ASTVผู้จัดการรายวัน- "มาร์ค"ท้า "แม้ว" อย่าแก้กม.ประชามติ ลดจำนวนเสียง ถ้าคิดว่า24 ล้านเสียงเป็นเรื่องหมูๆ เตือน"ปู" อย่าตามใจพี่ชาย หากต้องการให้บ้านเมืองปรองดอง ฟันธงล่วงหน้ารัฐบาลรับใบสั่ง ทำตามความต้องการของ"นช.แม้ว" แก้ ม.309 เปิดประตูสู่การนิรโทษกรรม ล้มคำพิพากษา และคดีที่คตส.ทำไว้ "พงศ์เทพ"เผย คณะกรรมการจะสรุปแนวทางการแก้รธน.หลังปีใหม่ "เหลิม"ยอมพับแนวทางแก้รายมาตรา พร้อมรับใช้"แม้ว" ช่วยรณรงค์ประชามติ พิลึกปธ.วิปรัฐบาลออกแบบตั้งคำถามประชามติ "เห็นด้วยกับคนต้านแก้ รธน.หรือไม่" ดัดหลังฝ่ายค้านที่จะรณรงค์ไม่ให้ออกมาใช้สิทธิ์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผ่านเวทีคนเสื้อแดง ที่โบนันซ่า เขาใหญ่ เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะแก้ปัญหาทุกอย่างให้กับประเทศชาติได้ว่า เป็นการวนกลับมาประเด็นเดิม คือ เลือกพูดครึ่งเดียว ไม่พูดความจริงทั้งหมด เพราะไม่ว่าใครก็อยากให้บ้านเมืองมีความก้าวหน้าในการพัฒนาประชาธิปไตย แต่สิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณพูด สวนทางกับที่เคยพูดมาก่อนหน้านี้ว่า บ้านเมืองมีความเป็นประชาธิปไตยแล้ว อีกทั้งในขณะนี้รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคของบ้านเมืองและการแก้ปัญหาประชาชน โดยเฉพาะประเด็นที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการแก้ เป็นเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น
** เตือน"ปู"อย่าทำตามใจพี่ชาย
การส่งสัญญาณของพ.ต.ท.ทักษิณว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นภารกิจของรัฐบาลก่อนการแก้ปัญหาประเทศชาติด้านอื่นนั้น จะเป็นบทพิสูจน์รัฐบาล และส.ส. ว่าจะเอาเรื่องของประชาชนเป็นตัวตั้ง หรือยึดเรื่องพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งตนยังรอว่ารัฐบาลจะมีข้อยุติในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ และการทำประชามติอย่างไร แต่ขอให้ทำอย่างตรงไปตรงมาเพราะมีควาพมยายามกล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์เบี่ยงเบนประเด็น เรื่องมาตรา 309 ซึ่งตนขอยืนยันว่า ไม่มีการเบี่ยงเบนประเด็น เพราะเราเคยขอแปรญัตติในส่วนที่ไม่ให้กระทบกระเทือนสถาบันพระมหากษัตริย์ ตุลาการ องค์กรอิสระ และลบล้างคดีคำพิพากษาของพ.ต.ท.ทักษิณ แต่รัฐบาลไม่ยอม จึงบ่งชี้เจตนาที่ชัดเจนว่า รัฐบาลต้องการแก้ไขประเด็นเหล่านี้
"ผมเชื่อว่าสุดท้ายการตัดสินใจของรัฐบาล และนายกฯ คงจะปฏิบัติตามคำชี้นำของ พ.ต.ท.ทักษิณ คงเดินไปตามนั้น แต่อยากเตือนว่า เชื่อคุณทักษิณแล้วถึงเวลาเกิดปัญหาขึ้นต้องรับผิดชอบเอง คุณทักษิณจะไม่รับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองเสนอ หรือยุยงให้คนทำ เหมือนเหตุการณ์ในปี 52 และ 53 ที่ยุยงให้คนเคลื่อนไหว แล้วอ้างว่าจะรับผิดชอบ แต่ก็ไม่เคยรับผิดชอบ หากเดินหน้าไปอย่างนี้ก็ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่นายกรัฐมนตรีเคยหาเสียง และให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชน ดังนั้นหากนายกฯ ยืนยันว่า ต้องการเห็นความสงบสุขในบ้านเมือง ต้องไม่ตามใจคุณทักษิณ ต้องเลือกเอา" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่รัฐบาลเตรียมแผนสอง หากประชามติไม่ผ่านด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรานั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีความขัดแย้งกันเองกับนโยบายที่เคยแถลงไว้ต่อรัฐสภา ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมี ส.ส.ร.เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งพรรคชี้ให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลใช้คำสวยหรูว่า แก้ไขไม่แก้แค้น แต่สภาพบ้านเมืองปีกว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้น และเห็นว่าประชาชนจำนวนมากทราบแล้วว่า รัฐบาลมีวัตถุประสงค์อะไรในการทำเรื่องนี้ และมีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วย จึงอยู่ที่รัฐบาลจะตัดสินใจว่า จะนำพาประเทศเข้าสู่ความขัดแย้งในเรื่องนี้หรือไม่
**ท้าแน่จริงอย่าแก้กม.ประชามติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่า การทำประชามติให้ได้ 24.3 ล้านเสียง เป็นเรื่องหมู ๆ จะสะท้อนถึงการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้องด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สะท้อนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ขี้โม้มากกว่า อย่างไรก็ตามตนไม่ขอประเมินว่าการใช้จำนวนเสียงตามกฎหมายประชามติ เป็นเรื่องยาก หรือง่าย แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นคนขี้โม้ไปเรื่อย พร้อกับยืนยันว่าตนไม่ได้อุ้มเผด็จการ ตามที่พรรคเพื่อไทยกล่าวหา และย้อนถามพรรคเพื่อไทยว่า ตรงส่วนไหนของรัฐธรรมนูญ ที่อยากให้เป็นประชาธิปไตย แล้วตนไปขัดขวาง เพราะสิ่งที่ตนยืนยันขัดขวางคือ การล้มคดีทุจริตที่ศาลตัดสินไปแล้ว ไม่ใช่ คตส.ตัดสิน ด้วยการล้ม 309 ล้มงานคตส. หวังผลให้มีการล้มคำพิพากษาล้มคดี จึงไม่ใช่เรื่องประชาธิปไตย แต่เป็นเรื่องจะช่วยคนโกง และส่วนที่อยากให้เป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น ก็ให้เสนอมาว่า อยากทำอะไร เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา หรืออะไร ก็ไม่มี มีแต่ได้ยินว่าจะแก้มาตรา 309 เพื่อให้งานที่คตส.ทำมา เป็นโมฆะ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 เกี่ยวพันกับการออก พ.ร.บ.ปรองดองเพื่อ นิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิดในทุกคดี เพราะมีความเห็นในทางกฎหมายว่า ถ้ากฎหมายล้างผิดไปกระทบกระเทือนในบางคดีแล้วขัดกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญก็จะบังคับใช้ไม่ได้ ตนจึงบอกว่าถ้าห่วงว่าจะมีการอุ้มเผด็จการ ก็ตอบให้ได้ว่าที่จะแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตยผลในทางปฏิบัติ คืออะไร และถ้ายืนยันว่าไม่เกี่ยวกับคดี ก็ประกาศเลยว่าการแก้ไขทั้งหมดต้องไม่มีผลต่อคดีความที่ตัดสินไปแล้ว เพราะมีการวิเคราะห์จากฝ่ายรัฐบาลเองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 จะเป็นประตูบานแรกที่จะนำไปสู่การนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่ง นายโภคิน พลกุล ประธานคณะทำงานศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของพรรคร่วมรัฐบาลก็ยอมรับว่า ต้องแก้ไขมาตรานี้ จึงต้องถามว่า แก้แล้วเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นอย่างเดียว นอกจากทำให้ผลการทำงานของ คตส.ใช้ไม่ได้ ซึ่งหากรัฐบาลยังเดินหน้าก็จะนำไปสู่ความขัดแย้ง จึงอยากให้นำการศึกษาของฝ่ายต่าง ๆ มาดูว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหาอุปสรรคเรื่องนี้อย่างไรแล้วก็แก้ไขส่วนนั้น ก็จะไม่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่รัฐบาลพยายามจะแก้อยู่ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีจะโยนให้เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของรัฐสภาไม่ได้ เพราะรัฐบาลเป็นผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง อีกทั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองก็ขัดกับนโยบายของรัฐบาลเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครม.เป็นองค์กรที่จะต้องตัดสินใจเรื่องการทำประชามติ ดังนั้นนายกต้องรับผิดชอบเต็มๆ ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายจะลอยตัวไม่ได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ไม่ควรมีการแก้กฎหมายประชามติ เพื่อลดจำนวนเสียงการลงประชามติ เพราะถ้าทำยิ่งบ่งชัดว่าสุดท้ายไม่พร้อมที่จะทำกติกา ในเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ บอกว่า “หมู ๆ” จะไปแก้ทำไม
** "เหลิม"พร้อมทำตามคำสั่ง"แม้ว"
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าแนวคิดร่างข้อเสนอ 9 ข้อ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ว่า ตอนนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ว่าในพรรคไม่เห็นด้วย ก็ไม่เป็นไร หากเสียงส่วนใหญ่ในพรรค บอกว่า ให้ไปประชามติ ตนก็จะไปออกรณรงค์ให้ ทั้งในพื้นที่ภาคอีสาน และกรุงเทพฯ
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ทำประชามติ โดยระบุว่า 24 ล้านเสียง สามารถทำได้อย่างสบายมาก ร.ต.อ. เฉลิม กล่าวว่า ก็ดี ถ้าเป็นไปได้ ตนก็ดีใจด้วย ท่านมีความมั่นใจ เพราะมีประสบการณ์ทางการเมือง เมื่อซักว่า เมื่อมีความเห็นหลากหลายจะมีข้อยุติอย่างไร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เสียงส่วนใหญ่ก็ทำประชามติอยู่แล้ว มีแต่ตนเท่านั้น ที่ออกมาบอกว่า เอารายมาตรา 9 ประเด็น แต่ 9 ประเด็น ไม่ใช่หมายความว่า 9 มาตรา แต่มันครอบคลุมหมด แล้วตอบคำถามได้ ตอบแค่นี้ก่อน ไว้พูดในพรรคก่อน เดี๋ยวเขาจะดุเอา
"ในพรรคมีความเห็นแตกต่าง แต่สุดท้ายพรรคมีมติอย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามนั้น จะมานั่งน้อยอกน้อยใจ จะมาขัดขวางไม่ได้ ถ้าพรรคบอกทำประชามติ ผมก็จะเป็นตัวหลักไปปราศรัยให้ เดินสายให้" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายค้านระบุว่า ห้ามแตะ มาตรา 309 ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตนขอเรียนตรงๆ เรื่องมาตรา 309 พูดอีก 700 ครั้ง ไม่มีผลอะไรต่อคดีเลย เพราะคดีตัดสินไปแล้ว แล้วพูดทำไม ตนบอกมาตลอดว่าไม่ว่าใครคิดอย่างนี้ ถือว่า ปัญญาทึบ ไม่มีประเด็นอะไร มาตรา 309 เขาเขียนไว้คุ้มครองคณะปฎิวัติ เออหมั่นพูดบ่อยๆ เถอะ รอบหน้าจะได้ไม่ถึงร้อย อะไรก็การเมืองหมด ท่องคาถาเลย 99 ศพ ก็การเมือง บีทีเอส ก็การเมือง อีสวอร์เตอร์ ก็การเมือง มันที่ไหนการเมือง
