การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามเมื่อเร็วๆ นี้ จบลงอย่างผิดคาด แต่ก็ทำให้หลายคนโล่งอกไปได้ การชุมนุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมมากพอสมควร หากมีการยืดเยื้อคนก็คงเข้าร่วมมากขึ้น
ที่น่าสนใจก็คือ มีนายทหารระดับนายพลที่เกษียณแล้วเข้าร่วมจำนวนมาก เข้าใจว่าคงเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของเสธ.อ้าย นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามอง หลังจากที่พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ออกมาเรียกร้องอยู่นานแล้ว
นายทหารเหล่านี้เติบโตมาในยุคที่เรายังมีการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์อยู่ และมีสงครามในประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้น นายทหารรุ่นนี้จึงมีความคิดทางการเมือง และมีการตื่นตัวทางการเมืองสูง
ทหารมักเข้าแทรกแซงทางการเมืองแต่ไม่ค่อยจะมีบทบาททางการเมืองอย่างเปิดเผย ในสมัยก่อนทหารทำการปฏิวัติรัฐประหาร และเข้าไปเป็นสมาชิกสภาประเภทแต่งตั้งอยู่ตลอดเวลา ส่วนผู้ซึ่งได้เป็นรัฐมนตรีก็มีมาก แต่เราไม่ค่อยเห็นทหารที่เกษียณแล้วเข้ามาเล่นการเมือง จะมีพวกที่ลาออกมาตั้งแต่เป็นนายพันก็มีอยู่บ้าง
ดังนั้น การที่ทหารเกษียณแล้วมารวมกลุ่มทำการเคลื่อนไหวทางการเมือง จึงเป็นปรากฏการณ์ใหม่ เพราะแต่ก่อนทหารจะไม่ค่อยมาเคลื่อนไหวชุมนุมกับประชาชน แต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ นายทหารที่เกษียณแล้วก็เข้ามาร่วมมากขึ้น แม้จะไม่เป็นที่เปิดเผย แต่หลายคนก็ขึ้นเวทีปราศรัย
ส่วนกลุ่มคนที่เงียบหายไปจนคนลืมก็คือพวกคนหนุ่มสาวที่เป็นนิสิต นักศึกษา ซึ่งเคยมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงเมื่อ 40 ปีที่แล้ว คนหนุ่มสาวที่เริ่มชินชาเฉยเมยกับการเมืองคงเป็นเพราะการแข่งขันทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น และคนหนุ่มสาวสมัยใหม่เป็นคนที่ใช้ชีวิตแบบหาความสุขระยะสั้น ชอบเดินทางท่องเที่ยว และหาความสนุกสนาน หรือหากจะสนใจกิจสาธารณะก็เป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม ในทางการเมืองนั้น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาที่เคยมีบทบาททางการเมืองก็แทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย
แต่คนหนุ่มสาวก็สนใจเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น แต่เป็นการเมืองในระบบ การเป็นผู้ช่วย ส.ส. การทำงานให้พรรค และในระดับท้องถิ่นก็มีคนหนุ่มสาวสนใจลงสมัครในระดับสภาตำบล อบจ. และเทศบาลมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
หันมาดูทหาร โดยปกติแล้วทหารได้รับการอบรมมาให้จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ดังนั้น มูลเหตุจูงใจที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การที่รัฐบาลปล่อยให้มีการจาบจ้วงต่อสถาบัน และรัฐบาลเปิดโอกาสให้มีการโกงกินกันอย่างมหาศาล
กลุ่มทหารที่มีความสนใจทางการเมืองมากที่สุด เมื่อ 20-30 ปีมาแล้วมีอยู่สองกลุ่มคือ “ทหารประชาธิปไตย” และ “กลุ่มยังเติร์ก” ทหารประชาธิปไตยเป็นลูกศิษย์นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร การสนใจการเมืองของทหารประชาธิปไตยเกิดจากการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พวกเขาสรุปว่า ปัญหาของประเทศไทยเป็นปัญหาของการขาดประชาธิปไตย
