ปัญญาพลวัตร
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ในชีวิตมนุษย์มีเรื่องราวนานัปการเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องหนึ่งซึ่งมีความสำคัญและดำรงอยู่ควบคู่กับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายคืออารมณ์ สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับอารมณ์ที่จะเขียนต่อไปนี้ ผมใช้แนวคิดส่วนใหญ่จากหนังสือ “การอธิบายพฤติกรรมสังคม” ของ จอน เอลส์เตอร์ สำหรับตัวอย่าง ส่วนใหญ่ผมหยิบมาจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
อารมณ์เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ในสามมิติ เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของความสุขและความทุกข์ มีผลกระทบต่อพฤติกรรม และมีผลกระทบต่อสภาวะทางจิตอื่นๆ แม้ว่าการให้ความหมายหรือนิยามคำว่าอารมณ์ว่าหมายถึงอะไรยังเป็นที่ถกเถียงกันและหาข้อยุติร่วมกันไม่ได้ในแวดวงวิชาการ แต่เราก็สามารถสังเกตเห็นลักษณะต่างๆ ที่มนุษย์แสดงออกมาอันเป็นภาพสะท้อนของอารมณ์ซึ่งสามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมหรือสภาวะทางจิตอื่นๆ ได้
ลักษณะสำคัญที่เกี่ยวกับอารมณ์มีหลายอย่าง อารมณ์สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย เช่น เมื่อเรารู้สึกโกรธ อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น เป็นต้น อารมณ์ยังสัมพันธ์กับการแสดงออกทางกายภาพซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้ เช่น สีหน้า กิริยาท่าทาง น้ำเสียงและโทนเสียง การยิ้ม การร้องไห้ เป็นต้น อารมณ์ยังนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมและการกระทำที่เฉพาะเจาะจงหลายอย่าง เช่น เมื่อรู้สึกเกลียดชังใครคนใดคนหนึ่ง เราอาจไปกระทำในทางที่ขัดขวางมิให้บุคคลผู้นั้นประสบความสำเร็จ หรือ อาจไปทำร้ายเขาในรูปแบบอื่นๆ
อารมณ์มีความแตกต่างจาก “เวทนา” หรือ ความรู้สึกทางธรรมชาติตามสัญชาตญาณของร่างกาย เช่น ความหิว หรือ ความเจ็บปวดของอวัยวะ อารมณ์เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่างโดยมีความตั้งใจที่มีต่อสิ่งนั้นแฝงอยู่ด้วย เช่น คนไทยรู้สึกเดือดดาล เมื่อพรรคการเมืองเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมแก่นักโทษคดีก่อการร้าย หรือคนไทยไม่พอใจนักการเมืองที่ทำร้ายบ้านเมือง
อารมณ์เป็นสิ่งที่มีระดับความเข้มข้นจากมากไปสู่น้อย จากความพึงพอใจมากที่สุด จนไปถึงความพึงพอใจน้อยที่สุด เช่น คนไทยรู้สึกไม่พึงพอใจอย่างมากกับการมีนายกรัฐมนตรีที่ด้อยปัญญาบริหารประเทศ และคนไทยจะรู้สึกพึงพอใจมากและมีความสุขหากนายกรัฐมนตรีผู้ด้อยปัญญาพ้นจากตำแหน่ง
และท้ายที่สุดอารมณ์เป็นเงื่อนไขที่ถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นจากความเชื่อบางอย่างอย่างโดยเฉพาะความเชื่อใหม่ๆ เช่น เมื่อเรารับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตของนักการเมืองผู้หนึ่งและเชื่อว่าการทุจริตนั้นเกิดขึ้นจริง เราก็จะรู้สึกโกรธนักการเมืองผู้นั้น และอารมณ์ยังเป็นเงื่อนไขเชิงสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะทางจิตอื่นๆ และพฤติกรรมหลายประการอีกด้วย
เราสามารถจำแนกอารมณ์ชนิดต่างๆออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็น อารมณ์เชิงการประเมิน กลุ่มที่สอง อารมณ์เชิงสะท้อน และกลุ่มที่สาม อารมณ์เชิงหวนระลึกหรือวาดหวังอนาคต
อารมณ์เชิงประเมิน เกี่ยวกับการประเมินในทางบวกหรือในทางลบต่อพฤติกรรมหรือคุณลักษณะของตนเองหรือผู้อื่น หากอารมณ์เกิดจากการกระตุ้นโดยพฤติกรรมของผู้อื่น พฤติกรรมนั้นอาจเป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อเรา หรือบุคคลที่สาม อารมณ์เหล่านั้นได้แก่
ความละอาย เกิดจาก ความเชื่อในทางลบเกี่ยวกับลักษณะของตนเอง เช่น หากเราเชื่อว่าเราเป็นคนหน้าตาอัปลักษณ์ เราจะมีความรู้สึกละอาย หรือคนผิวดำที่มีความเชื่อว่า การมีสีผิวดำเป็นสิ่งไม่ดี เขาก็จะรู้สึกละอายต่อการเป็นคนผิวดำของเขา หรือชนเผ่าส่วนน้อยในสังคมใดสังคมหนึ่ง เชื่อว่าการเป็นชนส่วนน้อยเป็นเรื่องไม่ดี ก็จะละอายในความเป็นชนส่วนน้อยของตนเอง
ความรังเกียจและความเกลียดชัง เกิดจากความเชื่อทางลบเกี่ยวกับลักษณะของผู้อื่น ความรังเกียจมีรากฐานจากความคิดที่ว่าคนอื่นด้อยกว่าตนเอง เช่น คนผิวขาวคิดว่าคนผิวดำด้อยกว่าตนเอง จึงรู้สึกรังเกียจคนผิวดำ หรือชนกลุ่มใหญ่ในสังคมคิดว่าชนกลุ่มน้อยด้อยกว่าตนเอง จึงรู้สึกรังเกียจชนกลุ่มน้อย สำหรับความเกลียดชังมาจากความคิดที่ว่าผู้อื่นมีความชั่วร้าย เช่น คนไทยจำนวนมากรู้สึกเกลียดชังนักการเมือง เพราะคิดว่านักการเมืองเป็นผู้ที่มีความชั่วร้าย
ความรู้สึกผิด เกิดจากความเชื่อในทางลบต่อการกระทำของตนเอง เช่น นักการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาผู้หนึ่งเชื่อว่าการโกหกเป็นสิ่งไม่ดี เมื่อเขาพลาดพลั้งพูดโกหกประชาชน เขาก็จะมีความรู้สึกผิดขึ้นในจิตใจ
ความโกรธ เกิดจากความเชื่อที่ว่าผู้อื่นกระทำสิ่งที่สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อตนเอง เช่น นายสิทธิ์ ชาวไทย โกรธนายพร ช่วยแม้ว เพราะเชื่อว่านายพร ช่วยแม้ว ใส่ร้ายป้ายสี หมิ่นประมาทและทำลายชื่อเสียงของตนเอง ขณะที่ความเดือดดาล เกิดจาก ความเชื่อที่ว่า บุคคลใดบุคคลหนึ่ง กระทำการในเชิงลบต่อบุคคลที่สาม เช่น นายดำ รู้สึกเดือดดาล ต่อนายแดง หากนายดำเชื่อว่า นายแดง ทำร้าย นายขาว
ความทะนงตน เป็นความรู้สึกในเชิงบวกต่อคุณลักษณะของตนเอง เช่น บุคคลที่มีหน้าตาดี จะมีความรู้สึกทะนงตนในหน้าตาของตนเอง ส่วน ความภาคภูมิใจ เป็นความรู้สึกทางบวกกับการกระทำของตนเอง เช่น เมื่อเราช่วยเหลือผู้ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก เราจะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ หรือ เมื่อเราสอบได้โดยไม่โกงข้อสอบ เราก็จะมีความรู้สึกภาคภูมิใจ
ความชอบ เกิดจากความรู้สึกในเชิงบวกต่อลักษณะของผู้อื่น เช่น เราชอบบุคคลที่มีความรู้และมีสติปัญญาดี หรือเราชอบบุคคลที่มีความซื่อสัตย์เป็นต้น
ความรู้สึกสำนึกบุญคุณ เกิดจากความเชื่อที่ว่าผู้อื่นกระทำในสิ่งที่เป็นบวกกับเรา เช่น ผู้อื่นปกป้องเราจากการถูกทำลายชื่อเสียง หรือ ช่วยเหลือเราในด้านต่างๆ และความชื่นชม เกิดจากความเชื่อที่ว่าผู้อื่นกระทำในสิ่งที่เป็นบวกต่อบุคคลหรือสิ่งที่เราให้คุณค่า เช่น เรารู้สึกชื่นชมองค์การสาธารณะประโยชน์ เพราะว่าองค์การเหล่านี้กระทำการช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้น
สำหรับอารมณ์กลุ่มที่สอง อันเป็นอารมณ์เชิงสะท้อน ซึ่งเกิดจากความคิดที่ว่าบุคคลบางคน “สมควร” หรือ “ไม่สมควร” ครอบครองในสิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ไม่ดี เป้าหมายของอารมณ์ไม่ใช่การกระทำของบุคคลและไม่ใช่ลักษณะของบุคคล แต่เป็น “สภาวะของเหตุการณ์” กรณีนี้มีอารมณ์หลักๆหกอารมณ์ด้วยกัน
ความอิจฉา เกิดจากการที่ผู้อื่นครอบครองในสิ่งที่ดี แต่เราไม่มี เช่น นายละคร รู้สึกอิจฉา นายลิเก ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ขณะที่ ความขุ่นเคือง เกิดจากความเชื่อที่ว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งครอบครองสิ่งของหรือตำแหน่งโดยที่เขาไม่สมควรได้รับ เช่น คนไทยรู้สึกขุ่นเคือง การแต่งตั้งแกนนำเสื้อแดงเป็นรัฐมนตรี เพราะเชื่อว่า แกนนำเสื้อแดงไม่สมควรที่จะได้รับตำแหน่งนั้น
ความเห็นอกเห็นใจ เป็นความรู้สึกที่เกิดจาก เราเชื่อว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่สมควรได้รับสิ่งเลวร้าย เช่น เรารู้สึกเห็นใจ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพราะเรารู้สึกว่า บุคคลเหล่านั้นไม่สมควรได้รับความยากลำบากจากภัยธรรมชาติเช่นนั้น ส่วนความสะใจ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเราเชื่อว่าบุคคลบางคนสมควรได้รับสิ่งที่เลวร้ายนั้นๆ เช่น คนไทยรู้สึกสะใจ เมื่อนักการเมืองทุจริตถูกพิพากษาให้จำคุก เป็นต้น
อารมณ์ในกลุ่มที่สาม คือ อารมณ์เชิงบวกหรือลบที่เกิดจากความคิดเกี่ยวกับสิ่งดีและสิ่งไม่ดีในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้ว หรือในอนาคตที่ยังไม่เกิด เหตุการณ์ที่ดีในอดีตเมื่อเราหวนระลึกถึงก็จะสร้างอารมณ์ในเชิงบวกขึ้นมา แต่หากเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ดีก็จะสร้างอารมณ์เชิงลบ เช่นเดียวกันกับความคิดต่ออนาคตหากเราคิดถึงอนาคตในทางบวก คิดถึงความสำเร็จ ความรุ่งเรือง เราก็จะมีอารมณ์เชิงบวกเกิดขึ้น แต่หากเราคิดว่าจะมีสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การที่อาจจะเกิดความรุนแรงทางการเมือง อารมณ์เชิงลบก็จะเกิดขึ้นมา
มีอารมณ์อีกหลายประเภทที่มาจากความน่าจะเป็นหรือความเป็นไปได้ เช่น ความหวัง ความกลัว ความรัก และ ความริษยา ความรู้สึกเหล่านี้โดยพื้นฐานแล้วมาจากความคิดเกี่ยวกับสิ่งดีหรือไม่ดีที่อาจเกิด หรือไม่เกิดขึ้นในอนาคต และสภาวะที่ดีหรือไม่ดีที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งอาจครอบครองหรือไม่ครอบครองอยู่ในปัจจุบัน
นักโทษหนีคดีผู้หนึ่งผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ซึ่งสิ่งที่เขากระทำอาจเป็นไปได้ที่จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ในระหว่างความเป็นไปได้สองอย่างนี้ “ความหวัง”ของเขาก็เกิดขึ้น แต่หากเขาทราบว่าไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อย่างแน่นอน ความรู้สึกของเขาไม่ใช่ “ความหวัง” แต่จะกลายเป็นความโกรธ
เมื่อเราเผชิญหน้ากับคนร้ายที่ถือมีดมาจี้เรา เราจะรู้สึกกลัว เพราะยังมีความไม่แน่นอนว่า เราจะถูกแทงจนตาย หรือ อาจถูกปล่อยให้รอดชีวิตไป แต่หากเรารู้ว่าเราต้องถูกแทงตายอย่างแน่นอน เราจะรู้สึกหดหู่สิ้นหวังมากกว่ารู้สึกกลัว
มีความอารมณ์บางอย่างอาจเกิดจากความคิดที่อิงจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นหรือสิ่งที่อาจทำได้ ความผิดหวัง เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ เราหวังถึงผลลัพธ์ในเชิงบวก แต่เมื่อเวลามาถึงความจริงที่เกิดขึ้นกลับไม่เป็นดังที่เราคาดหวังเอาไว้ ส่วน “ความเสียดาย” เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเราตระหนักว่า หากเราเลือกทางเลือกอีกทางหนึ่ง แทนทางเลือกที่เราได้เลือกไปแล้วในอดีต เราอาจจะได้ผลลัพธ์ในเชิงบวก เช่นประชาชนจำนวนมากรู้สึกเสียดายที่ตัดสินใจไปกากบาทให้พรรคการเมืองบางพรรคในวันเลือกตั้ง เพราะหากเขากากบาทในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน การปฏิรูปการเมืองของประเทศไทยก็อาจจะเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน
เมื่อบุคคลมีอารมณ์แบบใดแบบหนึ่งขึ้นมา พวกเขาก็จะแสดงพฤติกรรมหรือการกระทำที่สอดคล้องกับอารมณ์ หากมีความโกรธหรือเดือดดาล การกระทำก็คือการสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ฝ่ายที่ทำให้เขาโกรธ หากมีความเกลียดชัง ผลก็คือ การทำลายล้างสิ่งที่เขาเกลียดชังให้หายไปจากโลก หากมีความรังเกียจ สิ่งที่ตามมาคือการลิดรอนสิทธิ การขับออกไปจากกลุ่ม การไม่สัมพันธ์เสวนาด้วย
ด้านความละอาย เมื่อเกิดขึ้นสิ่งที่ตามมาคือ การหลีกหนี หลบไปจากสังคม อยู่แต่เพียงผู้เดียว หนักเข้าก็จะฆ่าตัวตาย ส่วนความสำนึกผิดก่อให้เกิดพฤติกรรมการสารภาพบาปที่ตนเองกระทำต่อสาธารณะ การชดเชยความผิดที่ก่อขึ้นมา และอาจทำร้ายตนเองเพื่อไถ่บาป ส่วนความอิจฉาริษยานั้นนำไปสู่การบ่อนทำลายฝ่ายที่เป็นเป้าหมาย สำหรับความกลัวอาจนำไปสู่ทั้งการหลบหนี หรือ การสู้กลับก็ได้