** เชื่อ"เสื้อแดง"ไม่กล้าหือ
เมื่อถามว่า กลุ่มเสื้อแดงมีมติที่เขาใหญ่ ว่า ไม่หนุนการทำประชามติ เรื่องนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่มีหรอก นี่คือความหลากหลาย แต่สุดท้ายต้องสรุปที่พรรค หากพรรคเพื่อไทย มีมติอย่างไร กลุ่มเสื้อแดง ก็ต้องสนับสนุน เขามีวินัยทั้งนั้น ตนคุยกันตลอด ท่านตู่ ท่านเต้น ท่านวรชัย ท่านขวัญชัย ก็แฟนเฉลิมทั้งนั้น ถ้าหากต้องทำประชามติ ท่านตู่ ท่านเต้น ก็ต้องเดินเหมือนตน ต้องออกไปช่วยกันรณรงค์
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการโทรศัพท์พูดคุย หารือ กับพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม ไม่กล้า เมื่อซักว่า ไม่กล้าเนื่องด้วยเหตุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันว่าต้องทำประชามติ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เปล่า ท่านก็บอก ถ้าสุดท้ายพรรคเอาอย่างไร ท่านก็ต้องเอาอย่างนั้น เป็นแนวคิดท่านก็ต้องเคารพ ก็ที่เลือกตั้งชนะมาได้ ไม่ใช่เพราะบารมีท่านทักษิณ หรอกหรือ
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ บอกว่า 24 ล้านเสียง ได้มาแบบหมูๆ ไม่ถือเป็นการดูถูกประชาชนเกินไปหรือ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่ใช่ เป็นการคาดการณ์ ไปดูถูกประชาชนอย่างไร ตนเบื่อพวกองค์กรต่างๆ คราวที่แล้วดูแลม็อบ สุภาพเรียบร้อย ตามหลักสากล ทำหนังสือเชิญมาเยอะให้ไปชี้แจง แต่ไอ้ที่ตายกันเป็นเบือ หัวเราะชอบใจเชียร์กัน นี่มันไม่ถูกต้อง
เมื่อถามว่าแนวโน้มแล้วพรรคเพื่อไทย จะเห็นด้วยกับแนวคิดแก้รายมาตรา หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวพร้อมหัวเราะว่า ดูท่าทีแล้ว เห็นจะยากแล้วน่ะ ยากเรื่องแก้รายมาตรา น่ะสิ อย่าเอาตนไปเป็นประเด็นเลย นี้เป็นแนวคิดของตน ตนก็มีสิทธิ์คิด เมื่อพูดไปแล้ว เสียงส่วนใหญ่เอาอย่างไร ตนก็ตามนั้น ถ้าพรรคจะเอาประชามติ ตนทำเป็นงอน ก็ใช้ไม่ได้ ตนก็จะเหนื่อย
เมื่อซักว่า พรรคลงมติแล้วไปสู่ทางตัน พรรคเพื่อไทยต้องรับผิดชอบ ใช่หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่เป็นไร ถึงทางตันก็ใช้แบคโฮ ตักออกไป
** สรุปแนวทางประชามติหลังปีใหม่
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่วมกันใน 3 ประเด็น คือ
1.แนวทางการทำประชาเสวนา และแนวทางในการทำประชามติ เนื่องจากก่อนหน้านี้ครม. มีมติให้มีการทำประชาเสวนา ก่อนที่จะมีมติ ในการตั้งคณะกรรมการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติ ทำให้ต้องดูว่าทั้ง 2 เรื่องนี้ สามารถดำเนินการสอดคล้องกันได้อย่างไร โดยมอบหมายให้ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ซึ่งรับผิดชอบการทำประชาเสวนา เป็นผู้นำไปพิจารณา
2.การพิจารณากรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายละเอียดและผู้ที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก โดยจะมีการเชิญตัวแทน กกต. เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น และให้ข้อมูลในการประชุมครั้งต่อไป
3.มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าของเรื่องในการเตรียมดำเนินการออกเสียงประชามติ หรือหากเห็นว่ามีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เสนอเข้ามาด้วย
"เชื่อว่าในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ ทางกระทรวงมหาดไทยจะสามารถสรุปเบื้องต้น และนำเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งการประชุมครั้งต่อไปต้องรอนัดหมายกับทาง กกต.ก่อน ว่าสะดวกในช่วงใด คาดว่าจะเป็นช่วงหลังเทศกาลปีใหม่เช่นกัน" นายพงศ์เทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางมหาดไทย จะเป็นผู้กำหนดหัวข้อในการจัดทำประชามติด้วยหรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมีการหารือในที่ประชุมครม.อีกครั้ง ในส่วนกระทรวงมหาดไทย จะมีหน้าที่ในการวางกรอบแนวทาง ขั้นตอนทางกฎหมาย และกำหนดรายละเอียด ตั้งแต่หลักการเหตุผล รวมทั้งการจัดทำเอกสารชี้แจงต่อประชาชน ซึ่งเป็นไปตามสาระสำคัญของ มาตรา 10 ของพ.ร.ป.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ซึ่งในขั้นตอนนี้คาดว่าใช้เวลาพอสมควร โดยคณะกรรมการจะรายงานความคืบหน้าต่อครม. และที่ประชุมพรรคเป็นระยะ
ด้านนายจารุพงศ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวเสริมว่า ทุกๆความคิดเห็นของ ส.ส.ของพรรค จะมีการนำเข้าหารือในที่ประชุมพรรคในวันนี้ (25 ธ.ค.) และเปิดให้มีการแสดงเหตุผลอย่างกว้างขวาง ซึ่งท้ายที่สุดจะมีการสรุปแนวทางของพรรคออกมาอีกครั้ง