ในระยะหนึ่งทหารประชาธิปไตยเข้ามาเกี่ยวข้องกับกลุ่มยังเติร์ก นายทหารประชาธิปไตยส่วนใหญ่เป็นฝ่ายเสนาธิการ ไม่ใช่ฝ่ายคุมกำลังเหมือนพวกยังเติร์ก เมื่อมีการทำการปฏิวัติเมื่อเมษายน 2532 กลุ่มทหารประชาธิปไตยจึงเป็นฝ่ายจัดทำแถลงการณ์ และก่อให้เกิดความตระหนกตกใจเพราะภาษาและสำนวนที่ใช้เป็นของฝ่ายซ้าย
บทบาทของทหารประชาธิปไตย และยังเติร์กหมดไปหลังจากที่มีระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ อีกประการหนึ่งก็เป็นเพราะกระแสประชาธิปไตยมาแรง สหรัฐอเมริกาไม่สนับสนุนการปกครองโดยคณะทหารอีกต่อไป
ในขณะที่ทหารเกษียณมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็มีคำถามว่าแล้วทหารประจำการมีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไร การที่ ผบ.ทบ. 2 คนติดกันยืนหยัดว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองทำให้กองทัพวางเฉย และหากไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นแล้ว ทหารก็คงจะไม่เข้าแทรกแซงทางการเมือง อย่างไรก็ดี มีข่าวว่ามีทหารหนุ่มรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่ติดตามการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างใกล้ชิด และนายหทารหนุ่มกลุ่มนี้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์สูง มีการติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ต่อต้านสถาบันอย่างใกล้ชิด
คาดว่าในระยะสั้น การเมืองไทยก็คงจะเป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย แต่เมื่อใดที่รัฐบาลพยายามโยนความผิดไปให้ทหารในกรณีการควบคุมการจลาจล ทหารก็จะไม่พอใจ และรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่ทหารจะตอบโต้ด้วยการทำรัฐประหาร ซึ่งก็จะต้องติดตามการทำงานของรัฐบาลที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป
ที่น่าสนใจก็คือ มีนายทหารระดับนายพลที่เกษียณแล้วเข้าร่วมจำนวนมาก เข้าใจว่าคงเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของเสธ.อ้าย นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามอง หลังจากที่พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ออกมาเรียกร้องอยู่นานแล้ว
นายทหารเหล่านี้เติบโตมาในยุคที่เรายังมีการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์อยู่ และมีสงครามในประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้น นายทหารรุ่นนี้จึงมีความคิดทางการเมือง และมีการตื่นตัวทางการเมืองสูง
ทหารมักเข้าแทรกแซงทางการเมืองแต่ไม่ค่อยจะมีบทบาททางการเมืองอย่างเปิดเผย ในสมัยก่อนทหารทำการปฏิวัติรัฐประหาร และเข้าไปเป็นสมาชิกสภาประเภทแต่งตั้งอยู่ตลอดเวลา ส่วนผู้ซึ่งได้เป็นรัฐมนตรีก็มีมาก แต่เราไม่ค่อยเห็นทหารที่เกษียณแล้วเข้ามาเล่นการเมือง จะมีพวกที่ลาออกมาตั้งแต่เป็นนายพันก็มีอยู่บ้าง
ดังนั้น การที่ทหารเกษียณแล้วมารวมกลุ่มทำการเคลื่อนไหวทางการเมือง จึงเป็นปรากฏการณ์ใหม่ เพราะแต่ก่อนทหารจะไม่ค่อยมาเคลื่อนไหวชุมนุมกับประชาชน แต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ นายทหารที่เกษียณแล้วก็เข้ามาร่วมมากขึ้น แม้จะไม่เป็นที่เปิดเผย แต่หลายคนก็ขึ้นเวทีปราศรัย
