ASTVผู้จัดการรายวัน - "ยิ่งลักษณ์" ฟันธงปี 56 รัฐธรรมนูญใหม่ยังไม่เสร็จแน่ ชี้กระบวนการยังอีกยาว ออกลูกกั๊ก ยังมีโอกาสแก้รายมาตรา แต่เชื่อแก้แบบไหนก็ไม่ขัดแย้ง ยัน "ทักษิณ" ไม่มีอิทธิพลเหนือรัฐบาล ปัดตอบเรื่องจะออกกฎหมายล้างผิดให้พี่ชาย อ้อนตัวเองไม่เพอร์เฟก ยอมรับภาวะผู้นำยังต่ำ ขอโอกาสแก้ตัวปีหน้า
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พิเศษสื่อทำเนียบรัฐบาล เป็นการต้อนรับปีใหม่ 2556 โดยกล่าวถึงปัญหาการเมือง เรื่องการออกเสียงประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะสามารถทำได้ในปี56 นี้หรือไม่ ว่า รัฐบาลอยากเห็นทางออกที่สรุปโดยเร็ว เพราะขณะนี้คณะทำงานฯของรัฐบาลยังอยู่ในช่วงการรวบรวมข้อมูลอยู่ ซึ่งจากการที่สอบถามข้อมูลมา จะมีหลายแนวทางด้วยกัน จริงๆในส่วนของรัฐบาลเรามองเรื่องการมีส่วนร่วม การทำประชาเสวนากับประชามติ ขณะเดียวกันในภาคประชาชนหลายๆส่วน พูดถึงการที่จะเริ่มเดินหน้าโหวต วาระ 3 เลย หรือจะแก้ไขรายมาตรา หรือการทำประชามติ ดังนั้นขอเวลาให้คณะทำงานฯได้ทำงานเพื่อสรุปผลออกมาก่อนว่าจะอย่างไร ถ้าเป็นแนวทางประชามติคงจะได้เห็น แต่ในส่วนของรัฐบาลเราอยากเห็นแนวทางไหนก็ได้ ที่แป็นแนวทางที่ประชาชนยอมรับ และได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังตามระบอบประชาธิปไตย
"ในส่วนของรัฐบาลเราถือว่าการโหวตต่างๆ หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นส่วนของรัฐสภา รัฐบาลมีหน้าที่สร้างกลไกการมีส่วนร่วม ประกอบกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้คำแนะนำว่า ควรจะทำประชามติ หรือแก้ไขรายมาตราก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจน ดังนั้นรัฐบาลต้องนำข้อเสนอนี้ออกไปสรุปกันเพื่อหาทางออกต่อไป" นายกรัฐมนตรี กล่าว
เมื่อถามถึงวัตถุประสงค์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องเรียนว่า รัฐธรรมนูญของปี 2550 เกิดหลังจากที่ได้มีการปฏิวัติรัฐประหาร เราอยากเห็นรัฐธรรมนูญที่เราจะใช้ต่อไปเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างมาจากภาคประชาชน ถามว่าการที่มีฉบับนี้ดีอย่างไรคือ ถ้าประชาชนได้มีส่วนร่วมในการที่จะเสนอเนื้อหาต่างๆ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และที่สำคัญจะเป็นไปตามกลไลของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะเห็นว่าในหลายๆ ประเทศทั่วโลกนั้น วิถีทางประชาธิปไตยนอกจากระบอบการทำงาน กลไกการมีส่วนร่วม จะต้องทำให้รัฐธรรมนูญสอดคล้อง และเกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
" ข้อดีคือประชาชนทุกคนจะได้รับความเสมอภาค และการทำงานจะมีกลไกที่ตรวจสอบกันสมดุล ระหว่างสามเสาหลัก ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายนิติบัญญัติ หากเราสร้างความสมดุลตรงนี้จะทำให้ความมั่นคงของเสถียรภาพของประเทศ และเสริมสร้างเศรษฐกิจต่อไป ถามว่าดีอย่างไร เรามองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อยากให้ภาคประชาชนเป็นผู้เสนอ" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
เมื่อถามถึงการที่ฝ่ายการเมืองพูดแต่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เคยพูดว่ารัฐธรรมนูญมีผลกระทบกับประชาชนอย่างไรจึงต้องแก้ไข นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ขอให้คณะทำงานฯ ไปดำเนินการศึกษาเรื่องนี้ เพราะสิ่งที่เราได้ยินกัน อาจคุยกันในแง่แก้ไขมาตราต่างๆ แต่สิ่งที่เราต้องย้อนกลับมาให้ประชาชนเข้าใจว่า แก้ไขแล้วประชาชนได้อะไร วันนี้ตนเองได้ฝากแนวทางนี้กับคณะทำงานฯ ให้ช่วยทำการชี้แจงด้วย เพราะตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันนี้คุยกันแต่วิธีการ แต่ยังไม่ได้คุยถึงเนื้อหาจะแก้อย่างไร แล้วประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไร
ทั้งนี้หลังคณะทำงานฯสรุปส่งมาจะชี้แจงให้ทราบอีกครั้ง สาเหตุที่คณะรัฐมนตรียังไม่สรุปผล เพราะอยากให้คณะทำงานฯ สรุปเนื้อหาก่อนว่าจะมีประเด็นอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์สำหรับประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้ทราบก่อนแล้วค่อยกลับไปดูวิธีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม หรือการยอมรับของประชาชน คืออะไร
