ผมว่าดูจากอาการของรัฐบาลเริ่มจะลังเลแล้วว่าจะทำประชามติถามประชาชนก่อนจะแก้รัฐธรรมนูญวาระ 3 หรือไม่ เพราะเริ่มไม่มั่นใจว่าจะมีผู้มาลงคะแนนเสียงเกินครึ่งหรือต้องมีผู้ออกมาลงประชามติมากกว่า 23 ล้านคนอย่างที่เฉลิม อยู่บำรุงท้วงติง
เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 165 ระบุว่า หลักเกณฑ์และการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ส่วนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 มาตรา 9 ระบุว่า การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
คำนวณจากผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งครั้งที่แล้วประมาณ 46 ล้านคนเศษ ครึ่งหนึ่งจึงต้องการเสียงผู้ไปใช้สิทธิ์ถึง 23-24 ล้านคน
อย่าลืมว่าการไปลงประชามติไม่ได้มีแรงจูงใจเท่ากับการเลือกตั้งที่มีผู้สมัครพร้อมจะจ่ายเงินให้ประชาชนไปเลือกตัวเอง และเราก็เคยทำประชามติมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อตอนรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ครั้งนั้นมีผู้มาใช้สิทธิ์ประมาณ 26 ล้านคนเท่านั้นเอง ทั้งๆ ที่ตอนนั้นไม่มีกระแสรณรงค์เพื่อไม่ให้ไปใช้สิทธิ์ มีเพียงกลุ่มคนเสื้อแดงและนักวิชาการเช่นกลุ่มของนิธิ เอียวศรีวงศ์ รณรงค์ให้ไปลงมติแต่ไม่รับร่าง
วันนี้ครม.ก็เลยละล้าละลังออกมาในรูปของให้คณะทำงานไปศึกษาก่อนว่าจะใช้แนวทางไหน ถ้าเอาแนวทางนี้การผ่านด่านแรกของผู้ลงประชามติเกิน 23 ล้านเสียงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ และถ้าผ่านด่านนี้ไปได้ก็เจอด่านที่สองอีก เพราะเมื่อตั้ง ส.ส.ร.มายกร่างสำเร็จแล้ว ก็ต้องไปขอประชามติอีกอยู่ดีว่าประชาชนจะเอาร่างที่ยกร่างใหม่หรือรัฐธรรมนูญ 2550
หรือว่าจะลุยลงมติวาระ 3 ตั้ง ส.ส.ร.ไปเลยโดยไม่สนใจศาลรัฐธรรมนูญ
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสารัตถะของรัฐบาลนี้ที่แท้จริงก็คือ การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ทักษิณพ้นผิดเท่านั้นเอง ที่อ้างว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญเพราะมีที่มาจากเผด็จการนั้นเป็นเพียงข้ออ้างบังหน้าเพื่อเอาใจพวกต่อต้านรัฐประหารที่วันนี้ยอมเป็นแนวร่วมของทักษิณ รัฐบาลก็เลยออกอาการลังเลเพราะถ้าประชามติไม่ผ่านความชอบธรรมก็จะหมดไป ทักษิณก็ไม่ได้กลับบ้าน
ถึงแม้ว่ารัฐบาลยังมีอีกทางเลือกถ้าประชามติไม่ผ่าน โดยการกลับไปนับหนึ่งใหม่ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา แต่กระบวนการก็จะเนิ่นนานออกไปอีก เวลากลับบ้านแบบเท่ๆ ของทักษิณก็ต้องถอยร่นออกไปอีก
เรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยนั้น เป็นเพียงวาทะลวงโลกหลอกคนเสื้อแดงท่านั้น แต่ทักษิณกลับบ้านล้างผิดให้เป็นถูกสิคือเป้าหมายที่แท้จริง
เพราะถ้าถามว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน คำตอบก็มีเพียงว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐประหาร โดยไม่พูดว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มาจากประชามติของประชาชน
ดังนั้น ถ้าจะว่าไปแล้วรัฐบาลชุดนี้ไม่รู้ยังเรียกตัวเองว่ารัฐบาลประชาธิปไตยได้ไหมประชาชนส่วนใหญ่เลือกมาก็จริง แต่เป้าหมายของรัฐบาลนี้กลับทำทุกอย่างเพื่อทักษิณคนเดียว
เราจะเห็นว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลพยายามจะออกร่างพรบ.ปรองดองเพื่อล้มล้างความผิดให้ทุกฝ่ายก็เพื่อจะให้ทักษิณพ้นผิดเพียงคนเดียว การพยายามใช้อำนาจรัฐเพื่อเอาผิดอภิสิทธิ์และสุเทพในข้อหาฆ่าประชาชนก็เป็นเพียงการแสดงเพื่อเอาใจคนเสื้อแดง แต่เป้าหมายจริงๆ ก็คือต้องการบีบให้ฝ่ายตรงข้ามรับข้อเสนอล้มล้างความผิดเพื่อให้ทักษิณได้ประโยชน์ไปด้วย