ขณะที่ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้ ร.ต.อ.เฉลิม จะระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงประชามติ และมีประเด็นในการแก้ไขรายมาตรา 9 ประเด็น เตรียมเสนอ แต่ก็ย้ำตลอดว่า พร้อมที่จะสนับสนุนแนวทางของพรรคเพื่อไทย จึงเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ทั้งนี้การทำงานของคณะกรรมการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติ ยังไม่สามารถกำหนดเวลาแล้วเสร็จได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน จำเป็นต้องทำด้วยความรอบคอบ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันและสมบูรณ์ที่สุด ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมครม. เพราะหากมีมติครม.ออกมาในเรื่องการทำประชามติแล้ว ก็จะทำให้มีกำหนดเงื่อนเวลาการออกเสียงตามที่กฎหมายกำหนด คือ หลังจาก 90 วัน แต่ไม่เกิน 120 วัน ดังนั้นจึงไม่สามารถตอบได้ว่า เป็นช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.56 ตามที่เป็นข่าวหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานในการประชุมคณะกรรมการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 นี้มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล และนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
**ตะแบงตั้งหัวข้อประชามติ
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึงกรณีการปราศรัยของนายจตุพร ที่ระบุให้โหวต ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ซึ่งขัดแย้งกับ แนวทางของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่บอกให้ทำประชามติ ว่า เป็นความเห็นส่วนตัวของนายจตุพร ที่คงเห็นว่าควรจะเดินหน้าได้แล้ว ซึ่งในคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ก็มีบางคนบอกว่าให้โหวต วาระ 3 เพื่อเดินหน้าต่อ แล้วก็ใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับประชาชน แต่บางคนก็บอกว่า การทำความเข้าใจกับประชาชนน่าจะใช้เวลา 2 เดือน ก็ควรทำประชามติดีกว่า ส่วนอีกคนก็บอกว่าถ้าทำประชามติ ก็จะติดเงื่อนไขเรื่องจำนวนเสียง ว่าจะผ่านหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่จะต้องมีคนออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนประชามติเกิน 23 ล้านเสียงนั้น หากทำแบบตรงไปตรงมา คิดว่าน่าจะผ่านไปได้ แต่หากมีฝ่ายใดตั้งเป้าว่า จะคัดค้าน ก็อาจจะทำให้ลำบากอยู่บ้าง เพราะประชามติ จะต่างจากการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ทุกคนต่างเชิญชวนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ์เลือกตัวเอง ซึ่งในรัฐธรรมนูญเขียนวางกับดักเอาไว้ว่า การลงประชามติจะมีผลก็ต่อเมื่อผู้มีสิทธิ์ ในการเลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่ง นั่นหมายความว่า คนที่ไม่เห็นด้วย ก็จะใช้เทคนิคตรงนี้ในการรณรงค์ให้ประชาชนอยู่เฉยๆ
ส่วนการตั้งหัวข้อในการออกเสียงประชามตินั้น นายอุดมเดช กล่าวว่า หากถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คนเห็นด้วยก็ต้องออกมา คนไม่เห็นด้วยก็จะอยู่เฉยๆ ซึ่งบางทีคนเห็นด้วย แต่ไม่ออกมาก็จะกลายเป็นคะแนนของคนไม่เห็นด้วย
แต่ถ้าถามกลับกันว่า เห็นด้วยกับผู้ที่จะคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผู้ที่ไม่มาใช้สิทธิ์ก็สามารถนำไปเป็นอ้างได้ว่า เป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายที่คัดค้าน ในเมื่อฝ่ายนั้นยึดหลักเช่นนี้ แล้วเหตุใด ตนจะเห็นตรงข้ามไม่ได้
"ถ้าถามว่า เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ฝ่ายค้านก็จะบอกว่าคนที่ไม่ออกมา คือคนที่ไม่เห็นด้วย ถ้าผมถามกลับกันว่า เห็นด้วยกับการที่จะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ คนที่ไม่ออกมาก็จะเป็นคนที่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ผมคงไม่เสนอเรื่องนี้ให้กับคณะทำงานชุดของรัฐบาล ขอเสนอผ่านสื่อก็พอ" นายอุดมเดช กล่าว
** ชี้"ตู่"ปราศรัยละเมิดคำสั่งศาล
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ขึ้นเวทีปราศรัยที่โบนันซา เขาใหญ่ ประกาศสนับสนุนรัฐบาลให้ลงมติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ3 โดยไม่ต้องทำประชามติ ว่า พฤติกรรมของนายจตุพรครั้งนี้ สุ่มเสี่ยงและเฉียดฉิวในการละเมิดคำสั่งศาลยุติธรรม ที่ได้ตั้งเงื่อนไขว่า ห้ามปราศรัยปลุกระดมหรือก่อให้เกิดความไม่สงบ คาดว่าจะมีภาคประชาชนหรือผู้ที่รู้เห็น และมองมุมกฎหมายออกว่า เป็นการละเมิดศาลคำสั่งศาล ไปร้องต่อศาลได้ จึงขึ้นอยู่กับศาลว่าจะเรียกตัวนายจตุพร มาชี้แจงเหตุผลในคำพูดที่พูดบนเวทีหรือไม่ เช่น ที่กล่าวว่า ให้คนเสื้อแดงเตรียมตัวไว้ ให้สภาโหวต วาระ3 แก้รัฐธรรมนูญไปเลย ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่า จะแก้รัฐธรรมนูฯญได้ต้องทำประชามติ และความหมายของคำพูดที่ว่า ให้คนเสื้อแดงเตรียมตัวไว้ เตรียมมือตบไว้ใคร ไม่เห็นด้วยเจอกัน