หากบุคคลใด ละเมิดบรรทัดฐานทางสังคม กระทำในสิ่งอันไม่บังควร ละเมิดจาบจ้วงในสิ่งที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือ สิ่งที่ตามมาคือ เขาจะถูกประชาชนประณามคว่ำบาตร และแสดงความรู้สึกรังเกียจไม่เพียงแต่ตัวเขาเองแต่ยังรวมไปถึงครอบครัวของเขาด้วย ดังที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ในชีวิตมนุษย์มีเรื่องราวนานัปการเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องหนึ่งซึ่งมีความสำคัญและดำรงอยู่ควบคู่กับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายคืออารมณ์ สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับอารมณ์ที่จะเขียนต่อไปนี้ ผมใช้แนวคิดส่วนใหญ่จากหนังสือ “การอธิบายพฤติกรรมสังคม” ของ จอน เอลส์เตอร์ สำหรับตัวอย่าง ส่วนใหญ่ผมหยิบมาจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
อารมณ์เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ในสามมิติ เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของความสุขและความทุกข์ มีผลกระทบต่อพฤติกรรม และมีผลกระทบต่อสภาวะทางจิตอื่นๆ แม้ว่าการให้ความหมายหรือนิยามคำว่าอารมณ์ว่าหมายถึงอะไรยังเป็นที่ถกเถียงกันและหาข้อยุติร่วมกันไม่ได้ในแวดวงวิชาการ แต่เราก็สามารถสังเกตเห็นลักษณะต่างๆ ที่มนุษย์แสดงออกมาอันเป็นภาพสะท้อนของอารมณ์ซึ่งสามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมหรือสภาวะทางจิตอื่นๆ ได้
ลักษณะสำคัญที่เกี่ยวกับอารมณ์มีหลายอย่าง อารมณ์สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย เช่น เมื่อเรารู้สึกโกรธ อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น เป็นต้น อารมณ์ยังสัมพันธ์กับการแสดงออกทางกายภาพซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้ เช่น สีหน้า กิริยาท่าทาง น้ำเสียงและโทนเสียง การยิ้ม การร้องไห้ เป็นต้น อารมณ์ยังนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมและการกระทำที่เฉพาะเจาะจงหลายอย่าง เช่น เมื่อรู้สึกเกลียดชังใครคนใดคนหนึ่ง เราอาจไปกระทำในทางที่ขัดขวางมิให้บุคคลผู้นั้นประสบความสำเร็จ หรือ อาจไปทำร้ายเขาในรูปแบบอื่นๆ
อารมณ์มีความแตกต่างจาก “เวทนา” หรือ ความรู้สึกทางธรรมชาติตามสัญชาตญาณของร่างกาย เช่น ความหิว หรือ ความเจ็บปวดของอวัยวะ อารมณ์เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่างโดยมีความตั้งใจที่มีต่อสิ่งนั้นแฝงอยู่ด้วย เช่น คนไทยรู้สึกเดือดดาล เมื่อพรรคการเมืองเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมแก่นักโทษคดีก่อการร้าย หรือคนไทยไม่พอใจนักการเมืองที่ทำร้ายบ้านเมือง
อารมณ์เป็นสิ่งที่มีระดับความเข้มข้นจากมากไปสู่น้อย จากความพึงพอใจมากที่สุด จนไปถึงความพึงพอใจน้อยที่สุด เช่น คนไทยรู้สึกไม่พึงพอใจอย่างมากกับการมีนายกรัฐมนตรีที่ด้อยปัญญาบริหารประเทศ และคนไทยจะรู้สึกพึงพอใจมากและมีความสุขหากนายกรัฐมนตรีผู้ด้อยปัญญาพ้นจากตำแหน่ง
และท้ายที่สุดอารมณ์เป็นเงื่อนไขที่ถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นจากความเชื่อบางอย่างอย่างโดยเฉพาะความเชื่อใหม่ๆ เช่น เมื่อเรารับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตของนักการเมืองผู้หนึ่งและเชื่อว่าการทุจริตนั้นเกิดขึ้นจริง เราก็จะรู้สึกโกรธนักการเมืองผู้นั้น และอารมณ์ยังเป็นเงื่อนไขเชิงสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะทางจิตอื่นๆ และพฤติกรรมหลายประการอีกด้วย