ทางออกทุกทางที่รัฐบาลชุดนี้พยายามดิ้นรนอยู่จึงมีเป้าหมายเพื่อทักษิณคนเดียว ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อประชาชนเพื่อประเทศชาติหรือเพื่อประชาธิปไตยเลย
แม้ว่าพวกต่อต้านรัฐประหารและไม่เอาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ยืนอยู่ในปีกคนเสื้อแดงข้างเดียวกับทักษิณจะฝันเฟื่องไปไกลกว่านั้น ก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจขององคมนตรีหรือกระทั่งตัดตำแหน่งองคมนตรีออกไป หรือต้องการให้ลดบทบาทและสถานะของพระมหากษัตริย์ให้เป็นแบบพระมหากษัตริย์ของเขมร หรือสามารถวิพากษ์วิจารณ์ล้อเลียนได้แบบสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษ รวมทั้งการทำให้ศาลกลับไปเป็นศาลเดี่ยว ยุบทิ้งศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง และเปลี่ยนแปลงที่มาขององค์การอิสระให้อยู่ในมือของนักการเมืองมากขึ้น
ส่วนกรณีที่กล่าวหาว่า การรณรงค์ให้ไม่ไปลงประชามติเป็นการไม่เคารพหลักการของระบอบประชาธิปไตย ผมมองไม่ออกเลยว่า การนอนอยู่กับบ้านไม่ออกมาลงมติให้กับรัฐธรรมนูญที่ฟอกความผิดให้ทักษิณจะไม่เป็นประชาธิปไตยไปได้อย่างไร
เพราะผมคิดว่า การไม่ไปลงประชามติก็เป็นสิทธิของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย และเป็นการเล่นตามกติกาเช่นเดียวกัน เพราะกฎหมายบอกว่า ถ้าคนไปลงประชามติไม่ถึงครึ่งการทำประชามตินั้นเป็นอันตกไป
เมื่อกติกาเขียนไว้อย่างนั้น แล้วเราประสงค์จะให้การประชามติตกไป เราก็ไม่ไปใช้สิทธิ์แค่นั้นเอง ไม่มีตรงไหนที่บอกว่าเราทำผิดกติกาเลย
ผมจึงเห็นด้วยครับที่จะรณรงค์ให้เราไม่ไปใช้สิทธิ์ลงประชามติเพื่อไม่ให้รัฐบาลนี้เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ให้ทักษิณพ้นผิด
การไม่ไปลงประชามติยังเป็นการช่วยรักษาหลักนิติรัฐของเราเอาไว้ด้วยซ้ำไป เพราะเป็นการป้องกันไม่ให้คนทำผิดแล้วแก้กฎหมายเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด
คำถามก็มีเพียงแต่ว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเอาอย่างไร
แม้ว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านจะทำจดหมายเปิดผนึกเพื่อเรียกร้องให้ช่วยกันคว่ำการลงประชามติเพื่อทักษิณ แต่ก็ยังไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจนพอว่า การคว่ำประชามติของอภิสิทธิ์นั้นจะเป็นแนวทางไหน
ประชาธิปัตย์ต้องกล้าพอที่จะเล่นเกมนี้ กล้าพอที่จะฝ่าด่านคำขู่ของ กกต.อย่างสดศรี สัตยธรรมที่ระบุว่า การรณรงค์ไม่ให้ไปลงประชามตินั้นอาจจะมีความผิดตามมาตรา 43 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และอาจถูกยุบพรรค
ทั้งๆ ที่ถ้าเราไปอ่านมาตรา 43 แล้วไม่มีตรงไหนที่บอกเลยว่า การรณรงค์ให้ไม่ไปใช้สิทธิ์ลงประชามติจะมีความผิดตามกฎหมาย
ยกเว้นจะเข้าข่าย มาตรา 43 ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (1) ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย (2) ให้ เสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด เพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิ์ออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง (3) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิ์ออกเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง หรือเพื่อให้สำคัญผิดในวัน เวลา ที่ออกเสียงหรือวิธีการลงคะแนนออกเสียง
ถ้าเรารณรงค์โดยสงบให้คนไม่ไปลงประชามติ ไม่ได้สัญญาว่าจะให้ หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลใดก็ย่อมกระทำได้
ดังนั้น ทางออกเดียวที่จะร่วมกันสู้เพื่อไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญล้างผิดทักษิณก็คือ ร่วมมือกันไม่ไปลงประชามติเพื่อรักษารัฐธรรมนูญ 2550 เอาไว้ไม่ว่ารัฐบาลจะทำประชามติก่อนลงมติวาระ 3 หรือได้ ส.ส.ร.มายกร่างเสร็จแล้วก็ตาม
เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 165 ระบุว่า หลักเกณฑ์และการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ส่วนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 มาตรา 9 ระบุว่า การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
คำนวณจากผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งครั้งที่แล้วประมาณ 46 ล้านคนเศษ ครึ่งหนึ่งจึงต้องการเสียงผู้ไปใช้สิทธิ์ถึง 23-24 ล้านคน
อย่าลืมว่าการไปลงประชามติไม่ได้มีแรงจูงใจเท่ากับการเลือกตั้งที่มีผู้สมัครพร้อมจะจ่ายเงินให้ประชาชนไปเลือกตัวเอง และเราก็เคยทำประชามติมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อตอนรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ครั้งนั้นมีผู้มาใช้สิทธิ์ประมาณ 26 ล้านคนเท่านั้นเอง ทั้งๆ ที่ตอนนั้นไม่มีกระแสรณรงค์เพื่อไม่ให้ไปใช้สิทธิ์ มีเพียงกลุ่มคนเสื้อแดงและนักวิชาการเช่นกลุ่มของนิธิ เอียวศรีวงศ์ รณรงค์ให้ไปลงมติแต่ไม่รับร่าง
วันนี้ครม.ก็เลยละล้าละลังออกมาในรูปของให้คณะทำงานไปศึกษาก่อนว่าจะใช้แนวทางไหน ถ้าเอาแนวทางนี้การผ่านด่านแรกของผู้ลงประชามติเกิน 23 ล้านเสียงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ และถ้าผ่านด่านนี้ไปได้ก็เจอด่านที่สองอีก เพราะเมื่อตั้ง ส.ส.ร.มายกร่างสำเร็จแล้ว ก็ต้องไปขอประชามติอีกอยู่ดีว่าประชาชนจะเอาร่างที่ยกร่างใหม่หรือรัฐธรรมนูญ 2550
หรือว่าจะลุยลงมติวาระ 3 ตั้ง ส.ส.ร.ไปเลยโดยไม่สนใจศาลรัฐธรรมนูญ
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสารัตถะของรัฐบาลนี้ที่แท้จริงก็คือ การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ทักษิณพ้นผิดเท่านั้นเอง ที่อ้างว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญเพราะมีที่มาจากเผด็จการนั้นเป็นเพียงข้ออ้างบังหน้าเพื่อเอาใจพวกต่อต้านรัฐประหารที่วันนี้ยอมเป็นแนวร่วมของทักษิณ รัฐบาลก็เลยออกอาการลังเลเพราะถ้าประชามติไม่ผ่านความชอบธรรมก็จะหมดไป ทักษิณก็ไม่ได้กลับบ้าน
ถึงแม้ว่ารัฐบาลยังมีอีกทางเลือกถ้าประชามติไม่ผ่าน โดยการกลับไปนับหนึ่งใหม่ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา แต่กระบวนการก็จะเนิ่นนานออกไปอีก เวลากลับบ้านแบบเท่ๆ ของทักษิณก็ต้องถอยร่นออกไปอีก
เรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยนั้น เป็นเพียงวาทะลวงโลกหลอกคนเสื้อแดงท่านั้น แต่ทักษิณกลับบ้านล้างผิดให้เป็นถูกสิคือเป้าหมายที่แท้จริง
เพราะถ้าถามว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน คำตอบก็มีเพียงว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐประหาร โดยไม่พูดว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มาจากประชามติของประชาชน
ดังนั้น ถ้าจะว่าไปแล้วรัฐบาลชุดนี้ไม่รู้ยังเรียกตัวเองว่ารัฐบาลประชาธิปไตยได้ไหมประชาชนส่วนใหญ่เลือกมาก็จริง แต่เป้าหมายของรัฐบาลนี้กลับทำทุกอย่างเพื่อทักษิณคนเดียว
เราจะเห็นว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลพยายามจะออกร่างพรบ.ปรองดองเพื่อล้มล้างความผิดให้ทุกฝ่ายก็เพื่อจะให้ทักษิณพ้นผิดเพียงคนเดียว การพยายามใช้อำนาจรัฐเพื่อเอาผิดอภิสิทธิ์และสุเทพในข้อหาฆ่าประชาชนก็เป็นเพียงการแสดงเพื่อเอาใจคนเสื้อแดง แต่เป้าหมายจริงๆ ก็คือต้องการบีบให้ฝ่ายตรงข้ามรับข้อเสนอล้มล้างความผิดเพื่อให้ทักษิณได้ประโยชน์ไปด้วย
ทางออกทุกทางที่รัฐบาลชุดนี้พยายามดิ้นรนอยู่จึงมีเป้าหมายเพื่อทักษิณคนเดียว ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อประชาชนเพื่อประเทศชาติหรือเพื่อประชาธิปไตยเลย
