วานนี้ (2ม.ค.) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) แถลงว่า ตนได้มอบหมายให้นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการป้องกันปราบปรามการทุจริตสืบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่นายธนเดช พ่วงพูล ประธานชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ ร้องทุกข์ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินคดีอาญากับคณะกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ในความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือพ.ร.บ.ฮั้วประมูล ภายหลังที่ นายสุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด(มหาชน) อนุมัติให้มีการต่อสัญญาดำเนินการส่งโทรทัศน์สีไม่ถูกต้อง และเพื่อให้เกิดความชัดเจน และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย จึงได้มีหนังสือเชิญ นายวิชัย มาลีนนท์ กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด มาให้ถ้อยคำ ในวันพุธที่ 16 มกราคม 2556 ในเวลา 9.30 น. ขณะที่นายสุรพล มาให้ถ้อยคำในวันเดียวกัน เวลา 13.30 น. พร้อมขอให้นำพยานหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องตามประเด็นที่นายธนเดช กล่าวอ้างมา เพื่อประกอบการให้ถ้อยคำด้วย
ชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ ยื่นหนังสือให้ดีเอสไอ ตรวจสอบการต่อสัญญาช่อง 3 หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ทำให้รัฐเสียรายได้กว่า 7,000 ล้านบาท
ก่อนหน้านั้น นายธนเดช พ่วงพูล ประธานชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ ยื่นหนังสือต่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้ตรวจสอบกรณี บริษัท อสมท.จำกัด (มหาชน) ต่อสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี กับบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้น จำกัด (ช่อง 3) ทำให้ช่อง 3 ได้รับการขยายอายุสัมปทานออกไปเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยชมรมนักกฎหมายฯ เห็นว่า การกระทำของบอร์ด อสมท. ที่มีมติรับเงิน 405 ล้านบาท ให้มีการต่อสัญญาสัมปทานกับช่อง 3 เป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ และเป็นการละเว้นการกระทำตามหน้าที่เป็นเหตุให้ไม่เกิดการแข่งขันราคาอย่างเสรี หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และยังเอื้อประโยชน์ให้ผู้อื่นได้ไปซึ่งผลประโยชน์ของรัฐ ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในสัมปทานไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท ซึ่งบอร์ด อสมท. เคยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุน) มาแล้ว เพื่อให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและยังเป็นไปตามคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจที่เคยแจ้งมายัง บมจ.อสมท. 2 ฉบับ แต่ภายหลังได้มีคำสั่งยกเลิก รวมถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา ยังมีความเห็นให้บอร์ดอสมท. ไปหารือกับ กสทช. แต่ บมจ.อสมท. ไม่ดำเนินการ กลับเสนอรัฐมนตรีขอรับเงิน 405 ล้านบาท
ชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ ยื่นหนังสือให้ดีเอสไอ ตรวจสอบการต่อสัญญาช่อง 3 หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ทำให้รัฐเสียรายได้กว่า 7,000 ล้านบาท
ก่อนหน้านั้น นายธนเดช พ่วงพูล ประธานชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ ยื่นหนังสือต่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้ตรวจสอบกรณี บริษัท อสมท.จำกัด (มหาชน) ต่อสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี กับบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้น จำกัด (ช่อง 3) ทำให้ช่อง 3 ได้รับการขยายอายุสัมปทานออกไปเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยชมรมนักกฎหมายฯ เห็นว่า การกระทำของบอร์ด อสมท. ที่มีมติรับเงิน 405 ล้านบาท ให้มีการต่อสัญญาสัมปทานกับช่อง 3 เป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ และเป็นการละเว้นการกระทำตามหน้าที่เป็นเหตุให้ไม่เกิดการแข่งขันราคาอย่างเสรี หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และยังเอื้อประโยชน์ให้ผู้อื่นได้ไปซึ่งผลประโยชน์ของรัฐ ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในสัมปทานไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท ซึ่งบอร์ด อสมท. เคยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุน) มาแล้ว เพื่อให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและยังเป็นไปตามคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจที่เคยแจ้งมายัง บมจ.อสมท. 2 ฉบับ แต่ภายหลังได้มีคำสั่งยกเลิก รวมถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา ยังมีความเห็นให้บอร์ดอสมท. ไปหารือกับ กสทช. แต่ บมจ.อสมท. ไม่ดำเนินการ กลับเสนอรัฐมนตรีขอรับเงิน 405 ล้านบาท