ASTVผู้จัดการรายวัน-"ครม.ปู" ไม่สนข้อเสนอส.ว. ยืนตามวิปรัฐบาล ให้วุฒิฯซักฟอกโดยไม่ลงมติตามแผนเดิม 28 พ.ย.นี้ อ้าง 23-24 พ.ย.ต้องต้อนรับผู้นำตปท. “นิคม”รับลูเตรียมแจ้ง ส.ว.ซดแห้ว ปชป.จับทางพท.ใช้แผนพาดพิงนายหญิง สั่งทีมกม.ปิดจุดอ่อนข้อบังคับ ถล่ม“องค์รักษ์พิทักษณ์ปูแดง” สกัด "บุญทรง" แจงจำนำข้าวแทนยิ่งลักษณ์
วานนี้(20 พ.ย.55) เมื่อเวลา 13.40 น. นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกำหนดการอภิปรายไม่ลงมติของ ส.ว. ว่า มีการหารือเรื่องดังกล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เบื้องต้นทางด้าน ส.ว.ได้มีการเสนอมาว่าจะเป็นวันที่ 23-24 พ.ย.55 อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้ให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไปปรึกษากับวิปวุฒิสมาชิกและวิปฝ่ายค้าน ส่วนจะเป็นไปตามรูปแบบที่ได้มีการเสนอมาหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับวิปของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ อาจจะเป็นวันที่ 28 พ.ย.55
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมครม. ถึงกรณีที่วุฒิสภาขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาลโดยไม่ลงมติ ในวันที่ 23-24 พ.ย.นี้ว่า ที่ประชุมครม.เห็นตรงกับที่วิปรัฐบาลเสนอว่า เวลาที่เหมาะสมที่วุฒิสภา จะเปิดอภิปรายคือในวันที่ 28 พ.ย. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายก่อนการปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไปในวันที่ 29 พ.ย. เนื่องจากในวันที่ 23-24 พ.ย. รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องใช้เวลาราชการดังกล่าวสำหรับต้อนรับผู้นำประเทศที่จะเดินทางมาเยือนไทย โดยตนจะแจ้งความเห็นของครม. กลับไปยังวิปรัฐบาลว่า วันที่ 28 พ.ย.เป็นเวลาที่เหมาะสม และได้มอบหมายเลขาธิการครม. ทำหนังสือชี้แจงเหตุผลของฝ่ายบริหารไปถึงวุฒิสภาพิจารณา จึงต้องรอฟังคำตอบจากวุฒิสภาว่าจะมีความเห็นอย่างไร
เมื่อถามว่า เหตุผลที่ไม่ให้เวลาวุฒิสภาอภิปรายในวันที่ 24 พ.ย.นี้ เนื่องจากติดการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.)หรือไม่ นายวราเทพ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่จะประเมินสถานการณ์ ส่วนตนไม่มีความเห็นเรื่องนี้ แต่ถ้าไม่มีการชุมนุมเลย น่าจะดีกว่า
**นิคม”รับลูกแจง ส.ว.ซดแห้ว
ที่รัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาฯ กล่าวถึงมติของคณะรัฐมนตรี ที่ปฎิเสธการอภิปรายไม่ไว้วางใจของวุฒิสภาที่เสนอขอไปในวันที่ 23-24 พ.ย.นี้ว่า ได้มีการประสานกับทางรัฐบาลแล้วว่าไม่มีเวลาว่างสำหรับวันดังกล่าว ทางวุฒิสภาจึงต้องเลื่อนไปอภิปรายในวันที่ 28 พ.ย.แทน ภายหลังจากการลงมติไม่ไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในขณะนี้เป็นเพียงการประสานกันภายใน แต่หลังจากนี้จะมีหนังสือแจงมาเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้ง
โดยวันที่ 23พ.ย. นี้จะมีการประชุมนัดพิเศษของวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.)จาก 10 คนให้เหลือ 5 คน หรือในวันดังกล่าวอาจจะมีเสนอให้ตั้งกรรมการตรวจสอบประวัติของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาทั้ง 10 ท่าน ซึ่งก็ได้เตรียมการไว้ทั้งสองรูปแบบแล้ว และในวันเดียวกันตนก็แจ้งเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมว่าทางคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีไม่สามารถมาร่วมฟังการอภิปรายได้ แต่คงไม่มีการถามมติใด ๆอีก ทั้งนี้อาจจะมีการท้วงติงจาก ส.ว.บางส่วนที่เห็นว่ารัฐบาลไม่ให้ความสำคัญ ก็ถือว่าป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่คิดว่าคงไม่ใช่การอภิปรายฝ่ายเดียว ซึ่งก็คงมองได้เหมือนกันว่าทางรัฐบาลไม่สะดวกมาชี้แจงในวันที่ 23-24 พ.ย.นี้ ก็เนื่องจากกลัวว่าจะเป็นข้อมูลให้ทางพรรคฝ่ายค้านที่จะใช้ในการอภิปรายในวันที่ 25-27 พ.ย.นี้
อย่างไรก็ตามก็จะต้องรอผลสรุปในการประชุมวิปวุฒิฯอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากจะมีผู้เสนอญัญติเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งก็จะหารือกันถึงกรอบเวลาและผู้ที่จะอภิปราย
นายนิคม กล่าวต่อว่า ตนคาดว่าในวันที่ 28 พ.ย.นี้จะมีการลงมติไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นในช่วงประมาณ 10.00 น.จากนั้นในช่วงเวลา 12.00 น.ก็จะเปิดอภิปรายของวุฒิสภาต่อไป ซึ่งก็คงจะใช้เวลาการอภิปรายประมาณ 12 ชั่วโมง โดยเป็นของวุฒิ 10 ชั่วโมงและเป็นของนายกรัฐมนตรีกับคณะรัฐมนตรีอีก 2 ชั่วโมง โดยตนคาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลาได้พอเพียง เพราะ ส.ว.คงจะใช้ระยะเวลาการอภิปรายประมาณ 10 นาทีต่อคน
** “ไพบูลย์” กะสันอภิปรายวันที่ 23 นี้
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สว.สรรหา ในฐานะกลุ่ม40 สว. กล่าวถึงมติครม. นี้ว่า ตนยังยืนยันว่าจะต้องมีการอภิปรายในวันที่ 23 พ.ย.เพราะการกำหนดให้มีการอภิปรายเพียงวันเดียวคือในวันที่ 28 พ.ย.นั้นตนเห็นว่าไม่เพียงพออย่างแน่นอนเนื่องจากมีผู้ที่จะอภิปรายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ตนก็จะรอดูผลการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา(วิปวุฒิสภา)ว่าเป็นอย่างไร และวุฒิสภาไม่จะเป็นต้องทำตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำหนดว่าให้มีการอภิปรายเพียงแค่ 1 วันคือวันที่ 28 พ.ย. เพราะวุฒิสภาเป็นฝ่ายตรวจสอบครม.
