การแข่งขันทางการค้าถือเป็นนโยบายทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มประเทศที่เปิดเสรีทางการค้า โดยยึดหลักให้ผู้ประกอบการหลายรายสามารถจำหน่ายสินค้าประเภทเดียวกันได้ในราคาและคุณภาพที่แตกต่างกันตามกลไกตลาด อันเป็นวิธีการหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์แก่ประชาชนที่เป็นผู้บริโภคซึ่งจะสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างมีคุณภาพและในราคาที่ถูกลง
อย่างไรก็ดี แม้จะมีแนวคิดในการเปิดให้การแข่งขันทางการค้าเป็นไปอย่างเสรีก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติก็ยังพบปัญหาว่ามีการผูกขาดทางการค้าโดยกลุ่มผู้ประกอบการบางกลุ่ม หลายประเทศที่เป็นรัฐทุนนิยมที่มีบทบาทมากในตลาดการค้าโลกจึงได้มีการออกกฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้าขึ้นมาบังคับใช้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสหราชอาณาจักร หรือแม้แต่ในประเทศที่ไม่ได้มีบทบาทมากในตลาดการค้าโลกก็ตาม ก็มีการบัญญัติกฎหมายในลักษณะเดียวกันเพื่อควบคุมกลไกตลาดในประเทศให้มีความสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลก
ประเทศไทยเองก็มีปัญหาในเรื่องการผูกขาดการแข่งขันทางการค้าเช่นกัน เห็นได้จากสถิติการรับเรื่องร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 พบว่ามีเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการฯ ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ทั้งสิ้น 89 เรื่อง จำแนกได้เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ ตามมาตรา 25 รวม 18 เรื่อง การตกลงร่วมกันเพื่อผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขัน ตามมาตรา 27 รวม 21 เรื่อง และการปฏิบัติทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 29 รวม 50 เรื่อง ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของฐานความผิดที่มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 บัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างเสรี และป้องกันมิให้เกิดการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ ซึ่งขอบเขตของคำว่า "ธุรกิจ" นั้นครอบคลุมถึง กิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การเงิน การประกันภัย และการบริการ รวมถึงกิจการอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงด้วย และใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจ 2 กลุ่ม อันได้แก่
1.“ผู้ประกอบธุรกิจ" หมายความถึง ผู้จำหน่าย ผู้ผลิตเพื่อจำหน่าย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย หรือผู้ซื้อเพื่อผลิตหรือจำหน่ายต่อซึ่งสินค้าหรือผู้ให้บริการในธุรกิจ
2.“ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด" หมายความถึง ผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งหรือหลายรายในตลาดสินค้าใดสินค้าหนึ่งหรือบริการใดบริการหนึ่ง ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดและยอดเงินขายเกินกว่าที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด โดยต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป และมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือ เป็นผู้ประกอบธุรกิจ 3 รายแรก ในตลาดที่มีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ ผ่านมารวมกันตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป และมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
การกระทำของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจะเป็นความผิดและต้องรับโทษเมื่อได้กระทำการอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดทางการค้า และการกระทำที่บัญญัติพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 บัญญัติไว้นั้นก็เป็นที่ยอมรับกันเป็นสากลว่าการกระทำเช่นนี้เป็นความผิด โดยมีกรณีดังต่อไปนี้
กรณีแรก ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดกระทำการอันมิชอบ (มาตรา 25)
การกระทำความผิดฐานนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการกำหนดหรือรักษาระดับราคาซื้อหรือขายสินค้าหรือค่าบริการอย่างไม่เป็นธรรม มีการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่เป็นการบังคับโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมอย่างไม่เป็นธรรม ให้ผู้ประกอบธุรกิจอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของตนต้องจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อหรือการจำหน่ายสินค้า หรือต้องจำกัดโอกาสในการเลือกซื้อหรือขายสินค้า การได้รับหรือให้บริการ หรือในการจัดหาสินเชื่อจากผู้ประกอบธุรกิจอื่น กระทำการระงับ ลด หรือจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อ การจำหน่าย การส่งมอบ การนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การทำลายหรือทำให้เสียหายซึ่งสินค้าเพื่อลดปริมาณให้ต่ำกว่าความต้องการของตลาด หรือการแทรกแซงการประกอบธุรกิจของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ซึ่งในกรณีนี้มีตัวอย่างของประเทศอินเดีย ที่บริษัทผู้ผลิตก๊าซหุงต้มบังคับให้ผู้ใช้บริการรายใหม่ที่ประสงค์จะได้รับการต่อท่อจ่ายก๊าซหุงต้มต้องซื้อเตาแก๊สกับทางบริษัทด้วย คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจึงมีคำสั่งให้บริษัทระงับการกระทำดังกล่าว และกำหนดให้บริษัทต้องเพิ่มข้อความในใบแจ้งค่าบริการ และติดประกาศที่บริษัทว่าการจะซื้อเตาแก๊สกับทางบริษัทหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกค้า
กรณีที่สอง ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการรวมธุรกิจ อันอาจก่อให้เกิดการผูกขาดหรือความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน (มาตรา 26)
การกระทำความผิดฐานนี้เกิดได้ในกรณีที่ผู้ผลิตรวมกับผู้ผลิต ผู้จำหน่ายรวมกับผู้จำหน่าย ผู้ผลิตรวมกับผู้จำหน่าย หรือผู้บริการรวมกับผู้บริการ อันจะมีผลให้สถานะของธุรกิจหนึ่งคงอยู่และธุรกิจหนึ่งสิ้นสุดลงหรือเกิดเป็นธุรกิจใหม่ขึ้น หรือ การเข้าซื้อสินทรัพย์หรือหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนของธุรกิจอื่นเพื่อควบคุมนโยบายการบริหารธุรกิจ การอำนวยการ หรือการจัดการ ซึ่งในกรณีนี้มีตัวอย่างของประเทศเคนยา ที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าบรรจุขวดแห่งหนึ่งประสงค์จะควบรวมธุรกิจของผู้ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันรายอื่นๆทั้งหมดให้เหลือผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้เพียงรายเดียว แต่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเห็นว่าไม่สามารถกระทำได้ โดยถือว่าเป็นการกระทำที่มีลักษณะผูกขาดทางการค้าจึงมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินการควบรวมธุรกิจดังกล่าว
กรณีที่สาม ผู้ประกอบธุรกิจใดร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจอื่นกระทำการใด ๆ อันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาด (มาตรา 27)
การกระทำความผิดฐานนี้เกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น การที่ผู้ประกอบธูรกิจกำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการเป็นราคาเดียวกัน หรือตามที่ตกลงกัน หรือจำกัดปริมาณการซื้อ การขายสินค้าหรือบริการ มีพฤติกรรมร่วมกันที่จะเข้าครอบครองตลาดหรือควบคุมตลาด มีการร่วมกันกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อหรือการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการ เพื่อให้ปฏิบัติเป็นแบบเดียวกันหรือตามที่ตกลงกัน หรือมีการกำหนดปริมาณของสินค้าหรือบริการที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายจะผลิต ซื้อ จำหน่าย หรือบริการ เพื่อจำกัดปริมาณให้ต่ำกว่าความต้องการของตลาด ซึ่งมีตัวอย่างของประเทศสเปน ที่บริษัทผลิตน้ำตาล 4 แห่งร่วมกันผูกขาดการแข่งขันโดยการควบคุมปริมาณน้ำตาลที่จำหน่ายให้ต่ำกว่าความต้องการของตลาด ทำให้ราคาน้ำตาลในประเทศสูงขึ้นประมาณร้อยละ 5 ถึง 9 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในยุโรป เป็นเวลาหลายปี คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจึงได้มีคำสั่งลงโทษปรับผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มนี้เป็นเงินสูงถึง 8.7 ล้านยูโร เช่นเดียวกับกรณีของประเทศอาร์เจนติน่าที่บริษัทผู้ผลิตออกซิเจนที่ใช้ทางการแพทย์ 4 แห่ง ถูกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าลงโทษปรับเป็นเงินประมาณ 24 ล้านเหรียญสหรัฐจากความพยายามที่จะควบคุมตลาดในประเทศ
กรณีที่สี่ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่ว่าความสัมพันธ์นั้นจะเป็นโดยทางสัญญา นโยบาย ความเป็นหุ้นส่วน การถือหุ้น หรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะอื่นใดทำนองเดียวกัน ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้บุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรที่ประสงค์จะซื้อสินค้าหรือบริการมาใช้เอง ต้องถูกจำกัดโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรโดยตรง (มาตรา 28)
กรณีที่ห้า ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการใด ๆ อันมิใช่การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และมีผลเป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน หรือจำกัดการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือเพื่อมิให้ผู้อื่นประกอบธุรกิจ หรือต้องล้มเลิกการประกอบธุรกิจ (มาตรา 29)
อย่างไรก็ดี หากมีการฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้กระทำการใดๆที่มีลักษณะผูกขาดทางการค้าที่กล่าวมาข้างต้น มาตรา 31 บัญญัติให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบธุรกิจ ระงับ หยุด หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงการกระทำดังกล่าวได้ โดยต้องให้เหตุผลในการออกคำสั่งทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดที่มีส่วนแบ่งตลาดเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้า ซึ่งคณะกรรมการมีอำนาจตามมาตรา 30 ที่จะมีคำสั่งระงับ หยุด หรือเปลี่ยนแปลงการมีส่วนแบ่งตลาด โดยทั้งสองกรณีคณะกรรมการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้ และเมื่อมีคำสั่งแล้วผู้ได้รับคำสั่งต้องปฏิบัติตามคำสั่ง เว้นแต่ศาล หรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งหรือให้ยกเลิกคำสั่งของคณะกรรมการ
นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 25 ถึง 29 พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 กำหนดให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับคำสั่งแต่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวที่จะอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง แต่ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากการที่คณะกรรมการมีคำสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจ ระงับ หยุด หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงการกระทำได้
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ยังได้กำหนดโทษในกรณีที่มีการฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้มีการผูกขาดทางการค้า ตามมาตรา 25 ถึง 29 ไว้ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและถ้ามีการกระทำความผิดซ้ำต้องระวางโทษเป็นทวีคูณ
ในกรณีที่มีบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้มีการผูกขาดทางการค้า ผู้เสียหายมีอำนาจที่จะฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำการฝ่าฝืนนั้นได้ โดยต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายรู้หรือควรจะได้รู้ถึงเหตุดังกล่าว และกฎหมายยังกำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมคมตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้บริโภคหรือสมาชิกของสมาคมได้
จนถึงปัจจุบัน มีเรื่องร้องเรียนผ่านเข้ามายังคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเกือบ 90 เรื่อง แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่าจะมีการฟ้องร้องจนถึงขั้นมีคำพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดในชั้นศาลแต่อย่างใด ทำให้เกิดความพยายามที่จะเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมาย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายที่บังคับใช้อยู่มีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ไม่เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นประกอบกับมีปริมาณการค้าขายระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมากทุกปี และมีการแข่งขันที่รุนแรง เพื่อแสวงหากำไรและความอยู่รอดของธุรกิจ กลไกการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าจะเป็นเครื่องมือของรัฐที่สำคัญในการสร้างสมดุลและความเสมอภาคกับประเทศคู่ค้าของไทย เพื่อให้การดำเนินการในการป้องกันการผูกขาดทางการค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและผู้บริโภคเป็นสำคัญ และเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นสากล รวมถึงการรองรับเขตการค้าเสรีที่จะเกิดขึ้นสำหรับการค้าขายอย่างไร้พรมแดนต่อไป
อย่างไรก็ดี แม้จะมีแนวคิดในการเปิดให้การแข่งขันทางการค้าเป็นไปอย่างเสรีก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติก็ยังพบปัญหาว่ามีการผูกขาดทางการค้าโดยกลุ่มผู้ประกอบการบางกลุ่ม หลายประเทศที่เป็นรัฐทุนนิยมที่มีบทบาทมากในตลาดการค้าโลกจึงได้มีการออกกฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้าขึ้นมาบังคับใช้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสหราชอาณาจักร หรือแม้แต่ในประเทศที่ไม่ได้มีบทบาทมากในตลาดการค้าโลกก็ตาม ก็มีการบัญญัติกฎหมายในลักษณะเดียวกันเพื่อควบคุมกลไกตลาดในประเทศให้มีความสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลก
ประเทศไทยเองก็มีปัญหาในเรื่องการผูกขาดการแข่งขันทางการค้าเช่นกัน เห็นได้จากสถิติการรับเรื่องร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 พบว่ามีเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการฯ ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ทั้งสิ้น 89 เรื่อง จำแนกได้เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ ตามมาตรา 25 รวม 18 เรื่อง การตกลงร่วมกันเพื่อผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขัน ตามมาตรา 27 รวม 21 เรื่อง และการปฏิบัติทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 29 รวม 50 เรื่อง ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของฐานความผิดที่มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 บัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างเสรี และป้องกันมิให้เกิดการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ ซึ่งขอบเขตของคำว่า "ธุรกิจ" นั้นครอบคลุมถึง กิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การเงิน การประกันภัย และการบริการ รวมถึงกิจการอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงด้วย และใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจ 2 กลุ่ม อันได้แก่
1.“ผู้ประกอบธุรกิจ" หมายความถึง ผู้จำหน่าย ผู้ผลิตเพื่อจำหน่าย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย หรือผู้ซื้อเพื่อผลิตหรือจำหน่ายต่อซึ่งสินค้าหรือผู้ให้บริการในธุรกิจ
2.“ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด" หมายความถึง ผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งหรือหลายรายในตลาดสินค้าใดสินค้าหนึ่งหรือบริการใดบริการหนึ่ง ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดและยอดเงินขายเกินกว่าที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด โดยต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป และมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือ เป็นผู้ประกอบธุรกิจ 3 รายแรก ในตลาดที่มีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ ผ่านมารวมกันตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป และมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
การกระทำของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจะเป็นความผิดและต้องรับโทษเมื่อได้กระทำการอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดทางการค้า และการกระทำที่บัญญัติพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 บัญญัติไว้นั้นก็เป็นที่ยอมรับกันเป็นสากลว่าการกระทำเช่นนี้เป็นความผิด โดยมีกรณีดังต่อไปนี้
กรณีแรก ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดกระทำการอันมิชอบ (มาตรา 25)
การกระทำความผิดฐานนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการกำหนดหรือรักษาระดับราคาซื้อหรือขายสินค้าหรือค่าบริการอย่างไม่เป็นธรรม มีการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่เป็นการบังคับโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมอย่างไม่เป็นธรรม ให้ผู้ประกอบธุรกิจอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของตนต้องจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อหรือการจำหน่ายสินค้า หรือต้องจำกัดโอกาสในการเลือกซื้อหรือขายสินค้า การได้รับหรือให้บริการ หรือในการจัดหาสินเชื่อจากผู้ประกอบธุรกิจอื่น กระทำการระงับ ลด หรือจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อ การจำหน่าย การส่งมอบ การนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การทำลายหรือทำให้เสียหายซึ่งสินค้าเพื่อลดปริมาณให้ต่ำกว่าความต้องการของตลาด หรือการแทรกแซงการประกอบธุรกิจของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ซึ่งในกรณีนี้มีตัวอย่างของประเทศอินเดีย ที่บริษัทผู้ผลิตก๊าซหุงต้มบังคับให้ผู้ใช้บริการรายใหม่ที่ประสงค์จะได้รับการต่อท่อจ่ายก๊าซหุงต้มต้องซื้อเตาแก๊สกับทางบริษัทด้วย คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจึงมีคำสั่งให้บริษัทระงับการกระทำดังกล่าว และกำหนดให้บริษัทต้องเพิ่มข้อความในใบแจ้งค่าบริการ และติดประกาศที่บริษัทว่าการจะซื้อเตาแก๊สกับทางบริษัทหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกค้า
กรณีที่สอง ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการรวมธุรกิจ อันอาจก่อให้เกิดการผูกขาดหรือความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน (มาตรา 26)
การกระทำความผิดฐานนี้เกิดได้ในกรณีที่ผู้ผลิตรวมกับผู้ผลิต ผู้จำหน่ายรวมกับผู้จำหน่าย ผู้ผลิตรวมกับผู้จำหน่าย หรือผู้บริการรวมกับผู้บริการ อันจะมีผลให้สถานะของธุรกิจหนึ่งคงอยู่และธุรกิจหนึ่งสิ้นสุดลงหรือเกิดเป็นธุรกิจใหม่ขึ้น หรือ การเข้าซื้อสินทรัพย์หรือหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนของธุรกิจอื่นเพื่อควบคุมนโยบายการบริหารธุรกิจ การอำนวยการ หรือการจัดการ ซึ่งในกรณีนี้มีตัวอย่างของประเทศเคนยา ที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าบรรจุขวดแห่งหนึ่งประสงค์จะควบรวมธุรกิจของผู้ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันรายอื่นๆทั้งหมดให้เหลือผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้เพียงรายเดียว แต่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเห็นว่าไม่สามารถกระทำได้ โดยถือว่าเป็นการกระทำที่มีลักษณะผูกขาดทางการค้าจึงมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินการควบรวมธุรกิจดังกล่าว
กรณีที่สาม ผู้ประกอบธุรกิจใดร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจอื่นกระทำการใด ๆ อันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาด (มาตรา 27)
การกระทำความผิดฐานนี้เกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น การที่ผู้ประกอบธูรกิจกำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการเป็นราคาเดียวกัน หรือตามที่ตกลงกัน หรือจำกัดปริมาณการซื้อ การขายสินค้าหรือบริการ มีพฤติกรรมร่วมกันที่จะเข้าครอบครองตลาดหรือควบคุมตลาด มีการร่วมกันกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อหรือการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการ เพื่อให้ปฏิบัติเป็นแบบเดียวกันหรือตามที่ตกลงกัน หรือมีการกำหนดปริมาณของสินค้าหรือบริการที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายจะผลิต ซื้อ จำหน่าย หรือบริการ เพื่อจำกัดปริมาณให้ต่ำกว่าความต้องการของตลาด ซึ่งมีตัวอย่างของประเทศสเปน ที่บริษัทผลิตน้ำตาล 4 แห่งร่วมกันผูกขาดการแข่งขันโดยการควบคุมปริมาณน้ำตาลที่จำหน่ายให้ต่ำกว่าความต้องการของตลาด ทำให้ราคาน้ำตาลในประเทศสูงขึ้นประมาณร้อยละ 5 ถึง 9 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในยุโรป เป็นเวลาหลายปี คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจึงได้มีคำสั่งลงโทษปรับผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มนี้เป็นเงินสูงถึง 8.7 ล้านยูโร เช่นเดียวกับกรณีของประเทศอาร์เจนติน่าที่บริษัทผู้ผลิตออกซิเจนที่ใช้ทางการแพทย์ 4 แห่ง ถูกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าลงโทษปรับเป็นเงินประมาณ 24 ล้านเหรียญสหรัฐจากความพยายามที่จะควบคุมตลาดในประเทศ
