3 แสนล้านบาท และส่งออก 4.5 แสนล้านบาท โดยทางสถาบันได้รับโจทย์จากกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะต้องพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่เออีซี ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าประเทศใดในอาเซียน เป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตและมีความจำเป็นต่อพื้นฐานด้านการผลิตของห่วงโซ่อุปทาน
ดังนั้น เมื่อเออีซีเปิดหากไม่ดำเนินการอะไรเลยประเทศไทยจะถูกแซงหน้าได้ เพราะต่อจากนี้ไปการแข่งขันจะดุเดือด ซึ่งในเออีซีหากเป็นผู้ประกอบการอยู่รายเดียวโดดๆ จะเหนื่อย จึงทำให้เอกชนมีความสนใจในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมพลาสติกเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่-รายเล็กที่เป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกและผู้ใช้เม็ดพลาสติก หากมารวมกลุ่มกันได้ จะทำให้อุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศแข็งแรงมากขึ้น เพราะเป็นการต่อยอดตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ซึ่งผู้ประกอบการมองโอกาสขยายการลงทุน ถ้ามีทางเลือกที่ดีก็สนใจที่จะเข้ามาลงทุน โดยภายในเดือน ก.ย. 56 จะทราบทั้งหมดว่าพื้นที่นิคมฯ จะอยู่ตรงไหน โครงสร้างพื้นฐานมีอะไร รวมถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ด้วย
“แต่ก็จะต้องไปดูว่านิคมฯ แห่งนี้มีแรงจูงใจอะไรบ้างที่จะชักจูงนักลงทุนเข้ามา เพราะเวลานี้เองอุตสาหกรรมพลาสติกมีการขยายตัวตลอดตามการขยายตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งทางสถาบันจะมาออกแบบว่านิคมอุตสาหกรรมพลาสติกควรจะเป็นอย่างไร ความต้องการลูกค้าควรจะเป็นแบบใด ที่จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษา ทำคู่ขนานกับทาง กนอ.ในการหาพื้นที่”
ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก เปิดเผยว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยปีนี้คาดว่าน่าจะขยายตัวประมาณ 3% จากปีก่อนมีการนำเข้าเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกประมาณ 3 แสนล้านบาท และส่งออก 4.5 แสนล้านบาท โดยทางสถาบันได้รับโจทย์จากกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะต้องพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่เออีซี ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าประเทศใดในอาเซียน เป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตและมีความจำเป็นต่อพื้นฐานด้านการผลิตของห่วงโซ่อุปทาน
ดังนั้น เมื่อเออีซีเปิดหากไม่ดำเนินการอะไรเลยประเทศไทยจะถูกแซงหน้าได้ เพราะต่อจากนี้ไปการแข่งขันจะดุเดือด ซึ่งในเออีซีหากเป็นผู้ประกอบการอยู่รายเดียวโดดๆ จะเหนื่อย จึงทำให้เอกชนมีความสนใจในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมพลาสติกเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่-รายเล็กที่เป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกและผู้ใช้เม็ดพลาสติก หากมารวมกลุ่มกันได้ จะทำให้อุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศแข็งแรงมากขึ้น เพราะเป็นการต่อยอดตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ซึ่งผู้ประกอบการมองโอกาสขยายการลงทุน ถ้ามีทางเลือกที่ดีก็สนใจที่จะเข้ามาลงทุน โดยภายในเดือน ก.ย. 56 จะทราบทั้งหมดว่าพื้นที่นิคมฯ จะอยู่ตรงไหน โครงสร้างพื้นฐานมีอะไร รวมถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ด้วย
“แต่ก็จะต้องไปดูว่านิคมฯ แห่งนี้มีแรงจูงใจอะไรบ้างที่จะชักจูงนักลงทุนเข้ามา เพราะเวลานี้เองอุตสาหกรรมพลาสติกมีการขยายตัวตลอดตามการขยายตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งทางสถาบันจะมาออกแบบว่านิคมอุตสาหกรรมพลาสติกควรจะเป็นอย่างไร ความต้องการลูกค้าควรจะเป็นแบบใด ที่จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษา ทำคู่ขนานกับทาง กนอ.ในการหาพื้นที่”