**“คำนูณ” จี้รัฐบาลยืนยันชัดเจน
ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้หารือว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันนี้ คงมีการหารือถึงการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลที่จะมาชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา ตามญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปต่อการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 16 แม้ประธานวุฒิสภาจะนัดประชุมและบรรจุวาระแล้ว แต่มีเพียงเสียงตอบผ่านสื่อจากประธานวิปรัฐบาลมาว่า ยังคงยืนยันให้เป็นวันที่ 28 พ.ย.เหมือนเดิม จึงขอฝากผ่านไปยังรัฐบาลว่าในเมื่อนายกรัฐมนตรีได้ยืนยันต่อนานาชาติ ว่าต้องการแก้ปัญหาทุกอย่างในสภา ดังนั้น การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติครั้งนี้ จึงเป็นเวทีให้รัฐบาลมีโอกาสชี้แจงข้อสงสัย และไม่ใช่จะมีแต่ส.ว.เห็นต่างเสมอไป ยังมีส.ว.หลายคนที่ใจจดใจจ่อจะอภิปรายสนับสนุนนโยบายรัฐบาล และรัฐบาลทำงานครบ 1 ปีมานานแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดสภาเพื่อแถลงผลงานครบ 1 ปีแต่อย่างใด จึงอยากไห้ทำให้ครบถ้วนด้วย
**วิปค้านกังวล'ขุนค้อน'ไม่เป็นกลาง
ที่รัฐสภา วันนี้ (20 พ.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงผลการประชุมวิปฝ่ายค้านว่า ฝ่ายค้านมีความเป็นห่วงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่มีการตกลงกับวิปรัฐบาลไว้ 30 ชั่วโมง ระยะเวลา 3 วัน โดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจจะชี้แจงรวมกันไม่เกิน 12 ชั่วโมง แต่ฝ่ายค้านเป็นห่วงเรื่องประท้วง เพราะเกรงว่าจะเบียดเวลาจนทำให้ฝ่ายค้านอภิปรายได้ไม่ครบ 30 ชั่วโมง
ซึ่งมีแนวโน้มว่ามีความพยายามเตรียมการประท้วงไว้ล่วงหน้าตามที่ฝ่ายรัฐบาลให้ข่าวว่า หากมีการพาดพิงถึงบุคคลภายนอกก็จะประท้วง ทั้งที่การอภิปรายสามารถพาดพิงบุคคลภายนอกได้ถ้าจำเป็น และอยู่ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง จึงคิดว่ารัฐบาลคงกังวลและเป็นห่วงอาจจะกระทบกับบุคคลที่รัฐบาลต้องปกป้องพิเศษ แต่ฝ่ายค้านยืนยันว่าไม่ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจบุคคลภายนอก
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า วิปฝ่ายค้านมีความเป็นห่วงและกังวลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของประธานในที่ประชุม หากปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางและทำตามข้อบังคับก็คงไม่มีปัญหา ฝ่ายค้านพร้อมให้ความร่วมมือ
เมื่อถามว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ระบุว่าหากมีการอภิปรายพาดพิงเรื่องจำนำข้าว ก็ให้รมว.พานิชย์ ชี้แจงได้ นายจุรินทร์ กล่าวว่า แค่ความเห็นนับหนึ่ง ประธานก็ไม่เป็นกลางแล้ว ถ้าพูดเช่นนี้จริง สะท้อนชัดเจนว่าเตรียมปกป้องรัฐบาล ปกป้องนายกรัฐมนตรี เตรียมรัฐมนตรีมาช่วยตอบคำถามแทนนายกฯ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควร
**ซ้อมซักฟอกสนามฟุตซอล
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ฝ่ายค้านสนับสนุนวุฒิสภาที่จะเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ ม.161 ในวันที่ 23-24 พ.ย.นี้ ซึ่งวุฒิสภาสามารถใช้สิทธิขอให้มีการเปิดอภิปรายได้ และรัฐบาลควรให้ความร่วมมือเปิดโอกาสให้วุฒิสมาชิกได้ทำหน้าที่ แต่จนถึงขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีท่าทีตอบรับใดๆ ก็เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจกับการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของวุฒิสภา ทั้งที่นายกรัฐมนตรีเคยพูดก่อนหน้านี้ว่า ถ้ามีปัญหาอยากให้มาแก้ปัญหาในรัฐสภา แต่เมื่อวุฒิสมาชิกมีความต้องการเปิดอภิปราย เพื่อใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลกลับไม่ให้ความร่วมมือ
นายจุรินทร์ กล่าาวด้วยว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฝ้ายค้านจะยื่นกระทู้ถามสด เรื่องที่ค้างพิจารณาจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องของรัฐบาลต่อปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ที่เลื่อนมาจากสัปดาห์ที่แล้ว และมีกระทู้ถามสด เรื่องมาตรากาจรดูแลความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม วันที่ 24 พ.ย.นี้ และเรื่องปัญหาการสร้างสนามฟุตซอล ที่เกิดจากการบริหารงานของรัฐบาล
**จับทางพท.ใช้แผนพาดพิงนายหญิง
นายณัฏฐ บรรทัดฐาน รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมส.ส.พรรคว่า ที่ประชุมได้มีการพูดถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยเป็นห่วงเรื่องกระบวนการจัดการประชุมมอภิปรายว่าอาจจจะมีอุปสรรคเกิดขึ้น เช่นการประท้วงจนทำให้ไม่สามารถควบคุมเวลาและ สถานการณ์ให้เกิดประโยชน์กับคนฟังได้ และ เรื่องการไม่ตอบคำถามของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายด้วยตนเอง ที่ผ่านมามีความพยายามสนับสนุนความคิดที่จะให้คนอื่นตอบแทนโดยใช้วิธีการพาดพิง หรือยกเว้นข้อบังคับ ซึ่งทางพรรคได้มอบหมายให้ฝ่ายกฏหมายตรวจสอบข้อบังคับการประชุมและรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน เพราะมีการบัญญัติชัดว่า กรณีญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจผู้ที่ถูกอภิปรายจะต้องตอบคำถามด้วยตนเอง แต่ก็มีข้อยกเว้นบางประการที่สามารถใช้สิทธิ์พาดพิงชี้แจงแทนได้ ซึ่งหากมีการใช้วิธีการเช่นนี้ ก็จะให้ส.ส.ของพรรคลุกขึ้นทักท้วงทันที
ส่วนกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลจะจัดทีมประท้วงนั้น ทางประธานวิปฝ่ายค้านได้ออกมาวิงวอนขอให้ประธานสภาควบคุมการประชุมตามที่ควรจะเป็นและผู้อภิปรายจะพูดพาดพิงภายคนนอกในกรณีที่จำเป็นเท่านั้นเพราะต้องการจะพุ่งเป้าไปนายกฯและรัฐมนตรี-คนเท่านั้น โดยฝ่ายค้านจะไม่มีการตั้งทีมประท้วงตอบโต้เพราะทำให้เสียเวลาการอภิปรายที่มีกรอบเวลาแค่30ชม และจะทำให้บรรยากาศน่าเบื่อประชาชนไมได้ประโยชน์
**สกัด "บุญทรง" แจงแทนยิ่งลักษณ์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เตรียมให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากฝ่ายค้านหยิบยกประเด็นการจำนำข้าวขึ้นมาว่า ประธานสภาจะต้องดูว่าฝ่ายค้านอภิปรายในประเด็นใด การอนุมัติของคณะรัฐมนตรีและกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ และคนที่ดูแลข้าวมีหลายกระทรวง ไม่ใช่มีเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ จึงต้องมีคณะกรรมการขึ้นมาดูแล แต่หากพวกตนอภิปรายและพาดพิง ก็สามารถใช้สิทธิพาดพิงได้ แต่ถ้าถามในเรื่องที่เป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีก็คงไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะต้องตอบ
**ชัจจ์มั่นใจรับมือได้ ลั่นสู้ด้วยข้อเท็จจริง
ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 09.00 น. พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย ในฐานะอดีตรมช.คมนาคมให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้านที่ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจและยื่นถอดถอนด้วยว่า มั่นใจว่าสามารถอธิบายให้ประชาชนเข้าใจได้อย่างแน่นอน ขณะนี้ข้อมูลในการชี้แจงในการอภิปรายพร้อมแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ โดยคาดว่าฝ่ายค้านจะอธิปรายในเรื่องน้ำ การขุดลอกคูคลอง แม่น้ำ ปิง วัง ยม และน่าน นอกจากนี้ก็เป็นเรื่องของตลาดนัดจตุจักร
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือไม่ พล.ต.ท.ชัจจ์กล่าวว่า เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น เชื่อมั่นว่าไม่มีแน่ แต่ถ้าจะมีก็คงเป็นฝ่ายปฏิบัติเพราะในโครงการใหญ่หรือจำนวนมากก็อาจจะมีบกพร่อง รั่วไหลบ้าง คงต้องเป็นเรื่องที่จะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไปโดยการสอบสวน แต่ในส่วนของตนยืนยันว่าไม่มีแน่นอน เมื่อถามว่าได้เตรียมคณะทำงานขึ้นมาชี้แจงบ้างหรือไม่ พล.ต.ท.ชัจจ์กล่าวว่า ยังไม่ได้หารือกัน เพียงแต่ดูและเตรียมข้อมูลทั้งหมดเมื่อครั้งที่ปฏิบัติงานที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหาอะไร ยืนยันว่าไม่มีอะไรบกพร่อง หรือทุจริต
เมื่อถามว่ากลัวที่จะสู้โวหารและวาทะทางการเมืองในการอภิปรายของฝ่ายค้านหรือไม่ พล.ต.ท.ชัจจ์กล่าวว่า วาทะตนอาจจะสู้ไม่ได้เพราะตนไม่ได้ฝึกมาในทางวาทะ โวหาร แต่ในเรื่องของข้อเท็จจริง ตนเชื่อว่าสู้ได้ ตนอยู่กับพยานหลักฐานมาตลอดชีวิต อยู่กับความจริงความไม่จริง นำพยานสู่ศาลมาทั้งชีวิต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนการให้สัมภาษณ์ กลุ่มตัวแทนคนพิการจากมูลนิธิพระมหาไถ่ ประมาณ 20 คน มาถือป้ายและมอบดอกกุหลาบให้กำลังใจ พล.ต.ท.ชัจจ์ ที่ถูกฝ่ายค้านยื่นถอดถอน และอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยตัวแทนคนพิการได้ตะโกนให้สู้ ๆ และกล่าวกับ พล.ต.ท.ชัจจ์ ว่า ได้รับทราบข่าวว่าพล.ต.ท.ชัจจ์จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ จึงมาให้กำลังใจ เพราะในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคม ได้ทำประโยชน์ให้กับคนพิการจำนวนมาก
**ภท.พลิ้วขอเป็นกรรมการซักฟอก
น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวภายหลังการประชุมพรรคภูมิใจไทย ว่า ที่ประชุมรับทราบเรื่องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ได้รับรองผลการประชุมหัวหน้าพรรคและการบริหารพรรคแล้ว ทั้งนี้ นายอนุทิน ชายวีรกูล หัวหน้าพรรค ยืนยันว่าจะเป็นฝ่ายค้านแบบมีเหตุมีผล ไม่ค้านพร่ำเพรื่อ นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่เตรียมที่จะทำการศึกษาและเข้ามาทำการรื้อฟื้นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่อภาคเอกชนและภาคธุรกิจซึ่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยได้ให้ความสนใจต่อเรื่องปัญหาปากท้องของประชาชนที่อยู่ทั้งในเมืองและชนบท ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะกำลังจะมาถึง น.ส.ศุภมาศ กล่าวว่า นายอนุทิน ได้กำชับให้ ส.ส.ของพรรคเข้าร่วมโดยพร้อมเพรียง เพื่อร่วมฟังคำชี้แจงของรัฐบาล ส่วนการลงมตินั้นพรรคจะนัดประชุมว่ารัฐมนตรีคนใดที่เราควรจะงดออกเสียง หรือใครที่ชี้แจงไม่ชัดเจนก็จะลงมติไม่ไว้วางใจ ทั้งนี้ในการลงมติจำนวนเสียงส.ส. 24 คนของพรรคที่มีอยู่ตอนนี้ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
"ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เราขอเป็นกรรมการ ซื้อตั๋วเข้ามาดูก่อน สุดท้ายก็จะมาสรุปในที่ประชุมพรรคเพื่อออกเป็นมติ ยืนยันว่าบทบาทพรรคภูมิใจไทยยังคงสถานะเป็นฝ่ายค้านอยู่แน่นอน การที่เราไม่ร่วมลงชื่อยื่นญัตติไม่ได้หมายความว่าเราไม่ทำหน้าที่ฝ่ายค้าน แต่เหตุผลคือพรรคไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเท่านั้น ไม่ใช่การจ้องรอเสียบเพื่อเข้าร่วมรัฐบาลแต่อย่างใด" โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าว
อนึ่ง พรรคภูมิใจไทยมี ส.ส.34 คน แยกเป็น กลุ่มมัชฌิมา 7 คน และกลุ่มเพื่อนเนวิน 27 คน และขณะนี้มีส.ส.ยุติการปฎิบัติหน้าที่ 3 คน ทำให้เหลือส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน 24 คน
**คน 50% เคยได้ยินทุจริตเยียวยา
วันเดียวกันศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลในการควบคุมการทุจริตคอร์รัปชันภัยแล้ง” ระหว่างวันที่ 5 - 6 พฤศจิกายน 2555 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,242 หน่วยตัวอย่าง
พบว่า ประชาชน ร้อยละ 53.54 เคยได้ยิน หรือพบเห็นการทุจริตในโครงการต่างๆ ที่รัฐให้การช่วยเหลือ และการเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชน มีเพียงร้อยละ 36.39 ที่ไม่เคยได้ยินหรือพบเห็น
รูปแบบของพฤติกรรมที่เคยพบเห็น หรือเคยได้ยิน ประชาชน ร้อยละ 49.32 ระบุว่าเป็นการจ่ายเงินค่าชดเชยและค่าเสียหาย ไม่ตรงตามความเป็นจริง รองลงมา ร้อยละ 40.90 การเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ที่ไม่เท่าเทียมกัน และการเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง และร้อยละ 38.50 การสวมสิทธิ์ของผู้ได้รับค่าชดเชย หรือการจ่ายค่าเสียหายซ้ำซ้อน ไม่ตรงกับความเป็นจริง
ท้ายสุด ประชาชนร้อยละ 46.70 เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่สามารถควบคุมดูแลการทุจริตคอร์รัปชันจากโครงการช่วยเหลือและการเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชนในสภาวะภัยแล้งได้ เพราะการทุจริตคอร์รัปชัน ทำเป็นกระบวนการและเป็นกลุ่มใหญ่ ยากแก่การควบคุม หรือตรวจสอบ มีประชาชนรองลงมา ร้อยละ 29.47 ไม่แน่ใจ เพราะอยู่ที่การบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการของรัฐบาลในการเอาจริงเอาจังการควบคุมดูแลการทุจริตคอร์รัปชัน มีเพียงร้อยละ 23.83 เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมดูแลการทุจริตคอร์รัปชันจากการโครงการดังกล่าวได้ เพราะเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาลในการควบคุมการทุจริต และคาดว่าจะมีการการตรวจสอบอย่างรัดกุม
**รัฐ-เอกชนระดมความเห็นปรามโกง
อีกด้านรองศาสตราจารย์ ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และประธานโครงการจัดทำมาตรการและกลไกป้องกันและปราบปรามการคอรัปชั่นในภาครัฐตามแผนยุทธ ศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการคอรัปชั่น ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการ(ก.พ.ร.)และนักวิชาการ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นครั้งใหญ่ เพื่อจัดทำมาตรการและกลไกการป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่นในภาครัฐตามแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นนโยบายภาครัฐที่ให้ความสำคัญในการป้องกันการคอรัปชั่นในหน่วยงานภาครัฐ โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชน เพื่อนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ในวันที่ 22- 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 8.30 -16.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทร.02-622 0303
วานนี้(20 พ.ย.55) เมื่อเวลา 13.40 น. นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกำหนดการอภิปรายไม่ลงมติของ ส.ว. ว่า มีการหารือเรื่องดังกล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เบื้องต้นทางด้าน ส.ว.ได้มีการเสนอมาว่าจะเป็นวันที่ 23-24 พ.ย.55 อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้ให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไปปรึกษากับวิปวุฒิสมาชิกและวิปฝ่ายค้าน ส่วนจะเป็นไปตามรูปแบบที่ได้มีการเสนอมาหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับวิปของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ อาจจะเป็นวันที่ 28 พ.ย.55
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมครม. ถึงกรณีที่วุฒิสภาขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาลโดยไม่ลงมติ ในวันที่ 23-24 พ.ย.นี้ว่า ที่ประชุมครม.เห็นตรงกับที่วิปรัฐบาลเสนอว่า เวลาที่เหมาะสมที่วุฒิสภา จะเปิดอภิปรายคือในวันที่ 28 พ.ย. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายก่อนการปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไปในวันที่ 29 พ.ย. เนื่องจากในวันที่ 23-24 พ.ย. รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องใช้เวลาราชการดังกล่าวสำหรับต้อนรับผู้นำประเทศที่จะเดินทางมาเยือนไทย โดยตนจะแจ้งความเห็นของครม. กลับไปยังวิปรัฐบาลว่า วันที่ 28 พ.ย.เป็นเวลาที่เหมาะสม และได้มอบหมายเลขาธิการครม. ทำหนังสือชี้แจงเหตุผลของฝ่ายบริหารไปถึงวุฒิสภาพิจารณา จึงต้องรอฟังคำตอบจากวุฒิสภาว่าจะมีความเห็นอย่างไร
เมื่อถามว่า เหตุผลที่ไม่ให้เวลาวุฒิสภาอภิปรายในวันที่ 24 พ.ย.นี้ เนื่องจากติดการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.)หรือไม่ นายวราเทพ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่จะประเมินสถานการณ์ ส่วนตนไม่มีความเห็นเรื่องนี้ แต่ถ้าไม่มีการชุมนุมเลย น่าจะดีกว่า
**นิคม”รับลูกแจง ส.ว.ซดแห้ว
ที่รัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาฯ กล่าวถึงมติของคณะรัฐมนตรี ที่ปฎิเสธการอภิปรายไม่ไว้วางใจของวุฒิสภาที่เสนอขอไปในวันที่ 23-24 พ.ย.นี้ว่า ได้มีการประสานกับทางรัฐบาลแล้วว่าไม่มีเวลาว่างสำหรับวันดังกล่าว ทางวุฒิสภาจึงต้องเลื่อนไปอภิปรายในวันที่ 28 พ.ย.แทน ภายหลังจากการลงมติไม่ไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในขณะนี้เป็นเพียงการประสานกันภายใน แต่หลังจากนี้จะมีหนังสือแจงมาเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้ง
โดยวันที่ 23พ.ย. นี้จะมีการประชุมนัดพิเศษของวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.)จาก 10 คนให้เหลือ 5 คน หรือในวันดังกล่าวอาจจะมีเสนอให้ตั้งกรรมการตรวจสอบประวัติของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาทั้ง 10 ท่าน ซึ่งก็ได้เตรียมการไว้ทั้งสองรูปแบบแล้ว และในวันเดียวกันตนก็แจ้งเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมว่าทางคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีไม่สามารถมาร่วมฟังการอภิปรายได้ แต่คงไม่มีการถามมติใด ๆอีก ทั้งนี้อาจจะมีการท้วงติงจาก ส.ว.บางส่วนที่เห็นว่ารัฐบาลไม่ให้ความสำคัญ ก็ถือว่าป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่คิดว่าคงไม่ใช่การอภิปรายฝ่ายเดียว ซึ่งก็คงมองได้เหมือนกันว่าทางรัฐบาลไม่สะดวกมาชี้แจงในวันที่ 23-24 พ.ย.นี้ ก็เนื่องจากกลัวว่าจะเป็นข้อมูลให้ทางพรรคฝ่ายค้านที่จะใช้ในการอภิปรายในวันที่ 25-27 พ.ย.นี้
อย่างไรก็ตามก็จะต้องรอผลสรุปในการประชุมวิปวุฒิฯอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากจะมีผู้เสนอญัญติเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งก็จะหารือกันถึงกรอบเวลาและผู้ที่จะอภิปราย
นายนิคม กล่าวต่อว่า ตนคาดว่าในวันที่ 28 พ.ย.นี้จะมีการลงมติไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นในช่วงประมาณ 10.00 น.จากนั้นในช่วงเวลา 12.00 น.ก็จะเปิดอภิปรายของวุฒิสภาต่อไป ซึ่งก็คงจะใช้เวลาการอภิปรายประมาณ 12 ชั่วโมง โดยเป็นของวุฒิ 10 ชั่วโมงและเป็นของนายกรัฐมนตรีกับคณะรัฐมนตรีอีก 2 ชั่วโมง โดยตนคาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลาได้พอเพียง เพราะ ส.ว.คงจะใช้ระยะเวลาการอภิปรายประมาณ 10 นาทีต่อคน
** “ไพบูลย์” กะสันอภิปรายวันที่ 23 นี้
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สว.สรรหา ในฐานะกลุ่ม40 สว. กล่าวถึงมติครม. นี้ว่า ตนยังยืนยันว่าจะต้องมีการอภิปรายในวันที่ 23 พ.ย.เพราะการกำหนดให้มีการอภิปรายเพียงวันเดียวคือในวันที่ 28 พ.ย.นั้นตนเห็นว่าไม่เพียงพออย่างแน่นอนเนื่องจากมีผู้ที่จะอภิปรายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ตนก็จะรอดูผลการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา(วิปวุฒิสภา)ว่าเป็นอย่างไร และวุฒิสภาไม่จะเป็นต้องทำตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำหนดว่าให้มีการอภิปรายเพียงแค่ 1 วันคือวันที่ 28 พ.ย. เพราะวุฒิสภาเป็นฝ่ายตรวจสอบครม.
**“คำนูณ” จี้รัฐบาลยืนยันชัดเจน
ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้หารือว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันนี้ คงมีการหารือถึงการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลที่จะมาชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา ตามญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปต่อการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 16 แม้ประธานวุฒิสภาจะนัดประชุมและบรรจุวาระแล้ว แต่มีเพียงเสียงตอบผ่านสื่อจากประธานวิปรัฐบาลมาว่า ยังคงยืนยันให้เป็นวันที่ 28 พ.ย.เหมือนเดิม จึงขอฝากผ่านไปยังรัฐบาลว่าในเมื่อนายกรัฐมนตรีได้ยืนยันต่อนานาชาติ ว่าต้องการแก้ปัญหาทุกอย่างในสภา ดังนั้น การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติครั้งนี้ จึงเป็นเวทีให้รัฐบาลมีโอกาสชี้แจงข้อสงสัย และไม่ใช่จะมีแต่ส.ว.เห็นต่างเสมอไป ยังมีส.ว.หลายคนที่ใจจดใจจ่อจะอภิปรายสนับสนุนนโยบายรัฐบาล และรัฐบาลทำงานครบ 1 ปีมานานแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดสภาเพื่อแถลงผลงานครบ 1 ปีแต่อย่างใด จึงอยากไห้ทำให้ครบถ้วนด้วย
**วิปค้านกังวล'ขุนค้อน'ไม่เป็นกลาง
ที่รัฐสภา วันนี้ (20 พ.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงผลการประชุมวิปฝ่ายค้านว่า ฝ่ายค้านมีความเป็นห่วงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่มีการตกลงกับวิปรัฐบาลไว้ 30 ชั่วโมง ระยะเวลา 3 วัน โดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจจะชี้แจงรวมกันไม่เกิน 12 ชั่วโมง แต่ฝ่ายค้านเป็นห่วงเรื่องประท้วง เพราะเกรงว่าจะเบียดเวลาจนทำให้ฝ่ายค้านอภิปรายได้ไม่ครบ 30 ชั่วโมง
ซึ่งมีแนวโน้มว่ามีความพยายามเตรียมการประท้วงไว้ล่วงหน้าตามที่ฝ่ายรัฐบาลให้ข่าวว่า หากมีการพาดพิงถึงบุคคลภายนอกก็จะประท้วง ทั้งที่การอภิปรายสามารถพาดพิงบุคคลภายนอกได้ถ้าจำเป็น และอยู่ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง จึงคิดว่ารัฐบาลคงกังวลและเป็นห่วงอาจจะกระทบกับบุคคลที่รัฐบาลต้องปกป้องพิเศษ แต่ฝ่ายค้านยืนยันว่าไม่ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจบุคคลภายนอก
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า วิปฝ่ายค้านมีความเป็นห่วงและกังวลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของประธานในที่ประชุม หากปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางและทำตามข้อบังคับก็คงไม่มีปัญหา ฝ่ายค้านพร้อมให้ความร่วมมือ
เมื่อถามว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ระบุว่าหากมีการอภิปรายพาดพิงเรื่องจำนำข้าว ก็ให้รมว.พานิชย์ ชี้แจงได้ นายจุรินทร์ กล่าวว่า แค่ความเห็นนับหนึ่ง ประธานก็ไม่เป็นกลางแล้ว ถ้าพูดเช่นนี้จริง สะท้อนชัดเจนว่าเตรียมปกป้องรัฐบาล ปกป้องนายกรัฐมนตรี เตรียมรัฐมนตรีมาช่วยตอบคำถามแทนนายกฯ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควร
**ซ้อมซักฟอกสนามฟุตซอล
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ฝ่ายค้านสนับสนุนวุฒิสภาที่จะเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ ม.161 ในวันที่ 23-24 พ.ย.นี้ ซึ่งวุฒิสภาสามารถใช้สิทธิขอให้มีการเปิดอภิปรายได้ และรัฐบาลควรให้ความร่วมมือเปิดโอกาสให้วุฒิสมาชิกได้ทำหน้าที่ แต่จนถึงขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีท่าทีตอบรับใดๆ ก็เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจกับการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของวุฒิสภา ทั้งที่นายกรัฐมนตรีเคยพูดก่อนหน้านี้ว่า ถ้ามีปัญหาอยากให้มาแก้ปัญหาในรัฐสภา แต่เมื่อวุฒิสมาชิกมีความต้องการเปิดอภิปราย เพื่อใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลกลับไม่ให้ความร่วมมือ
นายจุรินทร์ กล่าาวด้วยว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฝ้ายค้านจะยื่นกระทู้ถามสด เรื่องที่ค้างพิจารณาจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องของรัฐบาลต่อปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ที่เลื่อนมาจากสัปดาห์ที่แล้ว และมีกระทู้ถามสด เรื่องมาตรากาจรดูแลความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม วันที่ 24 พ.ย.นี้ และเรื่องปัญหาการสร้างสนามฟุตซอล ที่เกิดจากการบริหารงานของรัฐบาล
**จับทางพท.ใช้แผนพาดพิงนายหญิง
นายณัฏฐ บรรทัดฐาน รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมส.ส.พรรคว่า ที่ประชุมได้มีการพูดถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยเป็นห่วงเรื่องกระบวนการจัดการประชุมมอภิปรายว่าอาจจจะมีอุปสรรคเกิดขึ้น เช่นการประท้วงจนทำให้ไม่สามารถควบคุมเวลาและ สถานการณ์ให้เกิดประโยชน์กับคนฟังได้ และ เรื่องการไม่ตอบคำถามของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายด้วยตนเอง ที่ผ่านมามีความพยายามสนับสนุนความคิดที่จะให้คนอื่นตอบแทนโดยใช้วิธีการพาดพิง หรือยกเว้นข้อบังคับ ซึ่งทางพรรคได้มอบหมายให้ฝ่ายกฏหมายตรวจสอบข้อบังคับการประชุมและรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน เพราะมีการบัญญัติชัดว่า กรณีญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจผู้ที่ถูกอภิปรายจะต้องตอบคำถามด้วยตนเอง แต่ก็มีข้อยกเว้นบางประการที่สามารถใช้สิทธิ์พาดพิงชี้แจงแทนได้ ซึ่งหากมีการใช้วิธีการเช่นนี้ ก็จะให้ส.ส.ของพรรคลุกขึ้นทักท้วงทันที
ส่วนกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลจะจัดทีมประท้วงนั้น ทางประธานวิปฝ่ายค้านได้ออกมาวิงวอนขอให้ประธานสภาควบคุมการประชุมตามที่ควรจะเป็นและผู้อภิปรายจะพูดพาดพิงภายคนนอกในกรณีที่จำเป็นเท่านั้นเพราะต้องการจะพุ่งเป้าไปนายกฯและรัฐมนตรี-คนเท่านั้น โดยฝ่ายค้านจะไม่มีการตั้งทีมประท้วงตอบโต้เพราะทำให้เสียเวลาการอภิปรายที่มีกรอบเวลาแค่30ชม และจะทำให้บรรยากาศน่าเบื่อประชาชนไมได้ประโยชน์
**สกัด "บุญทรง" แจงแทนยิ่งลักษณ์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เตรียมให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากฝ่ายค้านหยิบยกประเด็นการจำนำข้าวขึ้นมาว่า ประธานสภาจะต้องดูว่าฝ่ายค้านอภิปรายในประเด็นใด การอนุมัติของคณะรัฐมนตรีและกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ และคนที่ดูแลข้าวมีหลายกระทรวง ไม่ใช่มีเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ จึงต้องมีคณะกรรมการขึ้นมาดูแล แต่หากพวกตนอภิปรายและพาดพิง ก็สามารถใช้สิทธิพาดพิงได้ แต่ถ้าถามในเรื่องที่เป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีก็คงไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะต้องตอบ
**ชัจจ์มั่นใจรับมือได้ ลั่นสู้ด้วยข้อเท็จจริง
ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 09.00 น. พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย ในฐานะอดีตรมช.คมนาคมให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้านที่ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจและยื่นถอดถอนด้วยว่า มั่นใจว่าสามารถอธิบายให้ประชาชนเข้าใจได้อย่างแน่นอน ขณะนี้ข้อมูลในการชี้แจงในการอภิปรายพร้อมแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ โดยคาดว่าฝ่ายค้านจะอธิปรายในเรื่องน้ำ การขุดลอกคูคลอง แม่น้ำ ปิง วัง ยม และน่าน นอกจากนี้ก็เป็นเรื่องของตลาดนัดจตุจักร
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือไม่ พล.ต.ท.ชัจจ์กล่าวว่า เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น เชื่อมั่นว่าไม่มีแน่ แต่ถ้าจะมีก็คงเป็นฝ่ายปฏิบัติเพราะในโครงการใหญ่หรือจำนวนมากก็อาจจะมีบกพร่อง รั่วไหลบ้าง คงต้องเป็นเรื่องที่จะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไปโดยการสอบสวน แต่ในส่วนของตนยืนยันว่าไม่มีแน่นอน เมื่อถามว่าได้เตรียมคณะทำงานขึ้นมาชี้แจงบ้างหรือไม่ พล.ต.ท.ชัจจ์กล่าวว่า ยังไม่ได้หารือกัน เพียงแต่ดูและเตรียมข้อมูลทั้งหมดเมื่อครั้งที่ปฏิบัติงานที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหาอะไร ยืนยันว่าไม่มีอะไรบกพร่อง หรือทุจริต
เมื่อถามว่ากลัวที่จะสู้โวหารและวาทะทางการเมืองในการอภิปรายของฝ่ายค้านหรือไม่ พล.ต.ท.ชัจจ์กล่าวว่า วาทะตนอาจจะสู้ไม่ได้เพราะตนไม่ได้ฝึกมาในทางวาทะ โวหาร แต่ในเรื่องของข้อเท็จจริง ตนเชื่อว่าสู้ได้ ตนอยู่กับพยานหลักฐานมาตลอดชีวิต อยู่กับความจริงความไม่จริง นำพยานสู่ศาลมาทั้งชีวิต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนการให้สัมภาษณ์ กลุ่มตัวแทนคนพิการจากมูลนิธิพระมหาไถ่ ประมาณ 20 คน มาถือป้ายและมอบดอกกุหลาบให้กำลังใจ พล.ต.ท.ชัจจ์ ที่ถูกฝ่ายค้านยื่นถอดถอน และอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยตัวแทนคนพิการได้ตะโกนให้สู้ ๆ และกล่าวกับ พล.ต.ท.ชัจจ์ ว่า ได้รับทราบข่าวว่าพล.ต.ท.ชัจจ์จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ จึงมาให้กำลังใจ เพราะในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคม ได้ทำประโยชน์ให้กับคนพิการจำนวนมาก
