วานนี้(18 พ.ย.55)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ"ทิศทางการเมืองไทย" ภายในงานสัมมนาไทยแลนด์ แลคเชอร์ ครั้งที่ 4 ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)ว่า ไทยจะยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางการเมือง 3 เรื่องหลัก คือ 1.การพยายามผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อช่วยเหลือคนทุจริตคอรัปชั่นเพียงคนเดียวด้วยเสียงข้างมากของรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงเพราะถึงขั้นมีการหาความผิดมาใส่ให้กับคนที่ผู้ที่คัดค้าน เพื่อให้รับข้อเสนอการล้างความผิดให้กับทุกคนทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันว่าจะไม่ยอมจำนนต่อข้อเสนอดังกล่าวแน่นอน เนื่องจากหากกฎหมายหลักของประเทศถูกทำลายลงครั้งหนึ่งแล้ว ก็มักจะถูกทำลายเสมอไป
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความเสี่ยงที่สองคือการพยายามของรัฐบาลในการลดความสำคัญของสภาโดยอาศัยกลยุทธ์ทางการตลาด สร้างค่านิยมกับประชาชนให้มองว่าสภาเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายจากการทะเลาะกันของนักการเมือง ขณะเดียวกันให้นายกรัฐมนตรีหลบเลี่ยงการตอบกระทู้ เพื่อให้ดูเหมือนอยู่เหนือความขัดแย้ง
"ประเด็นนี้รัฐบาลมีกุนซือในคำแนะนำอยู่ เพื่อช่วยด้านภาพลักษณ์ของผู้นำ แต่เรื่องนี้ถือเป็นการทำลายแกนหลักของสภา ต้องถามว่าคุ้มต่อประเทศชาติหรือไม่ ใครไม่เห็นด้วยก็ผลักให้ไปเป็นปฎิปักษ์ ซึ่งสุดท้ายหากยังเป็นสภาพนี้ การเมืองไทยจะไม่อยู่ในระบบ ย้อนกลับไปเหมือนช่วงปี 2548-2549" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับความเสี่ยงสุดท้าย คือ การดำเนินนโยบายประชานิยม ซึ่งหากทำอย่างไรขอบเขตจะนำประเทศไปสู่หายนะ และเป็นการทำลายระบบให้คนเสพติดและท้ายที่สุดจะสร้างปัญหาต่อภาคเศรษฐกิจการเมือง ก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างประชาชน ขณะที่ภาครัฐจะปลายเป็นเผด็จการมากขึ้น
"บทเรียนจากการทำประชานิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตาของประเทศในอเมริกาใต้ สะท้อนให้เห็นจุดจบ 3 แบบ 1.รัฐประหารเพื่อจัดระเบียบใหม่ 2.ประเทศต้องสูญเสียประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและ3.ปล่อยให้ประเทศชาติล้มละลาย ซึ่งถือเป็นโจทย์ที่รัฐบาลต้องครุ่นคิด"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จากความเสี่ยงทางการเมืองไทยในปัจจุบันทำให้มีความเป็นห่วงว่าปัจจัยการเมืองอาจเป็นตัวที่ดึงการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาวได้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันต้องการความเชื่อมั่น และการเตียมพร้อมรับมือกับปัญหา เช่น การถดถอยของเศรษฐกิจโลกจากสหรัฐและอียู ปัญหาในตะวันออกกลางซึ่งเปรียบเสมือนระเบิดเวลาต่อราคาพลังงาน ปัญหาภัยพิบัติ
"ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่เลิกล้มความคิดแบบนี้และสาละวนกับภารกิจพาคนกลับบ้านและการหยิบยกประโยชน์พวกพ้องเป็นใหญ่ เรื่องความวุ่นวายทางการเมืองจะไม่หมดไป ไทยจะยังไม่สามาถตายใจต่อความเสี่ยงทางการเมืองได้ แม้ว่า 7 ปีที่ผ่านมาเราจะโชคดีที่เศรษฐกิจโตท่ามกลางความขัดแย้งได้ แต่คงไม่มีใครโชคดีตลอดไป"นายอภิสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันว่าจะไม่ยอมจำนนต่อข้อเสนอดังกล่าวแน่นอน เนื่องจากหากกฎหมายหลักของประเทศถูกทำลายลงครั้งหนึ่งแล้ว ก็มักจะถูกทำลายเสมอไป
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความเสี่ยงที่สองคือการพยายามของรัฐบาลในการลดความสำคัญของสภาโดยอาศัยกลยุทธ์ทางการตลาด สร้างค่านิยมกับประชาชนให้มองว่าสภาเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายจากการทะเลาะกันของนักการเมือง ขณะเดียวกันให้นายกรัฐมนตรีหลบเลี่ยงการตอบกระทู้ เพื่อให้ดูเหมือนอยู่เหนือความขัดแย้ง
"ประเด็นนี้รัฐบาลมีกุนซือในคำแนะนำอยู่ เพื่อช่วยด้านภาพลักษณ์ของผู้นำ แต่เรื่องนี้ถือเป็นการทำลายแกนหลักของสภา ต้องถามว่าคุ้มต่อประเทศชาติหรือไม่ ใครไม่เห็นด้วยก็ผลักให้ไปเป็นปฎิปักษ์ ซึ่งสุดท้ายหากยังเป็นสภาพนี้ การเมืองไทยจะไม่อยู่ในระบบ ย้อนกลับไปเหมือนช่วงปี 2548-2549" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับความเสี่ยงสุดท้าย คือ การดำเนินนโยบายประชานิยม ซึ่งหากทำอย่างไรขอบเขตจะนำประเทศไปสู่หายนะ และเป็นการทำลายระบบให้คนเสพติดและท้ายที่สุดจะสร้างปัญหาต่อภาคเศรษฐกิจการเมือง ก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างประชาชน ขณะที่ภาครัฐจะปลายเป็นเผด็จการมากขึ้น
"บทเรียนจากการทำประชานิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตาของประเทศในอเมริกาใต้ สะท้อนให้เห็นจุดจบ 3 แบบ 1.รัฐประหารเพื่อจัดระเบียบใหม่ 2.ประเทศต้องสูญเสียประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและ3.ปล่อยให้ประเทศชาติล้มละลาย ซึ่งถือเป็นโจทย์ที่รัฐบาลต้องครุ่นคิด"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จากความเสี่ยงทางการเมืองไทยในปัจจุบันทำให้มีความเป็นห่วงว่าปัจจัยการเมืองอาจเป็นตัวที่ดึงการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาวได้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันต้องการความเชื่อมั่น และการเตียมพร้อมรับมือกับปัญหา เช่น การถดถอยของเศรษฐกิจโลกจากสหรัฐและอียู ปัญหาในตะวันออกกลางซึ่งเปรียบเสมือนระเบิดเวลาต่อราคาพลังงาน ปัญหาภัยพิบัติ
"ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่เลิกล้มความคิดแบบนี้และสาละวนกับภารกิจพาคนกลับบ้านและการหยิบยกประโยชน์พวกพ้องเป็นใหญ่ เรื่องความวุ่นวายทางการเมืองจะไม่หมดไป ไทยจะยังไม่สามาถตายใจต่อความเสี่ยงทางการเมืองได้ แม้ว่า 7 ปีที่ผ่านมาเราจะโชคดีที่เศรษฐกิจโตท่ามกลางความขัดแย้งได้ แต่คงไม่มีใครโชคดีตลอดไป"นายอภิสิทธิ์ กล่าว