กรณีที่สี่ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่ว่าความสัมพันธ์นั้นจะเป็นโดยทางสัญญา นโยบาย ความเป็นหุ้นส่วน การถือหุ้น หรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะอื่นใดทำนองเดียวกัน ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้บุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรที่ประสงค์จะซื้อสินค้าหรือบริการมาใช้เอง ต้องถูกจำกัดโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรโดยตรง (มาตรา 28)
กรณีที่ห้า ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการใด ๆ อันมิใช่การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และมีผลเป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน หรือจำกัดการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือเพื่อมิให้ผู้อื่นประกอบธุรกิจ หรือต้องล้มเลิกการประกอบธุรกิจ (มาตรา 29)
อย่างไรก็ดี หากมีการฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้กระทำการใดๆที่มีลักษณะผูกขาดทางการค้าที่กล่าวมาข้างต้น มาตรา 31 บัญญัติให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบธุรกิจ ระงับ หยุด หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงการกระทำดังกล่าวได้ โดยต้องให้เหตุผลในการออกคำสั่งทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดที่มีส่วนแบ่งตลาดเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้า ซึ่งคณะกรรมการมีอำนาจตามมาตรา 30 ที่จะมีคำสั่งระงับ หยุด หรือเปลี่ยนแปลงการมีส่วนแบ่งตลาด โดยทั้งสองกรณีคณะกรรมการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้ และเมื่อมีคำสั่งแล้วผู้ได้รับคำสั่งต้องปฏิบัติตามคำสั่ง เว้นแต่ศาล หรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งหรือให้ยกเลิกคำสั่งของคณะกรรมการ
นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 25 ถึง 29 พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 กำหนดให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับคำสั่งแต่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวที่จะอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง แต่ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากการที่คณะกรรมการมีคำสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจ ระงับ หยุด หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงการกระทำได้
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ยังได้กำหนดโทษในกรณีที่มีการฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้มีการผูกขาดทางการค้า ตามมาตรา 25 ถึง 29 ไว้ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและถ้ามีการกระทำความผิดซ้ำต้องระวางโทษเป็นทวีคูณ
ในกรณีที่มีบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้มีการผูกขาดทางการค้า ผู้เสียหายมีอำนาจที่จะฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำการฝ่าฝืนนั้นได้ โดยต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายรู้หรือควรจะได้รู้ถึงเหตุดังกล่าว และกฎหมายยังกำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมคมตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้บริโภคหรือสมาชิกของสมาคมได้
จนถึงปัจจุบัน มีเรื่องร้องเรียนผ่านเข้ามายังคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเกือบ 90 เรื่อง แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่าจะมีการฟ้องร้องจนถึงขั้นมีคำพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดในชั้นศาลแต่อย่างใด ทำให้เกิดความพยายามที่จะเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมาย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายที่บังคับใช้อยู่มีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ไม่เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นประกอบกับมีปริมาณการค้าขายระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมากทุกปี และมีการแข่งขันที่รุนแรง เพื่อแสวงหากำไรและความอยู่รอดของธุรกิจ กลไกการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าจะเป็นเครื่องมือของรัฐที่สำคัญในการสร้างสมดุลและความเสมอภาคกับประเทศคู่ค้าของไทย เพื่อให้การดำเนินการในการป้องกันการผูกขาดทางการค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและผู้บริโภคเป็นสำคัญ และเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นสากล รวมถึงการรองรับเขตการค้าเสรีที่จะเกิดขึ้นสำหรับการค้าขายอย่างไร้พรมแดนต่อไป