แม้ว่าพวกต่อต้านรัฐประหารและไม่เอาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ยืนอยู่ในปีกคนเสื้อแดงข้างเดียวกับทักษิณจะฝันเฟื่องไปไกลกว่านั้น ก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจขององคมนตรีหรือกระทั่งตัดตำแหน่งองคมนตรีออกไป หรือต้องการให้ลดบทบาทและสถานะของพระมหากษัตริย์ให้เป็นแบบพระมหากษัตริย์ของเขมร หรือสามารถวิพากษ์วิจารณ์ล้อเลียนได้แบบสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษ รวมทั้งการทำให้ศาลกลับไปเป็นศาลเดี่ยว ยุบทิ้งศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง และเปลี่ยนแปลงที่มาขององค์การอิสระให้อยู่ในมือของนักการเมืองมากขึ้น
ส่วนกรณีที่กล่าวหาว่า การรณรงค์ให้ไม่ไปลงประชามติเป็นการไม่เคารพหลักการของระบอบประชาธิปไตย ผมมองไม่ออกเลยว่า การนอนอยู่กับบ้านไม่ออกมาลงมติให้กับรัฐธรรมนูญที่ฟอกความผิดให้ทักษิณจะไม่เป็นประชาธิปไตยไปได้อย่างไร
เพราะผมคิดว่า การไม่ไปลงประชามติก็เป็นสิทธิของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย และเป็นการเล่นตามกติกาเช่นเดียวกัน เพราะกฎหมายบอกว่า ถ้าคนไปลงประชามติไม่ถึงครึ่งการทำประชามตินั้นเป็นอันตกไป
เมื่อกติกาเขียนไว้อย่างนั้น แล้วเราประสงค์จะให้การประชามติตกไป เราก็ไม่ไปใช้สิทธิ์แค่นั้นเอง ไม่มีตรงไหนที่บอกว่าเราทำผิดกติกาเลย
ผมจึงเห็นด้วยครับที่จะรณรงค์ให้เราไม่ไปใช้สิทธิ์ลงประชามติเพื่อไม่ให้รัฐบาลนี้เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ให้ทักษิณพ้นผิด
การไม่ไปลงประชามติยังเป็นการช่วยรักษาหลักนิติรัฐของเราเอาไว้ด้วยซ้ำไป เพราะเป็นการป้องกันไม่ให้คนทำผิดแล้วแก้กฎหมายเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด
คำถามก็มีเพียงแต่ว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเอาอย่างไร
แม้ว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านจะทำจดหมายเปิดผนึกเพื่อเรียกร้องให้ช่วยกันคว่ำการลงประชามติเพื่อทักษิณ แต่ก็ยังไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจนพอว่า การคว่ำประชามติของอภิสิทธิ์นั้นจะเป็นแนวทางไหน
ประชาธิปัตย์ต้องกล้าพอที่จะเล่นเกมนี้ กล้าพอที่จะฝ่าด่านคำขู่ของ กกต.อย่างสดศรี สัตยธรรมที่ระบุว่า การรณรงค์ไม่ให้ไปลงประชามตินั้นอาจจะมีความผิดตามมาตรา 43 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และอาจถูกยุบพรรค
ทั้งๆ ที่ถ้าเราไปอ่านมาตรา 43 แล้วไม่มีตรงไหนที่บอกเลยว่า การรณรงค์ให้ไม่ไปใช้สิทธิ์ลงประชามติจะมีความผิดตามกฎหมาย
ยกเว้นจะเข้าข่าย มาตรา 43 ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (1) ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย (2) ให้ เสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด เพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิ์ออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง (3) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิ์ออกเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง หรือเพื่อให้สำคัญผิดในวัน เวลา ที่ออกเสียงหรือวิธีการลงคะแนนออกเสียง
ถ้าเรารณรงค์โดยสงบให้คนไม่ไปลงประชามติ ไม่ได้สัญญาว่าจะให้ หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลใดก็ย่อมกระทำได้
ดังนั้น ทางออกเดียวที่จะร่วมกันสู้เพื่อไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญล้างผิดทักษิณก็คือ ร่วมมือกันไม่ไปลงประชามติเพื่อรักษารัฐธรรมนูญ 2550 เอาไว้ไม่ว่ารัฐบาลจะทำประชามติก่อนลงมติวาระ 3 หรือได้ ส.ส.ร.มายกร่างเสร็จแล้วก็ตาม