ส่วนกลุ่มคนที่เงียบหายไปจนคนลืมก็คือพวกคนหนุ่มสาวที่เป็นนิสิต นักศึกษา ซึ่งเคยมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงเมื่อ 40 ปีที่แล้ว คนหนุ่มสาวที่เริ่มชินชาเฉยเมยกับการเมืองคงเป็นเพราะการแข่งขันทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น และคนหนุ่มสาวสมัยใหม่เป็นคนที่ใช้ชีวิตแบบหาความสุขระยะสั้น ชอบเดินทางท่องเที่ยว และหาความสนุกสนาน หรือหากจะสนใจกิจสาธารณะก็เป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม ในทางการเมืองนั้น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาที่เคยมีบทบาททางการเมืองก็แทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย
แต่คนหนุ่มสาวก็สนใจเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น แต่เป็นการเมืองในระบบ การเป็นผู้ช่วย ส.ส. การทำงานให้พรรค และในระดับท้องถิ่นก็มีคนหนุ่มสาวสนใจลงสมัครในระดับสภาตำบล อบจ. และเทศบาลมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
หันมาดูทหาร โดยปกติแล้วทหารได้รับการอบรมมาให้จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ดังนั้น มูลเหตุจูงใจที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การที่รัฐบาลปล่อยให้มีการจาบจ้วงต่อสถาบัน และรัฐบาลเปิดโอกาสให้มีการโกงกินกันอย่างมหาศาล
กลุ่มทหารที่มีความสนใจทางการเมืองมากที่สุด เมื่อ 20-30 ปีมาแล้วมีอยู่สองกลุ่มคือ “ทหารประชาธิปไตย” และ “กลุ่มยังเติร์ก” ทหารประชาธิปไตยเป็นลูกศิษย์นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร การสนใจการเมืองของทหารประชาธิปไตยเกิดจากการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พวกเขาสรุปว่า ปัญหาของประเทศไทยเป็นปัญหาของการขาดประชาธิปไตย
ในระยะหนึ่งทหารประชาธิปไตยเข้ามาเกี่ยวข้องกับกลุ่มยังเติร์ก นายทหารประชาธิปไตยส่วนใหญ่เป็นฝ่ายเสนาธิการ ไม่ใช่ฝ่ายคุมกำลังเหมือนพวกยังเติร์ก เมื่อมีการทำการปฏิวัติเมื่อเมษายน 2532 กลุ่มทหารประชาธิปไตยจึงเป็นฝ่ายจัดทำแถลงการณ์ และก่อให้เกิดความตระหนกตกใจเพราะภาษาและสำนวนที่ใช้เป็นของฝ่ายซ้าย
บทบาทของทหารประชาธิปไตย และยังเติร์กหมดไปหลังจากที่มีระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ อีกประการหนึ่งก็เป็นเพราะกระแสประชาธิปไตยมาแรง สหรัฐอเมริกาไม่สนับสนุนการปกครองโดยคณะทหารอีกต่อไป
ในขณะที่ทหารเกษียณมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็มีคำถามว่าแล้วทหารประจำการมีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไร การที่ ผบ.ทบ. 2 คนติดกันยืนหยัดว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองทำให้กองทัพวางเฉย และหากไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นแล้ว ทหารก็คงจะไม่เข้าแทรกแซงทางการเมือง อย่างไรก็ดี มีข่าวว่ามีทหารหนุ่มรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่ติดตามการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างใกล้ชิด และนายหทารหนุ่มกลุ่มนี้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์สูง มีการติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ต่อต้านสถาบันอย่างใกล้ชิด
คาดว่าในระยะสั้น การเมืองไทยก็คงจะเป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย แต่เมื่อใดที่รัฐบาลพยายามโยนความผิดไปให้ทหารในกรณีการควบคุมการจลาจล ทหารก็จะไม่พอใจ และรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่ทหารจะตอบโต้ด้วยการทำรัฐประหาร ซึ่งก็จะต้องติดตามการทำงานของรัฐบาลที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป