วานนี้ (21พ.ย.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) เปิดเผยหลังการประชุมวิปวุฒิสภา ว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดการประชุมเพื่ออภิปรายรัฐบาลโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ในวันที่ 23 พ.ย. ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ถึงเวลาประมาณ 20.00 น. และในวันที่ 28 พ.ย. หลังจากการลงมติ ในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ของสภาผู้แทนราษฎร ไปจนถึงเวลา 24.00 น. นอกจากนั้นแล้วได้ให้ประธานวุฒิสภา ทำหนังสือไปยังรัฐบาลว่า วุฒิสภาจะมีการจัดประชุมในวันดังกล่าว
ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นรัฐบาลแจ้งว่าไม่สะดวกที่จะเข้าร่วมการประชุม หากจัดให้มีการอภิปรายในวันที่ 23 พ.ย. ซึ่งตนมองว่ารัฐบาลมีรัฐมนตรีที่ไม่ได้ติดราชการหลายคน อาจจะส่งเป็นตัวแทนเข้าร่วมได้
นายคำนูณ กล่าวว่า ในการอภิปรายได้จัดกลุ่มอภิปราย จำนวน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ปัญหาโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาล และ พืชผลสินค้าเกษตรอื่นๆ 2. ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3. การบริหารจัดการน้ำ เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง และ 4. เรื่องการบริหารราชการอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยว การศึกษา ยาเสพติด
ทั้งนี้คาดว่าจะมีส.ว.ลงชื่ออภิปรายประมาณ 50-60 คน เบื้องต้นจะให้ใช้เวลาอภิปรายคนละ 10 นาที ส่วนผู้ที่จะแถลงเปิด และปิดญัตตินั้น จะให้เวลาคนละ 30 นาที
**"ปู"เรียกครม.ถกด่วนเตรียมรับมือ
ด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมรัฐมนตรี ในส่วนของพรรคเพื่อไทย และ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล เข้าหารือเป็นการด่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมว่า จากการที่นายกฯ มีภารกิจต้อนรับผู้นำประเทศ และเดินทางไปประชุมต่างประเทศต่อเนื่อง ทำให้ไม่มีโอกาส หารือ ซักซ้อมทำความเข้าใจกับครม.เกี่ยวกับงานในสภาฯ ซึ่งจะมี 2 วาระ คือ ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจสภาผู้แทนราษฎร แลญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไปของวุฒิสภา จึงเชิญรมต.ที่เกี่ยวข้องมาหารือ เพื่อกำหนดแนวทาง ซักซ้อมกับรมต.ที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และรมต.ที่ไม่ถูกอภิปราย เพราะอาจจะมีงานที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ ที่ฝ่ายค้านได้ยื่นญัตติไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการชี้แจง
ทั้งนี้ในส่วนของเนื้อหาสาระได้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละท่าน ไปเตรียมข้อมูล ซึ่งนายกฯไม่หนักใจอะไร เพียงแต่ต้องการให้เกิดประสิทธิภาพในการประชุมสภาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีข้อสงสัยของฝ่ายค้านจะได้ตอบให้ชัดเจน
เมื่อถามว่า ในการอภิปรายของฝ่ายค้าน นายกฯ ยืนยันหรือไม่ว่า จะชี้แจงด้วยตัวเอง นายวราเทพ กล่าวว่า เรื่องนี้ชัดเจนอยู่แล้วว่านายกฯ จะชี้แจงเอง แต่ต้องดูประเด็นของฝ่ายค้านด้วย ถ้าเป็นเรื่องรายละเอียดที่ลึกไปกว่าการกำกับ และสั่งการโดยนโยบายของนายกฯ ก็ต้องให้รมต.ที่รับผิดชอบ ชี้แจง อย่างไรก็ตามยืนยันว่า รัฐบาลมีความพร้อมในการชี้แจง 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างน้อย นายกฯคงมีเวลาในวันที่ 24 พ.ย. ในการเตรียมความพร้อม