การที่ให้คนเสื้อแดงเตรียมตัวให้พร้อมนั้น คำพูดเหล่านี้ หมายความว่าอะไร เหมือนกับที่เคยพูดให้ไปเจอที่ศาลากลาง เจอแล้วทำอะไร ปัดกวาดเช็ดถูกศาลากลาง หรือ เผา ต้องชี้แจง และต้องดูบริบทของการปราศรัยในเหตุการณ์ จึงเชื่อว่าพฤติกรรมเช่นนี้ สุ่มเสี่ยงมากในการทำผิดเงื่อนไขศาลยุติธรรม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผ่านเวทีคนเสื้อแดง ที่โบนันซ่า เขาใหญ่ เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะแก้ปัญหาทุกอย่างให้กับประเทศชาติได้ว่า เป็นการวนกลับมาประเด็นเดิม คือ เลือกพูดครึ่งเดียว ไม่พูดความจริงทั้งหมด เพราะไม่ว่าใครก็อยากให้บ้านเมืองมีความก้าวหน้าในการพัฒนาประชาธิปไตย แต่สิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณพูด สวนทางกับที่เคยพูดมาก่อนหน้านี้ว่า บ้านเมืองมีความเป็นประชาธิปไตยแล้ว อีกทั้งในขณะนี้รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคของบ้านเมืองและการแก้ปัญหาประชาชน โดยเฉพาะประเด็นที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการแก้ เป็นเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น
** เตือน"ปู"อย่าทำตามใจพี่ชาย
การส่งสัญญาณของพ.ต.ท.ทักษิณว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นภารกิจของรัฐบาลก่อนการแก้ปัญหาประเทศชาติด้านอื่นนั้น จะเป็นบทพิสูจน์รัฐบาล และส.ส. ว่าจะเอาเรื่องของประชาชนเป็นตัวตั้ง หรือยึดเรื่องพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งตนยังรอว่ารัฐบาลจะมีข้อยุติในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ และการทำประชามติอย่างไร แต่ขอให้ทำอย่างตรงไปตรงมาเพราะมีควาพมยายามกล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์เบี่ยงเบนประเด็น เรื่องมาตรา 309 ซึ่งตนขอยืนยันว่า ไม่มีการเบี่ยงเบนประเด็น เพราะเราเคยขอแปรญัตติในส่วนที่ไม่ให้กระทบกระเทือนสถาบันพระมหากษัตริย์ ตุลาการ องค์กรอิสระ และลบล้างคดีคำพิพากษาของพ.ต.ท.ทักษิณ แต่รัฐบาลไม่ยอม จึงบ่งชี้เจตนาที่ชัดเจนว่า รัฐบาลต้องการแก้ไขประเด็นเหล่านี้
"ผมเชื่อว่าสุดท้ายการตัดสินใจของรัฐบาล และนายกฯ คงจะปฏิบัติตามคำชี้นำของ พ.ต.ท.ทักษิณ คงเดินไปตามนั้น แต่อยากเตือนว่า เชื่อคุณทักษิณแล้วถึงเวลาเกิดปัญหาขึ้นต้องรับผิดชอบเอง คุณทักษิณจะไม่รับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองเสนอ หรือยุยงให้คนทำ เหมือนเหตุการณ์ในปี 52 และ 53 ที่ยุยงให้คนเคลื่อนไหว แล้วอ้างว่าจะรับผิดชอบ แต่ก็ไม่เคยรับผิดชอบ หากเดินหน้าไปอย่างนี้ก็ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่นายกรัฐมนตรีเคยหาเสียง และให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชน ดังนั้นหากนายกฯ ยืนยันว่า ต้องการเห็นความสงบสุขในบ้านเมือง ต้องไม่ตามใจคุณทักษิณ ต้องเลือกเอา" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่รัฐบาลเตรียมแผนสอง หากประชามติไม่ผ่านด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรานั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีความขัดแย้งกันเองกับนโยบายที่เคยแถลงไว้ต่อรัฐสภา ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมี ส.ส.ร.เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งพรรคชี้ให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลใช้คำสวยหรูว่า แก้ไขไม่แก้แค้น แต่สภาพบ้านเมืองปีกว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้น และเห็นว่าประชาชนจำนวนมากทราบแล้วว่า รัฐบาลมีวัตถุประสงค์อะไรในการทำเรื่องนี้ และมีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วย จึงอยู่ที่รัฐบาลจะตัดสินใจว่า จะนำพาประเทศเข้าสู่ความขัดแย้งในเรื่องนี้หรือไม่
**ท้าแน่จริงอย่าแก้กม.ประชามติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่า การทำประชามติให้ได้ 24.3 ล้านเสียง เป็นเรื่องหมู ๆ จะสะท้อนถึงการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้องด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สะท้อนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ขี้โม้มากกว่า อย่างไรก็ตามตนไม่ขอประเมินว่าการใช้จำนวนเสียงตามกฎหมายประชามติ เป็นเรื่องยาก หรือง่าย แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นคนขี้โม้ไปเรื่อย พร้อกับยืนยันว่าตนไม่ได้อุ้มเผด็จการ ตามที่พรรคเพื่อไทยกล่าวหา และย้อนถามพรรคเพื่อไทยว่า ตรงส่วนไหนของรัฐธรรมนูญ ที่อยากให้เป็นประชาธิปไตย แล้วตนไปขัดขวาง เพราะสิ่งที่ตนยืนยันขัดขวางคือ การล้มคดีทุจริตที่ศาลตัดสินไปแล้ว ไม่ใช่ คตส.