เอ็นจีโอจวกกรมทรัพย์สินฯ ไม่พัฒนา อัปเดตข้อมูลช้า เปิดช่องบริษัทยาจดสิทธิบัตรซ้ำซ้อน ทำ อภ.ผลิตยาเองไม่ได้ เตือน รบ.มีจุดยืน อย่าขยายสิทธิบัตรให้ต่างชาติในการเปิดการค้าเสรี หวั่นกระทบการเข้าถึงยาเข้าคนไทย สวนทางนโยบายควบคุมยาของ รบ.
วันนี้ (17 ต.ค.) ที่อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวในการประชุมวิชาการ “ครบรอบ 10 ปี คดีเพิกถอนสิทธิบัตรยาดีดีไอ” ว่า วันที่ 1 ต.ค.55 เป็นวันครบรอบ 10 ปีคำพิพากษาคดีสิทธิบัตรยาดีดีไอ (ยาเอชไอวี) ที่ภาคประชาชนฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา กรณีบริษัท บริสตอล ไมเยอร์ สควิปป์ (บีเอ็มเอส) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่มีความชอบธรรมในการจดสิทธิบัตรยาดีดีไอ เนื่องจากในคำขอกำหนดขนาดของยาไว้ที่ 5-100 มิลลิกรัมต่อหน่วยการใช้ยา ทำให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) หันมาผลิตยาตัวนี้ในขนาดต่างกัน แต่ในสิทธิบัตรไม่ปรากฏขนาดของการใช้ยา ทำให้ขอบเขตครอบคลุมสิทธิบัตรยาเป็นไปอย่างกว้างขวาง กรณีดังกล่าวส่งผลให้ผู้ผลิตรายอื่นไม่สามารถผลิตยานี้ได้ กระทั่งเกิดการฟ้องร้องดำเนินคดี และสุดท้ายบริษัทก็ขอเจรจาด้วยการคืนสิทธิบัตรยา
น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ กล่าวว่า อาจเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม เนื่องจากขณะนี้ อภ.อยู่ระหว่างการวิจัยและผลิตยาต้านไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เป็นสูตรแทนสูตรพื้นฐาน แต่ไม่สามารถผลิตได้ เพราะบริษัทยารายหนึ่งขอขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตยาชนิดนี้แล้ว แต่เนื่องจากเป็นยาสูตรผสมระหว่างยาทีโนโฟเวียร์ และยาเอ็มไตรซิทางบีน ซึ่งไม่ใช่ยาตัวใหม่ เรียกว่า เป็นการจดแบบซ้ำซ้อน หรือสิทธิบัตรไม่มีวันตาย (Evergreening Patent) เป็นเพียงการปรับเพิ่มเติมตัวยาเดิม ที่สำคัญ กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ไม่มีการพัฒนา หรืออัปเดตข้อมูลการขอขึ้นทะเบียนให้รวดเร็ว ทำให้ อภ.ไม่สามารถคัดค้านการขอสิทธิบัตรได้ทันใน 90 วัน
น.ส.สุภัทรา กล่าวอีกว่า เมื่อไทยเข้าสู่การเปิดการค้าเสรียิ่งต้องระวัง รัฐบาลต้องมีจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่มีการปรับเปลี่ยนใดๆ เกี่ยวกับสิทธิบัตรยา เพราะเกี่ยวกับชีวิตคน ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจมีการขอขยายสิทธิบัตรจาก 20 ปี เป็น 30 ปี ซึ่งหากเป็นจริง คนไทยได้รับผลกระทบแน่นอน ในแง่การเข้าถึงยา เพราะยาจะมีราคาแพง สุดท้ายผู้ป่วยอาจเสียชีวิตเร็วและมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ พบว่า ร้อยละ 70 เป็นค่ายา ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายควบคุมยา แต่หากยาราคาแพงก็จะควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ได้ ซึ่งปัญหายาราคาแพง ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทยาผูกขาดนั่นเอง
“น่าสังเกตในการประชุมเอดส์โลกที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ ซึ่งทางบริษัทที่มาขอสิทธิบัตร ได้ติดต่อมายังทางเครือข่ายประชาชน ซึ่งตนได้ไปคุยกับบริษัท โดยบริษัทบอกว่าไม่ทราบว่ามีการยื่นขอจดสิทธิบัตรในไทยเลย ซึ่งมองว่าไทยเป็นเพื่อนที่ดี จึงขอแสดงคำมั่นว่าจะมาถอนสิทธิบัตรในไทย แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งเราก็ต้องเฝ้าระวังต่อไป” น.ส.สุภัทรา กล่าว
นางอัจฉรา เอกแสงศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา อภ.กล่าวว่า ยาเอชไอวีที่ อภ.กำลังผลิตอยู่เป็นยาที่ไม่มีการขอสิทธิบัตรในไทย และเป็นยาตัวเดิม ซึ่งหมดสิทธิบัตร อภ.จึงสามารถผลิตยาชนิดนี้ได้ แต่วันหนึ่งกลับมาทราบว่า บริษัทยามาขอขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และการจะทำหนังสือขอคัดค้านก็ไม่ทัน ทำให้ไม่ทราบว่าสุดท้ายจะผลิตได้จริงหรือต้องยุติ แต่ล่าสุดได้ทำหนังสือคัดค้านไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบเหมือนทางบริษัทจะขอถอนสิทธิดังกล่าว แต่เรื่องยังไม่ชัดเจน เพราะไม่ทราบว่าหากยื่นขอจดสิทธิบัตรแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณา จะถอนได้หรือไม่ และหากถอนได้จริง ก็ไม่มีใครรับประกันว่าบริษัทยาจะยอมถอนจริง ตรงนี้จึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายภาคประชาชนได้รวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้านคำขอจดสิทธิบัตรยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นยาสูตรผสมระหว่างยาทีโนโฟเวียร์ และยาเอ็มไตรซิทางบีน ของบริษัท กิลลีแอด (Gilead) โดยยาทีโนโฟเวียร์ เป็นยาที่ไม่ได้ยื่นสิทธิบัตรในไทย และยาเอ็มไตรซิทางบีน ยื่นแล้ว แต่จะหมดสิทธิบัตรใน 1 ปี อย่างไรก็ตาม จากการยื่นหนังสือเรื่องนี้ จนสุดท้ายทางกรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่มีคำตอบใดๆ เลย
วันนี้ (17 ต.ค.) ที่อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวในการประชุมวิชาการ “ครบรอบ 10 ปี คดีเพิกถอนสิทธิบัตรยาดีดีไอ” ว่า วันที่ 1 ต.ค.55 เป็นวันครบรอบ 10 ปีคำพิพากษาคดีสิทธิบัตรยาดีดีไอ (ยาเอชไอวี) ที่ภาคประชาชนฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา กรณีบริษัท บริสตอล ไมเยอร์ สควิปป์ (บีเอ็มเอส) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่มีความชอบธรรมในการจดสิทธิบัตรยาดีดีไอ เนื่องจากในคำขอกำหนดขนาดของยาไว้ที่ 5-100 มิลลิกรัมต่อหน่วยการใช้ยา ทำให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) หันมาผลิตยาตัวนี้ในขนาดต่างกัน แต่ในสิทธิบัตรไม่ปรากฏขนาดของการใช้ยา ทำให้ขอบเขตครอบคลุมสิทธิบัตรยาเป็นไปอย่างกว้างขวาง กรณีดังกล่าวส่งผลให้ผู้ผลิตรายอื่นไม่สามารถผลิตยานี้ได้ กระทั่งเกิดการฟ้องร้องดำเนินคดี และสุดท้ายบริษัทก็ขอเจรจาด้วยการคืนสิทธิบัตรยา
น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ กล่าวว่า อาจเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม เนื่องจากขณะนี้ อภ.อยู่ระหว่างการวิจัยและผลิตยาต้านไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เป็นสูตรแทนสูตรพื้นฐาน แต่ไม่สามารถผลิตได้ เพราะบริษัทยารายหนึ่งขอขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตยาชนิดนี้แล้ว แต่เนื่องจากเป็นยาสูตรผสมระหว่างยาทีโนโฟเวียร์ และยาเอ็มไตรซิทางบีน ซึ่งไม่ใช่ยาตัวใหม่ เรียกว่า เป็นการจดแบบซ้ำซ้อน หรือสิทธิบัตรไม่มีวันตาย (Evergreening Patent) เป็นเพียงการปรับเพิ่มเติมตัวยาเดิม ที่สำคัญ กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ไม่มีการพัฒนา หรืออัปเดตข้อมูลการขอขึ้นทะเบียนให้รวดเร็ว ทำให้ อภ.ไม่สามารถคัดค้านการขอสิทธิบัตรได้ทันใน 90 วัน
น.ส.สุภัทรา กล่าวอีกว่า เมื่อไทยเข้าสู่การเปิดการค้าเสรียิ่งต้องระวัง รัฐบาลต้องมีจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่มีการปรับเปลี่ยนใดๆ เกี่ยวกับสิทธิบัตรยา เพราะเกี่ยวกับชีวิตคน ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจมีการขอขยายสิทธิบัตรจาก 20 ปี เป็น 30 ปี ซึ่งหากเป็นจริง คนไทยได้รับผลกระทบแน่นอน ในแง่การเข้าถึงยา เพราะยาจะมีราคาแพง สุดท้ายผู้ป่วยอาจเสียชีวิตเร็วและมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ พบว่า ร้อยละ 70 เป็นค่ายา ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายควบคุมยา แต่หากยาราคาแพงก็จะควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ได้ ซึ่งปัญหายาราคาแพง ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทยาผูกขาดนั่นเอง
“น่าสังเกตในการประชุมเอดส์โลกที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ ซึ่งทางบริษัทที่มาขอสิทธิบัตร ได้ติดต่อมายังทางเครือข่ายประชาชน ซึ่งตนได้ไปคุยกับบริษัท โดยบริษัทบอกว่าไม่ทราบว่ามีการยื่นขอจดสิทธิบัตรในไทยเลย ซึ่งมองว่าไทยเป็นเพื่อนที่ดี จึงขอแสดงคำมั่นว่าจะมาถอนสิทธิบัตรในไทย แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งเราก็ต้องเฝ้าระวังต่อไป” น.ส.สุภัทรา กล่าว
นางอัจฉรา เอกแสงศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา อภ.กล่าวว่า ยาเอชไอวีที่ อภ.กำลังผลิตอยู่เป็นยาที่ไม่มีการขอสิทธิบัตรในไทย และเป็นยาตัวเดิม ซึ่งหมดสิทธิบัตร อภ.จึงสามารถผลิตยาชนิดนี้ได้ แต่วันหนึ่งกลับมาทราบว่า บริษัทยามาขอขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และการจะทำหนังสือขอคัดค้านก็ไม่ทัน ทำให้ไม่ทราบว่าสุดท้ายจะผลิตได้จริงหรือต้องยุติ แต่ล่าสุดได้ทำหนังสือคัดค้านไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบเหมือนทางบริษัทจะขอถอนสิทธิดังกล่าว แต่เรื่องยังไม่ชัดเจน เพราะไม่ทราบว่าหากยื่นขอจดสิทธิบัตรแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณา จะถอนได้หรือไม่ และหากถอนได้จริง ก็ไม่มีใครรับประกันว่าบริษัทยาจะยอมถอนจริง ตรงนี้จึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายภาคประชาชนได้รวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้านคำขอจดสิทธิบัตรยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นยาสูตรผสมระหว่างยาทีโนโฟเวียร์ และยาเอ็มไตรซิทางบีน ของบริษัท กิลลีแอด (Gilead) โดยยาทีโนโฟเวียร์ เป็นยาที่ไม่ได้ยื่นสิทธิบัตรในไทย และยาเอ็มไตรซิทางบีน ยื่นแล้ว แต่จะหมดสิทธิบัตรใน 1 ปี อย่างไรก็ตาม จากการยื่นหนังสือเรื่องนี้ จนสุดท้ายทางกรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่มีคำตอบใดๆ เลย