**ภท.พลิ้วขอเป็นกรรมการซักฟอก
น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวภายหลังการประชุมพรรคภูมิใจไทย ว่า ที่ประชุมรับทราบเรื่องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ได้รับรองผลการประชุมหัวหน้าพรรคและการบริหารพรรคแล้ว ทั้งนี้ นายอนุทิน ชายวีรกูล หัวหน้าพรรค ยืนยันว่าจะเป็นฝ่ายค้านแบบมีเหตุมีผล ไม่ค้านพร่ำเพรื่อ นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่เตรียมที่จะทำการศึกษาและเข้ามาทำการรื้อฟื้นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่อภาคเอกชนและภาคธุรกิจซึ่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยได้ให้ความสนใจต่อเรื่องปัญหาปากท้องของประชาชนที่อยู่ทั้งในเมืองและชนบท ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะกำลังจะมาถึง น.ส.ศุภมาศ กล่าวว่า นายอนุทิน ได้กำชับให้ ส.ส.ของพรรคเข้าร่วมโดยพร้อมเพรียง เพื่อร่วมฟังคำชี้แจงของรัฐบาล ส่วนการลงมตินั้นพรรคจะนัดประชุมว่ารัฐมนตรีคนใดที่เราควรจะงดออกเสียง หรือใครที่ชี้แจงไม่ชัดเจนก็จะลงมติไม่ไว้วางใจ ทั้งนี้ในการลงมติจำนวนเสียงส.ส. 24 คนของพรรคที่มีอยู่ตอนนี้ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
"ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เราขอเป็นกรรมการ ซื้อตั๋วเข้ามาดูก่อน สุดท้ายก็จะมาสรุปในที่ประชุมพรรคเพื่อออกเป็นมติ ยืนยันว่าบทบาทพรรคภูมิใจไทยยังคงสถานะเป็นฝ่ายค้านอยู่แน่นอน การที่เราไม่ร่วมลงชื่อยื่นญัตติไม่ได้หมายความว่าเราไม่ทำหน้าที่ฝ่ายค้าน แต่เหตุผลคือพรรคไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเท่านั้น ไม่ใช่การจ้องรอเสียบเพื่อเข้าร่วมรัฐบาลแต่อย่างใด" โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าว
อนึ่ง พรรคภูมิใจไทยมี ส.ส.34 คน แยกเป็น กลุ่มมัชฌิมา 7 คน และกลุ่มเพื่อนเนวิน 27 คน และขณะนี้มีส.ส.ยุติการปฎิบัติหน้าที่ 3 คน ทำให้เหลือส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน 24 คน
**คน 50% เคยได้ยินทุจริตเยียวยา
วันเดียวกันศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลในการควบคุมการทุจริตคอร์รัปชันภัยแล้ง” ระหว่างวันที่ 5 - 6 พฤศจิกายน 2555 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,242 หน่วยตัวอย่าง
พบว่า ประชาชน ร้อยละ 53.54 เคยได้ยิน หรือพบเห็นการทุจริตในโครงการต่างๆ ที่รัฐให้การช่วยเหลือ และการเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชน มีเพียงร้อยละ 36.39 ที่ไม่เคยได้ยินหรือพบเห็น
รูปแบบของพฤติกรรมที่เคยพบเห็น หรือเคยได้ยิน ประชาชน ร้อยละ 49.32 ระบุว่าเป็นการจ่ายเงินค่าชดเชยและค่าเสียหาย ไม่ตรงตามความเป็นจริง รองลงมา ร้อยละ 40.90 การเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ที่ไม่เท่าเทียมกัน และการเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง และร้อยละ 38.50 การสวมสิทธิ์ของผู้ได้รับค่าชดเชย หรือการจ่ายค่าเสียหายซ้ำซ้อน ไม่ตรงกับความเป็นจริง
ท้ายสุด ประชาชนร้อยละ 46.70 เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่สามารถควบคุมดูแลการทุจริตคอร์รัปชันจากโครงการช่วยเหลือและการเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชนในสภาวะภัยแล้งได้ เพราะการทุจริตคอร์รัปชัน ทำเป็นกระบวนการและเป็นกลุ่มใหญ่ ยากแก่การควบคุม หรือตรวจสอบ มีประชาชนรองลงมา ร้อยละ 29.47 ไม่แน่ใจ เพราะอยู่ที่การบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการของรัฐบาลในการเอาจริงเอาจังการควบคุมดูแลการทุจริตคอร์รัปชัน มีเพียงร้อยละ 23.83 เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมดูแลการทุจริตคอร์รัปชันจากการโครงการดังกล่าวได้ เพราะเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาลในการควบคุมการทุจริต และคาดว่าจะมีการการตรวจสอบอย่างรัดกุม
**รัฐ-เอกชนระดมความเห็นปรามโกง
อีกด้านรองศาสตราจารย์ ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และประธานโครงการจัดทำมาตรการและกลไกป้องกันและปราบปรามการคอรัปชั่นในภาครัฐตามแผนยุทธ ศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการคอรัปชั่น ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการ(ก.พ.ร.)และนักวิชาการ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นครั้งใหญ่ เพื่อจัดทำมาตรการและกลไกการป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่นในภาครัฐตามแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นนโยบายภาครัฐที่ให้ความสำคัญในการป้องกันการคอรัปชั่นในหน่วยงานภาครัฐ โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชน เพื่อนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ในวันที่ 22- 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 8.30 -16.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทร.02-622 0303