ส่วนวันที่วุฒิสภาจะอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยไม่มีการลงมตินั้น ตนได้พูดคุยกับประธานวุฒิสภาแล้ว ทางประธานวุฒิสภา ขออภิปรายในวันที่ 23 พ.ย. เวลา 13.00-20.00 น. แต่จะหยุดวันที่ 24 พ.ย. และจะไปอภิปรายอีกครั้ง ในวันที่ 28 พ.ย. เวลา 11.30-24.00 น. ซึ่งวันที่ 28 พ.ย. ถือเป็นความต้องการตรงกัน โดยนายกฯและคณะ จะไปชี้แจงด้วยตัวเอง ส่วนวันที่ 23 พ.ย. ที่ประชุมครม.เห็นว่า เมื่อส.ว.ยืนยันจะอภิปราย วันที่ 23 พ.ย. ก็จะขอความร่วมมือไปถึงรมต. ที่มีความสะดวกในวันที่ 23 พ.ย. หรือ รมต.ที่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไปร่วมฟังการฟังอภิปรายของส.ว. แต่ไม่มั่นใจว่านายกฯจะไปได้หรือไม่ แต่วันที่ 28 พ.ย. นายกฯ ไปฟังแน่
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า การอภิปรายของวุฒิสภา ทำหน้าที่ของฝ่ายที่เป็นพี่เลี้ยง จะเปิดประเด็นอะไรก็แล้วแต่ ส่วนใหญ่จะเป็นการให้คำแนะนำรัฐบาล นายกฯจึงสั่งให้ความร่วมมือกับวุฒิสภาเต็มที่ ในส่วนของรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ติดภารกิจ เบื้องต้นจะมี นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และรมว.ศึกษาฯ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ และ รัฐมนตรีที่ไม่ติดภารกิจ ก็พร้อมเข้ารับฟังข้อเสนอแนะ
ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน นายกฯ ได้ถามเพื่อให้เกิดความชัดเจนเรื่องเวลา ที่วิปรัฐบาล และฝ่ายค้านได้หารือกัน ตนยืนยันไปแล้วว่ารัฐบาลให้เวลาฝ่ายค้าน 30 ชั่วโมง ไม่ได้ปิดกั้น เพื่อให้เกิดการตรวจสอบตามระบอบประชาธิปไตย ไม่มีเหตุผลที่จะไปเคลื่อนม็อบ นี่คือสิ่งที่เราให้เต็มที่ในระบอบ ทั้งนี้มั่นใจว่านายกฯ และรัฐมนตรี ชี้แจงการอภิปรายได้ คงไม่มีปัญหาเรื่องการตอบ ยืนยันไม่มีการตั้งองครักษ์ ถ้าฝ่ายค้านไม่พาดพิงให้ผู้อื่นเสียหาย ก็ไม่มีโอกาสที่จะประท้วงได้
**ฝ่ายค้านมั่นใจข้อมูลถล่มรัฐบาล
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 – 27 พ.ย. นี้ว่า มีการเตรียมข้อมูลที่จะใช้ในการอภิปรายครบถ้วนแล้ว ขณะนี้ได้พยายามตัดประเด็นบางประเด็นที่คิดว่าไม่จำเป็นออกไป และจะอภิปรายเฉพาะประเด็นที่คิดว่าจำเป็นจะต้องใช้เท่านั้น จะพยายามให้กระชับที่สุด โดยจัดผู้อภิปรายไว้ประมาณ 20 คน และอาจจะมีประเด็นใหม่เพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า เพราะมีประชาชนส่งข้อมูลเข้ามาให้เพิ่มเติมจำนวนหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับ และตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งเข้ามานั้น เป็นอย่างไร
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ข้อมูลเรื่องทุจริต ผิดกฎหมาย นั้นมีอยู่แล้ว เป็นประเด็นที่จะนำไปสู่การยื่นถอดถอนต่อประธานวุฒิสภา ซึ่งรายละเอียดจะได้แถลงให้ทราบในสภาต่อไป สำหรับเรื่องที่ ส.ว. จะอภิปรายก่อนนั้น ไม่มีความกังวล ตรงกันข้าม กลับสนับสนุนให้ ส.ว.ได้ปฏิบัติหน้าที่
เมื่อถามว่า รู้สึกกังวลหรือไม่ ที่ในวันอภิปรายจะมีการชุมนุม ซึ่งประธานสภา อาจให้ความสนใจกับการชุมนุมมากกว่าการรับฟังเนื้อหาในการอภิปราย นายจุรินทร์ กล่าวว่า ไม่รู้สึกกังวล เพราะถือเป็นการทำหน้าที่ การชุมนุมเป็นเรื่องของการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย ของประชาชน เรามีหน้าที่ทำหน้าที่ในสภา
สำหรับข่าวลือเรื่องการชุมนุม ทั้งเรื่องที่มีระเบิด หรือแดงเทียมเข้ามาป่วนนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะต้องดูแลให้เกิดความเรียบร้อย ที่สำคัญรัฐบาลจะต้องดูแลผู้ใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย อย่างตรงไปตรงมา และต้องระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความเสียหาย และความสูญเสีย
**"ค้อนปลอม"ห่วงการเมืองนอกสภาฯ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า เป็นกังวลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของประธานในที่ประชุมสภาฯ ช่วงมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่จะไม่มีความเป็นกลางว่า ขอให้ทุกฝ่ายสบายใจ เพราะตนทำหน้าที่เป็นกลางอย่างชัดเจน ส่วนที่ยังมีคนกล่าวหาว่า ไม่เป็นกลางนั้น เป็นการกล่าวหาลอยๆ อันที่จริงตนได้ทำหน้าที่อย่างเป็นกลางมาโดยตลอด ขอยืนยันว่าจะไม่เอาตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ ไปเอาเปรียบใคร ส่วนการดูแลการประชุมนั้น มีข้อบังคับที่ดูแลอยู่แล้ว ดังนั้นกรณีที่จะมีการประท้วงนอกกรอบ คงไม่สามารถทำได้
เมื่อถามถึงการประเมินสถานการณ์ การชุมนุมวันที่ 24 พ.ย. ที่หลายฝ่ายยังคงกังวลว่าจะยืดเยื้อมาถึงวันที่ 25 พ.ย. ซึ่งเป็นวันอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ได้กำชับให้บุคคลที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ขอให้รายงานตรงกับตน นอกจากนั้นแล้วได้กำชับให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ ไม่ประมาท และอย่าชะล่าใจ หากมีอะไรขอให้รีบรายงานถึงตน
ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นรัฐบาลแจ้งว่าไม่สะดวกที่จะเข้าร่วมการประชุม หากจัดให้มีการอภิปรายในวันที่ 23 พ.ย. ซึ่งตนมองว่ารัฐบาลมีรัฐมนตรีที่ไม่ได้ติดราชการหลายคน อาจจะส่งเป็นตัวแทนเข้าร่วมได้
นายคำนูณ กล่าวว่า ในการอภิปรายได้จัดกลุ่มอภิปราย จำนวน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ปัญหาโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาล และ พืชผลสินค้าเกษตรอื่นๆ 2. ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3. การบริหารจัดการน้ำ เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง และ 4. เรื่องการบริหารราชการอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยว การศึกษา ยาเสพติด
ทั้งนี้คาดว่าจะมีส.ว.ลงชื่ออภิปรายประมาณ 50-60 คน เบื้องต้นจะให้ใช้เวลาอภิปรายคนละ 10 นาที ส่วนผู้ที่จะแถลงเปิด และปิดญัตตินั้น จะให้เวลาคนละ 30 นาที
