ASTVผู้จัดการรายวัน - บอร์ดกนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับ 2.75%ต่อปีตามคาด ระบุแม้เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนอยู่ แต่แรงส่งภายในประเทศดีขึ้น ขณะเดียวกันกรรมการหลายท่านห่วงการเร่งตัวสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภคสูงกว่าอัตราค่าเฉลี่ยและมีแนวโน้มผิดนัดชำระทยอยเพิ่มขึ้นตามลำดับ นัดเดือนธ.ค.นี้คณะกรรมการร่วมกนง.-กนส.จะหารือร่วมกัน
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ดกนง.ครั้งที่ 8 สุดท้ายของปีนี้ได้มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.75%ต่อปี เนื่องจากความเสี่ยงการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
จึงเห็นว่าดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับผ่อนปรนและเหมาะสมต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
"เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนอยู่ แต่ขณะนี้แรงส่งภายในประเทศยังดีพอ ทำให้กนง.ยังสามารถรอดูพัฒนาการที่เกิดขึ้นในระยะข้างหน้าได้ ดังนั้นนโยบายการเงินยังสามารถตอบสนองได้ โดยดูจากข้อมูล ณ จุดนี้ ความจำเป็นในการกระตุ้นการเงินเพิ่มเติมคงไม่มี”นายไพบูลย์กล่าวและว่าข้อมูลเศรษฐกิจไทยล่าสุดเดือนต.ค.ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มการขยายตัวเศรษฐกิจไทยดีกว่าเล็กน้อยทั้งของปี55และ56 เทียบช่วงประมาณการณ์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะตัวเลขจริงอุปสงค์ในประเทศออกมาสูงกว่าที่ธปท.คาดไว้"
ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้กรรมการกนง.หลายท่านมีความเป็นห่วงเรื่องการขยายตัวสินเชื่อล่าสุด 15% โดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่เร่งตัวสูงกว่าอัตราค่าเฉลี่ยค่อนข้างมากและมีแนวโน้มผิดนัดชำระหนี้ทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังคงไม่ดำเนินการอะไรในขณะนี้ เพราะการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินสามารถผสมผสานเครื่องมือต่างๆ ได้ ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว อีกทั้งในเดือนธ.ค.นี้ก็จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างบอร์ดกนง.และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) เพื่อพิจารณาปัจจัยเสี่ยง การขยายตัวสินเชื่อ ราคาสินทรัพย์ต่อไป
นายไพบูลย์กล่าวว่า การตัดสินใจคงดอกเบี้ยครั้งนี้ ทำให้ไทยมีดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบ 0.25% และการดำเนินนโยบายเช่นนี้ก็ ได้พิจารณาเงินทุนไหลเข้าออก ซึ่งรวมมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ รอบที่3(QE3)ของสหรัฐ พบว่า เงินทุนไม่ได้ไหลเข้าไทยมากนัก และเงินบาทมีการเคลื่อนไหวแบบมีเสถียรภาพ ทำให้ธปท.แทบไม่ต้องดูแลให้เป็นไปตามกลไกตลาดตามปัจจัยพื้นฐานที่มีอยู่ส่วนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อไม่มากนักในการปรับค่าจ้างรอบแรก ซึ่งได้รวมผลดังกล่าวไว้ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อครั้งที่ผ่านมาแล้ว และมองว่าการปรับค่าจ้างรอบสองก็น่าจะไม่ต่างรอบแรก แต่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดต่อไป
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ดกนง.ครั้งที่ 8 สุดท้ายของปีนี้ได้มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.75%ต่อปี เนื่องจากความเสี่ยงการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
จึงเห็นว่าดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับผ่อนปรนและเหมาะสมต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
"เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนอยู่ แต่ขณะนี้แรงส่งภายในประเทศยังดีพอ ทำให้กนง.ยังสามารถรอดูพัฒนาการที่เกิดขึ้นในระยะข้างหน้าได้ ดังนั้นนโยบายการเงินยังสามารถตอบสนองได้ โดยดูจากข้อมูล ณ จุดนี้ ความจำเป็นในการกระตุ้นการเงินเพิ่มเติมคงไม่มี”นายไพบูลย์กล่าวและว่าข้อมูลเศรษฐกิจไทยล่าสุดเดือนต.ค.ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มการขยายตัวเศรษฐกิจไทยดีกว่าเล็กน้อยทั้งของปี55และ56 เทียบช่วงประมาณการณ์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะตัวเลขจริงอุปสงค์ในประเทศออกมาสูงกว่าที่ธปท.คาดไว้"
ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้กรรมการกนง.หลายท่านมีความเป็นห่วงเรื่องการขยายตัวสินเชื่อล่าสุด 15% โดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่เร่งตัวสูงกว่าอัตราค่าเฉลี่ยค่อนข้างมากและมีแนวโน้มผิดนัดชำระหนี้ทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังคงไม่ดำเนินการอะไรในขณะนี้ เพราะการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินสามารถผสมผสานเครื่องมือต่างๆ ได้ ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว อีกทั้งในเดือนธ.ค.นี้ก็จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างบอร์ดกนง.และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) เพื่อพิจารณาปัจจัยเสี่ยง การขยายตัวสินเชื่อ ราคาสินทรัพย์ต่อไป
นายไพบูลย์กล่าวว่า การตัดสินใจคงดอกเบี้ยครั้งนี้ ทำให้ไทยมีดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบ 0.25% และการดำเนินนโยบายเช่นนี้ก็ ได้พิจารณาเงินทุนไหลเข้าออก ซึ่งรวมมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ รอบที่3(QE3)ของสหรัฐ พบว่า เงินทุนไม่ได้ไหลเข้าไทยมากนัก และเงินบาทมีการเคลื่อนไหวแบบมีเสถียรภาพ ทำให้ธปท.แทบไม่ต้องดูแลให้เป็นไปตามกลไกตลาดตามปัจจัยพื้นฐานที่มีอยู่ส่วนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อไม่มากนักในการปรับค่าจ้างรอบแรก ซึ่งได้รวมผลดังกล่าวไว้ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อครั้งที่ผ่านมาแล้ว และมองว่าการปรับค่าจ้างรอบสองก็น่าจะไม่ต่างรอบแรก แต่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดต่อไป