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังได้กล่าวถึงข้อห่วงใยที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะสร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้นว่า หากเรามีการพูดคุยแล้วเห็นพ้องต้องกันว่ามีประโยชน์ร่วมกัน เชื่อว่าจะนำไปในแนวทางที่ดีขึ้น ฉะนั้นอยากให้ร่วมกันสร้างบรรยากาศ โดยรัฐบาลพยายามสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่เรื่องการทำประชาเสวนา แต่เรามองว่าประชาเสวนาแล้วจะนำไปสู่ข้อสรุปหรือไม่ จึงเป็นส่วนที่ต้องมาถกเถียงกันอีกครั้ง เชื่อว่าถ้าเราช่วยกัน พูดคุยกันให้มากขึ้น มีการแสดงออกในข้อคิดเห็นข้อกังวนใจให้มากขึ้น ใช้เวลาตรงนี้ก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันแล้วค่อยเดินหน้า เชื่อว่าความสงบก็เกิดขึ้น
ส่วนที่ห่วงว่าจะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายเหมือนที่ประเทศอียิปต์นั้น คงไม่เกิดขึ้น เพราะเป้าหมายแรกเราอยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้า ก็จะเห็นแล้วว่า ถ้าบรรยากาศของเราไม่มีความขัดแย้ง เศรษฐกิจหรือความเชื่อมั่นต่างๆ ก็กลับมา
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า มีความมั่นใจมากน้อยเพียงใดว่า ปี 2556 จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใช้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ขณะนี้มีอยู่ 3 แนวทางที่ต้องตกผลึกกันให้ชัดเจนก่อน ทั้งการเดินหน้าโหวตวาระ 3 เลย การแก้ไขรายมาตรา หรือการทำประชามติ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อตกลงหลังจากนี้ ถ้าเป็นทำประชามติอาจต้องใช้เวลา เพราะถึงตอนนี้หัวข้อประชามติก็ยังไม่สรุป จึงอาจไม่เห็นฉบับใหม่ในปี 2556 เพราะการเลือกประชามติ คือ การปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้คำแนะนำว่าก่อนโหวต วาระ 3 ต้องไปทำประชามติ หรือแก้ไขเป็นรายมาตรา หากประชามติจบก็เดินหน้าแก้ไขมาตรา 291 คือการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนุญ (ส.ส.ร.) ซึ่งต้องสู่กระบวนการเลือกตั้ง เหมือนอย่างการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้ ส.ส.ร. ก็ต้องมานั่งประชุมสภาร่างฯ ขึ้นมา และตกลงกันว่าจะร่างแบบยกแก้ไขทั้งฉบับ หรือแก้รายมาตรา เมื่อได้เรียบร้อยแล้วต้องกลับไปทำประชามติอีก
" ถ้าจำได้ตอนที่เราร่างรัฐธรรมนูญปี 40 ใช้เวลาหลายปี ตอนนี้จึงเป็นแค่เริ่มขบวนการเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่เรามองว่า ข้อกฎหมายต่างๆ เวลาเปลี่ยนแปลงไป การที่เรามีเรื่องของประชาคมอาเซียนก็ดี เมื่อมีสิ่งต่างๆเหล่านี้หลายอย่างในช่วงของการเปลี่ยนแปลงของต่างประเทศก็ดี ข้อกฎหมายต่างก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป นั่นคือสิ่งที่เราต้องกลับมาค่อยๆ ดู ดังนั้นคงจะไม่ได้เสร็จเร็วในปีหน้าแน่นอน" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
เมื่อถามถึงท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ระบุว่า ให้ลุยทำประชามติไปเลย ถือเป็นการส่งสัญญาณที่รัฐบาลต้องตัดสินใจทำตามหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น คือทุกคนมีสิทธิที่จะให้คำแนะนำ และข้อเสนอได้ วันนี้เราอยู่ในขั้นตอนของการรับฟังกับทุกส่วน ไม่ใช่รัฐบาลเพียงส่วนเดียว รัฐบาลต้องไปหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รัฐสภา และวุฒิสภาด้วย รวมถึงพรรคการเมืองอื่นๆและภาคประชาชน ดังนั้นทุกคนสามารถเสนอได้ และนี่คือเสน่ห์ของประชาธิปไตย
