ในขณะนี้ประเทศไทยของเรากำลังมีโครงการที่เรียกว่า “พัฒนา” จำนวนเยอะมากกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศที่เป็นทางผ่านเชื่อมต่อไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของโลกอีกจำนวนมาก คนส่วนใหญ่อาจจะรู้สึกยินดีกับโครงการดังกล่าว เพราะพวกเขาได้รับการโฆษณาหรือล้างสมองให้ยอมรับมาอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าเรารู้จักตั้งคำถามว่า “พัฒนา” คืออะไรและจะวัดผลสำเร็จของการพัฒนาดังกล่าวด้วยอะไรหรือตัวชี้วัดด้วยดัชนีใด คราวนี้แหละ ความเห็นของคนส่วนใหญ่อาจเริ่มแตกต่างกันออกไป
ถ้าเราไปดูรายงานการศึกษา การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งจัดทำโดยสภาพัฒน์ (19 ธันวาคม 2554) เราจะพบว่า การพัฒนามีความหมายเพียงแค่ “การก่อสร้าง” ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึก ถนน นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า เขื่อน และนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น
ผมลองให้คอมพิวเตอร์ค้นหาคำว่า “คุณภาพชีวิต” ในรายงาน (ขนาด 49 หน้า) ฉบับนี้ พบว่ามีอยู่ 4 ที่ สองที่เป็นคำในรัฐธรรมนูญ (ซึ่งไม่เกี่ยวแผนการพัฒนา) อีกสองที่เป็นแค่การ “พึมพำ” ถึงคุณภาพชีวิตของคนในเขตชายแดน คือกล่าวไปอย่างนั้นแหละ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต
แม้ในตอนท้ายของรายงานฉบับนี้ได้เสนอทิศทางในการพัฒนาไว้ 3 กรณี แต่ก็ยังหนีไม่พ้นข้อสรุปที่ว่า “การพัฒนาคือการก่อสร้างวัตถุ” ที่ประกอบด้วยอิฐ หิน ปูนทราย เหล็กและน้ำมันเท่านั้น แต่ไม่ให้ความสนใจในด้านความรู้สึกนึกคิดที่เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนามนุษย์ที่ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์หรือต้นหมากรากไม้เลย
คราวนี้มาถึงเรื่อง ตัวชี้วัดผลของการพัฒนาบ้าง
ประเทศไทยเราก็เหมือนกับประเทศอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากในโลกที่ถูกหลอกให้ใช้รายได้ประชาชาติ (หรือจีดีพี) และอัตราการเติบโตของจีดีพีเป็นตัวชี้วัด มาเป็นเวลานาน
นายกรัฐมนตรีบางคนถึงกับสั่งให้เลขาธิการสภาพัฒน์ แก้ไขตัวเลขอัตราการเติบโตของจีดีพี เพราะเขาจะรู้สึกเสียหน้ามากหากทำได้ไม่ถึงเป้า
โรเบิร์ต เอฟ เคนเนดี ได้แสดงความเห็นต่อเรื่องจีดีพีไว้ก่อนจะถูกลอบสังหาร (พ.ศ.2511) ในอีก 3 เดือนต่อมาว่า
“รายได้ประชาชาติไม่อาจวัดเรื่องสุขภาพ คุณภาพการศึกษา และความสนุกสนานในการเล่นของเด็กๆ ได้ จีดีพีไม่สามารถวัดความไพเราะของบทกวีหรือความยั่งยืนของชีวิตสมรส ไม่อาจวัดปัญญาของการถกเถียงในประเด็นสาธารณะ รวมถึงความซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ไม่สามารถวัดเชาว์ปัญญา ความกล้าหาญ ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ความกรุณา ความเสียสละต่อประเทศของเรา ถ้าจะกล่าวโดยสรุปแล้ว จีดีพีวัดได้ทุกอย่างยกเว้นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีคุณค่า จีดีพีบอกเราทุกอย่างเกี่ยวกับอเมริกา ยกเว้นว่าทำไมเราจึงมีความภูมิใจในความเป็นอเมริกัน”
ผมคิดว่าในแง่หนึ่งเป็นความโชคดี โรเบิร์ต เคนเนดี ที่ถูกลอบสังหารเสียก่อน มิฉะนั้นคำปราศรัยที่ดีและแหลมคมเช่นนี้จะไม่มีใครจดจำนำมาอ้าง ผมคิดเอาเองนะครับว่า ถ้าเขามีชีวิตอยู่ต่อไป เขาคงไม่ได้ทำตามที่เขาพูด
ผมเคยชื่นชมกับคำปราศรัยของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในวันเข้ารับตำแหน่งสมัยแรก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายพลังงานและสันติภาพ จนคณะกรรมการรางวัลโนเบลต้องมอบรางวัลสาขาสันติภาพให้ด้วยเหตุผล (ที่เข้าใจได้ยาก) ว่า “ถึงยังไม่ได้ลงมือทำแต่ก็ถือว่ามีเจตนาที่ดี”
เราไม่เห็นว่า แนวคิดที่เป็นคำปราศรัยของ โรเบิร์ต เคนเนดี ได้มีผลในทางปฏิบัติของดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศในกลุ่มบริวาร แต่แนวคิดเดียวกันนี้ (ย้ำแนวคิดเดียวกัน ไม่ได้บอกว่าใครคิดก่อนคิดหลัง) กลับไปเป็นตัวชี้วัดของประเทศภูฏานครับ
ภูฏานใช้ดัชนีความสุขมวลรวมแห่งชาติ (Gross National Happiness จีเอ็นเอซ) เป็นตัวชี้วัดครับ โดยมีองค์ประกอบ 9 ด้านและมีน้ำหนักเป็นร้อยละกำกับ คือ (1) การใช้เวลาสำคัญที่สุดมีน้ำหนัก 13% (2) ความมีธรรมาภิบาล 12% ซึ่งโรเบิร์ต เคนเนดี ใช้คำว่าความซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่รัฐ (3) ความเหนียวแน่นในวัฒนธรรม 12% (4) ความเข้มแข็งของชุมชน 12% (5) สุขภาพ 12% (6) สุขภาวะทางจิต 11% (7) มาตรฐานการครองชีพ 11% (8) ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ 10% และ (9) การศึกษาซึ่งมีน้ำหนักน้อยที่สุดคือ 7% เท่านั้น (แต่คนไทยยอมขายทุกอย่างเพื่อการศึกษา รวมถึงซื้อปริญญาบัตร)
ตัวชี้วัดการพัฒนาที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Happy Planet Index” ซึ่งผมขออนุญาตแปลให้สอดคล้องกับความหมายที่แท้จริงว่า “ดัชนีความสุขร่วมกันของโลกและมนุษย์” ผู้คิดค้นดัชนีตัวนี้มาจากกลุ่มที่ชื่อว่า “The New Economics Foundation, NEF” (มูลนิธิเศรษฐกิจใหม่)
เป้าหมายของดัชนีตัวนี้ ต้องการให้มนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยลง แต่มีความสุขเพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกันก็เพื่อให้โลกมีความสุขด้วย ไม่ใช่ล้างผลาญทรัพยากร ขุด เจาะ ไถ จนแหว่ง โล่ง เตียนไปทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของคนรุ่นลูกหลานว่าเขาจะอยู่กันได้อย่างไร
ดัชนีตัวนี้ สามารถเขียนเป็นสมการสั้นๆ ง่ายๆ ดังนี้คือ
สาระสำคัญที่วัดความสุขร่วมกันของโลกมี 3 ส่วนคือ (1) ความมีอายุยืนยาวโดยวัดกันที่จำนวนปีที่ชีวิตมีความสุข ไม่ใช่เป็นคนพิการในช่วง 10 ปีสุดท้าย (2) ความพึงพอใจในชีวิตและ (3) จำนวนทรัพยากรที่ใช้
โดยส่วนตัว ผมชอบดัชนีตัวนี้มากกว่าตัวอื่นๆ เพราะง่ายดีและคำนึงถึงทรัพยากรซึ่งสรุปว่า “เป็นอยู่ดีขึ้น ใช้สอยน้อยลง”
ยังมีตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่งครับ เป็นของกลุ่มประเทศที่มีชื่อย่อว่า “OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development, องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา)” ซึ่งในปี 2554 มีสมาชิก 42 ประเทศ (ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล ชิลี เดนมาร์ก กรีซ อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์ ตุรกี อังกฤษจนถึงสหรัฐอเมริกา) ประเทศไทยเราไม่ได้เป็นสมาชิกด้วย
ผมไม่ทราบว่าเขาเอาจริงเอาจังกับดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาตัวนี้มากน้อยแค่ไหน แต่เขาเรียกว่า “ดัชนีชีวิตที่ดีกว่า (Better Life Index)” โดยพิจารณาถึง 11 องค์ประกอบ คือ ที่อยู่อาศัย รายได้ งาน ชุมชน การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความมีพันธะผูกพันของพลเมือง สุขภาพ ความพึงพอใจในชีวิต ความปลอดภัย และความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต (Work-Life Balance) โดยแต่ละด้านมีคะแนนอยู่ระหว่าง 0 ถึง 10
ในดัชนีชี้วัดตัวนี้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่ในที่นี้ผมอยากจะนำมาเล่าเพียงบางอย่างเดียวนะครับ
ประเทศกรีซ ซึ่งเราทราบกันดีแล้วว่ากำลังเกิดวิกฤตรุนแรง ในด้านความพอใจในชีวิตของประประชาชนได้ลดลงจาก 5.8 ในปี 2553 ลงเหลือเพียง 1.5 ในปี 2554 ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ลดลงจาก 6.1 เหลือเพียง 3.9 (คงเนื่องจากสึนามิ) เกาหลีใต้เพิ่มจาก 6.1 เป็น 7.0 ข้างล่างนี้คือการจัดอันดับความพึงพอใจในชีวิตของกลุ่มสมาชิก ที่ต่ำที่สุดคือประเทศฮังการี (0) ในขณะที่ประเทศเดนมาร์กสูงที่สุด 10 คะแนนเต็ม
ประเทศเกาหลีใต้น่าสนใจมากครับ ในช่วง 50 ปีมานี้ อายุเฉลี่ยของคนเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 27.9 ปี มาอยู่ที่ 80.3 ปีในปี 2552 ซึ่งความมีอายุยืน (และมีความสุข) เป็นเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาตามแนวคิดของกลุ่ม NEF ในขณะที่ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเพิ่มมา 15 และ 8.2 ปี มาเป็น 83 (สูงที่สุด) และ 78 ปี ตามลำดับ
น่าเสียดายที่ประเทศไทยเรา ไม่ค่อยได้คิดถึงเรื่องเหล่านี้กัน แต่ข้อมูลชิ้นหนึ่งต่อไปนี้คงจะบอกอะไรเราได้บ้าง แม้จะเป็นเพียงรายเดียวแต่ก็อาจจะสะท้อนภาพรวมได้
ในขณะที่รัฐบาลไทยในยุคหลังนี้ได้หันไปใช้นโยบายประชานิยมกันมากขึ้นเพื่อเอาใจประชาชนพร้อมกับการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ได้ส่งผลให้จำเป็นต้องตัดงบสวัสดิการด้านสุขภาพกับคนบางกลุ่ม บางประเภท
ข้าราชการบำนาญคนหนึ่งกินบำนาญเดือนละหมื่นกว่าบาท เธอป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีมาหลายปีแล้ว เดิมเธอได้รับการฉีดยาตัวหนึ่งค่ายาเข็มละ 5 พันบาท โดยไม่ต้องจ่ายเงิน แต่ในระยะหลังมีความจำเป็นต้องปรับยาตัวใหม่ ต้องฉีดสัปดาห์ละ 1 เข็มๆ ละ 1 หมื่นบาทรวม 48 เข็ม แต่ไม่สามารถเบิกจากงบสวัสดิการได้ ข่าวว่าเธอต้องประกาศขายที่ดิน
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับข้าราชการบำนาญท่านนี้ พี่ชายผมคนหนึ่งซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญและป่วยเป็นโรคเดียวกันยืนยันว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้วรัฐบาลไทยอนุญาตให้เบิกได้ นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ยังมีเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มข้าราชการด้วย
นี่เป็นตัวชี้วัดดัชนีตัวหนึ่งที่บอกว่า ความไม่พอใจในชีวิตของคนไทยภายใต้ทิศทางการพัฒนาที่ผ่านมาได้ลดลงมาอีกระดับหนึ่งแล้วครับ
และที่น่ากลัวกว่านั้น การล่มสลายของประเทศต่างๆ ที่ต้องพึ่งพิงตลาดต่างประเทศรวมทั้งตลาดหุ้นเป็นหลักนั้นสามารถพังได้ง่ายนิดเดียว เช่นเดียวกับประเทศกรีซที่พึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกไปได้ไม่นาน ระวังให้ดีนะจะบอกให้
ถ้าเราไปดูรายงานการศึกษา การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งจัดทำโดยสภาพัฒน์ (19 ธันวาคม 2554) เราจะพบว่า การพัฒนามีความหมายเพียงแค่ “การก่อสร้าง” ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึก ถนน นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า เขื่อน และนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น
ผมลองให้คอมพิวเตอร์ค้นหาคำว่า “คุณภาพชีวิต” ในรายงาน (ขนาด 49 หน้า) ฉบับนี้ พบว่ามีอยู่ 4 ที่ สองที่เป็นคำในรัฐธรรมนูญ (ซึ่งไม่เกี่ยวแผนการพัฒนา) อีกสองที่เป็นแค่การ “พึมพำ” ถึงคุณภาพชีวิตของคนในเขตชายแดน คือกล่าวไปอย่างนั้นแหละ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต
แม้ในตอนท้ายของรายงานฉบับนี้ได้เสนอทิศทางในการพัฒนาไว้ 3 กรณี แต่ก็ยังหนีไม่พ้นข้อสรุปที่ว่า “การพัฒนาคือการก่อสร้างวัตถุ” ที่ประกอบด้วยอิฐ หิน ปูนทราย เหล็กและน้ำมันเท่านั้น แต่ไม่ให้ความสนใจในด้านความรู้สึกนึกคิดที่เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนามนุษย์ที่ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์หรือต้นหมากรากไม้เลย
คราวนี้มาถึงเรื่อง ตัวชี้วัดผลของการพัฒนาบ้าง
ประเทศไทยเราก็เหมือนกับประเทศอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากในโลกที่ถูกหลอกให้ใช้รายได้ประชาชาติ (หรือจีดีพี) และอัตราการเติบโตของจีดีพีเป็นตัวชี้วัด มาเป็นเวลานาน
นายกรัฐมนตรีบางคนถึงกับสั่งให้เลขาธิการสภาพัฒน์ แก้ไขตัวเลขอัตราการเติบโตของจีดีพี เพราะเขาจะรู้สึกเสียหน้ามากหากทำได้ไม่ถึงเป้า
โรเบิร์ต เอฟ เคนเนดี ได้แสดงความเห็นต่อเรื่องจีดีพีไว้ก่อนจะถูกลอบสังหาร (พ.ศ.2511) ในอีก 3 เดือนต่อมาว่า
“รายได้ประชาชาติไม่อาจวัดเรื่องสุขภาพ คุณภาพการศึกษา และความสนุกสนานในการเล่นของเด็กๆ ได้ จีดีพีไม่สามารถวัดความไพเราะของบทกวีหรือความยั่งยืนของชีวิตสมรส ไม่อาจวัดปัญญาของการถกเถียงในประเด็นสาธารณะ รวมถึงความซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ไม่สามารถวัดเชาว์ปัญญา ความกล้าหาญ ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ความกรุณา ความเสียสละต่อประเทศของเรา ถ้าจะกล่าวโดยสรุปแล้ว จีดีพีวัดได้ทุกอย่างยกเว้นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีคุณค่า จีดีพีบอกเราทุกอย่างเกี่ยวกับอเมริกา ยกเว้นว่าทำไมเราจึงมีความภูมิใจในความเป็นอเมริกัน”
ผมคิดว่าในแง่หนึ่งเป็นความโชคดี โรเบิร์ต เคนเนดี ที่ถูกลอบสังหารเสียก่อน มิฉะนั้นคำปราศรัยที่ดีและแหลมคมเช่นนี้จะไม่มีใครจดจำนำมาอ้าง ผมคิดเอาเองนะครับว่า ถ้าเขามีชีวิตอยู่ต่อไป เขาคงไม่ได้ทำตามที่เขาพูด
ผมเคยชื่นชมกับคำปราศรัยของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในวันเข้ารับตำแหน่งสมัยแรก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายพลังงานและสันติภาพ จนคณะกรรมการรางวัลโนเบลต้องมอบรางวัลสาขาสันติภาพให้ด้วยเหตุผล (ที่เข้าใจได้ยาก) ว่า “ถึงยังไม่ได้ลงมือทำแต่ก็ถือว่ามีเจตนาที่ดี”
เราไม่เห็นว่า แนวคิดที่เป็นคำปราศรัยของ โรเบิร์ต เคนเนดี ได้มีผลในทางปฏิบัติของดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศในกลุ่มบริวาร แต่แนวคิดเดียวกันนี้ (ย้ำแนวคิดเดียวกัน ไม่ได้บอกว่าใครคิดก่อนคิดหลัง) กลับไปเป็นตัวชี้วัดของประเทศภูฏานครับ
ภูฏานใช้ดัชนีความสุขมวลรวมแห่งชาติ (Gross National Happiness จีเอ็นเอซ) เป็นตัวชี้วัดครับ โดยมีองค์ประกอบ 9 ด้านและมีน้ำหนักเป็นร้อยละกำกับ คือ (1) การใช้เวลาสำคัญที่สุดมีน้ำหนัก 13% (2) ความมีธรรมาภิบาล 12% ซึ่งโรเบิร์ต เคนเนดี ใช้คำว่าความซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่รัฐ (3) ความเหนียวแน่นในวัฒนธรรม 12% (4) ความเข้มแข็งของชุมชน 12% (5) สุขภาพ 12% (6) สุขภาวะทางจิต 11% (7) มาตรฐานการครองชีพ 11% (8) ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ 10% และ (9) การศึกษาซึ่งมีน้ำหนักน้อยที่สุดคือ 7% เท่านั้น (แต่คนไทยยอมขายทุกอย่างเพื่อการศึกษา รวมถึงซื้อปริญญาบัตร)
ตัวชี้วัดการพัฒนาที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Happy Planet Index” ซึ่งผมขออนุญาตแปลให้สอดคล้องกับความหมายที่แท้จริงว่า “ดัชนีความสุขร่วมกันของโลกและมนุษย์” ผู้คิดค้นดัชนีตัวนี้มาจากกลุ่มที่ชื่อว่า “The New Economics Foundation, NEF” (มูลนิธิเศรษฐกิจใหม่)
เป้าหมายของดัชนีตัวนี้ ต้องการให้มนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยลง แต่มีความสุขเพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกันก็เพื่อให้โลกมีความสุขด้วย ไม่ใช่ล้างผลาญทรัพยากร ขุด เจาะ ไถ จนแหว่ง โล่ง เตียนไปทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของคนรุ่นลูกหลานว่าเขาจะอยู่กันได้อย่างไร
ดัชนีตัวนี้ สามารถเขียนเป็นสมการสั้นๆ ง่ายๆ ดังนี้คือ
สาระสำคัญที่วัดความสุขร่วมกันของโลกมี 3 ส่วนคือ (1) ความมีอายุยืนยาวโดยวัดกันที่จำนวนปีที่ชีวิตมีความสุข ไม่ใช่เป็นคนพิการในช่วง 10 ปีสุดท้าย (2) ความพึงพอใจในชีวิตและ (3) จำนวนทรัพยากรที่ใช้
โดยส่วนตัว ผมชอบดัชนีตัวนี้มากกว่าตัวอื่นๆ เพราะง่ายดีและคำนึงถึงทรัพยากรซึ่งสรุปว่า “เป็นอยู่ดีขึ้น ใช้สอยน้อยลง”
ยังมีตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่งครับ เป็นของกลุ่มประเทศที่มีชื่อย่อว่า “OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development, องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา)” ซึ่งในปี 2554 มีสมาชิก 42 ประเทศ (ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล ชิลี เดนมาร์ก กรีซ อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์ ตุรกี อังกฤษจนถึงสหรัฐอเมริกา) ประเทศไทยเราไม่ได้เป็นสมาชิกด้วย
ผมไม่ทราบว่าเขาเอาจริงเอาจังกับดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาตัวนี้มากน้อยแค่ไหน แต่เขาเรียกว่า “ดัชนีชีวิตที่ดีกว่า (Better Life Index)” โดยพิจารณาถึง 11 องค์ประกอบ คือ ที่อยู่อาศัย รายได้ งาน ชุมชน การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความมีพันธะผูกพันของพลเมือง สุขภาพ ความพึงพอใจในชีวิต ความปลอดภัย และความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต (Work-Life Balance) โดยแต่ละด้านมีคะแนนอยู่ระหว่าง 0 ถึง 10
ในดัชนีชี้วัดตัวนี้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่ในที่นี้ผมอยากจะนำมาเล่าเพียงบางอย่างเดียวนะครับ
ประเทศกรีซ ซึ่งเราทราบกันดีแล้วว่ากำลังเกิดวิกฤตรุนแรง ในด้านความพอใจในชีวิตของประประชาชนได้ลดลงจาก 5.8 ในปี 2553 ลงเหลือเพียง 1.5 ในปี 2554 ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ลดลงจาก 6.1 เหลือเพียง 3.9 (คงเนื่องจากสึนามิ) เกาหลีใต้เพิ่มจาก 6.1 เป็น 7.0 ข้างล่างนี้คือการจัดอันดับความพึงพอใจในชีวิตของกลุ่มสมาชิก ที่ต่ำที่สุดคือประเทศฮังการี (0) ในขณะที่ประเทศเดนมาร์กสูงที่สุด 10 คะแนนเต็ม
ประเทศเกาหลีใต้น่าสนใจมากครับ ในช่วง 50 ปีมานี้ อายุเฉลี่ยของคนเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 27.9 ปี มาอยู่ที่ 80.3 ปีในปี 2552 ซึ่งความมีอายุยืน (และมีความสุข) เป็นเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาตามแนวคิดของกลุ่ม NEF ในขณะที่ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเพิ่มมา 15 และ 8.2 ปี มาเป็น 83 (สูงที่สุด) และ 78 ปี ตามลำดับ
น่าเสียดายที่ประเทศไทยเรา ไม่ค่อยได้คิดถึงเรื่องเหล่านี้กัน แต่ข้อมูลชิ้นหนึ่งต่อไปนี้คงจะบอกอะไรเราได้บ้าง แม้จะเป็นเพียงรายเดียวแต่ก็อาจจะสะท้อนภาพรวมได้
ในขณะที่รัฐบาลไทยในยุคหลังนี้ได้หันไปใช้นโยบายประชานิยมกันมากขึ้นเพื่อเอาใจประชาชนพร้อมกับการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ได้ส่งผลให้จำเป็นต้องตัดงบสวัสดิการด้านสุขภาพกับคนบางกลุ่ม บางประเภท
ข้าราชการบำนาญคนหนึ่งกินบำนาญเดือนละหมื่นกว่าบาท เธอป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีมาหลายปีแล้ว เดิมเธอได้รับการฉีดยาตัวหนึ่งค่ายาเข็มละ 5 พันบาท โดยไม่ต้องจ่ายเงิน แต่ในระยะหลังมีความจำเป็นต้องปรับยาตัวใหม่ ต้องฉีดสัปดาห์ละ 1 เข็มๆ ละ 1 หมื่นบาทรวม 48 เข็ม แต่ไม่สามารถเบิกจากงบสวัสดิการได้ ข่าวว่าเธอต้องประกาศขายที่ดิน
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับข้าราชการบำนาญท่านนี้ พี่ชายผมคนหนึ่งซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญและป่วยเป็นโรคเดียวกันยืนยันว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้วรัฐบาลไทยอนุญาตให้เบิกได้ นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ยังมีเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มข้าราชการด้วย
นี่เป็นตัวชี้วัดดัชนีตัวหนึ่งที่บอกว่า ความไม่พอใจในชีวิตของคนไทยภายใต้ทิศทางการพัฒนาที่ผ่านมาได้ลดลงมาอีกระดับหนึ่งแล้วครับ
และที่น่ากลัวกว่านั้น การล่มสลายของประเทศต่างๆ ที่ต้องพึ่งพิงตลาดต่างประเทศรวมทั้งตลาดหุ้นเป็นหลักนั้นสามารถพังได้ง่ายนิดเดียว เช่นเดียวกับประเทศกรีซที่พึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกไปได้ไม่นาน ระวังให้ดีนะจะบอกให้