ตัดสิน ด้วยการล้ม 309 ล้มงานคตส. หวังผลให้มีการล้มคำพิพากษาล้มคดี จึงไม่ใช่เรื่องประชาธิปไตย แต่เป็นเรื่องจะช่วยคนโกง และส่วนที่อยากให้เป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น ก็ให้เสนอมาว่า อยากทำอะไร เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา หรืออะไร ก็ไม่มี มีแต่ได้ยินว่าจะแก้มาตรา 309 เพื่อให้งานที่คตส.ทำมา เป็นโมฆะ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 เกี่ยวพันกับการออก พ.ร.บ.ปรองดองเพื่อ นิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิดในทุกคดี เพราะมีความเห็นในทางกฎหมายว่า ถ้ากฎหมายล้างผิดไปกระทบกระเทือนในบางคดีแล้วขัดกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญก็จะบังคับใช้ไม่ได้ ตนจึงบอกว่าถ้าห่วงว่าจะมีการอุ้มเผด็จการ ก็ตอบให้ได้ว่าที่จะแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตยผลในทางปฏิบัติ คืออะไร และถ้ายืนยันว่าไม่เกี่ยวกับคดี ก็ประกาศเลยว่าการแก้ไขทั้งหมดต้องไม่มีผลต่อคดีความที่ตัดสินไปแล้ว เพราะมีการวิเคราะห์จากฝ่ายรัฐบาลเองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 จะเป็นประตูบานแรกที่จะนำไปสู่การนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่ง นายโภคิน พลกุล ประธานคณะทำงานศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของพรรคร่วมรัฐบาลก็ยอมรับว่า ต้องแก้ไขมาตรานี้ จึงต้องถามว่า แก้แล้วเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นอย่างเดียว นอกจากทำให้ผลการทำงานของ คตส.ใช้ไม่ได้ ซึ่งหากรัฐบาลยังเดินหน้าก็จะนำไปสู่ความขัดแย้ง จึงอยากให้นำการศึกษาของฝ่ายต่าง ๆ มาดูว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหาอุปสรรคเรื่องนี้อย่างไรแล้วก็แก้ไขส่วนนั้น ก็จะไม่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่รัฐบาลพยายามจะแก้อยู่ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีจะโยนให้เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของรัฐสภาไม่ได้ เพราะรัฐบาลเป็นผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง อีกทั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองก็ขัดกับนโยบายของรัฐบาลเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครม.เป็นองค์กรที่จะต้องตัดสินใจเรื่องการทำประชามติ ดังนั้นนายกต้องรับผิดชอบเต็มๆ ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายจะลอยตัวไม่ได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ไม่ควรมีการแก้กฎหมายประชามติ เพื่อลดจำนวนเสียงการลงประชามติ เพราะถ้าทำยิ่งบ่งชัดว่าสุดท้ายไม่พร้อมที่จะทำกติกา ในเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ บอกว่า “หมู ๆ” จะไปแก้ทำไม
** "เหลิม"พร้อมทำตามคำสั่ง"แม้ว"
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าแนวคิดร่างข้อเสนอ 9 ข้อ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ว่า ตอนนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ว่าในพรรคไม่เห็นด้วย ก็ไม่เป็นไร หากเสียงส่วนใหญ่ในพรรค บอกว่า ให้ไปประชามติ ตนก็จะไปออกรณรงค์ให้ ทั้งในพื้นที่ภาคอีสาน และกรุงเทพฯ
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ทำประชามติ โดยระบุว่า 24 ล้านเสียง สามารถทำได้อย่างสบายมาก ร.ต.อ. เฉลิม กล่าวว่า ก็ดี ถ้าเป็นไปได้ ตนก็ดีใจด้วย ท่านมีความมั่นใจ เพราะมีประสบการณ์ทางการเมือง เมื่อซักว่า เมื่อมีความเห็นหลากหลายจะมีข้อยุติอย่างไร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เสียงส่วนใหญ่ก็ทำประชามติอยู่แล้ว มีแต่ตนเท่านั้น ที่ออกมาบอกว่า เอารายมาตรา 9 ประเด็น แต่ 9 ประเด็น ไม่ใช่หมายความว่า 9 มาตรา แต่มันครอบคลุมหมด แล้วตอบคำถามได้ ตอบแค่นี้ก่อน ไว้พูดในพรรคก่อน เดี๋ยวเขาจะดุเอา
"ในพรรคมีความเห็นแตกต่าง แต่สุดท้ายพรรคมีมติอย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามนั้น จะมานั่งน้อยอกน้อยใจ จะมาขัดขวางไม่ได้ ถ้าพรรคบอกทำประชามติ ผมก็จะเป็นตัวหลักไปปราศรัยให้ เดินสายให้" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายค้านระบุว่า ห้ามแตะ มาตรา 309 ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตนขอเรียนตรงๆ เรื่องมาตรา 309 พูดอีก 700 ครั้ง ไม่มีผลอะไรต่อคดีเลย เพราะคดีตัดสินไปแล้ว แล้วพูดทำไม ตนบอกมาตลอดว่าไม่ว่าใครคิดอย่างนี้ ถือว่า ปัญญาทึบ ไม่มีประเด็นอะไร มาตรา 309 เขาเขียนไว้คุ้มครองคณะปฎิวัติ เออหมั่นพูดบ่อยๆ เถอะ รอบหน้าจะได้ไม่ถึงร้อย อะไรก็การเมืองหมด ท่องคาถาเลย 99 ศพ ก็การเมือง บีทีเอส ก็การเมือง อีสวอร์เตอร์ ก็การเมือง มันที่ไหนการเมือง
** เชื่อ"เสื้อแดง"ไม่กล้าหือ
เมื่อถามว่า กลุ่มเสื้อแดงมีมติที่เขาใหญ่ ว่า ไม่หนุนการทำประชามติ เรื่องนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่มีหรอก นี่คือความหลากหลาย แต่สุดท้ายต้องสรุปที่พรรค หากพรรคเพื่อไทย มีมติอย่างไร กลุ่มเสื้อแดง ก็ต้องสนับสนุน เขามีวินัยทั้งนั้น ตนคุยกันตลอด ท่านตู่ ท่านเต้น ท่านวรชัย ท่านขวัญชัย ก็แฟนเฉลิมทั้งนั้น ถ้าหากต้องทำประชามติ ท่านตู่ ท่านเต้น ก็ต้องเดินเหมือนตน ต้องออกไปช่วยกันรณรงค์
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการโทรศัพท์พูดคุย หารือ กับพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม ไม่กล้า เมื่อซักว่า ไม่กล้าเนื่องด้วยเหตุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันว่าต้องทำประชามติ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เปล่า ท่านก็บอก ถ้าสุดท้ายพรรคเอาอย่างไร ท่านก็ต้องเอาอย่างนั้น เป็นแนวคิดท่านก็ต้องเคารพ ก็ที่เลือกตั้งชนะมาได้ ไม่ใช่เพราะบารมีท่านทักษิณ หรอกหรือ
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ บอกว่า 24 ล้านเสียง ได้มาแบบหมูๆ ไม่ถือเป็นการดูถูกประชาชนเกินไปหรือ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่ใช่ เป็นการคาดการณ์ ไปดูถูกประชาชนอย่างไร ตนเบื่อพวกองค์กรต่างๆ คราวที่แล้วดูแลม็อบ สุภาพเรียบร้อย ตามหลักสากล ทำหนังสือเชิญมาเยอะให้ไปชี้แจง แต่ไอ้ที่ตายกันเป็นเบือ หัวเราะชอบใจเชียร์กัน นี่มันไม่ถูกต้อง
เมื่อถามว่าแนวโน้มแล้วพรรคเพื่อไทย จะเห็นด้วยกับแนวคิดแก้รายมาตรา หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวพร้อมหัวเราะว่า ดูท่าทีแล้ว เห็นจะยากแล้วน่ะ ยากเรื่องแก้รายมาตรา น่ะสิ อย่าเอาตนไปเป็นประเด็นเลย นี้เป็นแนวคิดของตน ตนก็มีสิทธิ์คิด เมื่อพูดไปแล้ว เสียงส่วนใหญ่เอาอย่างไร ตนก็ตามนั้น ถ้าพรรคจะเอาประชามติ ตนทำเป็นงอน ก็ใช้ไม่ได้ ตนก็จะเหนื่อย
เมื่อซักว่า พรรคลงมติแล้วไปสู่ทางตัน พรรคเพื่อไทยต้องรับผิดชอบ ใช่หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่เป็นไร ถึงทางตันก็ใช้แบคโฮ ตักออกไป
** สรุปแนวทางประชามติหลังปีใหม่
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่วมกันใน 3 ประเด็น คือ
1.แนวทางการทำประชาเสวนา และแนวทางในการทำประชามติ เนื่องจากก่อนหน้านี้ครม. มีมติให้มีการทำประชาเสวนา ก่อนที่จะมีมติ ในการตั้งคณะกรรมการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติ ทำให้ต้องดูว่าทั้ง 2 เรื่องนี้ สามารถดำเนินการสอดคล้องกันได้อย่างไร โดยมอบหมายให้ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ซึ่งรับผิดชอบการทำประชาเสวนา เป็นผู้นำไปพิจารณา
2.การพิจารณากรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายละเอียดและผู้ที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก โดยจะมีการเชิญตัวแทน กกต. เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น และให้ข้อมูลในการประชุมครั้งต่อไป
3.มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าของเรื่องในการเตรียมดำเนินการออกเสียงประชามติ หรือหากเห็นว่ามีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เสนอเข้ามาด้วย
"เชื่อว่าในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ ทางกระทรวงมหาดไทยจะสามารถสรุปเบื้องต้น และนำเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งการประชุมครั้งต่อไปต้องรอนัดหมายกับทาง กกต.ก่อน ว่าสะดวกในช่วงใด คาดว่าจะเป็นช่วงหลังเทศกาลปีใหม่เช่นกัน" นายพงศ์เทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางมหาดไทย จะเป็นผู้กำหนดหัวข้อในการจัดทำประชามติด้วยหรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมีการหารือในที่ประชุมครม.อีกครั้ง ในส่วนกระทรวงมหาดไทย จะมีหน้าที่ในการวางกรอบแนวทาง ขั้นตอนทางกฎหมาย และกำหนดรายละเอียด ตั้งแต่หลักการเหตุผล รวมทั้งการจัดทำเอกสารชี้แจงต่อประชาชน ซึ่งเป็นไปตามสาระสำคัญของ มาตรา 10 ของพ.ร.ป.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ซึ่งในขั้นตอนนี้คาดว่าใช้เวลาพอสมควร โดยคณะกรรมการจะรายงานความคืบหน้าต่อครม. และที่ประชุมพรรคเป็นระยะ
ด้านนายจารุพงศ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวเสริมว่า ทุกๆความคิดเห็นของ ส.ส.ของพรรค จะมีการนำเข้าหารือในที่ประชุมพรรคในวันนี้ (25 ธ.ค.) และเปิดให้มีการแสดงเหตุผลอย่างกว้างขวาง ซึ่งท้ายที่สุดจะมีการสรุปแนวทางของพรรคออกมาอีกครั้ง