ต่อข้อถามที่ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีข้อแตกต่างจากการแก้ไขครั้งที่ผ่านๆ มาอย่างไร และทำอย่างไรให้ผลประโยชน์ตกแก่ประชาชน ไม่ใช่เพียงเพื่อรัฐบาล หรือพ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องเรียนว่าเราคุยกันแต่วิธีการ และพูดถึงปลายทางเลย ทั้งที่ปลายทางยังไม่ถึง ถ้าคุยเรื่องประชามติ เราจะไม่รู้เลยว่าต่อไป ส.ส.ร.จะเป็นใคร และจะร่างออกมาอย่างไร ฉะนั้นมันคือปลายทางที่หลายฝ่ายอาจจะกังวลใจไปก่อน จึงอยากจะขอใช้เวลาในการที่จะพูดคุยในส่วนของเนื้อหาที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้เห็นประโยชน์ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นมีประโยชน์อย่างไร
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นงานในส่วนของรัฐสภา แต่สิ่งที่รัฐบาลทำได้ คือ กลไกต่างๆ เราก็จะอยู่ในหมวดของการที่ไม่เร่งตัดสินใจ แต่เราอยากจะเร่งในการทำความเข้าใจร่วมกัน และหาข้อสรุปเพื่อหาทางออก
"คิดว่าไม่เป็นการดีที่จะทิ้งค้างไว้อย่างนี้ และไม่สามารถที่จะเดินหน้าได้ หรือทำอะไรได้ เพราะวันนี้มติถูกคาไว้ และมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมา ก็ต้องมาพูดคุยกันว่าเราจะเดินอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไรร่วมกัน" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า การบริหารของรัฐบาลที่ผ่านมาถูกมองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเกี่ยวข้อง ในอนาคตมีโอกาสที่รัฐบาลจะก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ ได้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อยากให้ทุกคนดูในเนื้อหา ในสิ่งที่ได้ทำให้กับประชาชน เชื่อว่าแม้กระทั่งการมีส่วนร่วมการลงประชามติ หรือการเลือกตั้งต่างๆ เป็นสิทธิของประชาชนโดยแท้ ไม่มีใครที่จะมาบังคับพี่น้องประชาชนทั้งประเทศได้ ถ้าเห็นว่าสิ่งที่ตนทำงานเพื่อคนๆเดียว ไม่ได้ทำเพื่อคนส่วนรวม ครั้งหน้าพี่น้องประชาชนคงไม่เลือกเข้ามาในตำแหน่งนี้ หรือไม่ให้โอกาสสมาชิกพรรคเพื่อไทย ตรงนี้เป็นกลไกของระบอบประชาธิปไตย ที่มีกลไกทั้งการตรวจสอบ และการตัดสินโดยประชาชน
เมื่อถามว่า นายกฯวางสถานะ พ.ต.ท.ทักษิณไว้ตรงไหน สามารถตัดความเป็นพี่น้องออกไปได้หรือไม่ เมื่อผู้สื่อข่าวถามจบ ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อึ้งไปพักหนึ่งก่อนที่จะกล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง ที่มีความหวังดี และอยากเห็นประเทศชาติของเราเดินไปข้างหน้า และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการเมือง การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
"ดิฉันถือว่าเป็นหนึ่งเสียงเทียบกับทุกๆคน ฉะนั้นเราเอง หน้าที่รัฐบาลเราต้องฟังทุกๆเสียงจากประชาชน และการตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค อย่างเท่าเทียมกันและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนส่วนรวมเป็นที่ตั้ง" นายกฯกล่าว
เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นผู้นำประเทศมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สำคัญเป็นอันดับแรก กว่าการแก้ไขปัญหาในด้านอื่นหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า การสร้างบรรยากาศให้เกิดความเชื่อมั่นและการสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นเรื่องหลัก เพราะเป็นพื้นฐานของการสร้างเสริมเศรษฐกิจ และความมั่นคง
"การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีความสำคัญ แต่ไม่ใช่ประเด็นเร่งด่วน ถ้าเราเข้าไปเร่งแก้ไข แล้วเกิดความขัดแย้งในสังคมไทย เกิดปัญหานำมาซึ่งความรุนแรง จะทำให้เศรษฐกิจต่างๆไม่ดี เราจึงพยายามที่รักษาบรรยากาศต่างๆ เข้าไว้ บางครั้งต้องขอความเห็นใจบางท่านอยากให้เร่งแก้ไข เราเองถือว่าการแก้ไขอยู่ที่ทางรัฐสภาจะตัดสินใจ และเราในฐานะรัฐบาล เราเข้าไปช่วยในกรณีที่อยากให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน" นายกฯ ระบุ
เมื่อถามย้ำว่า หลายฝ่ายกังวลว่า รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนลืมเรื่องแก้ไขปัญหาอื่นให้แก่ประชาชน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปฏิเสธทันที พร้อมอธิบายว่า ยังมีอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ แต่อย่างน้อยสิ่งที่ได้เห็น คือ ทุกฝ่ายพูดถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่ดีคือ เราพูดถึงวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตยที่มีความสงบ คือการมีส่วนร่วม เสนอความคิดต่างๆ แบบสร้างสรรค์ แต่ไม่ใช่การใช้กำลังรุนแรง หรือการที่จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ถ้าเราได้พูดมากขึ้น ได้เข้าใจมากกขึ้นสุดท้ายข้อสรุปต่างๆ ก็จะออกมาเอง
ผู้สื่อข่าวยังได้ถามถึงว่า แนวโน้มการออกกฎหมายนิรโทษกรรมว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนทั่วไป และอาจรวมไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนิรโทษกรรม ทุกอย่างเราพูดถึงประโยชน์ของประชาชน การที่จะออกกฎหมายใดๆ เราต้องทำแล้วให้เกิดความเสมอภาคอย่างเท่าเที่ยมกัน ซึ่งถือเป็นหลักการทำงานของรัฐบาล ไม่มีการตั้งเป้าว่า จะทำให้ใครได้ประโยชน์เป็นพิเศษ เพราะหากเป็นเช่นนั้นคงไม่มีใครให้กฎหมายนั้นๆ ผ่านไปได้
เมื่อให้ประเมินวิเคราะห์การทำงานตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ของรัฐบาลว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร รวมถึงการปรับปรุงในส่วนตัวของตัวนายกรัฐมนตรีเองไว้อย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า 1 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เราพบในส่วนของปัญหาอุปสรรคของการทำงานคือ แทนที่เราจะได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการเริ่มนโยบายของรัฐบาล เราต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหาผลพวงจากมหาอุทกภัย ซึ่งส่งผลทำให้เศรษฐกิจถดถอยในไตรมาสที่ 4 ดังนั้นสิ่งแรกคือ ต้องกู้การฟื้นฟูทั้งหมด โดยเราใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จึงจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมา และเรื่องงบประมาณที่ยังไม่ได้ขออนุมัติจากทางรัฐสภา จึงต้องใช้เวลาไปอีก 4 เดือน เราจึงเหลือเวลาอีกเพียง 8 เดือน
ส่วนการทำงานของตัวเองนั้น อาจจะมีคนรักบ้าง คนไม่ชอบบ้าง ก็น้อมรับ และจะตั้งใจปรับปรุงการทำงาน โดยเฉพาะในเรื่องภาวะความเป็นผู้นำ ที่ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์กับประชาชน เพราะบางครั้งหลายคนไม่ได้สัมผัสตนโดยตรง เพราะไม่ได้เป็นหน้าเก่าในการเมือง แต่เป็นหน้าใหม่ในการเมืองที่ใช้เวลาปีกว่าๆ ในการทำงาน ส่วนการติติงนั้นมีหลายแบบ ถ้าติติงเรื่องนโยบายรัฐบาล หรือการทำงานก็น้อมรับ แต่การมองเรื่องส่วนตัว คงต้องดูว่าเหตุผล และการมองนั้นถูกต้องหรือเปล่า กับบทบาทในการติติง แต่ตนติดว่าไม่เป็นไร
"ไม่มีใครที่จะสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ และไม่ได้บอกว่าตัวเองต้องเป็นคนที่สมบูรณ์ และถือว่าตัวเองมีใจเต็มร้อยที่จะทำงานรับใช้ประชาชน แน่นอนว่าการได้รับการยอมรับต้องใช้เวลา จะทำตรงนี้เรื่อยๆ อย่างเต็มที่ และการทำงานที่ต้องประสานกันกับคณะรัฐมนตรีและรัฐบาล ซึ่งต้องทำงานกับองคาพยพใหญ่ทีเดียว เพราะฉะนั้นปีแรกคงเป็นปีของการปรับตัว แต่จะพยายามนำข้อติติง หรือข้อห่วงใยต่างๆ นำไปแก้ไขพัฒนาขึ้นมา ดิฉันไม่ท้อถอย ดิฉันพร้อม เพราะรู้ว่า เราเข้ามาทำงานทางการเมืองต้องมีบ้าง อาจจะมีทั้งคนติชมต่างๆ ก็จะตั้งใจทำงาน ถือว่าเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ผลงาน และผู้ที่จะตัดสินดิฉันคือประชาชน" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า วันนี้การเมืองเป็นอุปสรรคกับการบริหารประเทศของนายกฯหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่เป็นปัญหา หากวันนี้บรรยากาศการพูดคุยกันเป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย ก็เชื่อว่าบรรยากาศของประเทศจะดีขึ้น และในปีที่ผ่านมาทุกคนถือเป็นปีแห่งความสุข โดยเฉพาะเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา เป็นเดือนมหามงคลที่ทุกคนได้เห็นรอยยิ้มของคนไทยทั้งประเทศ ตนเชื่อมั่นว่าด้วยรอยยิ้ม และเดือนมหามงคลของวันที่ 5 ธ.ค. ที่เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็จะเป็นแรงดลบันดาลใจ ให้พวกเราทุกคนร่วมกันในการน้อมนำกระแสพระราชดำรัสในการประคับประคองบรรยากาศของประเทศไทย ให้เป็นบรรยายกาศของความสันติ ความสามัคคีปรองดอง.
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พิเศษสื่อทำเนียบรัฐบาล เป็นการต้อนรับปีใหม่ 2556 โดยกล่าวถึงปัญหาการเมือง เรื่องการออกเสียงประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะสามารถทำได้ในปี56 นี้หรือไม่ ว่า รัฐบาลอยากเห็นทางออกที่สรุปโดยเร็ว เพราะขณะนี้คณะทำงานฯของรัฐบาลยังอยู่ในช่วงการรวบรวมข้อมูลอยู่ ซึ่งจากการที่สอบถามข้อมูลมา จะมีหลายแนวทางด้วยกัน จริงๆในส่วนของรัฐบาลเรามองเรื่องการมีส่วนร่วม การทำประชาเสวนากับประชามติ ขณะเดียวกันในภาคประชาชนหลายๆส่วน พูดถึงการที่จะเริ่มเดินหน้าโหวต วาระ 3 เลย หรือจะแก้ไขรายมาตรา หรือการทำประชามติ ดังนั้นขอเวลาให้คณะทำงานฯได้ทำงานเพื่อสรุปผลออกมาก่อนว่าจะอย่างไร ถ้าเป็นแนวทางประชามติคงจะได้เห็น แต่ในส่วนของรัฐบาลเราอยากเห็นแนวทางไหนก็ได้ ที่แป็นแนวทางที่ประชาชนยอมรับ และได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังตามระบอบประชาธิปไตย
"ในส่วนของรัฐบาลเราถือว่าการโหวตต่างๆ หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นส่วนของรัฐสภา รัฐบาลมีหน้าที่สร้างกลไกการมีส่วนร่วม ประกอบกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้คำแนะนำว่า ควรจะทำประชามติ หรือแก้ไขรายมาตราก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจน ดังนั้นรัฐบาลต้องนำข้อเสนอนี้ออกไปสรุปกันเพื่อหาทางออกต่อไป" นายกรัฐมนตรี กล่าว
เมื่อถามถึงวัตถุประสงค์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องเรียนว่า รัฐธรรมนูญของปี 2550 เกิดหลังจากที่ได้มีการปฏิวัติรัฐประหาร เราอยากเห็นรัฐธรรมนูญที่เราจะใช้ต่อไปเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างมาจากภาคประชาชน ถามว่าการที่มีฉบับนี้ดีอย่างไรคือ ถ้าประชาชนได้มีส่วนร่วมในการที่จะเสนอเนื้อหาต่างๆ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และที่สำคัญจะเป็นไปตามกลไลของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะเห็นว่าในหลายๆ ประเทศทั่วโลกนั้น วิถีทางประชาธิปไตยนอกจากระบอบการทำงาน กลไกการมีส่วนร่วม จะต้องทำให้รัฐธรรมนูญสอดคล้อง และเกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
" ข้อดีคือประชาชนทุกคนจะได้รับความเสมอภาค และการทำงานจะมีกลไกที่ตรวจสอบกันสมดุล ระหว่างสามเสาหลัก ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายนิติบัญญัติ หากเราสร้างความสมดุลตรงนี้จะทำให้ความมั่นคงของเสถียรภาพของประเทศ และเสริมสร้างเศรษฐกิจต่อไป ถามว่าดีอย่างไร เรามองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อยากให้ภาคประชาชนเป็นผู้เสนอ" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
เมื่อถามถึงการที่ฝ่ายการเมืองพูดแต่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เคยพูดว่ารัฐธรรมนูญมีผลกระทบกับประชาชนอย่างไรจึงต้องแก้ไข นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ขอให้คณะทำงานฯ ไปดำเนินการศึกษาเรื่องนี้ เพราะสิ่งที่เราได้ยินกัน อาจคุยกันในแง่แก้ไขมาตราต่างๆ แต่สิ่งที่เราต้องย้อนกลับมาให้ประชาชนเข้าใจว่า แก้ไขแล้วประชาชนได้อะไร วันนี้ตนเองได้ฝากแนวทางนี้กับคณะทำงานฯ ให้ช่วยทำการชี้แจงด้วย เพราะตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันนี้คุยกันแต่วิธีการ แต่ยังไม่ได้คุยถึงเนื้อหาจะแก้อย่างไร แล้วประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไร
ทั้งนี้หลังคณะทำงานฯสรุปส่งมาจะชี้แจงให้ทราบอีกครั้ง สาเหตุที่คณะรัฐมนตรียังไม่สรุปผล เพราะอยากให้คณะทำงานฯ สรุปเนื้อหาก่อนว่าจะมีประเด็นอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์สำหรับประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้ทราบก่อนแล้วค่อยกลับไปดูวิธีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม หรือการยอมรับของประชาชน คืออะไร
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังได้กล่าวถึงข้อห่วงใยที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะสร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้นว่า หากเรามีการพูดคุยแล้วเห็นพ้องต้องกันว่ามีประโยชน์ร่วมกัน เชื่อว่าจะนำไปในแนวทางที่ดีขึ้น ฉะนั้นอยากให้ร่วมกันสร้างบรรยากาศ โดยรัฐบาลพยายามสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่เรื่องการทำประชาเสวนา แต่เรามองว่าประชาเสวนาแล้วจะนำไปสู่ข้อสรุปหรือไม่ จึงเป็นส่วนที่ต้องมาถกเถียงกันอีกครั้ง เชื่อว่าถ้าเราช่วยกัน พูดคุยกันให้มากขึ้น มีการแสดงออกในข้อคิดเห็นข้อกังวนใจให้มากขึ้น ใช้เวลาตรงนี้ก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันแล้วค่อยเดินหน้า เชื่อว่าความสงบก็เกิดขึ้น
ส่วนที่ห่วงว่าจะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายเหมือนที่ประเทศอียิปต์นั้น คงไม่เกิดขึ้น เพราะเป้าหมายแรกเราอยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้า ก็จะเห็นแล้วว่า ถ้าบรรยากาศของเราไม่มีความขัดแย้ง เศรษฐกิจหรือความเชื่อมั่นต่างๆ ก็กลับมา
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า มีความมั่นใจมากน้อยเพียงใดว่า ปี 2556 จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใช้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ขณะนี้มีอยู่ 3 แนวทางที่ต้องตกผลึกกันให้ชัดเจนก่อน ทั้งการเดินหน้าโหวตวาระ 3 เลย การแก้ไขรายมาตรา หรือการทำประชามติ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อตกลงหลังจากนี้ ถ้าเป็นทำประชามติอาจต้องใช้เวลา เพราะถึงตอนนี้หัวข้อประชามติก็ยังไม่สรุป จึงอาจไม่เห็นฉบับใหม่ในปี 2556 เพราะการเลือกประชามติ คือ การปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้คำแนะนำว่าก่อนโหวต วาระ 3 ต้องไปทำประชามติ หรือแก้ไขเป็นรายมาตรา หากประชามติจบก็เดินหน้าแก้ไขมาตรา 291 คือการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนุญ (ส.ส.ร.) ซึ่งต้องสู่กระบวนการเลือกตั้ง เหมือนอย่างการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้ ส.ส.ร. ก็ต้องมานั่งประชุมสภาร่างฯ ขึ้นมา และตกลงกันว่าจะร่างแบบยกแก้ไขทั้งฉบับ หรือแก้รายมาตรา เมื่อได้เรียบร้อยแล้วต้องกลับไปทำประชามติอีก
" ถ้าจำได้ตอนที่เราร่างรัฐธรรมนูญปี 40 ใช้เวลาหลายปี ตอนนี้จึงเป็นแค่เริ่มขบวนการเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่เรามองว่า ข้อกฎหมายต่างๆ เวลาเปลี่ยนแปลงไป การที่เรามีเรื่องของประชาคมอาเซียนก็ดี เมื่อมีสิ่งต่างๆเหล่านี้หลายอย่างในช่วงของการเปลี่ยนแปลงของต่างประเทศก็ดี ข้อกฎหมายต่างก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป นั่นคือสิ่งที่เราต้องกลับมาค่อยๆ ดู ดังนั้นคงจะไม่ได้เสร็จเร็วในปีหน้าแน่นอน" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
เมื่อถามถึงท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ระบุว่า ให้ลุยทำประชามติไปเลย ถือเป็นการส่งสัญญาณที่รัฐบาลต้องตัดสินใจทำตามหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น คือทุกคนมีสิทธิที่จะให้คำแนะนำ และข้อเสนอได้ วันนี้เราอยู่ในขั้นตอนของการรับฟังกับทุกส่วน ไม่ใช่รัฐบาลเพียงส่วนเดียว รัฐบาลต้องไปหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รัฐสภา และวุฒิสภาด้วย รวมถึงพรรคการเมืองอื่นๆและภาคประชาชน ดังนั้นทุกคนสามารถเสนอได้ และนี่คือเสน่ห์ของประชาธิปไตย
ต่อข้อถามที่ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีข้อแตกต่างจากการแก้ไขครั้งที่ผ่านๆ มาอย่างไร และทำอย่างไรให้ผลประโยชน์ตกแก่ประชาชน ไม่ใช่เพียงเพื่อรัฐบาล หรือพ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องเรียนว่าเราคุยกันแต่วิธีการ และพูดถึงปลายทางเลย ทั้งที่ปลายทางยังไม่ถึง ถ้าคุยเรื่องประชามติ เราจะไม่รู้เลยว่าต่อไป ส.ส.ร.จะเป็นใคร และจะร่างออกมาอย่างไร ฉะนั้นมันคือปลายทางที่หลายฝ่ายอาจจะกังวลใจไปก่อน จึงอยากจะขอใช้เวลาในการที่จะพูดคุยในส่วนของเนื้อหาที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้เห็นประโยชน์ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นมีประโยชน์อย่างไร
