ASTVผู้จัดการรายวัน - แม้ว่า บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีทีเอช จะคว้าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกรายเดียวในไทยและรวมถึง กัมพูชา และลาว ไปไว้ในอุ้งมือเรียบร้อยแล้วก็ตาม ด้วยมูลค่าที่ว่ากันว่าไม่ต่ำกว่า 5,000 - 7,000 ล้านบาท มากกว่าเมื่อครั้งที่ทรูวิชั่นส์ครองสิทธิ์เดิมที่มีราคาประมาณ 2,000 ล้านบาทเท่านั้น
นั่นคือความยิ่งใหญ่ที่ได้มา...แต่จากนี้มันจะกลายเป็นความยิ่งยากที่จะบริหารจัดการอย่างไรกับการแพร่ภาพและการทำเงินเพื่อให้คืนทุนให้ได้ในช่วงเวลาแค่ 3 ปีหรือ 3 ฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก (2013-2016 )
เพราะนอกจากค่าประมูลลิขสิทธิ์ที่แพงโขแล้ว ยังไม่นับรวมงบประมาณลงทุน เพื่อการพัฒนาโครงข่ายต่างๆในการนำพาคอนเทนต์สู่สายตาผู้ชม ที่ตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 3 ฤดูกาล ตั้งแต่ 2013/2014 2014/2015 2015/2016 จะให้ถึง 7 ล้านครัวเรือน จากปัจจุบันมี 3.5 ล้านครัวเรือน เบ็ดเสร็จแล้วไม่น่าต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท
เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องรีบทำก็คือ การเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทซีทีเอชอีกตามแผนงานที่เตรียมไว้ จากปัจจุบันที่มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท
รวมไปถึงการเร่งสรุปหาผู้ร่วมทุนที่จะเข้ามาถือหุ้นอีก 20% ที่เหลืออยู่ให้เร็วที่สุด เชื่อขนมกินได้เลยว่า เวลานี้มีแต่คนที่สนใจจะกระโดดเข้ามาร่วมถือหุ้นเต็มไปหมดแล้ว จากเดิมที่จำนวนนี้กันไว้ให้กลุ่มจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ แต่ก็ยังไม่สรุป
เรื่องเงินทุนไม่น่าจะมีปัญหาในสายตาของวิชัย ทองแตง หัวเรือใหญ่ซีทีเอช เพราะขณะนี้นอกจากเงินทุนของบริษัทเองที่มีอยู่แล้ว ยังมีอีกอย่างน้อย 3 แบงก์ใหญ่ที่ตอบรับให้การสนับสนุนเช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารธนชาต
ส่วนแผนการตลาดเชิงธุรกิจนั้น วิชัย ยอมรับว่า จะต้องมีการประชุมหารือในรายละเอียดก่อนสรุปอีกว่าจะรุกอย่างไร แบบไหน
ทว่าที่หินจริงๆและหนักหน่วงก็คือ การแพร่ภาพตามเงื่อนไขที่อีพีแอลเจ้าของลิขสิทธิ์พรีเมียร์
ลีกกำหนดในสัญญาที่ซีทีเอชย่อมรู้ดี
หากจะพิจารณาไปแล้ว หนทางการก้าวย่างของซีทีเอชก็น่าที่จะแตกต่างไปกับยุทธศาสตร์การเดินของ ทรูวิชั่นส์ เมื่อครั้งยังครองลิขสิทธิ์อยู่ ในการที่จะต้องแพร่ภาพให้ได้มากแพลตฟอร์มากที่สุด ทั้งเป็นไปตามเงื่อนไขที่อีพีแอลกำหนด และเพื่อการแสวงหารายได้ในเชิงธุรกิจของซีทีเอช
วัชร วัชรพล บอสใหญ่จากค่ายไทยรัฐที่เป็นผู้ถือหุ้นในซีทีเอชด้วย ยำว่า ช่องทางออกอากาศ
ของพรีเมียร์ลีกของซีทีเอชจะต้องครอบคลุมทั้ง 3 สกรีนแน่นอน ประกอบด้วย จอทีวี จอคอมพิวเตอร์ และจอแท็บเล็ตกับมือถือ และย้ำด้วยว่จาะแพร่ภาพออกอากาศหมดคบรบ 380 แมตช์แน่นอน แต่แพลทฟอร์มใดบ้างยังไม่สรุป
ถ้าดูแต่ละอย่างแล้ว ช่องเคเบิลก็จะมีเคเบิลทีวีของสมาชิกซีทีเอชทั่วประเทศกว่า 350 ราย เป็นช่องทางส่วนหนึ่งตายตัวอยู่แล้ว
รูปแบบของการถ่ายทอด ทางซีทีเอชจะทำเป็นดิจิตอลบรอดแบนด์ทั้งหมดเป็นเคเบิลภูธรที่ทะลุทะลวงเข้าถึง 900 อำเภอ 77 จังหวัดทั่วไทย ซึ่งล่าสุดเพิ่งเซ็นสัญญาใช้ระบบโครงข่ายไฟเบอร์ออพติกให้กระจายได้ทั่วประเทศของบริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
ในแง่ของฟรีทีวี ล่าสุดก็มีช่อง 3 ที่เจรจากันแล้วและคงไม่พลาดที่จะเป็นฟรีทีวีที่ถ่ายทอดพรีเมียร์ลีก แต่ช่องที่เหลือก็ไม่น่าที่จะมีปัญหา เพราะถ้าเข้ามาร่ววถ่ายทอดสดสลับบางแมตช์กันไปก็มีแต่ได้กับได้ทั้งคู่ระหว่าง ซีทีเอชกับฟรีทีวีแต่ละช่อง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของอีพีแอลที่ต้องมีสัดส่วนถ่ายทอดสดผ่านทางฟรีทีวีด้วย
แล้วเคเบิลทีวีอย่างทรูวิชั่นส์หละ
แต่ก็มีทางออกสำหรับทรูวิชั่นส์เหมือนกัน ที่จะร่วมวงไพบูลย์กับเขาด้วย ถ้าหากยอมรับข้อเสนอของซีทีเอช ในการดึงมาเป็นพันธมิตรกัน มีหลายแนวทาง แต่ที่ดูเหมือนว่าจะหลีกหนีไม่พ้นคือ เป็นไปได้หรือไม่ที่ทรูวิชั่นส์จะยอมแลกเปลี่ยนคอนเทนต์บางอันที่ซีทีเอชต้องการเพื่อสิทธิถ่ายทอดสดพรีเมียร์ลีกให้กับทรูฯ เพราะทรูฯก็ยังมีคอนเทนต์อื่นๆดีๆอีกมากในครอบครอง
หันกลับมามองเรื่องของแพกเกจและราคา ซึ่งซีทีเอชคงต้องงัดกลยุทธ์ราคาต่ำมาสร้างแรงเหวี่ยงกระทบชิ่งทรูวิชั่นส์แน่นอน เพราะถ้าราคาถูก เงื่อนไขดี มีบอลพรีเมียร์ลีกให้ชม แล้วสมาชิกทรูวิชั่นส์ที่เป็นคอบอลหน้าไหนจะยังอยู่เฉยไม่มาซื้อแพกเกจของซีทีเอชได้
เรียกได้ว่าซีทีเอช เอาทั้งขึ้น เอาทั้งล่อง ไม่ใช่เอาอยู่ อย่างเดียว
เบื้องต้นมีข่าวเล็ดลอดออกมาแล้วว่า ซีทีเอช จะกำหนดราคาแพกเกจไว้เฉลี่ยตั้งแต่ 200 - 500 บาท ซึ่งแพกเกจที่สูงสุดก็ไม่น่าที่จะเกิน 500 บาท แต่รายละเอียดคาดว่า จะยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
เป็นเรื่องไม่ควรอย่างยิ่งที่ซีทีเอชจะตั้งราคาแพกเกจที่สูงเกินไป แม้ว่าต้องการจะพยายามาขยายฐานสมาชิกให้เพิ่มขึ้นอีกก็ตาม เนื่องจาก 1.ซีทีเอชประกาศมาตั้งแต่แรกก่อนได้รับสิทธิ์แล้วว่า ราคาแพกเกจจะต่ำกว่ารายเดิมทำ 2.หากตั้งราคาสูงสังคมจะประณามและภาพลักษณ์ซีทีเอชก็จะเสียหายแบบมจำเป็น 3.ซีทีเอชต้องเล่นเกมขายถูกเข้าว่าเพื่อเอาปริมาณสมาชิก 4.ตั้งราคาต่ำเพื่อให้เกิดกราเปรียบเทียบระหว่างรายเดิมกับรายใหม่
