การที่องค์การพิทักษ์สยามโดยเสธ.อ้ายได้ออกมาประกาศต่อสาธารณชน มีการเรียกร้องให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ โดยอ้างสาเหตุการกระทำอันไม่ชอบของรัฐบาลหลายประการ ทั้งในเรื่องการละเว้นไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ในกรณีมีการล่วงละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยละเว้นการบังคับใช้กฎหมายโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุข โดยประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งการละเว้นการบังคับใช้กฎหมายในกรณีดังกล่าวสุ่มเสี่ยงการที่มีจุดมุ่งหมายที่จะทำลายหรือลบล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประการหนึ่ง
เรื่องการที่รัฐบาลไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยด้วยตนเอง แต่เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดประการหนึ่ง รวมทั้งเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นอีกประการหนึ่ง
โดยผู้นำการชุมนุมมีความหวังที่จะมีการรวมตัวกันได้เป็นจำนวนประชาชนหลายแสนถึงจำนวนล้านคน เพื่อใช้สิทธิของประชาชนในการขับไล่รัฐบาล หากมีผู้ชุมนุมกันเป็นจำนวนมากตามเป้าหมายของผู้นำการชุมนุม โดยจะนัดชุมนุมกันในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555
การประกาศชุมนุมขององค์กรพิทักษ์สยามเป็นการเรียกร้องให้ประชาชนมาใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 วรรคแรก ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 วรรคสองได้บัญญัติไว้ว่า “ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎหมายอัยการศึก”
การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ รัฐธรรมนูญใช้บัญญัติห้ามเด็ดขาดว่าจะกระทำมิได้ การจะใช้กฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าว ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น คือในกรณีที่มีการใช้เสรีภาพในที่สาธารณะนั้นแล้ว และมีเหตุเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ
แต่กรณีนี้ยังไม่มีการใช้เสรีภาพในที่สาธารณะที่จะต้องคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะแต่อย่างใด หรือเป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างที่ประเทศอยู่ภาวะสงคราม หรือระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก ทั้งนี้เพื่อที่จะรักษาความสงบเรียบร้อย รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงจะมีอำนาจหน้าที่ที่จะจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนได้
และจากการที่มีข่าวออกมาว่า การที่ต้องประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯก็เพราะมีรายงานจากฝ่ายความมั่นคงว่า ผู้ชุมนุมจะบุกยึดสถานที่ราชการตลอดจนการจับตัวนายกรัฐมนตรีเป็นตัวประกัน ก็เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่า รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในการที่จะคุ้มครองเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุม แต่จะขัดขวางเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของผู้ชุมนุม โดยเพียงเพื่อป้องกันสถานที่ราชการและนายกรัฐมนตรีจากการมีรายงานข่าวเท่านั้น
การออก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯโดยอาศัยเหตุที่อ้างว่า มีความเชื่อมั่นในการใช้เวทีรัฐสภาที่ประกอบด้วยตัวแทนที่มาจากประชาชน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันและความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นวิถีทางที่ถูกต้องตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย และรัฐสภาที่หน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลดังจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในเร็ววันนี้นั้น ก็ยิ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยรัฐบาลไม่มีความประสงค์จะให้ประชาชนใช้เสรีภาพในการชุมนุม โดยสงบและปราศจากอาวุธในที่สาธารณะได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 แต่จะให้มีแต่เฉพาะการใช้เวทีรัฐสภาและเฉพาะแต่สมาชิกรัฐสภาเท่านั้นที่จะดำเนินการทุกอย่างแทนประชาชน หรือตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้เท่านั้น
การใช้กำลังตำรวจ 112 กองร้อย ซึ่งมีจำนวนมาก ( ซึ่งอาจจะมากกว่าผู้เข้าร่วมชุมนุม)เข้าไปในสถานที่ที่ผู้ชุมนุมได้ประกาศเป็นสถานที่ชุมนุมของประชาชนอยู่ก่อนแล้ว มีการประกาศห้ามบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าร่วมในที่ชุมนุม ห้ามผู้ปกครองพาบุตรไปร่วมในการชุมนุม จัดให้มีการตั้งด่านเพื่อตรวจคัดกรองผู้ที่สามารถจะเข้าร่วมชุมนุมได้ ล้วนเป็นการกระทำที่เป็นการขัดขวางการชุมนุมของผู้ร่วมชุมนุมทั้งสิ้น การห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าร่วมการชุมนุม หรือการห้ามผู้ปกครองนำบุตรไปร่วมในการชุมนุม โดยอ้างว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ ผู้ปกครองต้องดูแลให้เด็กเกิดความปลอดภัย และอ้างว่าเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ดูแลให้ความปลอดภัยต่อเด็กนั้น ก็เป็นการอ้างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติมาใช้และล้มล้างสิทธิของบุคคลในครอบครัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 35 ที่พ่อ แม่ ผู้ปกครองสามารถพาบุตรของตนไปในที่ใดก็ได้ การใช้บังคับ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯและการประกาศห้ามดังกล่าวย่อมเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการชุมนุมของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 โดยที่ยังไม่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จึงเป็นการใช้กฎหมายเพื่อขัดขวางการชุมนุมของผู้ชุมนุมที่กำลังจะมีขึ้น อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และเป็นการใช้อำนาจโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 26 , 27 และ 63 กรณีจึงเป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจ หน้าที่ โดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจถูกถอดถอนได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 และอาจเข้าข่ายของการกระทำความผิดอาญาในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบอีกด้วย
23 พ.ย. 55
เรื่องการที่รัฐบาลไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยด้วยตนเอง แต่เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดประการหนึ่ง รวมทั้งเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นอีกประการหนึ่ง
โดยผู้นำการชุมนุมมีความหวังที่จะมีการรวมตัวกันได้เป็นจำนวนประชาชนหลายแสนถึงจำนวนล้านคน เพื่อใช้สิทธิของประชาชนในการขับไล่รัฐบาล หากมีผู้ชุมนุมกันเป็นจำนวนมากตามเป้าหมายของผู้นำการชุมนุม โดยจะนัดชุมนุมกันในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555
การประกาศชุมนุมขององค์กรพิทักษ์สยามเป็นการเรียกร้องให้ประชาชนมาใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 วรรคแรก ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 วรรคสองได้บัญญัติไว้ว่า “ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎหมายอัยการศึก”
การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ รัฐธรรมนูญใช้บัญญัติห้ามเด็ดขาดว่าจะกระทำมิได้ การจะใช้กฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าว ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น คือในกรณีที่มีการใช้เสรีภาพในที่สาธารณะนั้นแล้ว และมีเหตุเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ
แต่กรณีนี้ยังไม่มีการใช้เสรีภาพในที่สาธารณะที่จะต้องคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะแต่อย่างใด หรือเป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างที่ประเทศอยู่ภาวะสงคราม หรือระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก ทั้งนี้เพื่อที่จะรักษาความสงบเรียบร้อย รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงจะมีอำนาจหน้าที่ที่จะจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนได้
และจากการที่มีข่าวออกมาว่า การที่ต้องประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯก็เพราะมีรายงานจากฝ่ายความมั่นคงว่า ผู้ชุมนุมจะบุกยึดสถานที่ราชการตลอดจนการจับตัวนายกรัฐมนตรีเป็นตัวประกัน ก็เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่า รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในการที่จะคุ้มครองเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุม แต่จะขัดขวางเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของผู้ชุมนุม โดยเพียงเพื่อป้องกันสถานที่ราชการและนายกรัฐมนตรีจากการมีรายงานข่าวเท่านั้น
การออก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯโดยอาศัยเหตุที่อ้างว่า มีความเชื่อมั่นในการใช้เวทีรัฐสภาที่ประกอบด้วยตัวแทนที่มาจากประชาชน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันและความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นวิถีทางที่ถูกต้องตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย และรัฐสภาที่หน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลดังจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในเร็ววันนี้นั้น ก็ยิ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยรัฐบาลไม่มีความประสงค์จะให้ประชาชนใช้เสรีภาพในการชุมนุม โดยสงบและปราศจากอาวุธในที่สาธารณะได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 แต่จะให้มีแต่เฉพาะการใช้เวทีรัฐสภาและเฉพาะแต่สมาชิกรัฐสภาเท่านั้นที่จะดำเนินการทุกอย่างแทนประชาชน หรือตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้เท่านั้น
การใช้กำลังตำรวจ 112 กองร้อย ซึ่งมีจำนวนมาก ( ซึ่งอาจจะมากกว่าผู้เข้าร่วมชุมนุม)เข้าไปในสถานที่ที่ผู้ชุมนุมได้ประกาศเป็นสถานที่ชุมนุมของประชาชนอยู่ก่อนแล้ว มีการประกาศห้ามบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าร่วมในที่ชุมนุม ห้ามผู้ปกครองพาบุตรไปร่วมในการชุมนุม จัดให้มีการตั้งด่านเพื่อตรวจคัดกรองผู้ที่สามารถจะเข้าร่วมชุมนุมได้ ล้วนเป็นการกระทำที่เป็นการขัดขวางการชุมนุมของผู้ร่วมชุมนุมทั้งสิ้น การห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าร่วมการชุมนุม หรือการห้ามผู้ปกครองนำบุตรไปร่วมในการชุมนุม โดยอ้างว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ ผู้ปกครองต้องดูแลให้เด็กเกิดความปลอดภัย และอ้างว่าเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ดูแลให้ความปลอดภัยต่อเด็กนั้น ก็เป็นการอ้างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติมาใช้และล้มล้างสิทธิของบุคคลในครอบครัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 35 ที่พ่อ แม่ ผู้ปกครองสามารถพาบุตรของตนไปในที่ใดก็ได้ การใช้บังคับ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯและการประกาศห้ามดังกล่าวย่อมเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการชุมนุมของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 โดยที่ยังไม่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จึงเป็นการใช้กฎหมายเพื่อขัดขวางการชุมนุมของผู้ชุมนุมที่กำลังจะมีขึ้น อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และเป็นการใช้อำนาจโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 26 , 27 และ 63 กรณีจึงเป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจ หน้าที่ โดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจถูกถอดถอนได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 และอาจเข้าข่ายของการกระทำความผิดอาญาในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบอีกด้วย
23 พ.ย. 55