กมธ.สาธารณสุข สั่งกรมเจรจาฯรับข้อห่วงใยผลกระทบเอฟที ไทย-อียู ต่อการเข้าถึงยาและอุตสาหกรรมยาในประเทศ ไปทำร่างกรอบเจรจาฯก่อนเข้าสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทยและภาคประชาสังคม 14 องค์กรที่ขอให้พิจารณาตรวจสอบกระบวนการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านยา โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า กระบวนการจัดทำความตกลงข้างต้นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ขัดกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หรือไม่ และได้มีการกำหนดกรอบการเจรจาในประเด็นที่จะมีลักษณะทำให้ไทยเสียเปรียบประเทศคู่เจรจา อาทิ การขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ที่มีเงื่อนไขมากเกินไปกว่าข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวพันกับการค้า (TRIPS) ขององค์การการค้าโลกซึ่งเงื่อนไขดังกล่าว อาจทำให้เกิดการผูกขาดสินค้าประเภทเภสัชภัณฑ์ ประชาชนจำนวนมากจะไม่สามารถเข้าถึงยาที่มีสิทธิบัตรที่มีราคาสูงกว่ายาชื่อสามัญ (Generic Drugs) เพราะประเทศไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการจัดซื้อยาดังกล่าวหรือไม่
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ให้ความเห็นกับคณะกรรมาธิการฯว่า ที่ผ่านมา อย.ได้ทำหนังสือชี้แจงข้อห่วงใยการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปโดยเฉพาะประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความเกี่ยวพันกับยาและเวชภัณฑ์ไปยังกรมเจรจาฯ ว่าจะมีผลกระทบโดยตรงอย่างสูงและรุนแรงต่อประเทศชาติ ใน 3 ประเด็นหลักคือ การขยายเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตร (Patent Term Extension), การผูกขาดข้อมูลทางยา (Data Exclusivity) และ มาตรการ ณ จุดผ่านแดน (Border Measure) เนื่องจากการพัฒนายาชื่อสามัญในประเทศเป็นไปได้ยากขึ้น อุตสาหกรรมยาชื่อสามัญในไทยจะถูกแช่แข็ง กระทบกับกลไกยืดหยุ่นในความตกลงทริปส์มิให้เกิดผลในทางปฏิบัติ มียาที่เป็นทางเลือกในการรักษาน้อยลง และกระทบการเข้าถึงยาของประชาชน เพราะมูลค่าการใช้จ่ายด้านยาอันเนื่องจากยาที่มีสิทธิบัตรนำเข้าจะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งสถานการณ์จะยิ่งรุนแรงกว่าเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา จากเดิมยานำเข้ามีประมาณร้อยละ 32 แต่หลังการแก้ พรบ.สิทธิบัตร ปัจจุบันค่าใช้จ่ายจากยานำเข้าที่มีสิทธิบัตรคิดเป็นมูลค่าสูงถึงร้อยละ 75
"เอกสารที่ อย.ได้มอบให้ กมธ.สธ.นั้น อย.ได้รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆตลอดจนผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยสำนักวิจัยชั้นนำของประเทศซึ่งให้ข้อสรุปตรงกันว่า การยอมรับข้อตกลงที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์หรือทริปส์พลัส ประเทศชาติจะต้องพึ่งพายานำเข้าที่มีราคาแพงมาก และขาดความมั่นคงทางยาของประเทศในที่สุด เนื่องจากยาชื่อสามัญออกสู่ตลาดได้ช้าลง ส่งผลให้ประเทศชาติต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้น และทำให้ประชาชนเข้าถึงยายากขึ้น นอกจากนั้น ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยาสามัญในประเทศอีกด้วย อีกทั้งยังต้องให้สิทธิเหล่านี้กับประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลกทั้งหมด ซึ่งจะไม่เพียงแค่การเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรปเท่านั้น" ภญ.ศรีนวล กล่าว
นางอัจฉิมา ธนสมบัติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า หากประเทศจะต้องยอมรับทริปส์พลัสตามข้อเสนอของกรมเจรจาฯ จะต้องแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวว่า ภาคประชาสังคมไม่ได้ค้านการเจรจาเอฟทีเอ แต่ต้องการเห็นการเจรจาการค้าที่ประเทศได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และไม่ก่อให้เกิดผลผลกระทบถึงประชาชนและสังคมอย่างรุนแรงจนไม่สามารถเยียวยาได้ จึงขอให้คณะกรรมาธิการช่วยติดตามเพื่อให้กระบวนการจัดทำเป็นไปอย่างเปิดเผยโปร่งใส
นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาฯ ชี้แจงว่า ขณะนี้ขั้นตอนยังอยู่ในฝ่ายบริหาร ที่ผ่านมาไม่ได้มีการแสดงความผูกพันใดๆกับสหภาพยุโรป เป็นเพียงการคุยกันไปมาเท่านั้น
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รองประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขคนที่ 1 ซึ่งขณะนี้มีชื่อจะไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สรุปว่า แม้ขณะนี้การจัดทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปยังอยู่ในส่วนของฝ่ายบริหาร แต่การที่กรมเจรจาการค้าฯตั้งท่าทีเมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมาเสนอให้รับทริปส์พลัสได้นั้นจะกระทบทั้งการเข้าถึงยาและอุตสาหกรรมยาในประเทศ ประเด็นจึงอยู่ที่การมีส่วนร่วมเพื่อทำร่างกรอบเจรจาและท่าทีของประเทศ ดังนั้น จึงขอให้ฝ่ายนโยบาย และฝ่ายราชการที่นำนโยบายไปปฏิบัติให้รับเอาข้อห่วงใยทั้งของผู้ร้องเรียนและนักวิชาการ 84 คนที่มีถึงนายกรัฐมนตรีไปประกอบการทำร่างกรอบเจรจาก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทยและภาคประชาสังคม 14 องค์กรที่ขอให้พิจารณาตรวจสอบกระบวนการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านยา โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า กระบวนการจัดทำความตกลงข้างต้นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ขัดกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หรือไม่ และได้มีการกำหนดกรอบการเจรจาในประเด็นที่จะมีลักษณะทำให้ไทยเสียเปรียบประเทศคู่เจรจา อาทิ การขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ที่มีเงื่อนไขมากเกินไปกว่าข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวพันกับการค้า (TRIPS) ขององค์การการค้าโลกซึ่งเงื่อนไขดังกล่าว อาจทำให้เกิดการผูกขาดสินค้าประเภทเภสัชภัณฑ์ ประชาชนจำนวนมากจะไม่สามารถเข้าถึงยาที่มีสิทธิบัตรที่มีราคาสูงกว่ายาชื่อสามัญ (Generic Drugs) เพราะประเทศไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการจัดซื้อยาดังกล่าวหรือไม่
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ให้ความเห็นกับคณะกรรมาธิการฯว่า ที่ผ่านมา อย.ได้ทำหนังสือชี้แจงข้อห่วงใยการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปโดยเฉพาะประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความเกี่ยวพันกับยาและเวชภัณฑ์ไปยังกรมเจรจาฯ ว่าจะมีผลกระทบโดยตรงอย่างสูงและรุนแรงต่อประเทศชาติ ใน 3 ประเด็นหลักคือ การขยายเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตร (Patent Term Extension), การผูกขาดข้อมูลทางยา (Data Exclusivity) และ มาตรการ ณ จุดผ่านแดน (Border Measure) เนื่องจากการพัฒนายาชื่อสามัญในประเทศเป็นไปได้ยากขึ้น อุตสาหกรรมยาชื่อสามัญในไทยจะถูกแช่แข็ง กระทบกับกลไกยืดหยุ่นในความตกลงทริปส์มิให้เกิดผลในทางปฏิบัติ มียาที่เป็นทางเลือกในการรักษาน้อยลง และกระทบการเข้าถึงยาของประชาชน เพราะมูลค่าการใช้จ่ายด้านยาอันเนื่องจากยาที่มีสิทธิบัตรนำเข้าจะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งสถานการณ์จะยิ่งรุนแรงกว่าเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา จากเดิมยานำเข้ามีประมาณร้อยละ 32 แต่หลังการแก้ พรบ.สิทธิบัตร ปัจจุบันค่าใช้จ่ายจากยานำเข้าที่มีสิทธิบัตรคิดเป็นมูลค่าสูงถึงร้อยละ 75
"เอกสารที่ อย.ได้มอบให้ กมธ.สธ.นั้น อย.ได้รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆตลอดจนผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยสำนักวิจัยชั้นนำของประเทศซึ่งให้ข้อสรุปตรงกันว่า การยอมรับข้อตกลงที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์หรือทริปส์พลัส ประเทศชาติจะต้องพึ่งพายานำเข้าที่มีราคาแพงมาก และขาดความมั่นคงทางยาของประเทศในที่สุด เนื่องจากยาชื่อสามัญออกสู่ตลาดได้ช้าลง ส่งผลให้ประเทศชาติต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้น และทำให้ประชาชนเข้าถึงยายากขึ้น นอกจากนั้น ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยาสามัญในประเทศอีกด้วย อีกทั้งยังต้องให้สิทธิเหล่านี้กับประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลกทั้งหมด ซึ่งจะไม่เพียงแค่การเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรปเท่านั้น" ภญ.ศรีนวล กล่าว
นางอัจฉิมา ธนสมบัติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า หากประเทศจะต้องยอมรับทริปส์พลัสตามข้อเสนอของกรมเจรจาฯ จะต้องแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวว่า ภาคประชาสังคมไม่ได้ค้านการเจรจาเอฟทีเอ แต่ต้องการเห็นการเจรจาการค้าที่ประเทศได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และไม่ก่อให้เกิดผลผลกระทบถึงประชาชนและสังคมอย่างรุนแรงจนไม่สามารถเยียวยาได้ จึงขอให้คณะกรรมาธิการช่วยติดตามเพื่อให้กระบวนการจัดทำเป็นไปอย่างเปิดเผยโปร่งใส
นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาฯ ชี้แจงว่า ขณะนี้ขั้นตอนยังอยู่ในฝ่ายบริหาร ที่ผ่านมาไม่ได้มีการแสดงความผูกพันใดๆกับสหภาพยุโรป เป็นเพียงการคุยกันไปมาเท่านั้น
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รองประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขคนที่ 1 ซึ่งขณะนี้มีชื่อจะไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สรุปว่า แม้ขณะนี้การจัดทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปยังอยู่ในส่วนของฝ่ายบริหาร แต่การที่กรมเจรจาการค้าฯตั้งท่าทีเมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมาเสนอให้รับทริปส์พลัสได้นั้นจะกระทบทั้งการเข้าถึงยาและอุตสาหกรรมยาในประเทศ ประเด็นจึงอยู่ที่การมีส่วนร่วมเพื่อทำร่างกรอบเจรจาและท่าทีของประเทศ ดังนั้น จึงขอให้ฝ่ายนโยบาย และฝ่ายราชการที่นำนโยบายไปปฏิบัติให้รับเอาข้อห่วงใยทั้งของผู้ร้องเรียนและนักวิชาการ 84 คนที่มีถึงนายกรัฐมนตรีไปประกอบการทำร่างกรอบเจรจาก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา