“กิตติรัตน์” ลักไก่ ยัดร่างกรอบเจรจา เอฟทีเอ ไทย-อียู เข้าที่ประชุม ครม.นัดพิเศษให้เห็นชอบแบบวาระจร แบบไม่ขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบวาระ เอฟทีเอ ว็อทช์ จวกทำผิดหลัก รธน.เผย ประเด็นเหล้า-บุหรี่ก็ยังไม่จัดประชาพิจารณ์ กพย.ย้ำ ผลวิจัยชี้รับข้อตกลงเกินกว่าทริปส์ ทำค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นมากถึง 8 หมื่นล้านบาทต่อปี
วันนี้ (12 พ.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษ ก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปอังกฤษ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ เสนอวาระด่วน คือ ให้อนุมัติร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรป เพื่อเร่งนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) เปิดเผยว่า เอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป เป็นการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน และงบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เหตุใดรัฐบาลจึงทำอย่างลุกลี้ลุกลน ทำไมจึงเสนอเป็นวาระจร โดยที่ไม่มีการขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบวาระ
“จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยังมิได้ดำเนินการถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มิใช่เป็นอุปสรรค หรือเป็นเรื่องยากอย่างไรทั้งสิ้น แต่เป็นการรับรองให้การเจรจาการค้าเป็นประโยชน์กับประเทศและสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง โดยไม่ปล่อยให้ผลได้กระจุกอยู่ในวงจำกัด แต่ผลเสียกระจายอย่างที่เคยเป็นมา” ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อทช์ กล่าว
นายจักรชัย กล่าวอีกว่า กิจกรรมที่กรมเจรจาฯได้จัดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2553 แม้เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น การออกความคิดเห็นของประชาชนจึงไม่สามารถสะท้อนท่าทีของรัฐบาล หรือเนื้อหาในกรอบการเจรจาได้ นอกจากนี้การจัดประชุมกลุ่มย่อย หรือ โฟกัส กรุ๊ป โดยกรมเจรจาฯ เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา แม้มีการนำร่างท่าทีของทางกรมฯ มาหารือ แต่ก็ไม่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการรับฟังความเห็นประชาชน เนื่องจากเป็นการจัดลักษณะวงย่อยเฉพาะกลุ่ม แจ้งล่วงหน้าอย่างกระชั้นชิด ที่สำคัญคือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ เช่น ในประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ยังไม่ได้มีการหารือแต่อย่างใด
“หากรัฐบาลพิจารณาร่างกรอบการเจรจาฯ และเสนอให้รัฐสภาพิจารณาโดยไม่นำร่างดังกล่าว มารับฟังความคิดเห็นประชาชน ก็สุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่ายการดำเนินการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อรัฐบาล และประเทศชาติ ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนที่สุด คือ การนำร่างกรอบการเจราฯ มาจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ก่อนเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งจะไม่ทำให้เสียเวลาแต่ประการใด” นายจักรชัย กล่าว
ด้าน น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักวิจัยจากแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า เท่าที่ทราบมา ร่างกรอบเจรจาฯที่ ครม.จะอนุมัติวันนี้ เป็นเพียงกรอบกว้างๆ ซึ่งไม่สามารถป้องกันข้อห่วงใยเรื่องผลกระทบจากการเข้าถึงยาได้เลย โดยในร่างกรอบเจรจาฯ ใช้คำว่า ‘ให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสอดคล้องกับระดับการคุ้มครองตามความตกลงขององค์การการค้าโลก และ/หรือความตกลงใดๆ ที่ไทยเป็นภาคี’ โดยกรมเจรจาฯให้เหตุผลว่า เป็นไปตามกรอบการเจรจาอาเซียน-สหภาพยุโรป ที่เคยผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา แต่ในการขยายความระหว่างการประชุม อธิบดีกรมเจรจาการค้าฯขณะนั้น ยอมรับว่า ที่ระบุเช่นนี้ แปลว่า อนุญาตให้เจรจาความตกลงที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ได้
น.ส.กรรณิการ์ กล่าวอีกว่า ความตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลกเป็นมาตรการขั้นต่ำ จึงนับเป็นความสอดคล้อง ซึ่งมีเพียงตัวแทนสภาหอการค้าฯที่มาจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ และพรีม่า ซึ่งเป็นสมาคมบริษัทยาข้ามชาติที่สนับสนุนอย่างแข็งขัน ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กรมทรัพย์สินทางปัญญา นักวิชาการ และภาคประชาสังคมต่างๆ ไม่เห็นด้วย
“กรมเจรจาฯในฐานะเลขาฯฝ่ายเตรียมการเจรจา ไม่อ้างอิงความรู้และผลงานวิชาการใดๆ ในการจัดทำท่าที และยังพยายามกีดกัน อย.และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความรู้โดยตรงเข้าร่วมจัดทำท่าที แม้แต่ขณะที่เอาวาระเข้าครม.ยังไม่ยอมถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะการศึกษาของสถาบันวิชาการหลายแห่งที่ให้ข้อมูลตรงกันว่า ข้อผูกพันดังกล่าวเป็นการผูกขาดตลาดและส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศชาติ” นักวิจัย กพย.กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กล่าวด้วยว่า จากการศึกษานี้ ชี้ชัดว่า ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศจะเพิ่มขึ้นทุกปีจากปกติที่เคยเป็น โดยในปีที่ 5 จะมีผลกระทบมากกว่า 80,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสุดท้ายแล้ว จะส่งผลให้ประเทศต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น และประชาชนจำนวนมาก อาจไม่สามารถเข้าถึงยาจำเป็นได้ เพราะรัฐบาลอาจไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะสนับสนุน และส่งผลถึงระบบสาธารณสุขของประเทศโดยรวมในที่สุด
วันนี้ (12 พ.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษ ก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปอังกฤษ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ เสนอวาระด่วน คือ ให้อนุมัติร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรป เพื่อเร่งนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) เปิดเผยว่า เอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป เป็นการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน และงบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เหตุใดรัฐบาลจึงทำอย่างลุกลี้ลุกลน ทำไมจึงเสนอเป็นวาระจร โดยที่ไม่มีการขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบวาระ
“จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยังมิได้ดำเนินการถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มิใช่เป็นอุปสรรค หรือเป็นเรื่องยากอย่างไรทั้งสิ้น แต่เป็นการรับรองให้การเจรจาการค้าเป็นประโยชน์กับประเทศและสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง โดยไม่ปล่อยให้ผลได้กระจุกอยู่ในวงจำกัด แต่ผลเสียกระจายอย่างที่เคยเป็นมา” ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อทช์ กล่าว
นายจักรชัย กล่าวอีกว่า กิจกรรมที่กรมเจรจาฯได้จัดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2553 แม้เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น การออกความคิดเห็นของประชาชนจึงไม่สามารถสะท้อนท่าทีของรัฐบาล หรือเนื้อหาในกรอบการเจรจาได้ นอกจากนี้การจัดประชุมกลุ่มย่อย หรือ โฟกัส กรุ๊ป โดยกรมเจรจาฯ เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา แม้มีการนำร่างท่าทีของทางกรมฯ มาหารือ แต่ก็ไม่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการรับฟังความเห็นประชาชน เนื่องจากเป็นการจัดลักษณะวงย่อยเฉพาะกลุ่ม แจ้งล่วงหน้าอย่างกระชั้นชิด ที่สำคัญคือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ เช่น ในประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ยังไม่ได้มีการหารือแต่อย่างใด
“หากรัฐบาลพิจารณาร่างกรอบการเจรจาฯ และเสนอให้รัฐสภาพิจารณาโดยไม่นำร่างดังกล่าว มารับฟังความคิดเห็นประชาชน ก็สุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่ายการดำเนินการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อรัฐบาล และประเทศชาติ ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนที่สุด คือ การนำร่างกรอบการเจราฯ มาจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ก่อนเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งจะไม่ทำให้เสียเวลาแต่ประการใด” นายจักรชัย กล่าว
ด้าน น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักวิจัยจากแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า เท่าที่ทราบมา ร่างกรอบเจรจาฯที่ ครม.จะอนุมัติวันนี้ เป็นเพียงกรอบกว้างๆ ซึ่งไม่สามารถป้องกันข้อห่วงใยเรื่องผลกระทบจากการเข้าถึงยาได้เลย โดยในร่างกรอบเจรจาฯ ใช้คำว่า ‘ให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสอดคล้องกับระดับการคุ้มครองตามความตกลงขององค์การการค้าโลก และ/หรือความตกลงใดๆ ที่ไทยเป็นภาคี’ โดยกรมเจรจาฯให้เหตุผลว่า เป็นไปตามกรอบการเจรจาอาเซียน-สหภาพยุโรป ที่เคยผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา แต่ในการขยายความระหว่างการประชุม อธิบดีกรมเจรจาการค้าฯขณะนั้น ยอมรับว่า ที่ระบุเช่นนี้ แปลว่า อนุญาตให้เจรจาความตกลงที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ได้
น.ส.กรรณิการ์ กล่าวอีกว่า ความตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลกเป็นมาตรการขั้นต่ำ จึงนับเป็นความสอดคล้อง ซึ่งมีเพียงตัวแทนสภาหอการค้าฯที่มาจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ และพรีม่า ซึ่งเป็นสมาคมบริษัทยาข้ามชาติที่สนับสนุนอย่างแข็งขัน ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กรมทรัพย์สินทางปัญญา นักวิชาการ และภาคประชาสังคมต่างๆ ไม่เห็นด้วย
“กรมเจรจาฯในฐานะเลขาฯฝ่ายเตรียมการเจรจา ไม่อ้างอิงความรู้และผลงานวิชาการใดๆ ในการจัดทำท่าที และยังพยายามกีดกัน อย.และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความรู้โดยตรงเข้าร่วมจัดทำท่าที แม้แต่ขณะที่เอาวาระเข้าครม.ยังไม่ยอมถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะการศึกษาของสถาบันวิชาการหลายแห่งที่ให้ข้อมูลตรงกันว่า ข้อผูกพันดังกล่าวเป็นการผูกขาดตลาดและส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศชาติ” นักวิจัย กพย.กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กล่าวด้วยว่า จากการศึกษานี้ ชี้ชัดว่า ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศจะเพิ่มขึ้นทุกปีจากปกติที่เคยเป็น โดยในปีที่ 5 จะมีผลกระทบมากกว่า 80,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสุดท้ายแล้ว จะส่งผลให้ประเทศต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น และประชาชนจำนวนมาก อาจไม่สามารถเข้าถึงยาจำเป็นได้ เพราะรัฐบาลอาจไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะสนับสนุน และส่งผลถึงระบบสาธารณสุขของประเทศโดยรวมในที่สุด