ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทยปัจจุบัน เป็นเพราะคนไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับการสรุปบทเรียนจากอดีต และยังไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย
เหตุใดจึงกล่าวว่า ประชาธิปไตยมีพิษร้าย
1) ประชาธิปไตยสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยกลุ่มคนที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และกลุ่มที่เป็นประชาธิปไตยได้
2) ไม่มีระบอบเผด็จการไหนที่ไม่อ้างความเป็นประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการจะใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ เราจะเห็นได้ว่าเผด็จการส่วนมากคือเผด็จการพลเรือนทั้งสิ้น เช่น คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ เผด็จการพลเรือนประชานิยม
แต่ในที่สุดก็ไม่มีเผด็จการพลเรือนประชานิยมจะอยู่รอดมาได้ ที่ผ่านมาเผด็จการพลเรือนประชานิยมของทุกประเทศจะถูกฝ่ายทหารโค่นล้มทั้งสิ้น ระบอบเผด็จการ ยิ่งใกล้พัง ยิ่งหันมาพึ่งพาประชาธิปไตย
เราเข้าใจผิดและมีกรอบความคิดว่าประชาธิปไตยนั้นต้องเป็นพลเรือนเท่านั้น และคิดว่าคนที่ได้รับการเลือกตั้งมาจะไม่มีวันทำลายประชาธิปไตย แต่อันที่จริงแล้ว ประชาธิปไตยสามารถถูกใช้เป็นเส้นทางเข้าสู่อำนาจ (โดยผ่านการเลือกตั้ง) รวมทั้งใช้เผด็จการของเสียงข้างมาก (ประชาธิปไตย) เป็นเครื่องมือตอบสนองเป้าประสงค์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยได้
3) การเลือกตั้งเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น และเพื่อเป็นการยืนยันและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงว่าเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
แต่ในความหมายที่แท้จิง ประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าแค่การมีสิทธิ์ไปเลือกตั้ง
4) ระบอบการเมืองจะได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่อย่างน้อยที่สุดนอกเหนือจาการเลือกตั้งแล้วต้องประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
4.1 ต้องมีการเคารพสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง
4.2 สื่อมวลชนทุกแขนงต้องมีเสรีภาพและความเป็นอิสระ
4.3 ประเทศต้องมีความเป็นนิติรัฐ
4.4 ต้องมีประชาสังคมต้องเข้มแข็ง (ประชาสังคมประกอบด้วยหลายกลุ่มผลประโยชน์ อาทิ พรรคการเมือง สื่อสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ชมรม สมาคมสามพันธ์ สาขาวิชาชีพต่างๆ กลุ่ม NGO เป็นต้น
4.5 ต้องมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่ปลอดจากการแทรกแซง การผูกขาด การข่มขู่ และการให้สินบน
4.6 อำนาจอธิปไตยต้องแบ่งออกเป็นฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการอย่างชัดเจน ไม่มีการผูกขาด แทรกแซง และต่างต้องเป็นอิสระและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
4.7 ต้องเป็นประชาธิปไตยที่คุ้มครองเสียงข้างน้อย ไม่ใช่เป็นเผด็จการของเสียงข้างมากแต่ฝ่ายเดียว
4.8 ต้องมีสถาบันต่างๆ ทางการเมืองที่สามารถมีบทบาทควบคุมอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการให้ทำหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้อย่างจริงจัง
5) ประชาธิปไตยสามารถเป็นพิษร้ายต่อสังคมได้หากคำนิยามของประชาธิปไตยจำกัดอยู่เพียงแค่การมีการเลือกตั้ง และถูกบิดเบือนว่าต้องเป็นพลเรือนเท่านั้นถึงจะเป็นประชาธิปไตย และให้ความหมายของเผด็จการว่าหมายถึงทหารเท่านั้น ทั้งนี้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ตอกย้ำและยืนยันให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าร้อยปีที่ผ่านมาว่า 80% ของระบอบเผด็จการของประเทศต่างๆ ในโลก ล้วนเป็นเผด็จการพลเรือนทั้งสิ้น และผู้นำเผด็จการส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นพลเรือน (ไม่ว่าจะเป็นเลนนิน สตาลิน เหมาเจ๋อตง มุสโสลินี ฮิตเลอร์ มาร์กอส คิม อิลซุง) ดังนั้น ช่วงประวัติศาสตร์โลก 100 ปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยถูกทำร้ายและทำลายโดยระบอบเผด็จการพลเรือนทั้งสิ้น
ความเข้าใจผิด
ประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนาทั้งหลายเข้าใจผิดว่าเราจะต้องมีรัฐบาลที่เข้มแข็งและมีอำนาจอย่างมาก ถึงจะสามารถนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติได้ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ระบอบประชาธิปไตยของกลุ่มประเทศตะวันตกที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่บทของประชาธิปไตยนั้น มีเสถียรภาพและความมั่นคงยาวนานและต่อเนื่องมาได้เพราะต่างก็มีรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด ไม่ใช่อำนาจล้นฟ้า และมีระบบกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลที่สามารถทำงานได้อย่างเป็นและมีประสิทธิภาพ ปราศจากการแทรกแซงข่มขู่จากอำนาจบริหาร
ความสำคัญและคุณค่าของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยมีความสำคัญและมีคุณค่าสูงสุดมิใช่เพราะมันทำหน้าที่เป็นยาวิเศษที่สามารถแก้ปัญหาทุกด้านของประเทศได้ แต่มีคุณค่าและความสำคัญสูงสุดใน 2 ประเด็น คือ
ก. ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในการถอดถอนและโค่นรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรมและไม่เป็นประชาธิปไตย ตามวิถีทางรัฐสภา (หรือหากจำเป็น ตามวิถีทางนอกกระบวนการรัฐสภา [ประชาธิปไตยข้างถนน])
ข. ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้มีการแก้ไขปัญหาขัดแย้งโดยสันติวิธี (ทั้งนี้หมายถึงการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีหลักการพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน ตามนัยข้างต้น ในข้อ 4 ทั้งหมด)
สรุป
1) ประวัติศาสตร์ ประเพณี ค่านิยมต้องเป็นพื้นฐานในการสร้างประชาธิปไตยของแต่ละประเทศ หากเอาสูตรสำเร็จของประเทศอื่นมาใช้ โอกาสที่ประชาธิปไตยของไทยจะหยั่งรากลึกและมั่นคงย่อมไม่เกิดขึ้น
2) ไม่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจใดที่มีความสมบูรณ์แบบและออกแบบ ณ ที่หนึ่งจะนำไปใช้กับอีกที่หนึ่งได้ ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนก้าวหน้ามาได้ เพราะจีนปฏิเสธการผูกขาดรูปแบบระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจโดยฝ่ายตะวันตก โดยจีนถือว่าทุกประเทศทีสิทธิเสรีภาพและอธิปไตยของตนที่จะกำหนดรูปแบบของระบบเศรษฐกิจและการเมืองของตนเองได้
3) สังคมใดก็ตามที่ไม่ยึดผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นตัวตั้ง แต่กลับลอกเลียนแบบของต่างชาติ สังคมนั้นจะไม่มีวันประสบความสำเร็จทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ (ด้วยเหตุผลเพราะไม่รู้จักสรุปบทเรียนจากข้อผิดพลาดของผู้อื่นและของตนเอง แต่กลับมองเฉพาะที่ความสำเร็จของผู้ที่ตนลอกเลียนแบบมา)
4) ในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพื่อความเป็นประชาธิปไตยของทุกประเทศนั้น บทบาทของปัญญาชนมีความสำคัญอย่างมาก เพราะปัญญาชนสามารถชี้นำสังคมได้ แต่เมื่อใดที่ปัญญาชนร่วมมือกับชนชั้นปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย กระทำการกลบฝังความจริงและปลูกความเท็จ สังคมนั้นยอมเดินไปสู่ความผุพัง และจะนำประเทศไปสู่ความหายนะ
5) รัฐบาลใดที่คิดว่า อำนาจคือความชอบธรรม และอำนาจการปกครองคือที่มาของความชอบธรรม (ไม่ใช่ความชอบธรรมคือที่มาของอำนาจ) รัฐบาลนั้นย่อมถูกท้าทายและโค่นโดยอำนาจอธิปไตยของประชาชน
6) ในประเทศที่ประชาธิปไตยหยั่งรากลึก จะเห็นว่ารัฐบาลของเขามีอำนาจจำกัด มีประชาชนและนักการเมืองที่มีจิตสำนึกในประชาธิปไตย มีวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย รู้จักสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง ไม่งอมืองอเท้ารอความช่วยเหลือของรัฐ แต่รู้จักใช้สิทธิและทำหน้าที่ของประชาชนอย่างแท้จริง
7) หากประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งอย่างเดียว ก็เท่ากับประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและเรื่องนิติรัฐนิติธรรมเลย แต่ให้ความสำคัญกับเงิน อำนาจ และผลประโยชน์ ประชาธิปไตยที่เรามีอยู่ทุกวันนี้คือการความสำคัญเฉพาะกับการชนะการเลือกตั้ง และเอาเผด็จการของเสียงข้างมากมาปิดปากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
8) การเมืองไทยแตกแยกเพราะคิดว่าประชาธิปไตย คือชัยชนะของเสียงข้างมาก โดยไม่สนใจว่าชนะมาอย่างไร เกิดความคิดว่าถ้าใครไม่เห็นด้วยกับเสียงข้างมาก คือศัตรูทางการเมือง (แทนที่จะมองว่าเป็นคู่แข่งทางการเมือง) และถือว่าความเข้าใจในความหมายของประชาธิปไตยของฝ่ายที่ชนะเลือกตั้งคือสิ่งสมบูรณ์แล้ว ดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าพูดเช่นนั้น ก็คือเผด็จการของเสียงข้างมากและเท่ากับเป็นการผูกขาดประชาธิปไตย ระบอบเช่นนี้ไม่ส่งเสริมแต่กลับจะทำลายประชาธิปไตยเสียเอง เพราะเท่ากับเป็นการใช้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าประสงค์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
การผูกขาดความหมายของประชาธิปไตยเป็นลักษณะสำคัญของระบอบประชานิยม ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ระบอบประชานิยม เช่นเดียวกับระบอบฟาสซิสต์ จะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง จำเป็นต้องทำให้สังคมการเมืองแบ่งออกเป็นสองขั้ว (ไม่เป็นมิตรก็เป็นศัตรู) รวมทั้งทำให้สังคมการเมืองอยู่ภายใต้วิกฤตทางเศรษฐกิจ การเมืองหรือสังคมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้ระบอบประชานิยมและระบอบฟาสซิสต์ดำรงอยู่ได้ และเมื่อใดที่ไม่มีวิกฤตก็จะต้องทำให้เกิดวิกฤตขึ้นมาเพื่อให้ระบอบอยู่รอด
9) อนาคตประเทศไทยจะไม่หลุดจากวิกฤตนี้ ตราบใดที่เรายังไม่เข้าใจว่าหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยคืออะไร และถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป โอกาสที่ประเทศไทยจะตกอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบฟาสซิสต์ย่อมมีสูง เพราะสังคมไทยจะถูกแบ่งเป็นสองขั้วอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เหตุผลที่ทำให้ประชาชนขาดความเข้าใจพื้นฐานของประชาธิปไตยเป็นเพราะรัฐไม่ได้ให้การศึกษาแก่ประชาชน การศึกษาในที่นี้หมายถึงการสอนให้ประชาชนรู้จักคิด ซึ่งต่างจากการโฆษณาชวนเชื่อที่กำหนดว่าประชาชนต้องคิดอะไร ที่ผ่านมารัฐบาลสั่งให้คิด ไม่ได้สอนให้คิด
Plato นักปราชญ์ชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่ได้ให้ความเห็นว่า ประชาธิปไตยที่ล้มเหลวจะเป็นเงื่อนไขให้ระบอบทรราชเกิดขึ้นในคราบของประชาธิปไตย โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่ไร้คุณภาพ
(สรุปสาระการบรรยาย)
รายการ ชะตาบ้าน ชะตาเมือง ชะตาเรา ออกอากาศทาง FMTV วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2554
เหตุใดจึงกล่าวว่า ประชาธิปไตยมีพิษร้าย
1) ประชาธิปไตยสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยกลุ่มคนที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และกลุ่มที่เป็นประชาธิปไตยได้
2) ไม่มีระบอบเผด็จการไหนที่ไม่อ้างความเป็นประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการจะใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ เราจะเห็นได้ว่าเผด็จการส่วนมากคือเผด็จการพลเรือนทั้งสิ้น เช่น คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ เผด็จการพลเรือนประชานิยม
แต่ในที่สุดก็ไม่มีเผด็จการพลเรือนประชานิยมจะอยู่รอดมาได้ ที่ผ่านมาเผด็จการพลเรือนประชานิยมของทุกประเทศจะถูกฝ่ายทหารโค่นล้มทั้งสิ้น ระบอบเผด็จการ ยิ่งใกล้พัง ยิ่งหันมาพึ่งพาประชาธิปไตย
เราเข้าใจผิดและมีกรอบความคิดว่าประชาธิปไตยนั้นต้องเป็นพลเรือนเท่านั้น และคิดว่าคนที่ได้รับการเลือกตั้งมาจะไม่มีวันทำลายประชาธิปไตย แต่อันที่จริงแล้ว ประชาธิปไตยสามารถถูกใช้เป็นเส้นทางเข้าสู่อำนาจ (โดยผ่านการเลือกตั้ง) รวมทั้งใช้เผด็จการของเสียงข้างมาก (ประชาธิปไตย) เป็นเครื่องมือตอบสนองเป้าประสงค์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยได้
3) การเลือกตั้งเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น และเพื่อเป็นการยืนยันและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงว่าเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
แต่ในความหมายที่แท้จิง ประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าแค่การมีสิทธิ์ไปเลือกตั้ง
4) ระบอบการเมืองจะได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่อย่างน้อยที่สุดนอกเหนือจาการเลือกตั้งแล้วต้องประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
4.1 ต้องมีการเคารพสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง
4.2 สื่อมวลชนทุกแขนงต้องมีเสรีภาพและความเป็นอิสระ
4.3 ประเทศต้องมีความเป็นนิติรัฐ
4.4 ต้องมีประชาสังคมต้องเข้มแข็ง (ประชาสังคมประกอบด้วยหลายกลุ่มผลประโยชน์ อาทิ พรรคการเมือง สื่อสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ชมรม สมาคมสามพันธ์ สาขาวิชาชีพต่างๆ กลุ่ม NGO เป็นต้น
4.5 ต้องมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่ปลอดจากการแทรกแซง การผูกขาด การข่มขู่ และการให้สินบน
4.6 อำนาจอธิปไตยต้องแบ่งออกเป็นฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการอย่างชัดเจน ไม่มีการผูกขาด แทรกแซง และต่างต้องเป็นอิสระและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
4.7 ต้องเป็นประชาธิปไตยที่คุ้มครองเสียงข้างน้อย ไม่ใช่เป็นเผด็จการของเสียงข้างมากแต่ฝ่ายเดียว
4.8 ต้องมีสถาบันต่างๆ ทางการเมืองที่สามารถมีบทบาทควบคุมอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการให้ทำหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้อย่างจริงจัง
5) ประชาธิปไตยสามารถเป็นพิษร้ายต่อสังคมได้หากคำนิยามของประชาธิปไตยจำกัดอยู่เพียงแค่การมีการเลือกตั้ง และถูกบิดเบือนว่าต้องเป็นพลเรือนเท่านั้นถึงจะเป็นประชาธิปไตย และให้ความหมายของเผด็จการว่าหมายถึงทหารเท่านั้น ทั้งนี้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ตอกย้ำและยืนยันให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าร้อยปีที่ผ่านมาว่า 80% ของระบอบเผด็จการของประเทศต่างๆ ในโลก ล้วนเป็นเผด็จการพลเรือนทั้งสิ้น และผู้นำเผด็จการส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นพลเรือน (ไม่ว่าจะเป็นเลนนิน สตาลิน เหมาเจ๋อตง มุสโสลินี ฮิตเลอร์ มาร์กอส คิม อิลซุง) ดังนั้น ช่วงประวัติศาสตร์โลก 100 ปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยถูกทำร้ายและทำลายโดยระบอบเผด็จการพลเรือนทั้งสิ้น
ความเข้าใจผิด
ประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนาทั้งหลายเข้าใจผิดว่าเราจะต้องมีรัฐบาลที่เข้มแข็งและมีอำนาจอย่างมาก ถึงจะสามารถนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติได้ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ระบอบประชาธิปไตยของกลุ่มประเทศตะวันตกที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่บทของประชาธิปไตยนั้น มีเสถียรภาพและความมั่นคงยาวนานและต่อเนื่องมาได้เพราะต่างก็มีรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด ไม่ใช่อำนาจล้นฟ้า และมีระบบกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลที่สามารถทำงานได้อย่างเป็นและมีประสิทธิภาพ ปราศจากการแทรกแซงข่มขู่จากอำนาจบริหาร
ความสำคัญและคุณค่าของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยมีความสำคัญและมีคุณค่าสูงสุดมิใช่เพราะมันทำหน้าที่เป็นยาวิเศษที่สามารถแก้ปัญหาทุกด้านของประเทศได้ แต่มีคุณค่าและความสำคัญสูงสุดใน 2 ประเด็น คือ
ก. ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในการถอดถอนและโค่นรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรมและไม่เป็นประชาธิปไตย ตามวิถีทางรัฐสภา (หรือหากจำเป็น ตามวิถีทางนอกกระบวนการรัฐสภา [ประชาธิปไตยข้างถนน])
ข. ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้มีการแก้ไขปัญหาขัดแย้งโดยสันติวิธี (ทั้งนี้หมายถึงการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีหลักการพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน ตามนัยข้างต้น ในข้อ 4 ทั้งหมด)
สรุป
1) ประวัติศาสตร์ ประเพณี ค่านิยมต้องเป็นพื้นฐานในการสร้างประชาธิปไตยของแต่ละประเทศ หากเอาสูตรสำเร็จของประเทศอื่นมาใช้ โอกาสที่ประชาธิปไตยของไทยจะหยั่งรากลึกและมั่นคงย่อมไม่เกิดขึ้น
2) ไม่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจใดที่มีความสมบูรณ์แบบและออกแบบ ณ ที่หนึ่งจะนำไปใช้กับอีกที่หนึ่งได้ ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนก้าวหน้ามาได้ เพราะจีนปฏิเสธการผูกขาดรูปแบบระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจโดยฝ่ายตะวันตก โดยจีนถือว่าทุกประเทศทีสิทธิเสรีภาพและอธิปไตยของตนที่จะกำหนดรูปแบบของระบบเศรษฐกิจและการเมืองของตนเองได้
3) สังคมใดก็ตามที่ไม่ยึดผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นตัวตั้ง แต่กลับลอกเลียนแบบของต่างชาติ สังคมนั้นจะไม่มีวันประสบความสำเร็จทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ (ด้วยเหตุผลเพราะไม่รู้จักสรุปบทเรียนจากข้อผิดพลาดของผู้อื่นและของตนเอง แต่กลับมองเฉพาะที่ความสำเร็จของผู้ที่ตนลอกเลียนแบบมา)
4) ในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพื่อความเป็นประชาธิปไตยของทุกประเทศนั้น บทบาทของปัญญาชนมีความสำคัญอย่างมาก เพราะปัญญาชนสามารถชี้นำสังคมได้ แต่เมื่อใดที่ปัญญาชนร่วมมือกับชนชั้นปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย กระทำการกลบฝังความจริงและปลูกความเท็จ สังคมนั้นยอมเดินไปสู่ความผุพัง และจะนำประเทศไปสู่ความหายนะ
5) รัฐบาลใดที่คิดว่า อำนาจคือความชอบธรรม และอำนาจการปกครองคือที่มาของความชอบธรรม (ไม่ใช่ความชอบธรรมคือที่มาของอำนาจ) รัฐบาลนั้นย่อมถูกท้าทายและโค่นโดยอำนาจอธิปไตยของประชาชน
6) ในประเทศที่ประชาธิปไตยหยั่งรากลึก จะเห็นว่ารัฐบาลของเขามีอำนาจจำกัด มีประชาชนและนักการเมืองที่มีจิตสำนึกในประชาธิปไตย มีวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย รู้จักสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง ไม่งอมืองอเท้ารอความช่วยเหลือของรัฐ แต่รู้จักใช้สิทธิและทำหน้าที่ของประชาชนอย่างแท้จริง
7) หากประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งอย่างเดียว ก็เท่ากับประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและเรื่องนิติรัฐนิติธรรมเลย แต่ให้ความสำคัญกับเงิน อำนาจ และผลประโยชน์ ประชาธิปไตยที่เรามีอยู่ทุกวันนี้คือการความสำคัญเฉพาะกับการชนะการเลือกตั้ง และเอาเผด็จการของเสียงข้างมากมาปิดปากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
8) การเมืองไทยแตกแยกเพราะคิดว่าประชาธิปไตย คือชัยชนะของเสียงข้างมาก โดยไม่สนใจว่าชนะมาอย่างไร เกิดความคิดว่าถ้าใครไม่เห็นด้วยกับเสียงข้างมาก คือศัตรูทางการเมือง (แทนที่จะมองว่าเป็นคู่แข่งทางการเมือง) และถือว่าความเข้าใจในความหมายของประชาธิปไตยของฝ่ายที่ชนะเลือกตั้งคือสิ่งสมบูรณ์แล้ว ดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าพูดเช่นนั้น ก็คือเผด็จการของเสียงข้างมากและเท่ากับเป็นการผูกขาดประชาธิปไตย ระบอบเช่นนี้ไม่ส่งเสริมแต่กลับจะทำลายประชาธิปไตยเสียเอง เพราะเท่ากับเป็นการใช้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าประสงค์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
การผูกขาดความหมายของประชาธิปไตยเป็นลักษณะสำคัญของระบอบประชานิยม ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ระบอบประชานิยม เช่นเดียวกับระบอบฟาสซิสต์ จะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง จำเป็นต้องทำให้สังคมการเมืองแบ่งออกเป็นสองขั้ว (ไม่เป็นมิตรก็เป็นศัตรู) รวมทั้งทำให้สังคมการเมืองอยู่ภายใต้วิกฤตทางเศรษฐกิจ การเมืองหรือสังคมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้ระบอบประชานิยมและระบอบฟาสซิสต์ดำรงอยู่ได้ และเมื่อใดที่ไม่มีวิกฤตก็จะต้องทำให้เกิดวิกฤตขึ้นมาเพื่อให้ระบอบอยู่รอด
9) อนาคตประเทศไทยจะไม่หลุดจากวิกฤตนี้ ตราบใดที่เรายังไม่เข้าใจว่าหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยคืออะไร และถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป โอกาสที่ประเทศไทยจะตกอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบฟาสซิสต์ย่อมมีสูง เพราะสังคมไทยจะถูกแบ่งเป็นสองขั้วอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เหตุผลที่ทำให้ประชาชนขาดความเข้าใจพื้นฐานของประชาธิปไตยเป็นเพราะรัฐไม่ได้ให้การศึกษาแก่ประชาชน การศึกษาในที่นี้หมายถึงการสอนให้ประชาชนรู้จักคิด ซึ่งต่างจากการโฆษณาชวนเชื่อที่กำหนดว่าประชาชนต้องคิดอะไร ที่ผ่านมารัฐบาลสั่งให้คิด ไม่ได้สอนให้คิด
Plato นักปราชญ์ชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่ได้ให้ความเห็นว่า ประชาธิปไตยที่ล้มเหลวจะเป็นเงื่อนไขให้ระบอบทรราชเกิดขึ้นในคราบของประชาธิปไตย โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่ไร้คุณภาพ
(สรุปสาระการบรรยาย)
รายการ ชะตาบ้าน ชะตาเมือง ชะตาเรา ออกอากาศทาง FMTV วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2554