ผู้ว่าแบงก์ชาติแจงคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.75%ต่อปี เหตุเศรษฐกิจไทย-ต่างประเทศเริ่มดีขึ้น ระดับดอกเบี้ยปัจจุบันสร้างสมดุลให้ระบบ ขณะที่เงินทุนไหลเข้าไทยนิ่งมากช่วงเดือนที่ผ่านมา ยันไม่จำเป็นต้องคุมสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่โตแรงและผิดนัดชำระหนี้เริ่มสูง แต่ดูแลปัญหาเฉพาะจุดได้ พร้อมระดมความคิดจากธนาคารพาณิชย์และบอร์ด กนง.-กนส.ช่วยสอดส่อง พร้อมขอคลังมีกฎดูแลแบงก์รัฐ-เอกชนเท่าเทียมกัน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.75%ต่อปี ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ล่าสุดวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา เพราะเห็นว่าข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้นยังไม่มีความจำเป็นต้องลดดอกเบี้ย โดยเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส3และเดือนต.ค.ของปีนี้ปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับข้อมูลต่างประเทศทั้งสหรัฐและจีนดีขึ้น ดังนั้น ดอกเบี้ยนโยบายยังเอื้อต่อการขยายตัวเศรษฐกิจและธุรกรรมทางการเงิน รวมทั้งระดับดอกเบี้ยปัจจุบันค่อนข้างสร้างความสมดุลทั้งเชิงราคา การเติบโตต่อเศรษฐกิจและด้านอัตราเงินเฟ้อ
การตัดสินใจคงดอกเบี้ยในครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความเป็นห่วงเรื่องเงินทุนไหลเข้าออก ซึ่งส่วนต่างดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวกำหนดเรื่องนี้ เห็นได้จากฮ่องกงกับสหรัฐมีดอกเบี้ยต่ำเหมือนกัน แต่เงินทุนยังคงไหลเข้าฮ่องกงอยู่ ขณะที่ไทยเงินทุนไหลเข้าค่อนข้างสงบและไม่มีอะไรพิเศษในช่วงเดือนที่ผ่านมา แม้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ3 (QE3) ของสหรัฐออกมาแล้วก็ตาม จึงอาจเกิดจากเศรษฐกิจไทยชะลอด้วย ทำให้ขณะนี้เงินทุนไหลเข้าไทยไม่มากและเงินบาทยังปกติไม่ต้องเข้าไปดูแล
**สกัดสินเชื่อแรง-หนี้ท่วม**
ผู้ว่าการธปท.กล่าวถึงกรณีบอร์ดกนง.แสดงความเป็นห่วงการขยายตัวสินเชื่ออุปโภคบริโภคสูงและเริ่มเห็นการผิดนัดชำระหนี้นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีสัญญาณอันตราย โดยสินเชื่อธุรกิจโต 12% ยังสามารถอธิบายได้ว่าภาคธุรกิจขอกู้ไปลงทุนต่างประเทศ ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคโตสูงเกิดจากสินเชื่อบ้าน ซึ่งเรื่องนี้เข้าใจได้ แต่ภายในสินเชื่ออุปโภคบริโภคยังมีสินเชื่ออื่นๆ ที่ต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อย แต่ระดับหนี้สูง ฉะนั้น ตอนนี้พยายามทำความคิดให้ชัดเจนก่อน โดยให้ผู้ที่มีรายได้ไม่มากเข้าถึงบริการทางการเงินควบคู่ไปกับสร้างความรู้ความเข้าใจ ซึ่งหารือธนาคารในวันที่ 3 ธ.ค.นี้
“การใช้นโยบายผ่านอัตราดอกเบี้ยจะมีผลที่ครอบคลุมกว้างขว้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกคน แต่ระบบการเงินบางครั้งประเด็นปัญหาเฉพาะจุดไม่ใช่ทั้งระบบ จึงน่าจะเป็นมาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงินในการช่วยดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ (Macro prudential) ดีกว่า ดังนั้นการหารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์ไม่เชิงขอความร่วมมือและไม่ควรก้าวก่ายธุรกิจของเขามากเกินไป แต่สิ่งที่ดีที่สุดต้องให้ทุกฝ่ายเข้าใจนโยบายและความคิด ส่วนเครื่องมือทยอยออกตามครรลองของมัน แต่ขณะนี้ยังไม่มีมาตรการอะไรออกมาดูแล”
นอกจากนี้ ช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธ.ค.นี้ ธปท.จะมีประชุมของคณะกรรมการร่วมระหว่างบอร์ดกนง.และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) ซึ่งปกติจะหารือกันทุก 6 เดือน เพราะถ้ามีเหตุจำเป็นก็ต้องอาศัยเครื่องมือของแต่ละฝ่ายที่ดูแล จึงจะหารือในหลายเรื่อง อาทิ ประกาศที่ออกใช้ไปแล้วในปัจจุบัน ผลการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ธปท.ได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงการคลังช่วงที่ผ่านมาว่าต้องการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารเอกชนมีกฎเกณฑ์เท่าเทียมกัน เพราะช่วงหลังธนาคารรัฐออกผลิตภัณฑ์ลักษณะชิงโชคมากขึ้นอาจจะส่งผลให้ประชาชนไม่รู้ผลตอบแทนแท้จริง และการก่อหนี้สินเยอะอาจไม่ดีกับตัวสถาบันการเงินและตัวลูกหนี้ด้วย.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.75%ต่อปี ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ล่าสุดวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา เพราะเห็นว่าข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้นยังไม่มีความจำเป็นต้องลดดอกเบี้ย โดยเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส3และเดือนต.ค.ของปีนี้ปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับข้อมูลต่างประเทศทั้งสหรัฐและจีนดีขึ้น ดังนั้น ดอกเบี้ยนโยบายยังเอื้อต่อการขยายตัวเศรษฐกิจและธุรกรรมทางการเงิน รวมทั้งระดับดอกเบี้ยปัจจุบันค่อนข้างสร้างความสมดุลทั้งเชิงราคา การเติบโตต่อเศรษฐกิจและด้านอัตราเงินเฟ้อ
การตัดสินใจคงดอกเบี้ยในครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความเป็นห่วงเรื่องเงินทุนไหลเข้าออก ซึ่งส่วนต่างดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวกำหนดเรื่องนี้ เห็นได้จากฮ่องกงกับสหรัฐมีดอกเบี้ยต่ำเหมือนกัน แต่เงินทุนยังคงไหลเข้าฮ่องกงอยู่ ขณะที่ไทยเงินทุนไหลเข้าค่อนข้างสงบและไม่มีอะไรพิเศษในช่วงเดือนที่ผ่านมา แม้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ3 (QE3) ของสหรัฐออกมาแล้วก็ตาม จึงอาจเกิดจากเศรษฐกิจไทยชะลอด้วย ทำให้ขณะนี้เงินทุนไหลเข้าไทยไม่มากและเงินบาทยังปกติไม่ต้องเข้าไปดูแล
**สกัดสินเชื่อแรง-หนี้ท่วม**
ผู้ว่าการธปท.กล่าวถึงกรณีบอร์ดกนง.แสดงความเป็นห่วงการขยายตัวสินเชื่ออุปโภคบริโภคสูงและเริ่มเห็นการผิดนัดชำระหนี้นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีสัญญาณอันตราย โดยสินเชื่อธุรกิจโต 12% ยังสามารถอธิบายได้ว่าภาคธุรกิจขอกู้ไปลงทุนต่างประเทศ ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคโตสูงเกิดจากสินเชื่อบ้าน ซึ่งเรื่องนี้เข้าใจได้ แต่ภายในสินเชื่ออุปโภคบริโภคยังมีสินเชื่ออื่นๆ ที่ต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อย แต่ระดับหนี้สูง ฉะนั้น ตอนนี้พยายามทำความคิดให้ชัดเจนก่อน โดยให้ผู้ที่มีรายได้ไม่มากเข้าถึงบริการทางการเงินควบคู่ไปกับสร้างความรู้ความเข้าใจ ซึ่งหารือธนาคารในวันที่ 3 ธ.ค.นี้
“การใช้นโยบายผ่านอัตราดอกเบี้ยจะมีผลที่ครอบคลุมกว้างขว้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกคน แต่ระบบการเงินบางครั้งประเด็นปัญหาเฉพาะจุดไม่ใช่ทั้งระบบ จึงน่าจะเป็นมาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงินในการช่วยดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ (Macro prudential) ดีกว่า ดังนั้นการหารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์ไม่เชิงขอความร่วมมือและไม่ควรก้าวก่ายธุรกิจของเขามากเกินไป แต่สิ่งที่ดีที่สุดต้องให้ทุกฝ่ายเข้าใจนโยบายและความคิด ส่วนเครื่องมือทยอยออกตามครรลองของมัน แต่ขณะนี้ยังไม่มีมาตรการอะไรออกมาดูแล”
นอกจากนี้ ช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธ.ค.นี้ ธปท.จะมีประชุมของคณะกรรมการร่วมระหว่างบอร์ดกนง.และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) ซึ่งปกติจะหารือกันทุก 6 เดือน เพราะถ้ามีเหตุจำเป็นก็ต้องอาศัยเครื่องมือของแต่ละฝ่ายที่ดูแล จึงจะหารือในหลายเรื่อง อาทิ ประกาศที่ออกใช้ไปแล้วในปัจจุบัน ผลการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ธปท.ได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงการคลังช่วงที่ผ่านมาว่าต้องการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารเอกชนมีกฎเกณฑ์เท่าเทียมกัน เพราะช่วงหลังธนาคารรัฐออกผลิตภัณฑ์ลักษณะชิงโชคมากขึ้นอาจจะส่งผลให้ประชาชนไม่รู้ผลตอบแทนแท้จริง และการก่อหนี้สินเยอะอาจไม่ดีกับตัวสถาบันการเงินและตัวลูกหนี้ด้วย.