เราสามารถจำแนกอารมณ์ชนิดต่างๆออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็น อารมณ์เชิงการประเมิน กลุ่มที่สอง อารมณ์เชิงสะท้อน และกลุ่มที่สาม อารมณ์เชิงหวนระลึกหรือวาดหวังอนาคต
อารมณ์เชิงประเมิน เกี่ยวกับการประเมินในทางบวกหรือในทางลบต่อพฤติกรรมหรือคุณลักษณะของตนเองหรือผู้อื่น หากอารมณ์เกิดจากการกระตุ้นโดยพฤติกรรมของผู้อื่น พฤติกรรมนั้นอาจเป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อเรา หรือบุคคลที่สาม อารมณ์เหล่านั้นได้แก่
ความละอาย เกิดจาก ความเชื่อในทางลบเกี่ยวกับลักษณะของตนเอง เช่น หากเราเชื่อว่าเราเป็นคนหน้าตาอัปลักษณ์ เราจะมีความรู้สึกละอาย หรือคนผิวดำที่มีความเชื่อว่า การมีสีผิวดำเป็นสิ่งไม่ดี เขาก็จะรู้สึกละอายต่อการเป็นคนผิวดำของเขา หรือชนเผ่าส่วนน้อยในสังคมใดสังคมหนึ่ง เชื่อว่าการเป็นชนส่วนน้อยเป็นเรื่องไม่ดี ก็จะละอายในความเป็นชนส่วนน้อยของตนเอง
ความรังเกียจและความเกลียดชัง เกิดจากความเชื่อทางลบเกี่ยวกับลักษณะของผู้อื่น ความรังเกียจมีรากฐานจากความคิดที่ว่าคนอื่นด้อยกว่าตนเอง เช่น คนผิวขาวคิดว่าคนผิวดำด้อยกว่าตนเอง จึงรู้สึกรังเกียจคนผิวดำ หรือชนกลุ่มใหญ่ในสังคมคิดว่าชนกลุ่มน้อยด้อยกว่าตนเอง จึงรู้สึกรังเกียจชนกลุ่มน้อย สำหรับความเกลียดชังมาจากความคิดที่ว่าผู้อื่นมีความชั่วร้าย เช่น คนไทยจำนวนมากรู้สึกเกลียดชังนักการเมือง เพราะคิดว่านักการเมืองเป็นผู้ที่มีความชั่วร้าย
ความรู้สึกผิด เกิดจากความเชื่อในทางลบต่อการกระทำของตนเอง เช่น นักการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาผู้หนึ่งเชื่อว่าการโกหกเป็นสิ่งไม่ดี เมื่อเขาพลาดพลั้งพูดโกหกประชาชน เขาก็จะมีความรู้สึกผิดขึ้นในจิตใจ
ความโกรธ เกิดจากความเชื่อที่ว่าผู้อื่นกระทำสิ่งที่สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อตนเอง เช่น นายสิทธิ์ ชาวไทย โกรธนายพร ช่วยแม้ว เพราะเชื่อว่านายพร ช่วยแม้ว ใส่ร้ายป้ายสี หมิ่นประมาทและทำลายชื่อเสียงของตนเอง ขณะที่ความเดือดดาล เกิดจาก ความเชื่อที่ว่า บุคคลใดบุคคลหนึ่ง กระทำการในเชิงลบต่อบุคคลที่สาม เช่น นายดำ รู้สึกเดือดดาล ต่อนายแดง หากนายดำเชื่อว่า นายแดง ทำร้าย นายขาว
ความทะนงตน เป็นความรู้สึกในเชิงบวกต่อคุณลักษณะของตนเอง เช่น บุคคลที่มีหน้าตาดี จะมีความรู้สึกทะนงตนในหน้าตาของตนเอง ส่วน ความภาคภูมิใจ เป็นความรู้สึกทางบวกกับการกระทำของตนเอง เช่น เมื่อเราช่วยเหลือผู้ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก เราจะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ หรือ เมื่อเราสอบได้โดยไม่โกงข้อสอบ เราก็จะมีความรู้สึกภาคภูมิใจ
ความชอบ เกิดจากความรู้สึกในเชิงบวกต่อลักษณะของผู้อื่น เช่น เราชอบบุคคลที่มีความรู้และมีสติปัญญาดี หรือเราชอบบุคคลที่มีความซื่อสัตย์เป็นต้น
ความรู้สึกสำนึกบุญคุณ เกิดจากความเชื่อที่ว่าผู้อื่นกระทำในสิ่งที่เป็นบวกกับเรา เช่น ผู้อื่นปกป้องเราจากการถูกทำลายชื่อเสียง หรือ ช่วยเหลือเราในด้านต่างๆ และความชื่นชม เกิดจากความเชื่อที่ว่าผู้อื่นกระทำในสิ่งที่เป็นบวกต่อบุคคลหรือสิ่งที่เราให้คุณค่า เช่น เรารู้สึกชื่นชมองค์การสาธารณะประโยชน์ เพราะว่าองค์การเหล่านี้กระทำการช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้น
สำหรับอารมณ์กลุ่มที่สอง อันเป็นอารมณ์เชิงสะท้อน ซึ่งเกิดจากความคิดที่ว่าบุคคลบางคน “สมควร” หรือ “ไม่สมควร” ครอบครองในสิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ไม่ดี เป้าหมายของอารมณ์ไม่ใช่การกระทำของบุคคลและไม่ใช่ลักษณะของบุคคล แต่เป็น “สภาวะของเหตุการณ์” กรณีนี้มีอารมณ์หลักๆหกอารมณ์ด้วยกัน
ความอิจฉา เกิดจากการที่ผู้อื่นครอบครองในสิ่งที่ดี แต่เราไม่มี เช่น นายละคร รู้สึกอิจฉา นายลิเก ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ขณะที่ ความขุ่นเคือง เกิดจากความเชื่อที่ว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งครอบครองสิ่งของหรือตำแหน่งโดยที่เขาไม่สมควรได้รับ เช่น คนไทยรู้สึกขุ่นเคือง การแต่งตั้งแกนนำเสื้อแดงเป็นรัฐมนตรี เพราะเชื่อว่า แกนนำเสื้อแดงไม่สมควรที่จะได้รับตำแหน่งนั้น
ความเห็นอกเห็นใจ เป็นความรู้สึกที่เกิดจาก เราเชื่อว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่สมควรได้รับสิ่งเลวร้าย เช่น เรารู้สึกเห็นใจ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพราะเรารู้สึกว่า บุคคลเหล่านั้นไม่สมควรได้รับความยากลำบากจากภัยธรรมชาติเช่นนั้น ส่วนความสะใจ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเราเชื่อว่าบุคคลบางคนสมควรได้รับสิ่งที่เลวร้ายนั้นๆ เช่น คนไทยรู้สึกสะใจ เมื่อนักการเมืองทุจริตถูกพิพากษาให้จำคุก เป็นต้น
อารมณ์ในกลุ่มที่สาม คือ อารมณ์เชิงบวกหรือลบที่เกิดจากความคิดเกี่ยวกับสิ่งดีและสิ่งไม่ดีในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้ว หรือในอนาคตที่ยังไม่เกิด เหตุการณ์ที่ดีในอดีตเมื่อเราหวนระลึกถึงก็จะสร้างอารมณ์ในเชิงบวกขึ้นมา แต่หากเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ดีก็จะสร้างอารมณ์เชิงลบ เช่นเดียวกันกับความคิดต่ออนาคตหากเราคิดถึงอนาคตในทางบวก คิดถึงความสำเร็จ ความรุ่งเรือง เราก็จะมีอารมณ์เชิงบวกเกิดขึ้น แต่หากเราคิดว่าจะมีสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การที่อาจจะเกิดความรุนแรงทางการเมือง อารมณ์เชิงลบก็จะเกิดขึ้นมา
มีอารมณ์อีกหลายประเภทที่มาจากความน่าจะเป็นหรือความเป็นไปได้ เช่น ความหวัง ความกลัว ความรัก และ ความริษยา ความรู้สึกเหล่านี้โดยพื้นฐานแล้วมาจากความคิดเกี่ยวกับสิ่งดีหรือไม่ดีที่อาจเกิด หรือไม่เกิดขึ้นในอนาคต และสภาวะที่ดีหรือไม่ดีที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งอาจครอบครองหรือไม่ครอบครองอยู่ในปัจจุบัน
