นักวิชาการจวกรัฐปกปิดข้อมูล FTA ไทย-อียูต่อประชาชน ชี้ทำประชาพิจารณ์ไม่เป็นไปตามกฎหมาย แถมเร่งเจรจาโดยไม่มีข้อมูลผลดี-ผลเสีย เผยเตรียมทำข้อมูลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เน้น 4 ประเด็นหลักการเข้าถึงยาให้กรมเจรจาฯใช้ต่อรอง เตือนรัฐอย่าหลงกลกลุ่มได้ประโยชน์จากการทำ FTA
ในการประชุมกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ: ปัญหา อุปสรรค ความท้าทาย กรณีศึกษา การจัดทำ Thai-EU FTA ต่อการเข้าถึงยา ที่อาคารศศนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายจักรชัย โฉมทองดี โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนาสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ กล่าวว่า การจัดทำความตกลงทางการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป นับเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประชาชนมีสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมใน การกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งขณะนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการเปิดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รัฐไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน
“รัฐควรให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนก่อนที่จะมีการเปิดเวทีสาธารณะ อาทิ ร่างก่อการเจรจา ซึ่งควรส่งให้ประชาชนได้เห็นก่อนทำประชาพิจารณ์ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้มีระยะเวลาในการพิจารณาก่อนแสดงความคิดเห็น และเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามหลักรัฐธรรมนูญ แต่ผู้ดำเนินการยังไม่เข้าใจในจุดนี้ แต่เร่งที่จะจัดรับฟังความคิดเห็นและเร่งที่จะเจรจา FTA ไทย-อียู ทั้งที่กรมเจรจาฯยังไม่มีข้อมูลผลดี-ผลเสียในการทำการค้าเสรีครั้งนี้ และไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าผลเสียการผูกขาดด้านยาที่เกิดขึ้นจากการยอม FTA กับการถูกอียูตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อย่างใดที่จะทำให้ประเทศไทยเสียหายมากกว่ากัน” นายจักรชัย กล่าว
นายจักรชัย กล่าวอีกว่า ประเด็นที่น่าห่วงอีกเรื่องหนึ่งคือ มีบางกลุ่มที่ต้องการแก้ไขมาตรา 190 โดยอ้างว่า มาตรา 190 จะทำให้สูญเสียอำนาจการต่อรองในการทำ FTA ไทย-อียู และก่อให้เกิดความล่าช้า เนื่องจากต้องมีการทำประชาพิจารณ์และให้ข้อมูลสาธารณะกับประชาชน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วมาตราดังกล่าวต่างประเทศก็มีการกำหนดไว้เช่นกัน และจากการศึกษาไม่พบว่า ความล่าช้าในการเจรจา FTA เกิดจากมาตรา 190 ที่เป็นกระบวนการภายในประเทศ แต่เกิดจากขั้นตอนที่ทีมเจรจาไม่ได้ตระเตรียมไว้
รศ.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะผู้จัดทำการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) กรณีศึกษาผลกระทบจากความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปต่อการเข้าถึงยา กล่าวว่า พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีการจัดทำ HIA กรณีมีการกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งการทำ HIA เรื่องดังกล่าวจะช่วยประเมินผลว่าการทำ FTA ไทย-อียู จะเกิดผลกระทบในด้านใดบ้าง เพื่อให้ผู้มีอำนาจในการเจรจานำไปใช้เป็นข้อมูลในการต่อรอง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย
รศ.ภญ.นุศราพร กล่าวอีกว่า ขั้นตอนในการทำ HIA มีอยู่ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การคัดกรองปัญหา 2.กำหนดขอบเขตการประเมินผละกระทบสาธารณะ 3.การประเมินโดยนักวิจัย 4.การทบทวนการประเมิน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม 5.การนำเสนอข้อมูลให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจนโยบาย และ 6.การติดตามการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งขณะนี้คณะทำงานเพิ่งเสร็จกระบวนการในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อกังวลต่างๆ ทางสาธารณะจากประชาชนทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ เพื่อนำมากำหนดประเด็นในการประเมินและมาตรการบรรเทาผลกระทบ
“การประเมินฯในครั้งนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน คือตั้งแต่ ต.ค.-ธ.ค.55 โดยกำหนดขอบเขตการประเมินครอบคลุมเฉพาะผลิตภัณฑ์ยาเท่านั้น ไม่รวมเคมีภัณฑ์ โดยคาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในกลางปี 2556 และส่งข้อมูลไปให้กรมเจรจาฯใช้ในการต่อรองได้” รศ.ภญ.นุศราพร กล่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าการกำหนดประเด็นการประเมินฯเน้นเรื่องใดมากที่สุด รศ.ภญ.นุศราพร กล่าวว่า เนื้อหาการประเมินและมาตรการบรรเทาผลกระทบจะเน้นใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1.การออกประกาศนียบัตรการคุ้มครองเพิ่มเติมให้แก่ผู้ทรงสิทธิ จะส่งผลให้เกิดการชดเชยความล่าช้าในการยื่นขอรับสิทธิบัตรและรออนุญาต ทะเบียนตำรับยา โดยจะขยายอายุสิทธิบัตรของบริษัทยาออกไปทำให้เกิดการผูกขาดทางการค้า 2.การคุ้มครองข้อมูลที่ส่งให้พิจารณาเพื่อขออนุญาตให้วางตลาดผลิตภัณฑ์และ การผูกขาดข้อมูลบ่งใช้ใหม่ จะส่งผลให้เกิดการผูกขาดข้อมูลยา และเพิ่มต้นทุนของบริษัทผลิตยาชื่อสามัญ ที่จะสามารถผลิตยาได้เมื่อสิทธิบัตรหมดอายุ เพราะต้องศึกษาความปลอดภัยและการศึกษาทางคลินิกซ้ำอีกครั้ง ทำให้ยาสามัญมาแข่งขันในตลาดช้าออกไปหรือไม่สามารถเข้าถึงตลาดได้
3.การปฏิบัติตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิบัตรระหว่างประเทศ ในสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง อาทิ Patent Law Treaty หรือ Budapest Treaty เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการพิจารณาเนื้อหาของสนธิสัญญาที่อาจส่งผลต่อการเข้า ถึงยาแล้วนำมาพิจารณาในการวางของเขตการประเมินผลกระทบต่อไป และ 4.การใช้มาตรการ ณ จุดผ่านแดน จะเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการขนส่งยาข้ามประเทศ เพราะเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถตรวจจับและยึดยาที่ต้องสงสัยว่าละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญาได้ อาจส่งผลให้ยาชื่อสามัญที่ถูกกฎหมายถูกยึดและเสียเวลาอยู่ที่คัลงสินค้าแทน ที่จะขนส่งไปถึงปลายทางเพื่อช่วยชีวิตประชาชน
รศ.ภญ.นุศราพร กล่าวอีกว่า มาตรการที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบได้ คือ ต้องเพิ่มการใช้ประโยชน์จากระบบสิทธิบัตรจากประเทศที่มีระบบการบริหารจัดการ ระบบสิทธิบัตรที่ดี เช่น ญี่ปุ่น ต้องเพิ่มข้อกำหนดให้ผู้ที่ยื่นขอรับสิทธิบัตรต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช่การดำเนินการโดยสมัครใจ และผลักดันให้การถ่ายทอดสิทธิบัตรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของเจ้าของสิทธิ บัตรและหน่วยงานในประเทศที่รับจดสิทธิบัตร เป็นต้น
ด้าน ภก.สุชาติ จองประเสริฐ นักวิชาการด้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้มีกลุ่มที่กำลังสร้างความสับสนในเรื่องของข้อมูลให้แก่ผู้มีอำนาจใน การตัดสินใจเรื่อง FTA ไทย-อียู โดยล่าสุดได้มีการส่งหนังสือมายังคณะผู้จัดทำโครงการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ว่า มีการแปลความหมายของสรุปข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป หมวดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงยาคลาดเคลื่อนจากข้อมูล ความจริง โดยระบุว่า อาจทำให้การตัดสินใจของผู้ตอบแบบสอบถามคลาดเคลื่อนไปได้ พร้อมส่งการแปลความหมายที่ถูกต้องแนบมาด้วย และมีการสำเนาถึงนายกรัฐมนตรี รมว.คลัง รมว.พาณิชย์ รมว.สาธารณสุข ฯลฯ
“เชื่อว่า เป็นการกระทำของผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์หากมีการทำ FTA ไทย-อียู เนื่องจากข้อมูลที่ส่งมาถึงนั้นเป็นการหยิบยกข้ออ้างที่ให้ข้อมูลไม่เต็ม เพื่อหนุนสหภาพยุโรป และไม่มีข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ขณะที่คณะผู้จัดทำโครงการประเมินผลกระทบทางสุขภาพฯ มีนักวิจัยที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ประเมิน ฉะนั้น สังคมไทยตอนนี้ต้องไม่หลงประเด็น โดยเฉพาะผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ” ภก.สุชาติ กล่าว
ในการประชุมกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ: ปัญหา อุปสรรค ความท้าทาย กรณีศึกษา การจัดทำ Thai-EU FTA ต่อการเข้าถึงยา ที่อาคารศศนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายจักรชัย โฉมทองดี โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนาสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ กล่าวว่า การจัดทำความตกลงทางการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป นับเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประชาชนมีสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมใน การกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งขณะนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการเปิดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รัฐไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน
“รัฐควรให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนก่อนที่จะมีการเปิดเวทีสาธารณะ อาทิ ร่างก่อการเจรจา ซึ่งควรส่งให้ประชาชนได้เห็นก่อนทำประชาพิจารณ์ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้มีระยะเวลาในการพิจารณาก่อนแสดงความคิดเห็น และเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามหลักรัฐธรรมนูญ แต่ผู้ดำเนินการยังไม่เข้าใจในจุดนี้ แต่เร่งที่จะจัดรับฟังความคิดเห็นและเร่งที่จะเจรจา FTA ไทย-อียู ทั้งที่กรมเจรจาฯยังไม่มีข้อมูลผลดี-ผลเสียในการทำการค้าเสรีครั้งนี้ และไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าผลเสียการผูกขาดด้านยาที่เกิดขึ้นจากการยอม FTA กับการถูกอียูตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อย่างใดที่จะทำให้ประเทศไทยเสียหายมากกว่ากัน” นายจักรชัย กล่าว
นายจักรชัย กล่าวอีกว่า ประเด็นที่น่าห่วงอีกเรื่องหนึ่งคือ มีบางกลุ่มที่ต้องการแก้ไขมาตรา 190 โดยอ้างว่า มาตรา 190 จะทำให้สูญเสียอำนาจการต่อรองในการทำ FTA ไทย-อียู และก่อให้เกิดความล่าช้า เนื่องจากต้องมีการทำประชาพิจารณ์และให้ข้อมูลสาธารณะกับประชาชน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วมาตราดังกล่าวต่างประเทศก็มีการกำหนดไว้เช่นกัน และจากการศึกษาไม่พบว่า ความล่าช้าในการเจรจา FTA เกิดจากมาตรา 190 ที่เป็นกระบวนการภายในประเทศ แต่เกิดจากขั้นตอนที่ทีมเจรจาไม่ได้ตระเตรียมไว้
รศ.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะผู้จัดทำการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) กรณีศึกษาผลกระทบจากความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปต่อการเข้าถึงยา กล่าวว่า พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีการจัดทำ HIA กรณีมีการกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งการทำ HIA เรื่องดังกล่าวจะช่วยประเมินผลว่าการทำ FTA ไทย-อียู จะเกิดผลกระทบในด้านใดบ้าง เพื่อให้ผู้มีอำนาจในการเจรจานำไปใช้เป็นข้อมูลในการต่อรอง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย
รศ.ภญ.นุศราพร กล่าวอีกว่า ขั้นตอนในการทำ HIA มีอยู่ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การคัดกรองปัญหา 2.กำหนดขอบเขตการประเมินผละกระทบสาธารณะ 3.การประเมินโดยนักวิจัย 4.การทบทวนการประเมิน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม 5.การนำเสนอข้อมูลให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจนโยบาย และ 6.การติดตามการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งขณะนี้คณะทำงานเพิ่งเสร็จกระบวนการในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อกังวลต่างๆ ทางสาธารณะจากประชาชนทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ เพื่อนำมากำหนดประเด็นในการประเมินและมาตรการบรรเทาผลกระทบ
“การประเมินฯในครั้งนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน คือตั้งแต่ ต.ค.-ธ.ค.55 โดยกำหนดขอบเขตการประเมินครอบคลุมเฉพาะผลิตภัณฑ์ยาเท่านั้น ไม่รวมเคมีภัณฑ์ โดยคาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในกลางปี 2556 และส่งข้อมูลไปให้กรมเจรจาฯใช้ในการต่อรองได้” รศ.ภญ.นุศราพร กล่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าการกำหนดประเด็นการประเมินฯเน้นเรื่องใดมากที่สุด รศ.ภญ.นุศราพร กล่าวว่า เนื้อหาการประเมินและมาตรการบรรเทาผลกระทบจะเน้นใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1.การออกประกาศนียบัตรการคุ้มครองเพิ่มเติมให้แก่ผู้ทรงสิทธิ จะส่งผลให้เกิดการชดเชยความล่าช้าในการยื่นขอรับสิทธิบัตรและรออนุญาต ทะเบียนตำรับยา โดยจะขยายอายุสิทธิบัตรของบริษัทยาออกไปทำให้เกิดการผูกขาดทางการค้า 2.การคุ้มครองข้อมูลที่ส่งให้พิจารณาเพื่อขออนุญาตให้วางตลาดผลิตภัณฑ์และ การผูกขาดข้อมูลบ่งใช้ใหม่ จะส่งผลให้เกิดการผูกขาดข้อมูลยา และเพิ่มต้นทุนของบริษัทผลิตยาชื่อสามัญ ที่จะสามารถผลิตยาได้เมื่อสิทธิบัตรหมดอายุ เพราะต้องศึกษาความปลอดภัยและการศึกษาทางคลินิกซ้ำอีกครั้ง ทำให้ยาสามัญมาแข่งขันในตลาดช้าออกไปหรือไม่สามารถเข้าถึงตลาดได้
3.การปฏิบัติตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิบัตรระหว่างประเทศ ในสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง อาทิ Patent Law Treaty หรือ Budapest Treaty เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการพิจารณาเนื้อหาของสนธิสัญญาที่อาจส่งผลต่อการเข้า ถึงยาแล้วนำมาพิจารณาในการวางของเขตการประเมินผลกระทบต่อไป และ 4.การใช้มาตรการ ณ จุดผ่านแดน จะเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการขนส่งยาข้ามประเทศ เพราะเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถตรวจจับและยึดยาที่ต้องสงสัยว่าละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญาได้ อาจส่งผลให้ยาชื่อสามัญที่ถูกกฎหมายถูกยึดและเสียเวลาอยู่ที่คัลงสินค้าแทน ที่จะขนส่งไปถึงปลายทางเพื่อช่วยชีวิตประชาชน
รศ.ภญ.นุศราพร กล่าวอีกว่า มาตรการที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบได้ คือ ต้องเพิ่มการใช้ประโยชน์จากระบบสิทธิบัตรจากประเทศที่มีระบบการบริหารจัดการ ระบบสิทธิบัตรที่ดี เช่น ญี่ปุ่น ต้องเพิ่มข้อกำหนดให้ผู้ที่ยื่นขอรับสิทธิบัตรต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช่การดำเนินการโดยสมัครใจ และผลักดันให้การถ่ายทอดสิทธิบัตรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของเจ้าของสิทธิ บัตรและหน่วยงานในประเทศที่รับจดสิทธิบัตร เป็นต้น
ด้าน ภก.สุชาติ จองประเสริฐ นักวิชาการด้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้มีกลุ่มที่กำลังสร้างความสับสนในเรื่องของข้อมูลให้แก่ผู้มีอำนาจใน การตัดสินใจเรื่อง FTA ไทย-อียู โดยล่าสุดได้มีการส่งหนังสือมายังคณะผู้จัดทำโครงการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ว่า มีการแปลความหมายของสรุปข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป หมวดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงยาคลาดเคลื่อนจากข้อมูล ความจริง โดยระบุว่า อาจทำให้การตัดสินใจของผู้ตอบแบบสอบถามคลาดเคลื่อนไปได้ พร้อมส่งการแปลความหมายที่ถูกต้องแนบมาด้วย และมีการสำเนาถึงนายกรัฐมนตรี รมว.คลัง รมว.พาณิชย์ รมว.สาธารณสุข ฯลฯ
“เชื่อว่า เป็นการกระทำของผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์หากมีการทำ FTA ไทย-อียู เนื่องจากข้อมูลที่ส่งมาถึงนั้นเป็นการหยิบยกข้ออ้างที่ให้ข้อมูลไม่เต็ม เพื่อหนุนสหภาพยุโรป และไม่มีข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ขณะที่คณะผู้จัดทำโครงการประเมินผลกระทบทางสุขภาพฯ มีนักวิจัยที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ประเมิน ฉะนั้น สังคมไทยตอนนี้ต้องไม่หลงประเด็น โดยเฉพาะผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ” ภก.สุชาติ กล่าว