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นงานในส่วนของรัฐสภา แต่สิ่งที่รัฐบาลทำได้ คือ กลไกต่างๆ เราก็จะอยู่ในหมวดของการที่ไม่เร่งตัดสินใจ แต่เราอยากจะเร่งในการทำความเข้าใจร่วมกัน และหาข้อสรุปเพื่อหาทางออก
"คิดว่าไม่เป็นการดีที่จะทิ้งค้างไว้อย่างนี้ และไม่สามารถที่จะเดินหน้าได้ หรือทำอะไรได้ เพราะวันนี้มติถูกคาไว้ และมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมา ก็ต้องมาพูดคุยกันว่าเราจะเดินอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไรร่วมกัน" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า การบริหารของรัฐบาลที่ผ่านมาถูกมองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเกี่ยวข้อง ในอนาคตมีโอกาสที่รัฐบาลจะก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ ได้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อยากให้ทุกคนดูในเนื้อหา ในสิ่งที่ได้ทำให้กับประชาชน เชื่อว่าแม้กระทั่งการมีส่วนร่วมการลงประชามติ หรือการเลือกตั้งต่างๆ เป็นสิทธิของประชาชนโดยแท้ ไม่มีใครที่จะมาบังคับพี่น้องประชาชนทั้งประเทศได้ ถ้าเห็นว่าสิ่งที่ตนทำงานเพื่อคนๆเดียว ไม่ได้ทำเพื่อคนส่วนรวม ครั้งหน้าพี่น้องประชาชนคงไม่เลือกเข้ามาในตำแหน่งนี้ หรือไม่ให้โอกาสสมาชิกพรรคเพื่อไทย ตรงนี้เป็นกลไกของระบอบประชาธิปไตย ที่มีกลไกทั้งการตรวจสอบ และการตัดสินโดยประชาชน
เมื่อถามว่า นายกฯวางสถานะ พ.ต.ท.ทักษิณไว้ตรงไหน สามารถตัดความเป็นพี่น้องออกไปได้หรือไม่ เมื่อผู้สื่อข่าวถามจบ ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อึ้งไปพักหนึ่งก่อนที่จะกล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง ที่มีความหวังดี และอยากเห็นประเทศชาติของเราเดินไปข้างหน้า และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการเมือง การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
"ดิฉันถือว่าเป็นหนึ่งเสียงเทียบกับทุกๆคน ฉะนั้นเราเอง หน้าที่รัฐบาลเราต้องฟังทุกๆเสียงจากประชาชน และการตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค อย่างเท่าเทียมกันและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนส่วนรวมเป็นที่ตั้ง" นายกฯกล่าว
เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นผู้นำประเทศมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สำคัญเป็นอันดับแรก กว่าการแก้ไขปัญหาในด้านอื่นหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า การสร้างบรรยากาศให้เกิดความเชื่อมั่นและการสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นเรื่องหลัก เพราะเป็นพื้นฐานของการสร้างเสริมเศรษฐกิจ และความมั่นคง
"การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีความสำคัญ แต่ไม่ใช่ประเด็นเร่งด่วน ถ้าเราเข้าไปเร่งแก้ไข แล้วเกิดความขัดแย้งในสังคมไทย เกิดปัญหานำมาซึ่งความรุนแรง จะทำให้เศรษฐกิจต่างๆไม่ดี เราจึงพยายามที่รักษาบรรยากาศต่างๆ เข้าไว้ บางครั้งต้องขอความเห็นใจบางท่านอยากให้เร่งแก้ไข เราเองถือว่าการแก้ไขอยู่ที่ทางรัฐสภาจะตัดสินใจ และเราในฐานะรัฐบาล เราเข้าไปช่วยในกรณีที่อยากให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน" นายกฯ ระบุ
เมื่อถามย้ำว่า หลายฝ่ายกังวลว่า รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนลืมเรื่องแก้ไขปัญหาอื่นให้แก่ประชาชน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปฏิเสธทันที พร้อมอธิบายว่า ยังมีอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ แต่อย่างน้อยสิ่งที่ได้เห็น คือ ทุกฝ่ายพูดถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่ดีคือ เราพูดถึงวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตยที่มีความสงบ คือการมีส่วนร่วม เสนอความคิดต่างๆ แบบสร้างสรรค์ แต่ไม่ใช่การใช้กำลังรุนแรง หรือการที่จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ถ้าเราได้พูดมากขึ้น ได้เข้าใจมากกขึ้นสุดท้ายข้อสรุปต่างๆ ก็จะออกมาเอง
ผู้สื่อข่าวยังได้ถามถึงว่า แนวโน้มการออกกฎหมายนิรโทษกรรมว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนทั่วไป และอาจรวมไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนิรโทษกรรม ทุกอย่างเราพูดถึงประโยชน์ของประชาชน การที่จะออกกฎหมายใดๆ เราต้องทำแล้วให้เกิดความเสมอภาคอย่างเท่าเที่ยมกัน ซึ่งถือเป็นหลักการทำงานของรัฐบาล ไม่มีการตั้งเป้าว่า จะทำให้ใครได้ประโยชน์เป็นพิเศษ เพราะหากเป็นเช่นนั้นคงไม่มีใครให้กฎหมายนั้นๆ ผ่านไปได้
เมื่อให้ประเมินวิเคราะห์การทำงานตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ของรัฐบาลว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร รวมถึงการปรับปรุงในส่วนตัวของตัวนายกรัฐมนตรีเองไว้อย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า 1 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เราพบในส่วนของปัญหาอุปสรรคของการทำงานคือ แทนที่เราจะได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการเริ่มนโยบายของรัฐบาล เราต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหาผลพวงจากมหาอุทกภัย ซึ่งส่งผลทำให้เศรษฐกิจถดถอยในไตรมาสที่ 4 ดังนั้นสิ่งแรกคือ ต้องกู้การฟื้นฟูทั้งหมด โดยเราใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จึงจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมา และเรื่องงบประมาณที่ยังไม่ได้ขออนุมัติจากทางรัฐสภา จึงต้องใช้เวลาไปอีก 4 เดือน เราจึงเหลือเวลาอีกเพียง 8 เดือน
ส่วนการทำงานของตัวเองนั้น อาจจะมีคนรักบ้าง คนไม่ชอบบ้าง ก็น้อมรับ และจะตั้งใจปรับปรุงการทำงาน โดยเฉพาะในเรื่องภาวะความเป็นผู้นำ ที่ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์กับประชาชน เพราะบางครั้งหลายคนไม่ได้สัมผัสตนโดยตรง เพราะไม่ได้เป็นหน้าเก่าในการเมือง แต่เป็นหน้าใหม่ในการเมืองที่ใช้เวลาปีกว่าๆ ในการทำงาน ส่วนการติติงนั้นมีหลายแบบ ถ้าติติงเรื่องนโยบายรัฐบาล หรือการทำงานก็น้อมรับ แต่การมองเรื่องส่วนตัว คงต้องดูว่าเหตุผล และการมองนั้นถูกต้องหรือเปล่า กับบทบาทในการติติง แต่ตนติดว่าไม่เป็นไร
"ไม่มีใครที่จะสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ และไม่ได้บอกว่าตัวเองต้องเป็นคนที่สมบูรณ์ และถือว่าตัวเองมีใจเต็มร้อยที่จะทำงานรับใช้ประชาชน แน่นอนว่าการได้รับการยอมรับต้องใช้เวลา จะทำตรงนี้เรื่อยๆ อย่างเต็มที่ และการทำงานที่ต้องประสานกันกับคณะรัฐมนตรีและรัฐบาล ซึ่งต้องทำงานกับองคาพยพใหญ่ทีเดียว เพราะฉะนั้นปีแรกคงเป็นปีของการปรับตัว แต่จะพยายามนำข้อติติง หรือข้อห่วงใยต่างๆ นำไปแก้ไขพัฒนาขึ้นมา ดิฉันไม่ท้อถอย ดิฉันพร้อม เพราะรู้ว่า เราเข้ามาทำงานทางการเมืองต้องมีบ้าง อาจจะมีทั้งคนติชมต่างๆ ก็จะตั้งใจทำงาน ถือว่าเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ผลงาน และผู้ที่จะตัดสินดิฉันคือประชาชน" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า วันนี้การเมืองเป็นอุปสรรคกับการบริหารประเทศของนายกฯหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่เป็นปัญหา หากวันนี้บรรยากาศการพูดคุยกันเป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย ก็เชื่อว่าบรรยากาศของประเทศจะดีขึ้น และในปีที่ผ่านมาทุกคนถือเป็นปีแห่งความสุข โดยเฉพาะเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา เป็นเดือนมหามงคลที่ทุกคนได้เห็นรอยยิ้มของคนไทยทั้งประเทศ ตนเชื่อมั่นว่าด้วยรอยยิ้ม และเดือนมหามงคลของวันที่ 5 ธ.ค. ที่เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็จะเป็นแรงดลบันดาลใจ ให้พวกเราทุกคนร่วมกันในการน้อมนำกระแสพระราชดำรัสในการประคับประคองบรรยากาศของประเทศไทย ให้เป็นบรรยายกาศของความสันติ ความสามัคคีปรองดอง.