นักโทษหนีคดีผู้หนึ่งผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ซึ่งสิ่งที่เขากระทำอาจเป็นไปได้ที่จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ในระหว่างความเป็นไปได้สองอย่างนี้ “ความหวัง”ของเขาก็เกิดขึ้น แต่หากเขาทราบว่าไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อย่างแน่นอน ความรู้สึกของเขาไม่ใช่ “ความหวัง” แต่จะกลายเป็นความโกรธ
เมื่อเราเผชิญหน้ากับคนร้ายที่ถือมีดมาจี้เรา เราจะรู้สึกกลัว เพราะยังมีความไม่แน่นอนว่า เราจะถูกแทงจนตาย หรือ อาจถูกปล่อยให้รอดชีวิตไป แต่หากเรารู้ว่าเราต้องถูกแทงตายอย่างแน่นอน เราจะรู้สึกหดหู่สิ้นหวังมากกว่ารู้สึกกลัว
มีความอารมณ์บางอย่างอาจเกิดจากความคิดที่อิงจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นหรือสิ่งที่อาจทำได้ ความผิดหวัง เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ เราหวังถึงผลลัพธ์ในเชิงบวก แต่เมื่อเวลามาถึงความจริงที่เกิดขึ้นกลับไม่เป็นดังที่เราคาดหวังเอาไว้ ส่วน “ความเสียดาย” เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเราตระหนักว่า หากเราเลือกทางเลือกอีกทางหนึ่ง แทนทางเลือกที่เราได้เลือกไปแล้วในอดีต เราอาจจะได้ผลลัพธ์ในเชิงบวก เช่นประชาชนจำนวนมากรู้สึกเสียดายที่ตัดสินใจไปกากบาทให้พรรคการเมืองบางพรรคในวันเลือกตั้ง เพราะหากเขากากบาทในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน การปฏิรูปการเมืองของประเทศไทยก็อาจจะเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน
เมื่อบุคคลมีอารมณ์แบบใดแบบหนึ่งขึ้นมา พวกเขาก็จะแสดงพฤติกรรมหรือการกระทำที่สอดคล้องกับอารมณ์ หากมีความโกรธหรือเดือดดาล การกระทำก็คือการสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ฝ่ายที่ทำให้เขาโกรธ หากมีความเกลียดชัง ผลก็คือ การทำลายล้างสิ่งที่เขาเกลียดชังให้หายไปจากโลก หากมีความรังเกียจ สิ่งที่ตามมาคือการลิดรอนสิทธิ การขับออกไปจากกลุ่ม การไม่สัมพันธ์เสวนาด้วย
ด้านความละอาย เมื่อเกิดขึ้นสิ่งที่ตามมาคือ การหลีกหนี หลบไปจากสังคม อยู่แต่เพียงผู้เดียว หนักเข้าก็จะฆ่าตัวตาย ส่วนความสำนึกผิดก่อให้เกิดพฤติกรรมการสารภาพบาปที่ตนเองกระทำต่อสาธารณะ การชดเชยความผิดที่ก่อขึ้นมา และอาจทำร้ายตนเองเพื่อไถ่บาป ส่วนความอิจฉาริษยานั้นนำไปสู่การบ่อนทำลายฝ่ายที่เป็นเป้าหมาย สำหรับความกลัวอาจนำไปสู่ทั้งการหลบหนี หรือ การสู้กลับก็ได้
หากบุคคลใด ละเมิดบรรทัดฐานทางสังคม กระทำในสิ่งอันไม่บังควร ละเมิดจาบจ้วงในสิ่งที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือ สิ่งที่ตามมาคือ เขาจะถูกประชาชนประณามคว่ำบาตร และแสดงความรู้สึกรังเกียจไม่เพียงแต่ตัวเขาเองแต่ยังรวมไปถึงครอบครัวของเขาด้วย ดังที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย