นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ของฝ่ายค้านที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ว่า ไม่แน่ใจว่าฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายตนด้วยหรือไม่ ก็อยากท้าให้เอาเลย เดี๋ยวจะตกขบวน ฝ่ายค้านอยากอภิปรายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ต้องพุ่งเป้ามาที่ตน แต่ก็อยากเตือนว่า คุณก็ต้องตอบสังคมให้ได้เหมือนกัน เดี๋ยวจะหาว่า "หล่อไม่เตือน" ตนยินดีตอบทุกเรื่อง ทุกคำถาม เพราะได้เตรียมทุกอย่างไว้แล้ว ฟังตนตอบแล้วจะหนาว ส่วนตัวคิดว่าภาพรวมการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะเกิดขึ้น คงไม่มีอะไร เพราะประชาชนไม่ให้ราคา เขารู้ว่าพรรคประชาธิปัตย์เล่นการเมืองอย่างไร ทั้งนี้น่าสงสัยว่าม็อบที่มาชุมนุมที่สนามม้านางเลิ้ง เป็นขบวนการเดียวกันหรือไม่ น่าจะเป็นการเรียกแขกก่อนการอภิปราย แต่นั่นแสดงว่าการอภิปรายจะกร่อยหรือเปล่า ส่วนตัวคิดว่าม็อบดังกล่าวไม่มีอะไรใหม่ เพราะคนรู้ทันหมดแล้ว
**ตั้งวอร์รูมสกัดเกมป่วนฝ่ายค้าน
นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาโหมโรงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยดูถูกดูแคลน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั้น ตนยืนยันว่านายกฯไม่เคยกลัวการอภิปรายของฝ่ายค้านหากนำข้อเท็จจริงที่ไร้การปรุงแต่งมาพูด กลัวแต่ว่าจะนำเรื่องเท็จมาปั้นน้ำเป็นตัว ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น ตนในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีร่วมครม.ชุดนี้ จะออกมาท้วงติงอย่างแน่นอน จะไม่เปิดโอกาสได้ใช้พฤติกรรมกระดาษแผ่นเดียวเหมือนในอดีต รวมทั้งจะคอยจับตาการพาดพิงไปถึงบุคคลอื่นที่อยู่นอกสภา โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วย
สำหรับการอภิปรายประเด็นทุจริตนั้น จะต้องมีการยื่นหลักฐานไว้ก่อนตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ หากมีการพูดเกินเลยนอกเหนือกว่านั้น เราไม่ยอมแน่ ทั้งนี้ตนจะตั้งวอร์รูมเล็กๆ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและกรองสถานการณ์ของฝ่ายค้าน การที่ตนมานั่งอยู่ตรงนี้ ทำให้การประสานงานง่ายขึ้น รับรองว่ามีตนอยู่นายกฯ สบายหายห่วง
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าที่ฝ่ายค้านบอกว่าอุบไต๋ข้อมูลการอภิปรายไว้ก่อนนั้น ตนเห็นว่า เป็นเพราะไม่มีข้อมูล มีเพียงราคาคุย ตอนนี้ทราบว่ากำลังพยายามไปหาข้อมูลจากคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ จากข้าราชการ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถึงวันนี้ยังไม่มีอะไรใหม่ กรณีที่เคยตีปี๊บเรื่องไซฟ่อนเงิน ทุจริตงบน้ำท่วม สุดท้ายก็แค่การกุข่าว
นอกจากนี้ อยากฝากไปถึงพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะต้องยื่นรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ แนบท้ายญัตติการอภิปรายครั้งนี้ว่า การจะเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น มีความเหมาะสม และสง่างามหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้นายอภิสิทธิ์ ยังถูกกล่าวหาว่าไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร ใช้เอกสารเท็จ ในการเข้ารับราชการ การจะซักฟอกคนอื่น ควรฟอกตัวเองให้สะอาดก่อนดีกว่าหรือไม่
**ให้ซักฟอก25-26พ.ย.ลงมติ27 พ.ย.
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า จากการหารือกับวิปฝ่ายค้าน เห็นตรงกันว่า วัน เวลาที่เหมาะสมในการอภิปราย คือ วันที่ 26-27 พ.ย. ซึ่งฝ่ายค้านก็พยายามที่จะบริหารเวลาให้อยู่ในกรอบการอภิปรายอย่างกระชับ เบื้องต้นขอให้กรอบการอภิปรายอยู่ภายใน 2 วัน เพราะหากไม่ทันจริงๆ ก็จะทำให้มีปัญหาในวันที่ 28 พ.ย. ต่อการปิดสมัยประชุมสมัยสามัญทั่วไป แต่เพื่อความรอบคอบในการทำหน้าที่ กรอบระยะเวลา จึงกำหนดใหม่ ให้อภิปรายในวันที่ 25-26 พ.ย. และลงมติในวันที่ 27 พ.ย. ส่วนวันที่ 28 พ.ย. ก็จะประสานงานให้วุฒิสภา ได้อภิปรายทั่วไปรัฐบาลโดยไม่ลงมติ แต่หากการอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่สามารถเสร็จทันได้ภายใน 2 วัน ก็จะให้ลงมติในช่วงเช้าวันที่ 28 พ.ย. และช่วงบ่าย ให้วุฒิสภาอภิปรายทั่วไป โดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ ม.161
**"ปู"ต้องอยู่ฟังอย่าทำตัวเหมือน"แม้ว"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกระแสข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อาจจะมีเวลาอยู่ฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเพียงวันเดียว ว่า ตนจะคุยกับนายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล เพราะเห็นว่าไม่ควรมีปัญหาแบบนี้ เพราะได้ทำความเข้าใจกันไปแล้ว
ทั้งนี้ตนเชื่อว่านายกรัฐมนตรี สามารถจัดลำดับความสำคัญเกี่ยวกับภารกิจ และความรับผิดชอบต่อสภา เพราะวิปรัฐบาลเคยยืนยันกับตนไว้แล้วว่า ช่วงวันที่ 25-28 พ.ย. 55 นายกฯ ไม่มีกำหนดการเดินทางไปต่างประเทศ เพราะฉะนั้นต้องจัดเวลาได้ จะอ้างว่าติดภารกิจแล้วไม่อยู่ฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจในห้องประชุมสภาคงไม่ได้
" จะได้เป็นการพิสูจน์กันไปว่า รัฐบาลนี้และพรรคเพื่อไทย ตกลงเชื่อในระบบรัฐสภา และเชื่อในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ภารกิจแบบนี้ปีหนึ่งมีวันสองวัน ถ้าไม่สามารถให้ความสำคัญได้ก็จะเป็นเรื่องที่แปลก ตามกรอบเวลาที่กำหนด วันที่ 28 พ.ย.ลงมติครึ่งชั่วโมงก็เสร็จ จากนั้นจะให้วุฒิสภาอภิปรายต่อก็ได้ ไม่มีปัญหาอะไร แต่จะให้ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจวันเดียวไม่พอ ผมหวังว่าจะไม่มีการประท้วงมากจนเกินไป และเหตุผลที่คิดว่าการอภิปรายวันเดียวเป็นไปไม่ได้ น่าจะมีขบวนการเตรียมประท้วงอยู่ ผมอยากให้รัฐบาลใช้บรรทัดฐานของการเคารพต่อะะบบรัฐสภา นายกฯ เพิ่งบอกผู้ชุมนุมว่ามีอะไรให้ตรวจสอบในสภา แต่นายกฯ จะออกจากสภาไปเองก็เท่ากับว่ารัฐบาลไม่เปิดโอกาสให้สภาทำงาน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การทำความเข้าใจกับระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เรื่องสลับซับซ้อน และเป็นเรื่องที่ปฏิบัติกันมาทุกยุคทุกสมัย ตนไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมยุคนี้ หรือนายกฯคนนี้จะปฏิบัติไม่ได้ ทั้งนี้แนวปฏิบัติของน.ส.ยิ่งลักษณ์ คล้ายๆ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชาย ซึ่งตนก็มีความเป็นห่วงว่า ถ้าในสภาใช้เป็นเวทีในการแก้ปัญหาไม่ได้ ก็จะเป็นความเสี่ยงว่าต่อไปการเมืองจะมีปัญหาออกไปนอกสภาสู่ท้องถนนมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเคยเตือน พ.ต.ท.ทักษิณตั้งแต่ก่อนปี 48-49 จึงหวังว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะไม่ซ้ำรอยรัฐบาลทักษิณ เพราะอยากให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า ตนยังยืนยันว่า ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องมีการรัฐประหาร เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็มีความรับผิดชอบร่วมกับฝ่ายค้านในการประคับประคองระบบรัฐสภาให้เดินไปได้
**"เป็ด"โวไม่จำเป็นต้องมีองครักษ์พิทักษ์"ปู"
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณที่ฝ่ายค้านออกตั้งข้อสังเกตว่า นายกรัฐมนตรีต้องการจะหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา ว่า เรื่องอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตนคงไม่ต้องช่วยนายกฯ เพราะท่านเป็นคนเก่งอยู่แล้ว และท่านก็บอกว่าพร้อมชี้แจง ตนยังมีความเชื่อลึกๆว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คงได้แต่วาทกรรม
ทั้งนี้ เชื่อว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่สามารถล้มรัฐบาลได้ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีข้อมูลอะไร เรื่องทุจริตรับจำนำข้าว ก็ให้คนไปตรวจในหลายจังหวัด ก็ไม่มี ส่วนที่ จ.นครราชสีมา ก็ดำเนินคดีไปแล้ว
เมื่อถามว่า หากมีการพุ่งเป้าไปที่นายกฯจะต้องมีการตั้งองครักษ์หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่ต้อง เพราะนายกฯเป็นคนเก่ง จบรัฐศาสตรบัณทิต และรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ทางการเมืองโดยตรง ไม่ใช่จบอ็อกฟอร์ดอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อถามว่า จะเป็นตัวหลักในการช่วยนายกฯชี้แจงในสภาหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่เป็น เพราะหากฝ่ายค้านไม่พาดพิงถึง ตนก็พูดไม่ได้ แต่ถ้าจะใส่ชื่อตนในญัตติก็ได้ ส่วนถ้าใส่ชื่อนายกฯคนเดียว โดยไม่มีชื่อตน ก็ต้องนั่งดู
เมื่อถามอีกว่า แต่นายกฯก็ยังใหม่ในทางการเมือง จะน่าเป็นห่วงหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ใครบอกนายกฯใหม่ เป็นนายกฯมาแล้ว 1 ปี 2 เดือน เก่ง ไปห่วงนายกฯทำไม ท่านเป็นผู้นำประเทศ ห่วงฝ่ายค้านที่จะค้านซึม เมื่อถามย้ำว่า ฝ่ายค้านห่วงว่านายกฯจะไม่อยู่ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รองนายกฯ กล่าวว่า นายกฯเซ็ตโปรแกรมแล้ว ท่านอยู่ ฝ่ายค้านก็พูดไป
**ส.ว.ขอเวลาอภิปรายรัฐบาล 2 วัน
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจกรวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) เปิดเผยว่า มติที่ประชุมวิปวุฒิสภา ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ วันที่ 28 พ.ย. เป็นวันอภิปรายทั่วไปคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ซึ่งวุฒิสภาได้ยื่นเสนอญัตติ โดยหลังจากนี้จะให้นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานวิปวุฒิสภา ทำหนังสือถึงรัฐบาล ต่อประเด็นดังกล่าว โดยมีหลักการคือ ขอให้มีการเปิดอภิปรายก่อนการญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ของพรรคฝ่ายค้าน และขอเวลาจำนวน 2 วัน โดยจะต้องไม่เป็นวันที่กระทบต่อภาระงานของวุฒิสภา โดยได้ยื่นกรอบเวลาให้เลือก คือวันที่ 16 – 17 พ.ย. หรือ วันที่ 23 – 24 พ.ย.
ส่วนประเด็นที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ มีภารกิจที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ในช่วงเดือนพ.ย. นั้น ส่วนตัวมองว่า ไม่มีความจำเป็นที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องมานั่งรับฟังการอภิปรายของสมาชิกวุฒิสภาโดยตลอด เพียงแค่มอบหมายให้รองนายกฯ หรือ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมารับฟังการอภิปรายและข้อเสนอแนะเท่านั้นก็เพียงพอ
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า หากรัฐบาลจัดสรรเวลาให้อภิปรายในวันที่ 28 พ.ย. หรือเพียง 1 วัน ก่อนที่จะปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไป คงไม่เหมาะสม เพราะจำนวนของส.ว. ที่จะอภิปรายมีมากกว่า 100 คน อย่างน้อยต้องให้เวลาประมาณ 2 วัน อย่างไรก็ตาม ตนเห็นควรว่ารัฐบาลควรขยายเวลาปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไปอีกประมาณ 1 วัน
**ตั้งวอร์รูมสกัดเกมป่วนฝ่ายค้าน
นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาโหมโรงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยดูถูกดูแคลน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั้น ตนยืนยันว่านายกฯไม่เคยกลัวการอภิปรายของฝ่ายค้านหากนำข้อเท็จจริงที่ไร้การปรุงแต่งมาพูด กลัวแต่ว่าจะนำเรื่องเท็จมาปั้นน้ำเป็นตัว ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น ตนในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีร่วมครม.ชุดนี้ จะออกมาท้วงติงอย่างแน่นอน จะไม่เปิดโอกาสได้ใช้พฤติกรรมกระดาษแผ่นเดียวเหมือนในอดีต รวมทั้งจะคอยจับตาการพาดพิงไปถึงบุคคลอื่นที่อยู่นอกสภา โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วย
สำหรับการอภิปรายประเด็นทุจริตนั้น จะต้องมีการยื่นหลักฐานไว้ก่อนตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ หากมีการพูดเกินเลยนอกเหนือกว่านั้น เราไม่ยอมแน่ ทั้งนี้ตนจะตั้งวอร์รูมเล็กๆ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและกรองสถานการณ์ของฝ่ายค้าน การที่ตนมานั่งอยู่ตรงนี้ ทำให้การประสานงานง่ายขึ้น รับรองว่ามีตนอยู่นายกฯ สบายหายห่วง
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าที่ฝ่ายค้านบอกว่าอุบไต๋ข้อมูลการอภิปรายไว้ก่อนนั้น ตนเห็นว่า เป็นเพราะไม่มีข้อมูล มีเพียงราคาคุย ตอนนี้ทราบว่ากำลังพยายามไปหาข้อมูลจากคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ จากข้าราชการ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถึงวันนี้ยังไม่มีอะไรใหม่ กรณีที่เคยตีปี๊บเรื่องไซฟ่อนเงิน ทุจริตงบน้ำท่วม สุดท้ายก็แค่การกุข่าว
นอกจากนี้ อยากฝากไปถึงพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะต้องยื่นรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ แนบท้ายญัตติการอภิปรายครั้งนี้ว่า การจะเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น มีความเหมาะสม และสง่างามหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้นายอภิสิทธิ์ ยังถูกกล่าวหาว่าไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร ใช้เอกสารเท็จ ในการเข้ารับราชการ การจะซักฟอกคนอื่น ควรฟอกตัวเองให้สะอาดก่อนดีกว่าหรือไม่
**ให้ซักฟอก25-26พ.ย.ลงมติ27 พ.ย.
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า จากการหารือกับวิปฝ่ายค้าน เห็นตรงกันว่า วัน เวลาที่เหมาะสมในการอภิปราย คือ วันที่ 26-27 พ.ย. ซึ่งฝ่ายค้านก็พยายามที่จะบริหารเวลาให้อยู่ในกรอบการอภิปรายอย่างกระชับ เบื้องต้นขอให้กรอบการอภิปรายอยู่ภายใน 2 วัน เพราะหากไม่ทันจริงๆ ก็จะทำให้มีปัญหาในวันที่ 28 พ.ย. ต่อการปิดสมัยประชุมสมัยสามัญทั่วไป แต่เพื่อความรอบคอบในการทำหน้าที่ กรอบระยะเวลา จึงกำหนดใหม่ ให้อภิปรายในวันที่ 25-26 พ.ย. และลงมติในวันที่ 27 พ.ย. ส่วนวันที่ 28 พ.ย. ก็จะประสานงานให้วุฒิสภา ได้อภิปรายทั่วไปรัฐบาลโดยไม่ลงมติ แต่หากการอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่สามารถเสร็จทันได้ภายใน 2 วัน ก็จะให้ลงมติในช่วงเช้าวันที่ 28 พ.ย. และช่วงบ่าย ให้วุฒิสภาอภิปรายทั่วไป โดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ ม.161
**"ปู"ต้องอยู่ฟังอย่าทำตัวเหมือน"แม้ว"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกระแสข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อาจจะมีเวลาอยู่ฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเพียงวันเดียว ว่า ตนจะคุยกับนายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล เพราะเห็นว่าไม่ควรมีปัญหาแบบนี้ เพราะได้ทำความเข้าใจกันไปแล้ว
ทั้งนี้ตนเชื่อว่านายกรัฐมนตรี สามารถจัดลำดับความสำคัญเกี่ยวกับภารกิจ และความรับผิดชอบต่อสภา เพราะวิปรัฐบาลเคยยืนยันกับตนไว้แล้วว่า ช่วงวันที่ 25-28 พ.ย. 55 นายกฯ ไม่มีกำหนดการเดินทางไปต่างประเทศ เพราะฉะนั้นต้องจัดเวลาได้ จะอ้างว่าติดภารกิจแล้วไม่อยู่ฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจในห้องประชุมสภาคงไม่ได้
" จะได้เป็นการพิสูจน์กันไปว่า รัฐบาลนี้และพรรคเพื่อไทย ตกลงเชื่อในระบบรัฐสภา และเชื่อในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ภารกิจแบบนี้ปีหนึ่งมีวันสองวัน ถ้าไม่สามารถให้ความสำคัญได้ก็จะเป็นเรื่องที่แปลก ตามกรอบเวลาที่กำหนด วันที่ 28 พ.ย.ลงมติครึ่งชั่วโมงก็เสร็จ จากนั้นจะให้วุฒิสภาอภิปรายต่อก็ได้ ไม่มีปัญหาอะไร แต่จะให้ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจวันเดียวไม่พอ ผมหวังว่าจะไม่มีการประท้วงมากจนเกินไป และเหตุผลที่คิดว่าการอภิปรายวันเดียวเป็นไปไม่ได้ น่าจะมีขบวนการเตรียมประท้วงอยู่ ผมอยากให้รัฐบาลใช้บรรทัดฐานของการเคารพต่อะะบบรัฐสภา นายกฯ เพิ่งบอกผู้ชุมนุมว่ามีอะไรให้ตรวจสอบในสภา แต่นายกฯ จะออกจากสภาไปเองก็เท่ากับว่ารัฐบาลไม่เปิดโอกาสให้สภาทำงาน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การทำความเข้าใจกับระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เรื่องสลับซับซ้อน และเป็นเรื่องที่ปฏิบัติกันมาทุกยุคทุกสมัย ตนไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมยุคนี้ หรือนายกฯคนนี้จะปฏิบัติไม่ได้ ทั้งนี้แนวปฏิบัติของน.ส.ยิ่งลักษณ์ คล้ายๆ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชาย ซึ่งตนก็มีความเป็นห่วงว่า ถ้าในสภาใช้เป็นเวทีในการแก้ปัญหาไม่ได้ ก็จะเป็นความเสี่ยงว่าต่อไปการเมืองจะมีปัญหาออกไปนอกสภาสู่ท้องถนนมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเคยเตือน พ.ต.ท.ทักษิณตั้งแต่ก่อนปี 48-49 จึงหวังว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะไม่ซ้ำรอยรัฐบาลทักษิณ เพราะอยากให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า ตนยังยืนยันว่า ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องมีการรัฐประหาร เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็มีความรับผิดชอบร่วมกับฝ่ายค้านในการประคับประคองระบบรัฐสภาให้เดินไปได้
**"เป็ด"โวไม่จำเป็นต้องมีองครักษ์พิทักษ์"ปู"
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณที่ฝ่ายค้านออกตั้งข้อสังเกตว่า นายกรัฐมนตรีต้องการจะหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา ว่า เรื่องอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตนคงไม่ต้องช่วยนายกฯ เพราะท่านเป็นคนเก่งอยู่แล้ว และท่านก็บอกว่าพร้อมชี้แจง ตนยังมีความเชื่อลึกๆว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คงได้แต่วาทกรรม
ทั้งนี้ เชื่อว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่สามารถล้มรัฐบาลได้ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีข้อมูลอะไร เรื่องทุจริตรับจำนำข้าว ก็ให้คนไปตรวจในหลายจังหวัด ก็ไม่มี ส่วนที่ จ.นครราชสีมา ก็ดำเนินคดีไปแล้ว
เมื่อถามว่า หากมีการพุ่งเป้าไปที่นายกฯจะต้องมีการตั้งองครักษ์หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่ต้อง เพราะนายกฯเป็นคนเก่ง จบรัฐศาสตรบัณทิต และรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ทางการเมืองโดยตรง ไม่ใช่จบอ็อกฟอร์ดอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อถามว่า จะเป็นตัวหลักในการช่วยนายกฯชี้แจงในสภาหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่เป็น เพราะหากฝ่ายค้านไม่พาดพิงถึง ตนก็พูดไม่ได้ แต่ถ้าจะใส่ชื่อตนในญัตติก็ได้ ส่วนถ้าใส่ชื่อนายกฯคนเดียว โดยไม่มีชื่อตน ก็ต้องนั่งดู
เมื่อถามอีกว่า แต่นายกฯก็ยังใหม่ในทางการเมือง จะน่าเป็นห่วงหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ใครบอกนายกฯใหม่ เป็นนายกฯมาแล้ว 1 ปี 2 เดือน เก่ง ไปห่วงนายกฯทำไม ท่านเป็นผู้นำประเทศ ห่วงฝ่ายค้านที่จะค้านซึม เมื่อถามย้ำว่า ฝ่ายค้านห่วงว่านายกฯจะไม่อยู่ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รองนายกฯ กล่าวว่า นายกฯเซ็ตโปรแกรมแล้ว ท่านอยู่ ฝ่ายค้านก็พูดไป
**ส.ว.ขอเวลาอภิปรายรัฐบาล 2 วัน
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจกรวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) เปิดเผยว่า มติที่ประชุมวิปวุฒิสภา ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ วันที่ 28 พ.ย. เป็นวันอภิปรายทั่วไปคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ซึ่งวุฒิสภาได้ยื่นเสนอญัตติ โดยหลังจากนี้จะให้นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานวิปวุฒิสภา ทำหนังสือถึงรัฐบาล ต่อประเด็นดังกล่าว โดยมีหลักการคือ ขอให้มีการเปิดอภิปรายก่อนการญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ของพรรคฝ่ายค้าน และขอเวลาจำนวน 2 วัน โดยจะต้องไม่เป็นวันที่กระทบต่อภาระงานของวุฒิสภา โดยได้ยื่นกรอบเวลาให้เลือก คือวันที่ 16 – 17 พ.ย. หรือ วันที่ 23 – 24 พ.ย.
ส่วนประเด็นที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ มีภารกิจที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ในช่วงเดือนพ.ย. นั้น ส่วนตัวมองว่า ไม่มีความจำเป็นที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องมานั่งรับฟังการอภิปรายของสมาชิกวุฒิสภาโดยตลอด เพียงแค่มอบหมายให้รองนายกฯ หรือ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมารับฟังการอภิปรายและข้อเสนอแนะเท่านั้นก็เพียงพอ
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า หากรัฐบาลจัดสรรเวลาให้อภิปรายในวันที่ 28 พ.ย. หรือเพียง 1 วัน ก่อนที่จะปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไป คงไม่เหมาะสม เพราะจำนวนของส.ว. ที่จะอภิปรายมีมากกว่า 100 คน อย่างน้อยต้องให้เวลาประมาณ 2 วัน อย่างไรก็ตาม ตนเห็นควรว่ารัฐบาลควรขยายเวลาปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไปอีกประมาณ 1 วัน