เพราะนี่คือการกระโดดเข้าสู่วังวนลิขสิทธิ์คอนเทนต์ระดับโลกของซีทีเอชเป็นครั้งแรกเพื่อปูทางในการรุกต่อไปนั่นเอง
เหล่านี้คือสิ่งท้าทายที่เป็นงานหินรออยู่เบื้องหน้า “ซีทีเอช” ผู้คว่ำ “ทรูวิชั่นส์”
นั่นคือความยิ่งใหญ่ที่ได้มา...แต่จากนี้มันจะกลายเป็นความยิ่งยากที่จะบริหารจัดการอย่างไรกับการแพร่ภาพและการทำเงินเพื่อให้คืนทุนให้ได้ในช่วงเวลาแค่ 3 ปีหรือ 3 ฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก (2013-2016 )
เพราะนอกจากค่าประมูลลิขสิทธิ์ที่แพงโขแล้ว ยังไม่นับรวมงบประมาณลงทุน เพื่อการพัฒนาโครงข่ายต่างๆในการนำพาคอนเทนต์สู่สายตาผู้ชม ที่ตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 3 ฤดูกาล ตั้งแต่ 2013/2014 2014/2015 2015/2016 จะให้ถึง 7 ล้านครัวเรือน จากปัจจุบันมี 3.5 ล้านครัวเรือน เบ็ดเสร็จแล้วไม่น่าต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท
เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องรีบทำก็คือ การเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทซีทีเอชอีกตามแผนงานที่เตรียมไว้ จากปัจจุบันที่มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท
รวมไปถึงการเร่งสรุปหาผู้ร่วมทุนที่จะเข้ามาถือหุ้นอีก 20% ที่เหลืออยู่ให้เร็วที่สุด เชื่อขนมกินได้เลยว่า เวลานี้มีแต่คนที่สนใจจะกระโดดเข้ามาร่วมถือหุ้นเต็มไปหมดแล้ว จากเดิมที่จำนวนนี้กันไว้ให้กลุ่มจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ แต่ก็ยังไม่สรุป
เรื่องเงินทุนไม่น่าจะมีปัญหาในสายตาของวิชัย ทองแตง หัวเรือใหญ่ซีทีเอช เพราะขณะนี้นอกจากเงินทุนของบริษัทเองที่มีอยู่แล้ว ยังมีอีกอย่างน้อย 3 แบงก์ใหญ่ที่ตอบรับให้การสนับสนุนเช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารธนชาต
ส่วนแผนการตลาดเชิงธุรกิจนั้น วิชัย ยอมรับว่า จะต้องมีการประชุมหารือในรายละเอียดก่อนสรุปอีกว่าจะรุกอย่างไร แบบไหน
ทว่าที่หินจริงๆและหนักหน่วงก็คือ การแพร่ภาพตามเงื่อนไขที่อีพีแอลเจ้าของลิขสิทธิ์พรีเมียร์
ลีกกำหนดในสัญญาที่ซีทีเอชย่อมรู้ดี
หากจะพิจารณาไปแล้ว หนทางการก้าวย่างของซีทีเอชก็น่าที่จะแตกต่างไปกับยุทธศาสตร์การเดินของ ทรูวิชั่นส์ เมื่อครั้งยังครองลิขสิทธิ์อยู่ ในการที่จะต้องแพร่ภาพให้ได้มากแพลตฟอร์มากที่สุด ทั้งเป็นไปตามเงื่อนไขที่อีพีแอลกำหนด และเพื่อการแสวงหารายได้ในเชิงธุรกิจของซีทีเอช
วัชร วัชรพล บอสใหญ่จากค่ายไทยรัฐที่เป็นผู้ถือหุ้นในซีทีเอชด้วย ยำว่า ช่องทางออกอากาศ
ของพรีเมียร์ลีกของซีทีเอชจะต้องครอบคลุมทั้ง 3 สกรีนแน่นอน ประกอบด้วย จอทีวี จอคอมพิวเตอร์ และจอแท็บเล็ตกับมือถือ และย้ำด้วยว่จาะแพร่ภาพออกอากาศหมดคบรบ 380 แมตช์แน่นอน แต่แพลทฟอร์มใดบ้างยังไม่สรุป
ถ้าดูแต่ละอย่างแล้ว ช่องเคเบิลก็จะมีเคเบิลทีวีของสมาชิกซีทีเอชทั่วประเทศกว่า 350 ราย เป็นช่องทางส่วนหนึ่งตายตัวอยู่แล้ว
รูปแบบของการถ่ายทอด ทางซีทีเอชจะทำเป็นดิจิตอลบรอดแบนด์ทั้งหมดเป็นเคเบิลภูธรที่ทะลุทะลวงเข้าถึง 900 อำเภอ 77 จังหวัดทั่วไทย ซึ่งล่าสุดเพิ่งเซ็นสัญญาใช้ระบบโครงข่ายไฟเบอร์ออพติกให้กระจายได้ทั่วประเทศของบริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
ในแง่ของฟรีทีวี ล่าสุดก็มีช่อง 3 ที่เจรจากันแล้วและคงไม่พลาดที่จะเป็นฟรีทีวีที่ถ่ายทอดพรีเมียร์ลีก แต่ช่องที่เหลือก็ไม่น่าที่จะมีปัญหา เพราะถ้าเข้ามาร่ววถ่ายทอดสดสลับบางแมตช์กันไปก็มีแต่ได้กับได้ทั้งคู่ระหว่าง ซีทีเอชกับฟรีทีวีแต่ละช่อง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของอีพีแอลที่ต้องมีสัดส่วนถ่ายทอดสดผ่านทางฟรีทีวีด้วย
แล้วเคเบิลทีวีอย่างทรูวิชั่นส์หละ
แต่ก็มีทางออกสำหรับทรูวิชั่นส์เหมือนกัน ที่จะร่วมวงไพบูลย์กับเขาด้วย ถ้าหากยอมรับข้อเสนอของซีทีเอช ในการดึงมาเป็นพันธมิตรกัน มีหลายแนวทาง แต่ที่ดูเหมือนว่าจะหลีกหนีไม่พ้นคือ เป็นไปได้หรือไม่ที่ทรูวิชั่นส์จะยอมแลกเปลี่ยนคอนเทนต์บางอันที่ซีทีเอชต้องการเพื่อสิทธิถ่ายทอดสดพรีเมียร์ลีกให้กับทรูฯ เพราะทรูฯก็ยังมีคอนเทนต์อื่นๆดีๆอีกมากในครอบครอง
หันกลับมามองเรื่องของแพกเกจและราคา ซึ่งซีทีเอชคงต้องงัดกลยุทธ์ราคาต่ำมาสร้างแรงเหวี่ยงกระทบชิ่งทรูวิชั่นส์แน่นอน เพราะถ้าราคาถูก เงื่อนไขดี มีบอลพรีเมียร์ลีกให้ชม แล้วสมาชิกทรูวิชั่นส์ที่เป็นคอบอลหน้าไหนจะยังอยู่เฉยไม่มาซื้อแพกเกจของซีทีเอชได้
เรียกได้ว่าซีทีเอช เอาทั้งขึ้น เอาทั้งล่อง ไม่ใช่เอาอยู่ อย่างเดียว
เบื้องต้นมีข่าวเล็ดลอดออกมาแล้วว่า ซีทีเอช จะกำหนดราคาแพกเกจไว้เฉลี่ยตั้งแต่ 200 - 500 บาท ซึ่งแพกเกจที่สูงสุดก็ไม่น่าที่จะเกิน 500 บาท แต่รายละเอียดคาดว่า จะยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
เป็นเรื่องไม่ควรอย่างยิ่งที่ซีทีเอชจะตั้งราคาแพกเกจที่สูงเกินไป แม้ว่าต้องการจะพยายามาขยายฐานสมาชิกให้เพิ่มขึ้นอีกก็ตาม เนื่องจาก 1.ซีทีเอชประกาศมาตั้งแต่แรกก่อนได้รับสิทธิ์แล้วว่า ราคาแพกเกจจะต่ำกว่ารายเดิมทำ 2.หากตั้งราคาสูงสังคมจะประณามและภาพลักษณ์ซีทีเอชก็จะเสียหายแบบมจำเป็น 3.ซีทีเอชต้องเล่นเกมขายถูกเข้าว่าเพื่อเอาปริมาณสมาชิก 4.ตั้งราคาต่ำเพื่อให้เกิดกราเปรียบเทียบระหว่างรายเดิมกับรายใหม่
เพราะนี่คือการกระโดดเข้าสู่วังวนลิขสิทธิ์คอนเทนต์ระดับโลกของซีทีเอชเป็นครั้งแรกเพื่อปูทางในการรุกต่อไปนั่นเอง
เหล่านี้คือสิ่งท้าทายที่เป็นงานหินรออยู่เบื้องหน้า “ซีทีเอช” ผู้คว่ำ “ทรูวิชั่นส์”