ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติห่วงปัญหาหนี้ครัวเรือนกลุ่มรายได้ต่ำ ขณะที่คลังห่วงหนี้ในระบบจะไหลออกนอกระบบ จับตาการใช้จ่ายผ่านการบริโภคอาจเร่งหนี้พุ่งได้ คาดปี 56 เศรษฐกิจโลกดีขึ้น จับตาหลังเลือกตั้งญี่ปุ่นอาจใช้เงินอัดฉีดในระบบ อาจทำให้หุ้นและราคาที่ดินปั่นปวน หวั่นสร้างแรงกดดันเงินบาท
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า จากการติดตามของธปท.ยอมรับว่าในขณะนี้กลุ่มที่มีรายได้น้อยมีปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น แม้ยังไม่ใช่ปัญหาหนักต่อระดับมหภาค ซึ่งตรงกับผลการศึกษาของของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อีกทั้งกระทรวงคลังก็ให้ความสนใจเรื่องนี้ โดยเฉพาะติดตามว่าหนี้ในระบบแล้วเคลื่อนย้ายสู่นอกระบบหรือไม่ ขณะที่ธปท.จะให้ความสำคัญสาเหตุก่อหนี้ โดยถ้าเป็นผลจากการหนี้ เพื่อสร้างสินทรัพย์ก็จะมีปัญหาน้อย แต่ถ้าเป็นหนี้เกี่ยวกับอุปโภคบริโภคก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 56 ดีกว่าในปี 55 เล็กน้อย ซึ่งมีทั้งปัจจัยบวกและลบอยู่ โดยเศรษฐกิจระหว่างประเทศความอึมครึมเริ่มลดลงมาบ้าง เพระตัวเลขหลายตัวของเอเชีย จีนและสหรัฐดีขึ้น แต่เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นยังต้องติดตามต่อไป และความท้าทายเศรษฐกิจไทยต่างๆ ส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับไทยอย่างเงินทุนเคลื่อนย้าย เพราะเศรษฐกิจหลักยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย จึงต้องติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมจากที่ในภูมิภาคอาเซียนจะใช้ปัจจัยการผลิตกว้างขวางมากขึ้นและความพร้อมในการแข่งขันด้วย
“บรรยากาศต่างประเทศยังวางใจไม่ได้และเกิดความพิการของตลาดการเงินโลกเกิดผลข้างเคียง เราจะใช้เครื่องมือให้มีส่วนผสมที่ดีที่สุดและดูจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลและดุลพินิจในขณะนั้น”ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวและว่า ทิศทางนโยบายการเงินยังอยู่ลักษณะผ่อนคลาย ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ฉะนั้นทิศทางยังต้องผ่อนคลาย เพื่อประคองความเสี่ยงด้านการเติบโตของเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบกระทบบาท
สำหรับการเลือกตั้งของประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเรื่องหนึ่ง เพราะญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าและนักลงทุนสำคัญของไทย และหากญี่ปุ่นใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินโลก สภาพคล่องเหล่านี้อาจวิ่งหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสินทรัพย์บางประเภท เช่น หุ้น ราคาที่ดิน อาจปั่นปวนได้ จึงต้องจับตาดู เพราะถ้าเงินทุนไหลเข้าไทยเยอะ ขณะที่เงินทุนไหลออกไม่มากก็อาจไม่สมดุล ซึ่งอาจจะมีผลต่อค่าเงินบาทได้
แนวโน้มแบงก์ไทยรุกธุรกิจตามAEC
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ในปีหน้าการเชื่อมต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของระบบการเงินจะให้ความสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การเชื่อมโยงระบบชำระเงิน ซึ่งได้เริ่มทำแบบทวีภาคีแบบคู่ประเทศไปบ้างแล้วและอนาคตจะมีมากขึ้น 2.การเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้าย 3.บริการทางการเงินให้ภาคธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น และ 4.การพัฒนาตลาดทุน ซึ่งธปท.จะร่วมกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันภาคธนาคารยังมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากและส่วนใหญ่ตั้งสำนักงานตัวแทนตามประเทศสมาชิก AEC ที่ล้อไปตามฐานลูกค้า จึงเชื่อว่าธนาคารไทยจะมีแนวโน้มรุกธุรกิจรองรับAEC มากขึ้น
ห่วงรัฐหลุดกรอบวินัยการคลัง
ด้านนายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า จากการใช้จ่ายของรัฐบาลในขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วงปัญหาหนี้สาธารณะของไทย แต่หากมองไปข้างหน้า ถ้ารัฐบาลยังคงใช้นโยบายขาดดุลต่อเนื่อง และยังคงใช้มาตรการทางการคลังผ่านช่องทางหน่วยงานของรัฐ อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำข้าว ก็อาจจะเป็นภาระทางอ้อมแก่หน่วยงานเหล่านั้น ซึ่งเห็นว่าเป็นไปได้ยากที่รัฐบาลจะทิ้งโครงการเหล่านี้ จึงมีความเป็นห่วงว่าหากไม่ดำเนินนโยบายการคลังแบบสมดุลก็จะยิ่งขาดดุลไปเรื่อยๆ และแนวโน้มโครงการเหล่านี้จะยิ่งมีผลให้ภาระหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีความเป็นไปได้ที่จะสูงกว่ากรอบวินัยทางการคลัง.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า จากการติดตามของธปท.ยอมรับว่าในขณะนี้กลุ่มที่มีรายได้น้อยมีปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น แม้ยังไม่ใช่ปัญหาหนักต่อระดับมหภาค ซึ่งตรงกับผลการศึกษาของของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อีกทั้งกระทรวงคลังก็ให้ความสนใจเรื่องนี้ โดยเฉพาะติดตามว่าหนี้ในระบบแล้วเคลื่อนย้ายสู่นอกระบบหรือไม่ ขณะที่ธปท.จะให้ความสำคัญสาเหตุก่อหนี้ โดยถ้าเป็นผลจากการหนี้ เพื่อสร้างสินทรัพย์ก็จะมีปัญหาน้อย แต่ถ้าเป็นหนี้เกี่ยวกับอุปโภคบริโภคก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 56 ดีกว่าในปี 55 เล็กน้อย ซึ่งมีทั้งปัจจัยบวกและลบอยู่ โดยเศรษฐกิจระหว่างประเทศความอึมครึมเริ่มลดลงมาบ้าง เพระตัวเลขหลายตัวของเอเชีย จีนและสหรัฐดีขึ้น แต่เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นยังต้องติดตามต่อไป และความท้าทายเศรษฐกิจไทยต่างๆ ส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับไทยอย่างเงินทุนเคลื่อนย้าย เพราะเศรษฐกิจหลักยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย จึงต้องติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมจากที่ในภูมิภาคอาเซียนจะใช้ปัจจัยการผลิตกว้างขวางมากขึ้นและความพร้อมในการแข่งขันด้วย
“บรรยากาศต่างประเทศยังวางใจไม่ได้และเกิดความพิการของตลาดการเงินโลกเกิดผลข้างเคียง เราจะใช้เครื่องมือให้มีส่วนผสมที่ดีที่สุดและดูจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลและดุลพินิจในขณะนั้น”ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวและว่า ทิศทางนโยบายการเงินยังอยู่ลักษณะผ่อนคลาย ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ฉะนั้นทิศทางยังต้องผ่อนคลาย เพื่อประคองความเสี่ยงด้านการเติบโตของเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบกระทบบาท
สำหรับการเลือกตั้งของประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเรื่องหนึ่ง เพราะญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าและนักลงทุนสำคัญของไทย และหากญี่ปุ่นใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินโลก สภาพคล่องเหล่านี้อาจวิ่งหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสินทรัพย์บางประเภท เช่น หุ้น ราคาที่ดิน อาจปั่นปวนได้ จึงต้องจับตาดู เพราะถ้าเงินทุนไหลเข้าไทยเยอะ ขณะที่เงินทุนไหลออกไม่มากก็อาจไม่สมดุล ซึ่งอาจจะมีผลต่อค่าเงินบาทได้
แนวโน้มแบงก์ไทยรุกธุรกิจตามAEC
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ในปีหน้าการเชื่อมต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของระบบการเงินจะให้ความสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การเชื่อมโยงระบบชำระเงิน ซึ่งได้เริ่มทำแบบทวีภาคีแบบคู่ประเทศไปบ้างแล้วและอนาคตจะมีมากขึ้น 2.การเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้าย 3.บริการทางการเงินให้ภาคธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น และ 4.การพัฒนาตลาดทุน ซึ่งธปท.จะร่วมกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันภาคธนาคารยังมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากและส่วนใหญ่ตั้งสำนักงานตัวแทนตามประเทศสมาชิก AEC ที่ล้อไปตามฐานลูกค้า จึงเชื่อว่าธนาคารไทยจะมีแนวโน้มรุกธุรกิจรองรับAEC มากขึ้น
ห่วงรัฐหลุดกรอบวินัยการคลัง
ด้านนายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า จากการใช้จ่ายของรัฐบาลในขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วงปัญหาหนี้สาธารณะของไทย แต่หากมองไปข้างหน้า ถ้ารัฐบาลยังคงใช้นโยบายขาดดุลต่อเนื่อง และยังคงใช้มาตรการทางการคลังผ่านช่องทางหน่วยงานของรัฐ อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำข้าว ก็อาจจะเป็นภาระทางอ้อมแก่หน่วยงานเหล่านั้น ซึ่งเห็นว่าเป็นไปได้ยากที่รัฐบาลจะทิ้งโครงการเหล่านี้ จึงมีความเป็นห่วงว่าหากไม่ดำเนินนโยบายการคลังแบบสมดุลก็จะยิ่งขาดดุลไปเรื่อยๆ และแนวโน้มโครงการเหล่านี้จะยิ่งมีผลให้ภาระหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีความเป็นไปได้ที่จะสูงกว่ากรอบวินัยทางการคลัง.