ขณะที่ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้ ร.ต.อ.เฉลิม จะระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงประชามติ และมีประเด็นในการแก้ไขรายมาตรา 9 ประเด็น เตรียมเสนอ แต่ก็ย้ำตลอดว่า พร้อมที่จะสนับสนุนแนวทางของพรรคเพื่อไทย จึงเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ทั้งนี้การทำงานของคณะกรรมการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติ ยังไม่สามารถกำหนดเวลาแล้วเสร็จได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน จำเป็นต้องทำด้วยความรอบคอบ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันและสมบูรณ์ที่สุด ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมครม. เพราะหากมีมติครม.ออกมาในเรื่องการทำประชามติแล้ว ก็จะทำให้มีกำหนดเงื่อนเวลาการออกเสียงตามที่กฎหมายกำหนด คือ หลังจาก 90 วัน แต่ไม่เกิน 120 วัน ดังนั้นจึงไม่สามารถตอบได้ว่า เป็นช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.56 ตามที่เป็นข่าวหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานในการประชุมคณะกรรมการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 นี้มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล และนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
**ตะแบงตั้งหัวข้อประชามติ
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึงกรณีการปราศรัยของนายจตุพร ที่ระบุให้โหวต ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ซึ่งขัดแย้งกับ แนวทางของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่บอกให้ทำประชามติ ว่า เป็นความเห็นส่วนตัวของนายจตุพร ที่คงเห็นว่าควรจะเดินหน้าได้แล้ว ซึ่งในคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ก็มีบางคนบอกว่าให้โหวต วาระ 3 เพื่อเดินหน้าต่อ แล้วก็ใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับประชาชน แต่บางคนก็บอกว่า การทำความเข้าใจกับประชาชนน่าจะใช้เวลา 2 เดือน ก็ควรทำประชามติดีกว่า ส่วนอีกคนก็บอกว่าถ้าทำประชามติ ก็จะติดเงื่อนไขเรื่องจำนวนเสียง ว่าจะผ่านหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่จะต้องมีคนออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนประชามติเกิน 23 ล้านเสียงนั้น หากทำแบบตรงไปตรงมา คิดว่าน่าจะผ่านไปได้ แต่หากมีฝ่ายใดตั้งเป้าว่า จะคัดค้าน ก็อาจจะทำให้ลำบากอยู่บ้าง เพราะประชามติ จะต่างจากการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ทุกคนต่างเชิญชวนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ์เลือกตัวเอง ซึ่งในรัฐธรรมนูญเขียนวางกับดักเอาไว้ว่า การลงประชามติจะมีผลก็ต่อเมื่อผู้มีสิทธิ์ ในการเลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่ง นั่นหมายความว่า คนที่ไม่เห็นด้วย ก็จะใช้เทคนิคตรงนี้ในการรณรงค์ให้ประชาชนอยู่เฉยๆ
ส่วนการตั้งหัวข้อในการออกเสียงประชามตินั้น นายอุดมเดช กล่าวว่า หากถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คนเห็นด้วยก็ต้องออกมา คนไม่เห็นด้วยก็จะอยู่เฉยๆ ซึ่งบางทีคนเห็นด้วย แต่ไม่ออกมาก็จะกลายเป็นคะแนนของคนไม่เห็นด้วย
แต่ถ้าถามกลับกันว่า เห็นด้วยกับผู้ที่จะคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผู้ที่ไม่มาใช้สิทธิ์ก็สามารถนำไปเป็นอ้างได้ว่า เป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายที่คัดค้าน ในเมื่อฝ่ายนั้นยึดหลักเช่นนี้ แล้วเหตุใด ตนจะเห็นตรงข้ามไม่ได้
"ถ้าถามว่า เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ฝ่ายค้านก็จะบอกว่าคนที่ไม่ออกมา คือคนที่ไม่เห็นด้วย ถ้าผมถามกลับกันว่า เห็นด้วยกับการที่จะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ คนที่ไม่ออกมาก็จะเป็นคนที่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ผมคงไม่เสนอเรื่องนี้ให้กับคณะทำงานชุดของรัฐบาล ขอเสนอผ่านสื่อก็พอ" นายอุดมเดช กล่าว
** ชี้"ตู่"ปราศรัยละเมิดคำสั่งศาล
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ขึ้นเวทีปราศรัยที่โบนันซา เขาใหญ่ ประกาศสนับสนุนรัฐบาลให้ลงมติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ3 โดยไม่ต้องทำประชามติ ว่า พฤติกรรมของนายจตุพรครั้งนี้ สุ่มเสี่ยงและเฉียดฉิวในการละเมิดคำสั่งศาลยุติธรรม ที่ได้ตั้งเงื่อนไขว่า ห้ามปราศรัยปลุกระดมหรือก่อให้เกิดความไม่สงบ คาดว่าจะมีภาคประชาชนหรือผู้ที่รู้เห็น และมองมุมกฎหมายออกว่า เป็นการละเมิดศาลคำสั่งศาล ไปร้องต่อศาลได้ จึงขึ้นอยู่กับศาลว่าจะเรียกตัวนายจตุพร มาชี้แจงเหตุผลในคำพูดที่พูดบนเวทีหรือไม่ เช่น ที่กล่าวว่า ให้คนเสื้อแดงเตรียมตัวไว้ ให้สภาโหวต วาระ3 แก้รัฐธรรมนูญไปเลย ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่า จะแก้รัฐธรรมนูฯญได้ต้องทำประชามติ และความหมายของคำพูดที่ว่า ให้คนเสื้อแดงเตรียมตัวไว้ เตรียมมือตบไว้ใคร ไม่เห็นด้วยเจอกัน
การที่ให้คนเสื้อแดงเตรียมตัวให้พร้อมนั้น คำพูดเหล่านี้ หมายความว่าอะไร เหมือนกับที่เคยพูดให้ไปเจอที่ศาลากลาง เจอแล้วทำอะไร ปัดกวาดเช็ดถูกศาลากลาง หรือ เผา ต้องชี้แจง และต้องดูบริบทของการปราศรัยในเหตุการณ์ จึงเชื่อว่าพฤติกรรมเช่นนี้ สุ่มเสี่ยงมากในการทำผิดเงื่อนไขศาลยุติธรรม