**"ปู"เรียกครม.ถกด่วนเตรียมรับมือ
ด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมรัฐมนตรี ในส่วนของพรรคเพื่อไทย และ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล เข้าหารือเป็นการด่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมว่า จากการที่นายกฯ มีภารกิจต้อนรับผู้นำประเทศ และเดินทางไปประชุมต่างประเทศต่อเนื่อง ทำให้ไม่มีโอกาส หารือ ซักซ้อมทำความเข้าใจกับครม.เกี่ยวกับงานในสภาฯ ซึ่งจะมี 2 วาระ คือ ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจสภาผู้แทนราษฎร แลญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไปของวุฒิสภา จึงเชิญรมต.ที่เกี่ยวข้องมาหารือ เพื่อกำหนดแนวทาง ซักซ้อมกับรมต.ที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และรมต.ที่ไม่ถูกอภิปราย เพราะอาจจะมีงานที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ ที่ฝ่ายค้านได้ยื่นญัตติไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการชี้แจง
ทั้งนี้ในส่วนของเนื้อหาสาระได้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละท่าน ไปเตรียมข้อมูล ซึ่งนายกฯไม่หนักใจอะไร เพียงแต่ต้องการให้เกิดประสิทธิภาพในการประชุมสภาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีข้อสงสัยของฝ่ายค้านจะได้ตอบให้ชัดเจน
เมื่อถามว่า ในการอภิปรายของฝ่ายค้าน นายกฯ ยืนยันหรือไม่ว่า จะชี้แจงด้วยตัวเอง นายวราเทพ กล่าวว่า เรื่องนี้ชัดเจนอยู่แล้วว่านายกฯ จะชี้แจงเอง แต่ต้องดูประเด็นของฝ่ายค้านด้วย ถ้าเป็นเรื่องรายละเอียดที่ลึกไปกว่าการกำกับ และสั่งการโดยนโยบายของนายกฯ ก็ต้องให้รมต.ที่รับผิดชอบ ชี้แจง อย่างไรก็ตามยืนยันว่า รัฐบาลมีความพร้อมในการชี้แจง 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างน้อย นายกฯคงมีเวลาในวันที่ 24 พ.ย. ในการเตรียมความพร้อม
ส่วนวันที่วุฒิสภาจะอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยไม่มีการลงมตินั้น ตนได้พูดคุยกับประธานวุฒิสภาแล้ว ทางประธานวุฒิสภา ขออภิปรายในวันที่ 23 พ.ย. เวลา 13.00-20.00 น. แต่จะหยุดวันที่ 24 พ.ย. และจะไปอภิปรายอีกครั้ง ในวันที่ 28 พ.ย. เวลา 11.30-24.00 น. ซึ่งวันที่ 28 พ.ย. ถือเป็นความต้องการตรงกัน โดยนายกฯและคณะ จะไปชี้แจงด้วยตัวเอง ส่วนวันที่ 23 พ.ย. ที่ประชุมครม.เห็นว่า เมื่อส.ว.ยืนยันจะอภิปราย วันที่ 23 พ.ย. ก็จะขอความร่วมมือไปถึงรมต. ที่มีความสะดวกในวันที่ 23 พ.ย. หรือ รมต.ที่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไปร่วมฟังการฟังอภิปรายของส.ว. แต่ไม่มั่นใจว่านายกฯจะไปได้หรือไม่ แต่วันที่ 28 พ.ย. นายกฯ ไปฟังแน่
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า การอภิปรายของวุฒิสภา ทำหน้าที่ของฝ่ายที่เป็นพี่เลี้ยง จะเปิดประเด็นอะไรก็แล้วแต่ ส่วนใหญ่จะเป็นการให้คำแนะนำรัฐบาล นายกฯจึงสั่งให้ความร่วมมือกับวุฒิสภาเต็มที่ ในส่วนของรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ติดภารกิจ เบื้องต้นจะมี นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และรมว.ศึกษาฯ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ และ รัฐมนตรีที่ไม่ติดภารกิจ ก็พร้อมเข้ารับฟังข้อเสนอแนะ
ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน นายกฯ ได้ถามเพื่อให้เกิดความชัดเจนเรื่องเวลา ที่วิปรัฐบาล และฝ่ายค้านได้หารือกัน ตนยืนยันไปแล้วว่ารัฐบาลให้เวลาฝ่ายค้าน 30 ชั่วโมง ไม่ได้ปิดกั้น เพื่อให้เกิดการตรวจสอบตามระบอบประชาธิปไตย ไม่มีเหตุผลที่จะไปเคลื่อนม็อบ นี่คือสิ่งที่เราให้เต็มที่ในระบอบ ทั้งนี้มั่นใจว่านายกฯ และรัฐมนตรี ชี้แจงการอภิปรายได้ คงไม่มีปัญหาเรื่องการตอบ ยืนยันไม่มีการตั้งองครักษ์ ถ้าฝ่ายค้านไม่พาดพิงให้ผู้อื่นเสียหาย ก็ไม่มีโอกาสที่จะประท้วงได้
**ฝ่ายค้านมั่นใจข้อมูลถล่มรัฐบาล
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 – 27 พ.ย. นี้ว่า มีการเตรียมข้อมูลที่จะใช้ในการอภิปรายครบถ้วนแล้ว ขณะนี้ได้พยายามตัดประเด็นบางประเด็นที่คิดว่าไม่จำเป็นออกไป และจะอภิปรายเฉพาะประเด็นที่คิดว่าจำเป็นจะต้องใช้เท่านั้น จะพยายามให้กระชับที่สุด โดยจัดผู้อภิปรายไว้ประมาณ 20 คน และอาจจะมีประเด็นใหม่เพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า เพราะมีประชาชนส่งข้อมูลเข้ามาให้เพิ่มเติมจำนวนหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับ และตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งเข้ามานั้น เป็นอย่างไร
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ข้อมูลเรื่องทุจริต ผิดกฎหมาย นั้นมีอยู่แล้ว เป็นประเด็นที่จะนำไปสู่การยื่นถอดถอนต่อประธานวุฒิสภา ซึ่งรายละเอียดจะได้แถลงให้ทราบในสภาต่อไป สำหรับเรื่องที่ ส.ว. จะอภิปรายก่อนนั้น ไม่มีความกังวล ตรงกันข้าม กลับสนับสนุนให้ ส.ว.ได้ปฏิบัติหน้าที่
เมื่อถามว่า รู้สึกกังวลหรือไม่ ที่ในวันอภิปรายจะมีการชุมนุม ซึ่งประธานสภา อาจให้ความสนใจกับการชุมนุมมากกว่าการรับฟังเนื้อหาในการอภิปราย นายจุรินทร์ กล่าวว่า ไม่รู้สึกกังวล เพราะถือเป็นการทำหน้าที่ การชุมนุมเป็นเรื่องของการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย ของประชาชน เรามีหน้าที่ทำหน้าที่ในสภา
สำหรับข่าวลือเรื่องการชุมนุม ทั้งเรื่องที่มีระเบิด หรือแดงเทียมเข้ามาป่วนนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะต้องดูแลให้เกิดความเรียบร้อย ที่สำคัญรัฐบาลจะต้องดูแลผู้ใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย อย่างตรงไปตรงมา และต้องระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความเสียหาย และความสูญเสีย
**"ค้อนปลอม"ห่วงการเมืองนอกสภาฯ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า เป็นกังวลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของประธานในที่ประชุมสภาฯ ช่วงมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่จะไม่มีความเป็นกลางว่า ขอให้ทุกฝ่ายสบายใจ เพราะตนทำหน้าที่เป็นกลางอย่างชัดเจน ส่วนที่ยังมีคนกล่าวหาว่า ไม่เป็นกลางนั้น เป็นการกล่าวหาลอยๆ อันที่จริงตนได้ทำหน้าที่อย่างเป็นกลางมาโดยตลอด ขอยืนยันว่าจะไม่เอาตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ ไปเอาเปรียบใคร ส่วนการดูแลการประชุมนั้น มีข้อบังคับที่ดูแลอยู่แล้ว ดังนั้นกรณีที่จะมีการประท้วงนอกกรอบ คงไม่สามารถทำได้
เมื่อถามถึงการประเมินสถานการณ์ การชุมนุมวันที่ 24 พ.ย. ที่หลายฝ่ายยังคงกังวลว่าจะยืดเยื้อมาถึงวันที่ 25 พ.ย. ซึ่งเป็นวันอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ได้กำชับให้บุคคลที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ขอให้รายงานตรงกับตน นอกจากนั้นแล้วได้กำชับให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ ไม่ประมาท และอย่าชะล่าใจ หากมีอะไรขอให้รีบรายงานถึงตน